คอลัมน์ Fund Manager Talk
โดยทีมงานจัดการลงทุน บลจ.ทิสโก้
อาจกล่าวได้ว่าในปี 2013 นี้เป็นอีกปีหนึ่งที่มีปัจจัยต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในประเทศเข้ามาสร้างความผันผวนให้ตลาดเงินและตลาดทุนของประเทศไทยอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ ต่อการทำ QE Tapering, ปัญหาเพดานหนี้ และ Government Shutdown รวมไปถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศแถบเอเชียซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “พระเอก” ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
ด้วยปัจจัยเหล่านี้ประกอบกับสภาพคล่องที่ล้นระบบนับตั้งแต่การเริ่มมีมาตรการ QE1 ออกมาจนถึง QE3 ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกโดยเฉพาะตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่มีเม็ดเงินส่วนเพิ่ม (Hot Money) ไหลเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การที่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เข้ามากระทบต่อสภาพแวดล้อมการลงทุนเพียงเล็กน้อยก็สามารถสร้างความผันผวนในตลาดได้แล้ว เพราะเม็ดเงินเหล่านี้จะวิ่งออกจากต้นทางที่คาดว่าจะมีผลตอบแทนในระดับต่ำไปสู่ผลตอบแทนสูงเสมอ
ในส่วนของการลงทุนในหุ้นไทยนั้น เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยในอีก 12 เดือนข้างหน้า ด้วยเหตุผลระยะยาวแล้ว ตลาดหุ้นไทยยังคงน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นกำไรของบริษัทจดทะเบียนฯ ที่ยังคงเติบโตในอัตราเฉลี่ย 10%-15% ต่อปี แม้ว่าจะมีการชะลอตัวลงไปบ้าง ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายต่างๆ ได้ทยอยหมดลง
แต่ถึงกระนั้นหากปีหน้าเป็นต้นไปเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวตามที่คาด การที่ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกจะกลายเป็นปัจจัยบวกอีกครั้งเพราะนักลงทุนจะเริ่มหาหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของกำลังซื้อของประเทศที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้ การลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคต่างๆ ก็ถือว่ายังเป็นจุดขายอีกจุดหนึ่ง ซึ่งเรามองว่าจะทำให้เกิดการต่อยอดทางธุรกิจในระยะยาวและเพื่อเตรียมพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2015 ต่อไป
อย่างไรก็ดี แม้ว่าในระยะยาวตลาดหุ้นไทยจะเป็นทางเลือกหลักในการจัดสรรเงินลงทุนตั้งต้น (Strategic Asset Allocation) ในส่วนของตราสารทุน แต่ระหว่างทางยังคงมีความเสี่ยงที่ต้องจับตามอง ได้แก่ ทิศทางการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าท้ายที่สุดแล้ว QE Tapering จะเกิดขึ้นเมื่อใด, ข้อสรุปต่อเพดานหนี้ในช่วงต้นปี 2014 หลังเพิ่มเพดานหนี้ชั่วคราว 4 เดือน เพื่อให้มีเวลาในการพิจารณาในเชิงลึก, แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน และปัญหาการเมืองภายในประเทศที่กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน ดังนั้น ความไม่แน่นอนเหล่านี้จึงนำไปสู่ “ความผันผวน” ซึ่งขณะเดียวกันก็สร้าง “โอกาสการลงทุน” จึงนำไปสู่กลยุทธ์ที่เรียกว่า “การจัดสรรเงินลงทุนเชิงกลยุทธ์ (Tactical Asset Allocation)”
โดยปกติแล้วนักลงทุนจะมีการจัดสรรเงินลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ตามระดับความเสี่ยงที่แต่ละคนยอมรับได้ เช่น ตราสารหนี้ / ตราสารทุน เท่ากับ 40% / 60% หรือ 20% / 80% เป็นต้น ในบางครั้งสถานการณ์ตลาดที่เปลี่ยนไปเป็นเหตุให้สินทรัพย์บางประเภทมีความน่าสนใจในการลงทุนระยะสั้น นักลงทุนจึงเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ดังกล่าวชั่วคราวเพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
จะขอยกตัวอย่างในกรณีของตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปี 2013 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่า SET Index มีความผันผวนค่อนข้างมาก โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 ดัชนีปรับตัวลงมาทำระดับต่ำสุดที่ 1275.76 จุด จากความกังวลต่อ QE Tapering และการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย ทำให้มีแรงเทขายทำกำไรอย่างหนัก โดยเฉพาะเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติที่ไหลออกจากกลุ่มประเทศ Emerging Asia
