xs
xsm
sm
md
lg

ลัดเลาะเที่ยวไปในกรุงโตเกียว เรียนรู้การใช้ชีวิตให้ปลอดภัย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทางทีมงาน “ASTVผู้จัดการ” มีโอกาสเดินทางไปญี่ปุ่น กับกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ ซึ่งการเยี่ยมชมและศึกษาดูงานระบบประกันภัยและการป้องกันภัยพิบัติครั้งนี้ ทางคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ มองว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารของกองทุนในการนำเสนอข้อมูลและประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาระบบประกันภัยพิบัติของไทย เพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างประเทศให้ยังคงดำเนินธุรกิจในประเทศ รวมถึงเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการรายใหม่ตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย
Tokyo Rinkai Disater Prevention Park หรือศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
สำหรับสถานที่แรกที่คณะเราเดินทางไปถึงนั้นก็คือ Tokyo Rinkai Disater Prevention Park หรือศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ซึ่งแนวคิดในการจัดตั้งเนื่องจากปี 1995 เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในญี่ปุ่น จากบทเรียนดังกล่าวส่งผลให้รัฐบาลจัดตั้งศูนย์นี้ขึ้นมาในกรุงโตเกียวและดำเนินการก่อสร้างเสร็จในปี 2008 โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนมีการจัดทำคู่มือปฎิบัติงานในกรณีเกิดภัยพิบัติตามระดับความรุนแรงต่างๆ เช่น มีแผนเคลื่อนย้ายน้ำ อาหารจากแหล่งที่กำหนด

นอกจากนี้ ภายในศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มีโรงพยาบาล ลานจอดรถ ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ รวมถึงมีลานสนามขนาดใหญ่ไว้สำหรับตั้งเต็นท์ พร้อมด้วยเครื่องปั่นไฟ ห้องรวมอาหาร และศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือจากต่างประเทศอีกด้วย

โดยในศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติจะมีการซักซ้อมและฝึกอบรม โดยเฉพาะโครงสร้างอาคารกรณีเกิดภัยพิบัติ ซึ่ภายในตัวอาคารของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาตินั้นจะไม่สูง และมีการออกแบบโครงสร้างพร้อมรับแผ่นดินไหวโดยใช้สปริงเป็นตัวรองรับเสาเข็มกับตัวอาคารอีกด้วย

“หลังจากที่ทีมงานได้มีโอกาสเข้าไปร่วมสัมผัสการป้องกันและเอาตัวรอดภายในศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาตินั้นพบว่า ทางญี่ปุ่นเองมีการซักซ้อมความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าไปเรียนรู้ภายในศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาตินี้อีกด้วย โดยในวันที่คณะของเราเดินทางไปจะพบเห็นผู้ปกครองที่พาเด็กๆ เข้ามาเรียนรวมถึงการเข้ามาทัศนศึกษาของบรรดานักเรียนด้วยเช่นกัน สิ่งที่จูงใจเด็กๆ มีความสนใจที่จะเรียนรู้ คือ การใช้นินเทนโด DS เข้ามาเป็นเกมถามตอบให้เด็กๆไม่รู้สึกเบื่ออีกด้วย โดยประเด็นหลักที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ การเอาตัวรอดภายใน 72 ชั่วโมงด้วยตัวเอง ก่อนที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปช่วยเหลือนั้นเอง”
เจ้าหน้าที่กำลังบรรยายเรื่องการก่อสร้าง Super Levees
สถานที่แห่งที่ 2 ซึ่งทางคณะเราเดินทางไปถึงก็คือ Super Levees หรือคันป้องกันยักษ์ ณ เมืองอาราคาวา บริเวณแม่น้ำอาราคาวา ซึ่งมีความยาว 22 กิโลเมตร กว้าง 500 เมตร ซึ่งญี่ปุ่นสร้างเพื่อใช้ผันน้ำและป้องกันน้ำท่วม ถึงวันนี้ผ่านการใช้งานมาแล้วถึง 75 ปีตามแผน Tokyo Bay Strom Surge Conteol Plan

เวลาผ่านไปหลายปี มีผู้คนมาอยู่มากขึ้นกว่าเดิมถึง 30 เท่า ประกอบกับพื้นดินทรุดตัวลงต่้ำเกิด Zero Elevation Zone หรือพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลบริเวณริมอ่าวโตเกียวใน Komutsukawa Area โดยหน่วยงานของรัฐาบาลภายใต้ชื่อ The Arakawa Karyu River Office Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism จึงปรับปรุงเป็น Super Levees ซึ่งโครงการดังกล่าวเริ่มดำเนินการในปี 1990-2014 ในบริเวณพื้นที่ 25 เฮกตาร์ ยาว 2,380 เมตร เพื่อป้องกันน้ำท่วม โดยรื้อถือบ้านเรือนออกแล้วถมคันยักษ์ให้สูง และสร้างบ้านใหม่กลับไปไว้บนคันยักษ์ และคงสภาพสิ่งแวดล้อมที่สวยงามไว้

