คอลัมน์ ONE's View
ดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.วรรณ
Dr.win@one-asset.com
จากเนื้อหาในฉบับก่อนหน้า ผมได้กล่าวถึงจุดเด่นของตลาดในแต่ละประเทศของประเทศในอาเซียนเอาไว้ สำหรับคอลัมน์ในฉบับนี้จะเป็นการให้มุมมองที่ต่อเนื่องด้านความโดดเด่นของหลักทรัพย์ในแต่ละตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีอัตราการเติบโตที่ดีและมีอัตราการจ่ายปันผลในระดับสูงได้ ซึ่งโดยภาพรวมอัตราการจ่ายปันผลเฉลี่ยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2004-2014) พบว่า อัตราเฉลี่ยจ่ายปันผลของประเทศสิงคโปร์มีการจ่ายปันผลอยู่ที่ประมาณ 3.7% มาเลเซีย อยู่ที่ประมาณ 3.4% อินโดนีเซียอยู่ที่ประมาณ 4.2% ไทยอยู่ที่ประมาณ 4.4% และเวียดนาม 4.5% ซึ่งเป็นอัตราการจ่ายปันผลที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับอัตราการจ่ายปันผลในประเทศเอเชียตะวันออกที่มีอัตราการจ่ายปันผลเฉลี่ยอยู่ที่ 2.1% และในประเทศแถบอเมริกาเหนือมีอัตราจ่ายปันผลเฉลี่ยอยู่เพียง 1.8% ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตของหลักทรัพย์เหล่านี้ล้วนมาจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในอาเซียนที่มีความแข็งแกร่ง / การค้าการลงทุนที่ขยายตัว และจำนวนประชากรวัยแรงงานที่มีการเติบโตอย่างชัดเจน
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีความโดดเด่นด้านการจ่ายปันผล ผมยกตัวอย่างเป็นบางบริษัท โดยขอเริ่มต้นจาก บริษัทจดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ ได้แก่ บริษัท Singapore Telecommunication Limited (Singtel) บริษัทในกลุ่มสื่อสารโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ ซึ่งให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่และการให้บริการที่เกี่ยวข้อง เช่นนำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ สัญญาณโทรทัศน์ นอกจากนี้ Singtel ยังถือหุ้นในบริษัทกลุ่มสื่อสารรายใหญ่หลายแห่งในโลก รวมถึงเครือข่าย AIS ในประเทศไทยด้วย ทางด้านธุรกิจด้านเรือ สิงคโปร์มีบริษัทเดินเรือรายใหญ่ได้แก่ บริษัท Yangzigiang Shipbuilding Holdings Limited ซึ่งมีรายได้หลักมาจากการรับประกอบเรือขนส่งสินค้าต่างๆ อีกทั้งยังเป็นบริษัทต่อเรืออันดับ 5 ของประเทศจีน นับตั้งแต่ปี 2009 และเมื่อนับจากรายได้ในปี 2013 บริษัทยังได้รับอันดับ 269 ใน “top 500 companies of China”
นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังมีบริษัทหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจด้านพัฒนาและบริหารจัดการเกี่ยวกับสาธารณูปโภค เช่น พลังงาน น้ำ และจัดการเก็บขยะมูลฝอย ได้แก่ บริษัท Sembcorp Industries Ltd. ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านสาธารณูปโภคใน 6 ทวีปทั่วโลก และบริษัทนี้นับว่ามีอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งโดยเฉพาะประเทศในตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก อีกทั้งยังมีบริษัท Sembcorp Marine ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก ที่ประกอบธุรกิจวิศวกรรมนอกชายฝั่ง เช่น การซ่อมแซมเรือ การดัดแปลงเรือ หรือการสร้างแท่นขุดเจาะ และการก่อสร้างนอกชายฝั่ง