อย่างไรก็ดี นักลงทุนบางกลุ่มที่มองความผันผวนนี้เป็นโอกาสในการลงทุน ก็สามารถทำ Tactical Asset Allocation ได้โดยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไทย (ภายใต้กรอบความเสี่ยงสูงสุดที่รับได้) และลดสัดส่วนในเงินสด/พันธบัตรระยะสั้นชั่วคราว เนื่องจากมองว่าเป็นการปรับฐานระยะสั้น ซึ่งหลังจากนั้น 1-2 เดือน SET Index ก็กลับไปที่ระดับ 1,400-1,450 จุด และนักลงทุนกลุ่มนี้ก็ปรับสัดส่วนการลงทุนกลับเข้าสู่ระดับตั้งต้นเพื่อกลับเข้าสู่ระดับความเสี่ยงปกติที่ยอมรับได้ หลังจากที่ได้อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มนี้ไปแล้ว
อย่างไรก็ดี การทำ Tactical Asset Allocation มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง 2 ประการ คือ
1. วินัยในการลงทุน - ในบางครั้งเราอาจกำหนดเป้าหมายไว้ว่าถ้าสร้างผลตอบแทนได้แล้วสัก x% จะทำการปรับสัดส่วนสู่ระดับปกติ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวจะต้องไม่มากเกินกว่าจะบรรลุได้และไม่น้อยจนไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการทำกลยุทธ์ ซึ่งในปัจจุบัน บลจ.ต่างๆ ก็มีการออกกองทุนประเภททริกเกอร์ฟันด์ x% ซึ่งเป็นการตอบโจทย์การสร้างวินัยในการลงทุนได้เป็นอย่างดี
2. กระจายความเสี่ยง - นอกเหนือจากการมีวินัยการลงทุนแล้ว การกระจายความเสี่ยงตามประเภทสินทรัพย์ หรือระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรม ก็เป็นอีกด้านหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ดังประโยคที่ว่า “อย่าใส่ไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าใบเดียว” โดยแนวโน้มในอนาคตนั้น การกระจายความเสี่ยงไปยังการลงทุนต่างประเทศก็จะเริ่มมีการพูดถึงกันมากขึ้น ตามมุมมองการลงทุนในอนาคตที่เชื่อว่าเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วจะเริ่มมีการฟื้นตัว ซึ่งในปัจจุบัน บลจ.ต่างๆ ก็มีการออกกองทุนรวมที่ลงทุนต่างประเทศ ซึ่งมีนโยบายที่หลากหลายเป็นทางเลือกให้แก่นักลงทุนมากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต ดังนั้น ในยามตลาดผันผวนจงอย่ากลัวที่จะลงทุน ในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ
แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า “โชคดีและมีความสุขในการลงทุน”
โดยทีมงานจัดการลงทุน บลจ.ทิสโก้
อาจกล่าวได้ว่าในปี 2013 นี้เป็นอีกปีหนึ่งที่มีปัจจัยต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในประเทศเข้ามาสร้างความผันผวนให้ตลาดเงินและตลาดทุนของประเทศไทยอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ ต่อการทำ QE Tapering, ปัญหาเพดานหนี้ และ Government Shutdown รวมไปถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศแถบเอเชียซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “พระเอก” ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
ด้วยปัจจัยเหล่านี้ประกอบกับสภาพคล่องที่ล้นระบบนับตั้งแต่การเริ่มมีมาตรการ QE1 ออกมาจนถึง QE3 ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกโดยเฉพาะตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่มีเม็ดเงินส่วนเพิ่ม (Hot Money) ไหลเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การที่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เข้ามากระทบต่อสภาพแวดล้อมการลงทุนเพียงเล็กน้อยก็สามารถสร้างความผันผวนในตลาดได้แล้ว เพราะเม็ดเงินเหล่านี้จะวิ่งออกจากต้นทางที่คาดว่าจะมีผลตอบแทนในระดับต่ำไปสู่ผลตอบแทนสูงเสมอ
ในส่วนของการลงทุนในหุ้นไทยนั้น เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยในอีก 12 เดือนข้างหน้า ด้วยเหตุผลระยะยาวแล้ว ตลาดหุ้นไทยยังคงน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นกำไรของบริษัทจดทะเบียนฯ ที่ยังคงเติบโตในอัตราเฉลี่ย 10%-15% ต่อปี แม้ว่าจะมีการชะลอตัวลงไปบ้าง ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายต่างๆ ได้ทยอยหมดลง
แต่ถึงกระนั้นหากปีหน้าเป็นต้นไปเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวตามที่คาด การที่ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกจะกลายเป็นปัจจัยบวกอีกครั้งเพราะนักลงทุนจะเริ่มหาหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของกำลังซื้อของประเทศที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้ การลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคต่างๆ ก็ถือว่ายังเป็นจุดขายอีกจุดหนึ่ง ซึ่งเรามองว่าจะทำให้เกิดการต่อยอดทางธุรกิจในระยะยาวและเพื่อเตรียมพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2015 ต่อไป