“โดยสภาพแวดล้อมที่เห็นนั้นเต็มไปด้วยต้นซากุระ รวมถึงเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วบริเวณดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การก่อสร้าง Super Levees ทั้งเฟส 1 และเฟส 2 ใช้เวลารวม 100 ปี ซึ่งเวลาส่วนใหญ่จะเป็นการขอเวรคืนที่ดินจากชาวบ้านบริเวณนี้ รวมถึงการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนเกี่ยวกับการสร้างคันยักษ์นี้ด้วยเช่นกัน”
ภายในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และธรรมชาติแห่งชาติ
เกาะล้อตามมายังสถานที่ต่อไปนั้นก็คือNational Museum of Nature and Scoence Tokyo หรือ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และธรรมชาติแห่งชาติ โดยภายในพิพิธภัณฑ์จะนำเสนอสิ่งมีชีวิตต่างๆที่อาศัยอยู่ในเขตของหมู่เกาะญี่ปุ่น ทั้งพืชและสัตว์ชนิดต่างๆ โดยส่วใหญ่ก็จะจัดแสดงด้วยสัตว์จริงๆ ที่ถูกสตัฟไว้ นอกจากนี้ยังมีวิวัฒนาการ การใช้ชีวิตตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันของคนญี่ปุ่น โดยเริ่มพูดตั้งแต่ 40,000 ปีก่อนที่มีมนุษย์มาอาศัยอยู่บนเกาะด้วยเช่นกัน
Tokyo Skytree ช่วงกลางคืน
ช่วงเวลาต่อมาทางทีมงานก็เดินทางต่อไป ณ Tokyo Skytree หรือ โตเกียวทาวเวอร์แห่งใหม่ ซึ่งเพิ่งจะสร้างเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมานี่เอง โดย Tokyo Skytree เป็นหอกระจายคลื่นตั้งอยู่ในเขตชุมิดะ กรุงโตเกียว ซึ่งจะทำหน้าที่กระจายเสียงดิจิตอลให้กับเมืองโตเกียวและพื้นที่รอบๆ คันโต ปัจจุบันถือว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงสุดในประเทศญี่ปุ่น ที่ความสูง 634.00 เมตร หรือ 2.080 ฟุต และได้กลายเป็นหอคอยสื่อสารที่สุงที่สุดในโลกและสูงกว่าหอคอยแคนตันในเมืองกว่างโจว ประเทศจีนที่สูง 600 เมตร

นอกจากนี้ Tokyo Skytree ยังเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในเกาะ สูงกว่าอาคารไทเป 101 และเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกอันดับสอง รองจากบูร์จคาลิฟา ในดูไบ อีกด้วย ทั้งนี้โตเกียวทาวเวอร์ที่สูง 333 เมตรนั้นมีความสูงไม่เพียงพอที่จะส่งสัญญาณคลื่นโทรทัศน์แบบดิจิตอลให้ครอบคลุม เนื่องจากมีอาคารและตึกสูงจำนวนมาสร้างขึ้นบังสัญญาณบริเวณใจกลางเมือง จึงมีโครงการก่อสร้าง Tokyo Skytree นี้ขึ้นมาโดยก่อสร้างในเดือน กรกฎาคม 2551 โดยมีโครงสร้างต้านทานการสั้นสะเทือนจึงสามารถทนต่อแรงสั่นสะเทือนของการเกิดแผ่นดินไหวได้
ทดลองการเกิดแผ่นดินไหวที่ 6 ริตเตอร์
สถานที่ถัดมาที่ทีมงานเดินทางไปถึงก็คือ Honjo Bosaikan หรือศูนย์เรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย ตั้งอยู่ในเขตโยโกกาว่า โตเกียว เป็นสถานที่เรียนรู้ภัยพิบัติและสอนการป้องกันภัยล่วงหน้า เช่น ภัยธรรมชาติแผ่นดินไหว และการหลบภัย การดับไฟหากเกิดเพลิงไหม้ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย โดยภายในมีผู้สอนอบรมเรียนรู้และสาธิตการใช้เครื่องมือเพื่อสามารถนำไปใช้ปฎิบัติได้ในสถานการณ์จริง ทั้งนี้มีการจำลองเหตุกาณ์การหลบหนีควันเมื่ออยู่ในอาคาร มุมเรียนรู้วิธีการดับเพลิง รวมถึงมุมจำลองการเกิดแผ่นดินไหวด้วยเช่นกัน

“ในการเข้าไปฝึกอบรมในศูนย์เรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย นั้นทางทีมงานพบว่าเป็นสถานที่เหมาะกับเด็กๆ ที่เข้ามาเรียนรู้การเอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ โดยจะมีการจำลองเหตุการณ์ในสถานการณ์ต่างๆ ในส่วนนี้เองทำให้ทีมงานได้เรียนรู้การดับเพลิงเมื่อเกิดไฟไหม้ การเอาตัวรอดเมื่อเกิดควันไฟ รวมถึงการจำลองการเกิดแผ่นดินไหวที่ 7 ริกเตอร์”
*ผู้บริหารGIAJและผู้บริหารกองทุนส่งเสริมประกันภัยพิบัติถ่ายรูปร่วมกัน
ทิ้งท้ายกับสถานที่สุดท้ายนั่ นก็คือ สมาคมประกันภัยแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ The General Insurance Association of Japan (GIAJ) เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาระบบประกันภัยในญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก ทั้งการทำหน้าที่เป็นตัวกลางเสริมสร้างความเข้าใจในระบบประกันภัยต่อผู้บริโภค การให้คำปรึกษา รวมทั้งการทำหน้าที่ป้องกันและลดความเสียหายจากอุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ และอาชญากรรม

โดยบทบาทเหล่านี้ได้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และมีส่วนช่วยให้ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีอัตราการเกิดภัยพิบัติค่อนข้างสูงกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในเวลาอันรวดเร็ว ส่งผลให้ภาคธุรกิจและเศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนเดินหน้าต่อไปได้ นับเป็นการสร้างความมั่นคงต่อภาคธุรกิจและการคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินตลอดจนกิจการของทุกภาคส่วนในสังคมได้เป็นอย่างดี
การจำลองภาพหลังเกิดแผ่นดินไหว
วิวริมแม่น้ำอารากาวา
ภาพซากุระริมแม่น้ำอารากาวา

กำลังโหลดความคิดเห็น