สมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมุ่งปูแนวทางการพัฒนากองทุนอย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ล่าสุดจัดโครงการประกวดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีเด่น ครั้งที่ 2 ชิงโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพฯ
ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม นายกสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เปิดเผยถึงสถิติตัวเลขล่าสุดว่า ปัจจุบันมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในประเทศทั้งสิ้นจำนวน 433 กองทุน โดยเป็นกองทุนเดี่ยว (Single fund) จำนวน 165 กองทุน และเป็นกองทุนร่วม (Pooled fund) จำนวน 268 กองทุน มีลูกจ้างรวมกันเป็นจำนวน 2,466,000 ราย นายจ้างรวม 12,800 ราย มีสินทรัพย์รวมกัน 727,948 ล้านบาท กองทุนฯ จึงนับว่าเป็นแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่ที่มีผลต่อเศรษฐกิจ และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
ล่าสุดเพื่อเป็นการกระตุ้นให้สมาชิกกองทุน คณะกรรมการกองทุน และนายจ้างตระหนักถึงบทบาทหน้าที่และสิทธิประโยชน์ของตนเอง ตลอดจนส่งเสริมบทบาทของทุกฝ่ายผ่านกระบวนการให้ความรู้ต่างๆ และเพื่อเป็นการเผยแพร่รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีเด่นให้กองทุนดังกล่าวอื่นๆ นำไปเป็นแนวทางปฏิบัติ สมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงได้มีการกำหนดจัด “โครงการประกวดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีเด่น ครั้งที่ 2” ขึ้น หลังจากปีที่ผ่านมาได้ประสบความสำเร็จจากการประกวดเป็นอย่างดี
โดยโครงการประกวดมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความนิยมด้านธรรมาภิบาลให้มีขึ้นในการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตลอดจนสร้างมาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนในการควบคุมและตรวจสอบการจัดการกองทุนโดยบริษัทจัดการลงทุนเพื่อรักษาผลประโยชน์ให้แก่สมาชิก
ขณะเดียวกัน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สมาชิกกองทุน คณะกรรมการกองทุน และนายจ้างตระหนักถึงบทบาทหน้าที่และสิทธิประโยชน์ของตนต่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตลอดจนส่งเสริมบทบาทของทุกฝ่ายผ่านกระบวนการให้ความรู้ด้านต่างๆ และเพื่อเป็นการเผยแพร่รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีเด่นเพื่อเป็นแนวทางให้กองทุนดังกล่าวอื่นๆ นำไปเป็นแนวปฏิบัติต่อไปด้วย
คุณสิงหะ นิกรพันธุ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในฐานะประธานการจัดประกวดกองทุนดีเด่น ได้กล่าวถึงการประกวดครั้งนี้ว่า ประเภทของกองทุนในการประกวดแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีขนาดกองทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาท 2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีขนาดกองทุนระหว่าง 1,000-5,000 ล้านบาท 3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีขนาดกองทุนต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท และ 4. บริษัทจัดการกองทุนที่จัดการกองทุนร่วม หรือ pooled fund ดีเด่น โดยกองทุนที่ผ่านการคัดเลือกรางวัลชนะเลิศจะได้รับโล่พระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และรางวัลชมเชยได้รับโล่จากกระทรวงการคลัง
รศ.ดร.พันทิศา ภาวบุตร และ ผศ.ดร.อัญชดา เจริญรุกข์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะกรรมการตัดสินผู้ทรงคุณวุฒิ ได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์และวิธีการตัดสินว่า สมาคมฯ พิจารณาการให้คะแนนจากหลักเกณฑ์ อันได้แก่ ประเภทการประกวดที่ 1-3 พิจารณาจากโครงสร้างการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของนายจ้างและคณะกรรมการกองทุน ความสามารถในการเป็นที่พึ่งในวัยหลังเกษียณ และบทบาทของกองทุนต่อพัฒนาการและศักยภาพของสมาชิกกองทุนและสมาคมฯ ประเภทการประกวดที่ 4 พิจารณาจากโครงสร้างการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ความสามารถในการเป็นที่พึ่งในวัยหลังเกษียณ และบทบาทของกองทุนต่อพัฒนาการและศักยภาพของสมาชิกกองทุน และสมาคมฯ
ทั้งนี้ การคัดเลือกแบ่งเป็น 2 รอบ คือรอบคัดเลือกจะพิจารณาจากข้อมูลในใบสมัคร กองทุนจำนวนหนึ่งจะได้รับคัดเลือกผ่านเข้าสู่การพิจารณาในรอบต่อไป สำหรับรอบตัดสินจะสัมภาษณ์เฉพาะกองทุนที่ผ่านการคัดเลือก เพื่อคัดเลือกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และบริษัทจัดการกองทุนประเภทกองทุนร่วม (Pooled Fund) ดีเด่น
กองทุนที่สนใจสามารถสมัครเข้าประกวดได้จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2556 และจะทำการมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2556 นี้ ณ โรงแรมดุสิตธานี ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายจัดการสำนักงาน สมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โทรศัพท์ 0-2294-7430-2
ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม นายกสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เปิดเผยถึงสถิติตัวเลขล่าสุดว่า ปัจจุบันมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในประเทศทั้งสิ้นจำนวน 433 กองทุน โดยเป็นกองทุนเดี่ยว (Single fund) จำนวน 165 กองทุน และเป็นกองทุนร่วม (Pooled fund) จำนวน 268 กองทุน มีลูกจ้างรวมกันเป็นจำนวน 2,466,000 ราย นายจ้างรวม 12,800 ราย มีสินทรัพย์รวมกัน 727,948 ล้านบาท กองทุนฯ จึงนับว่าเป็นแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่ที่มีผลต่อเศรษฐกิจ และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
ล่าสุดเพื่อเป็นการกระตุ้นให้สมาชิกกองทุน คณะกรรมการกองทุน และนายจ้างตระหนักถึงบทบาทหน้าที่และสิทธิประโยชน์ของตนเอง ตลอดจนส่งเสริมบทบาทของทุกฝ่ายผ่านกระบวนการให้ความรู้ต่างๆ และเพื่อเป็นการเผยแพร่รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีเด่นให้กองทุนดังกล่าวอื่นๆ นำไปเป็นแนวทางปฏิบัติ สมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงได้มีการกำหนดจัด “โครงการประกวดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีเด่น ครั้งที่ 2” ขึ้น หลังจากปีที่ผ่านมาได้ประสบความสำเร็จจากการประกวดเป็นอย่างดี
โดยโครงการประกวดมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความนิยมด้านธรรมาภิบาลให้มีขึ้นในการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตลอดจนสร้างมาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนในการควบคุมและตรวจสอบการจัดการกองทุนโดยบริษัทจัดการลงทุนเพื่อรักษาผลประโยชน์ให้แก่สมาชิก
ขณะเดียวกัน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สมาชิกกองทุน คณะกรรมการกองทุน และนายจ้างตระหนักถึงบทบาทหน้าที่และสิทธิประโยชน์ของตนต่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตลอดจนส่งเสริมบทบาทของทุกฝ่ายผ่านกระบวนการให้ความรู้ด้านต่างๆ และเพื่อเป็นการเผยแพร่รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีเด่นเพื่อเป็นแนวทางให้กองทุนดังกล่าวอื่นๆ นำไปเป็นแนวปฏิบัติต่อไปด้วย
คุณสิงหะ นิกรพันธุ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในฐานะประธานการจัดประกวดกองทุนดีเด่น ได้กล่าวถึงการประกวดครั้งนี้ว่า ประเภทของกองทุนในการประกวดแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีขนาดกองทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาท 2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีขนาดกองทุนระหว่าง 1,000-5,000 ล้านบาท 3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีขนาดกองทุนต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท และ 4. บริษัทจัดการกองทุนที่จัดการกองทุนร่วม หรือ pooled fund ดีเด่น โดยกองทุนที่ผ่านการคัดเลือกรางวัลชนะเลิศจะได้รับโล่พระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และรางวัลชมเชยได้รับโล่จากกระทรวงการคลัง
รศ.ดร.พันทิศา ภาวบุตร และ ผศ.ดร.อัญชดา เจริญรุกข์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะกรรมการตัดสินผู้ทรงคุณวุฒิ ได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์และวิธีการตัดสินว่า สมาคมฯ พิจารณาการให้คะแนนจากหลักเกณฑ์ อันได้แก่ ประเภทการประกวดที่ 1-3 พิจารณาจากโครงสร้างการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของนายจ้างและคณะกรรมการกองทุน ความสามารถในการเป็นที่พึ่งในวัยหลังเกษียณ และบทบาทของกองทุนต่อพัฒนาการและศักยภาพของสมาชิกกองทุนและสมาคมฯ ประเภทการประกวดที่ 4 พิจารณาจากโครงสร้างการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ความสามารถในการเป็นที่พึ่งในวัยหลังเกษียณ และบทบาทของกองทุนต่อพัฒนาการและศักยภาพของสมาชิกกองทุน และสมาคมฯ
ทั้งนี้ การคัดเลือกแบ่งเป็น 2 รอบ คือรอบคัดเลือกจะพิจารณาจากข้อมูลในใบสมัคร กองทุนจำนวนหนึ่งจะได้รับคัดเลือกผ่านเข้าสู่การพิจารณาในรอบต่อไป สำหรับรอบตัดสินจะสัมภาษณ์เฉพาะกองทุนที่ผ่านการคัดเลือก เพื่อคัดเลือกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และบริษัทจัดการกองทุนประเภทกองทุนร่วม (Pooled Fund) ดีเด่น
กองทุนที่สนใจสามารถสมัครเข้าประกวดได้จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2556 และจะทำการมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2556 นี้ ณ โรงแรมดุสิตธานี ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายจัดการสำนักงาน สมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โทรศัพท์ 0-2294-7430-2