อย่างไรก็ดี แม้ว่าในระยะยาวตลาดหุ้นไทยจะเป็นทางเลือกหลักในการจัดสรรเงินลงทุนตั้งต้น (Strategic Asset Allocation) ในส่วนของตราสารทุน แต่ระหว่างทางยังคงมีความเสี่ยงที่ต้องจับตามอง ได้แก่ ทิศทางการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าท้ายที่สุดแล้ว QE Tapering จะเกิดขึ้นเมื่อใด, ข้อสรุปต่อเพดานหนี้ในช่วงต้นปี 2014 หลังเพิ่มเพดานหนี้ชั่วคราว 4 เดือน เพื่อให้มีเวลาในการพิจารณาในเชิงลึก, แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน และปัญหาการเมืองภายในประเทศที่กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน ดังนั้น ความไม่แน่นอนเหล่านี้จึงนำไปสู่ “ความผันผวน” ซึ่งขณะเดียวกันก็สร้าง “โอกาสการลงทุน” จึงนำไปสู่กลยุทธ์ที่เรียกว่า “การจัดสรรเงินลงทุนเชิงกลยุทธ์ (Tactical Asset Allocation)”
โดยปกติแล้วนักลงทุนจะมีการจัดสรรเงินลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ตามระดับความเสี่ยงที่แต่ละคนยอมรับได้ เช่น ตราสารหนี้ / ตราสารทุน เท่ากับ 40% / 60% หรือ 20% / 80% เป็นต้น ในบางครั้งสถานการณ์ตลาดที่เปลี่ยนไปเป็นเหตุให้สินทรัพย์บางประเภทมีความน่าสนใจในการลงทุนระยะสั้น นักลงทุนจึงเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ดังกล่าวชั่วคราวเพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
จะขอยกตัวอย่างในกรณีของตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปี 2013 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่า SET Index มีความผันผวนค่อนข้างมาก โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 ดัชนีปรับตัวลงมาทำระดับต่ำสุดที่ 1275.76 จุด จากความกังวลต่อ QE Tapering และการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย ทำให้มีแรงเทขายทำกำไรอย่างหนัก โดยเฉพาะเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติที่ไหลออกจากกลุ่มประเทศ Emerging Asia
อย่างไรก็ดี นักลงทุนบางกลุ่มที่มองความผันผวนนี้เป็นโอกาสในการลงทุน ก็สามารถทำ Tactical Asset Allocation ได้โดยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไทย (ภายใต้กรอบความเสี่ยงสูงสุดที่รับได้) และลดสัดส่วนในเงินสด/พันธบัตรระยะสั้นชั่วคราว เนื่องจากมองว่าเป็นการปรับฐานระยะสั้น ซึ่งหลังจากนั้น 1-2 เดือน SET Index ก็กลับไปที่ระดับ 1,400-1,450 จุด และนักลงทุนกลุ่มนี้ก็ปรับสัดส่วนการลงทุนกลับเข้าสู่ระดับตั้งต้นเพื่อกลับเข้าสู่ระดับความเสี่ยงปกติที่ยอมรับได้ หลังจากที่ได้อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มนี้ไปแล้ว
อย่างไรก็ดี การทำ Tactical Asset Allocation มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง 2 ประการ คือ
1. วินัยในการลงทุน - ในบางครั้งเราอาจกำหนดเป้าหมายไว้ว่าถ้าสร้างผลตอบแทนได้แล้วสัก x% จะทำการปรับสัดส่วนสู่ระดับปกติ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวจะต้องไม่มากเกินกว่าจะบรรลุได้และไม่น้อยจนไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการทำกลยุทธ์ ซึ่งในปัจจุบัน บลจ.ต่างๆ ก็มีการออกกองทุนประเภททริกเกอร์ฟันด์ x% ซึ่งเป็นการตอบโจทย์การสร้างวินัยในการลงทุนได้เป็นอย่างดี
2. กระจายความเสี่ยง - นอกเหนือจากการมีวินัยการลงทุนแล้ว การกระจายความเสี่ยงตามประเภทสินทรัพย์ หรือระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรม ก็เป็นอีกด้านหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ดังประโยคที่ว่า “อย่าใส่ไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าใบเดียว” โดยแนวโน้มในอนาคตนั้น การกระจายความเสี่ยงไปยังการลงทุนต่างประเทศก็จะเริ่มมีการพูดถึงกันมากขึ้น ตามมุมมองการลงทุนในอนาคตที่เชื่อว่าเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วจะเริ่มมีการฟื้นตัว ซึ่งในปัจจุบัน บลจ.ต่างๆ ก็มีการออกกองทุนรวมที่ลงทุนต่างประเทศ ซึ่งมีนโยบายที่หลากหลายเป็นทางเลือกให้แก่นักลงทุนมากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต ดังนั้น ในยามตลาดผันผวนจงอย่ากลัวที่จะลงทุน ในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ
แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า “โชคดีและมีความสุขในการลงทุน”