xs
xsm
sm
md
lg

การวัดประสิทธิภาพของกองทุน ETFs ที่ลงทุนในหุ้นจีน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


บริษัทมอร์นิ่งสตาร์ เป็นบริษัทฯ ชั้นนำของโลกทางด้านการให้บริการข้อมูลและการวิเคราะห์เกี่ยวกับการลงทุนต่างๆ ได้นำเสนอผลการวิจัยเรื่อง “On the Right Track : Measuring Tracking Efficiency in Chinese Equity ETFs,” ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ และตรวจสอบปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของกองทุน ETFs ที่ลงทุนในหุ้นจีน โดยเนื้อหาในรายงานฉบับนี้เป็นส่วนที่ได้เพิ่มเติมจากการศึกษาของบริษัทในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 research paper ซึ่งเป็นการวัดประสิทธิภาพของกองทุน ETFs ในทวีปยุโรป

ทีมวิจัยของมอร์นิ่งสตาร์ได้ทำการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกองทุน ETFs ที่อ้างอิงดัชนีหุ้นจีน 5 ดัชนีหลัก จำนวน 33 กองทุนที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดต่างๆ ทั่วโลก โดยใช้ 7 วิธีการในการวัดประสิทธิภาพของกองทุน ETFs ดังต่อไปนี้

1. Tracking error : เป็นวิธีการวัดความผันผวนของผลตอบแทนระหว่างกองทุนกับดัชนีอ้างอิง

2. Tracking difference : เป็นวิธีการวัดผลต่างของผลตอบแทนระหว่างกองทุนกับดัชนีอ้างอิงในช่วงเวลาหนึ่ง

แจ็กกี ชอย นักวิเคราะห์การลงทุนกองทุน ETFs ของบริษัทมอร์นิ่งสตาร์ กล่าวว่า โดยปกติแล้วเราพบว่ากองทุน ETFs ที่ลงทุนในหุ้นจีนและในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) นั้นมีประสิทธิภาพในระดับเดียวกัน แม้ว่าจะด้อยกว่าตลาดที่พัฒนาแล้วก็ตาม นอกจากนี้เราพบว่าผู้ให้บริการ ETFs จำเป็นต้องพัฒนาในด้านการเปิดเผยผลการดำเนินงานที่โปร่งใสและถูกต้อง เพราะจะทำให้นักลงทุนสามารถค้นหาข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจ และยังช่วยให้นักลงทุนสามารถเปรียบเทียบและประเมินกองทุน ETFs ผ่านเครื่องมือชี้วัดต่างๆ ดังที่เราได้นำเสนอไว้ในรายงาน

โดยประเด็นสำคัญของรายงานวิจัย มีดังนี้

1. กองทุน ETFs ที่ลงทุนในหุ้นจีนและในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) นั้น มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับเดียวกัน แม้ว่าจะด้อยกว่าตลาดที่พัฒนาแล้ว (Developed Market)

2. กองทุน ETFs ประเภทถือครองหุ้นเป็นสินทรัพย์อ้างอิงไว้จริง (Physical replication) ทั้งที่ลงทุนในหุ้นจีนและในตลาดเกิดใหม่มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับเดียวกัน 3. กองทุน ETFs ประเภทที่ถือครองหุ้นหรือทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่สินทรัพย์อ้างอิง โดยใช้วิธีเข้าทำสัญญาแลกเปลี่ยนผลตอบแทนกับสถาบันการเงินเพื่อให้กองทุนรวม ETFs นั้นได้รับผลตอบแทนไม่แตกต่างจากดัชนีอ้างอิง (Synthetic replication) ที่ลงทุนในหุ้นจีน มีผลการดำเนินงานด้อยกว่ากองทุนที่ลงทุนในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market)

4. เมื่อเทียบกับกองทุน ETFs ประเภท Physical replication ที่ลงทุนในหุ้นจีน พบว่ากองทุน ETFs ประเภท Synthetic replication ที่ลงทุนในหุ้นจีนมีระดับ Tracking error ที่ดีกว่า แต่ระดับ Tracking difference ก็สูงกว่าเช่นกัน

5. กองทุน ETFs ที่ลงทุนในหุ้นจีนแต่จดทะเบียนในต่างประเทศมีค่า Tracking error และ Tracking difference ที่ต่ากว่ากองทุน ETFs ที่ลงทุนในหุ้นจีนและจดทะเบียนในประเทศจีน

“เรายังพบว่าค่า Tracking error และ Tracking difference นั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แม้ตัวแปรที่เกี่ยวข้องมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็ตาม นักลงทุนจึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่ถูกต้องในการคำนวณ การพัฒนาในด้านการเปิดเผยข้อมูลจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์กองทุนเหล่านี้ได้ดีขึ้น และยังช่วยนักลงทุนในการคัดเลือกกองทุนที่เหมาะสมอีกด้วย”

ทั้งนี้ รายงานการวิจัยนี้ได้ทำการสำรวจค่า Tracking error, Tracking difference และค่าใช้จ่ายในการถือครองหลักทรัพย์ สำหรับกองทุน ETF ทั้งสองประเภท (Physical และ Synthetic replication) ที่อ้างอิงห้าดัชนีหลักของประเทศจีน ได้แก่ FTSE China25, HSCEI, MSCI China, FTSE China A50 และ CSI 300 โดยนักลงทุนสามารถดูรายงานการวิจัยฉบับเต็มนี้ได้ที่ http://global.morningstar.com/TrackingChineseETFs.

โดยในปี พ.ศ. 2556 มอร์นิ่งสตาร์ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับโอกาสและความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องเผชิญเมื่อเข้าไปลงทุนในหุ้นสามัญของประเทศจีนผ่านกองทุน ETF ภายใต้หัวข้อที่ว่า “Guide to Investing in Chinese Equities via ETFs” โดยนักลงทุนสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://global.morningstar.com/GuideChineseEquityETFs.

ในปัจจุบันบริษัทมอร์นิ่งสตาร์มีนักวิเคราะห์กว่า 110 คน ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์และจัดอันดับเรตติ้ง (Rating) กองทุนรวมและ ETFs ไปแล้วราว 4,333 กอง นอกจากนี้ บริษัทมอร์นิ่งสตาร์ยังได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวม ไม่ว่าจะเป็น กองทุนรวมเปิดกว่า 160,200 กอง กองทุน ETFs ราว 107,000 กอง และกองทุนรวมปิดประมาณ 2,433 กอง (ข้อมูล ณ วันที่ 33 มีนาคม 7552)


กำลังโหลดความคิดเห็น