ในประเทศมาเลเซีย บริษัท Sime Darby Berhad ซึ่งเป็นบริษัท Holding Company ที่ประกอบธุรกิจหลากหลาย ได้แก่ ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มของโลก รวมทั้งเป็นผู้จำหน่ายชิ้นส่วนรถยนต์รายใหญ่ และจัดจำหน่ายรถยนตร์ในเอเชีย ที่รู้จักกันดีในนาม Mazda นอกจากนี้ยังประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุด รวมทั้งธุรกิจพลังงาน และสาธารณูปโภคทั่วโลก อีกทั้งยังมีบริษัท UMW Holding Berhad ซึ่งเป็นบริษัท Holding Company ซึ่งมีธุรกิจในกลุ่มยานยนต์ พลังงาน การผลิต วิศวกรรม โดยมีรายได้หลักมาจากการจัดจำหน่ายรถยนต์ยี่หุ้น Toyota, Lexus และ Perodua
ด้านประเทศไทย บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ถือว่ามีความแข็งแกร่งด้วยความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทั้งสายโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ ซึ่งจะสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว จากมูลค่าเพิ่มที่ได้รับจากการสร้าง Chemical Flagship ของกลุ่ม ปตท. ทางด้านธุรกิจการเงิน ผมมองว่าบริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของธุรกิจทางการเงินธนชาต มีความโดดเด่นจากการดำเนินธุรกิจด้านการเงินที่ค่อนข้างครบวงจร เช่น ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ บริหารสินทรัพย์ รวมถึงธุรกิจโบรกเกอร์ ธุรกิจพัฒนาและฝึกอบรม ซึ่งแต่ละธุรกิจสามารถส่งเสริมซึ่งกันและกันและแบ่งประเภทกันได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ บริษัท เดลต้า ประเทศไทย เป็นบริษัทในกลุ่ม SET50 โดยมียอดขายในปัจจุบันรวมกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
สำหรับประเทศเวียดนาม เป็นประเทศเกิดใหม่ที่มีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างสูงในอาเซียนก็มีธุรกิจการเงิน คือ ไซ่ง่อน-ฮานอย หลักทรัพย์ที่น่าสนใจ โดยดำเนินธุรกิจในการซื้อขายหลักทรัพย์ และเสนอขายบริการด้านการลงทุน SHS หลักทรัพย์ทำหน้าที่นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ให้บริการ จัดจำหน่าย บริการ ดูแล รวมทั้งให้คำแนะนำการลงทุน นอกจากนี้ ยังมีบริษัทจดทะเบียนที่น่าสนใจที่ประกอบธุรกิจอาหาร ได้แก่ บริษัท Kinh Do Corporation ซึ่งประกอบธุรกิจด้านขนมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเวียดนาม
จากข้อมูลที่ผมนำเสนอในฉบับนี้ ประเด็นหลักที่ทาง บลจ.วรรณเล็งเห็นคือโอกาสในการลงทุนในหุ้นของบริษัทในแถบอาเซียน โดยในสัปดาห์หน้าบริษัทฯ จะเปิดเสนอขายกองทุนเปิด วรรณ STOXX อาเซียน ซีเล็ค ดิวิเดนด์ อินเด็กซ์ ฟันด์ (ONE-STOXX) โดยมีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญจำนวน 30 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และเป็นส่วนประกอบดัชนี STOXX ASEAN SELECT DIVIDEND INDEX โดยมีเป้าหมายการลงทุนสร้างผลตอบแทนของกองทุนให้ใกล้เคียงกับการปรับตัวของดัชนี STOXX ASEAN SELECT DIVIDEND INDEX ซึ่งเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนในหุ้นกลุ่มอาเซียน ซึ่งผมมองว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโต อย่างไรก็ดี นักลงทุนที่ลงทุนต้องสามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นได้ ดังนั้น ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลและพิจารณาการรับความเสี่ยงของตนเองควบคู่กันไปก่อนตัดสินใจลงทุน
•นักลงทุนสามารถสอบถามเพิ่มเติมและขอรับร่างหนังสือชี้ชวนได้ที่ฝ่ายบริการลูกค้าและสนับสนุนธุรกิจที่หมายเลข 0-2659-8888 ต่อ 1 ครับ
•“ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน”