xs
xsm
sm
md
lg

อมตะออกรีท AMATAR มั่นใจศักยภาพดีให้ยิลด์สูง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

รูปประกอบจากอินเตอร์เน็ต
อมตะออกอสังหาฯ รีท ลงทุนสิทธิการเช่าโรงงาน มูลค่า 4,750 ล้านบาท มั่นใจศักยภาพ ชูผลตอบแทนสูง เตรียมเปิดขายต้นเดือนหน้า

นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อมตะซัมมิทโกรทรีท ถือเป็นทางเลือกของการลงทุน ทางนิคมอุตสาหกรรมมีความพร้อมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่จะอำนวยความสะดวกแก่ผู้เช่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เช่าที่ให้ความสำคัญต่อเรื่องการส่งมอบสินค้า ซึ่งทางนิคมอุตสาหกรรมจะให้ความมั่นใจแก่ผู้เช่าและนักลงทุน

นางสาวพรวิภา ตั้งตรงจิตร ผู้บริหารงานวาณิชธนกิจ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ดูแลผลประโยชน์ เปิดเผยว่า อมตะซัมมิทโกรทรีท เตรียมที่จะเปิดขายหน่วยลงทุนได้ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน โดยมีขนาดทรัพย์ 4,750 ล้านบาท ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอมตะซัมมิทโกรท (AMATAR) มีโรงงาน 88 อาคาร ปัจจุบันมีผู้เช่าเต็มพื้นที่ และมีการต่อสัญญาเช่า ทุกๆ 3 ปีต่อเนื่อง โดยอัตราค่าเช่าจะปรับขึ้นประมาณ 3% ตามอัตราเงินเฟ้อ ส่วนอัตราผลตอบแทนคาดว่าในปีแรกจะอยู่ที่ 8.7% และปรับเพิ่มขึ้นในปีต่อๆ ไป

นายสันติ พัฒนะเมลือง กรรมการ บริษัทอมตะซัมมิท เรดดี้ บิลด์ จำกัด กล่าวว่า ทางบริษัทซึ่งเป็นผู้ตั้งโรงงานให้เช่านั้น ปัจจุบันมีผู้เช่าที่เป็นบริษัทรถยนต์จำนวนมากและมียอดการผลิตและส่งออกที่เติบโตสูง แม้ว่าในปีที่ผ่านมาการผลิตรถยนต์จะชะลอลงแต่ภาครัฐยังให้การสนับสนุนเรื่องอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยมีโครงการรถยนต์อีโคคาร์ ที่มีแนวโน้มจะเติบโตในอนาคต

นอกจากกลุ่มผู้เช่าที่เป็นบริษัทรถยนต์แล้ว ยังมีกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก เครื่องจักร เคมี ซึ่งจะพยายามทำให้ผู้เช่าต่อสัญญาใหม่ให้ได้ 100% ขณะเดียวกันก็มองหาผู้เช่ารายใหม่เข้ามาต่อเนื่อง


“คลัง” สั่ง “สรรพากร” เข้มงวดเก็บภาษีผู้ประกอบการครึ่งปี พร้อมจี้แบงก์ส่งข้อมูลเพิ่มการหักภาษี ดบ.รับ
“คลัง” สั่ง “สรรพากร” เข้มงวดเก็บภาษีผู้ประกอบการครึ่งปี พร้อมจี้แบงก์ส่งข้อมูลเพิ่มการหักภาษี ดบ.รับ
คลัง สั่ง สรรพากร เข้มงวดเก็บภาษีผู้ประกอบการครึ่งปี หวังใช้ช่วยโปะผลงานการจัดเก็บต่ำกว่าเป้า พร้อมเดินหน้าไล่ตรวจยอดภาษีในแต่ละท้องที่เพื่อวัดผล และอุดช่องโหว่การทุจริต เผยได้ยกเลิกการผ่อนผันแจ้งยอดภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากรายได้ของ ดบ. ผู้ฝากเงิน กับธนาคารพาณิชย์ และธนาคารของรัฐทุกแห่ง จากเดิมที่ให้ธนาคารยื่นแต่ยอดรวมให้กับกรมสรรพากรรับทราบเท่านั้น โดยต่อไปนี้ธนาคารจะต้องส่งข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่ายของ ดบ.รับ แยกเป็นรายให้ครบทุกราย
กำลังโหลดความคิดเห็น