คอลัมน์ Design
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ฟิลลิป จำกัด
www.phillipasset.co.th
โทร. 02-6353033
เป็นที่ทราบกันดีว่าการลงทุนในกองทุน LTF และ RMF นั้น นอกจากจะเป็นการออมเงินเพื่อสำรองไว้เป็นค่าใช้จ่ายในอนาคตและในยามเกษียณแล้ว นักลงทุนยังสามารถนำเงินลงทุนในกองทุนดังกล่าวไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จึงถือได้ว่าเป็นการลงทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและเหมาะสมต่อนักลงทุนเป็นอย่างยิ่ง แต่ท่านนักลงทุนควรที่จะตระหนักถึงข้อคิดในการลงทุนในกองทุนดังกล่าวเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับตัวนักลงทุน โดยสิ่งที่นักลงทุนควรจะต้องคำนึงก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนคือ
1. การลงทุนในกองทุน LTF จะเป็นการลงทุนที่สามารถไถ่ถอนได้โดยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีภายในระยะเวลาแค่ 5 ปีปฏิทิน แต่ต้องอย่าลืมว่าการลงทุนดังกล่าวเป็นการลงทุนในตราสารทุนเท่านั้น ดังนั้นนักลงทุนควรที่จะต้องรับทราบและยอมรับในความผันผวนของราคาของตราสารทุนนั้นๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าที่ลงทุน ในขณะที่การลงทุนในกองทุน RMF แม้ว่าจะเป็นการลงทุนในระยะที่ยาวกว่าการลงทุนในกองทุน LTF แต่จะเป็นการลงทุนที่นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในตราสารทุกประเภท ดังนั้นนักลงทุนสามารถที่จะกระจายความเสี่ยงได้ดีกว่าการลงทุนในกองทุน LTF
2. การลงทุนในกองทุน RMF เป็นการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับการออมเผื่อสำรองไว้เป็นค่าใช้จ่ายยามเกษียณมากกว่าการลงทุนในกองทุน LTF เพราะนักลงทุนสามารถที่จะไถ่ถอนเพื่อให้เกิดประโยชน์ทางภาษีสูงสุดก็ต่อเมื่อการลงทุนดังกล่าวจะต้องเป็นการลงทุนที่มีระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี และนักลงทุนจะต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ซึ่งดูโดยทั่วไปแล้วนักลงทุนจะคิดว่าเป็นการลงทุนที่นานเกินไป แต่ต้องอย่าลืมว่าการลงทุนดังกล่าวเป็นการลงทุนที่ไว้ใช้ในยามเกษียณจริงๆ ดังนั้นนักลงทุนควรที่จะเริ่มไถ่ถอนในยามเกษียณ ในระหว่างระยะเวลาก่อนที่นักลงทุนจะสามารถไถ่ถอนได้ ถ้านักลงทุนไม่สามารถที่จะลงทุนในกองทุน RMF ได้ นักลงทุนก็ยังสามารถที่จะเว้นการลงทุนได้เพียงแต่จะต้องเว้นได้ไม่เกิน 1 ปีปฏิทิน หรือนักลงทุนสามารถเลือกที่จะลงทุนในจำนวนที่น้อยที่สุดตามที่กฎหมายระบุไว้ จึงถือได้ว่าเป็นการลงทุนที่มีความยืดหยุ่นพอสมควร ไม่ทำให้เกิดภาระที่มากเกินไปต่อนักลงทุน
3. ถ้านักลงทุนต้องการที่จะลงทุนในกองทุนทั้งสองประเภทในปีปฏิทินเดียวกัน นักลงทุนควรที่จะกระจายความเสี่ยงให้เหมาะสม กล่าวคือ นักลงทุนควรที่จะลงทุนในกองทุน RMF ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ และ/หรือกองทุนที่ลงทุนในทองคำ มากกว่าที่จะลงทุนในกองทุน RMF ที่เป็นกองทุนตราสารทุนหรือกองทุนแบบผสม เพื่อเป็นการป้องกันการกระจุกตัวในการลงทุนในตราสารทุนที่มีสัดส่วนมากจนเกินไป เพราะต้องอย่าลืมว่าการลงทุนในกองทุน LTF นั้นเป็นการลงทุนในตราสารทุนเท่านั้น
4. นักลงทุนไม่ควรที่จะลงทุนในกองทุนทั้งสองประเภทแต่เฉพาะในช่วงปลายปีเท่านั้น ควรที่จะกระจายระยะเวลาในการลงทุน โดยจะเห็นได้ว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายของแต่ละปีตราสารทุนจะมีการปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นนักลงทุนอาจเสียโอกาสที่จะทำกำไรได้ นักลงทุนควรที่จะเลือกลงทุนในไตรมาสที่เห็นว่าตราสารทุนมีราคาที่เหมาะสม หรือเลือกลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน กล่าวคือ ลงทุนอย่างสม่ำเสมอเท่าๆ กันในทุกๆ เดือน
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ฟิลลิป จำกัด
www.phillipasset.co.th
โทร. 02-6353033
เป็นที่ทราบกันดีว่าการลงทุนในกองทุน LTF และ RMF นั้น นอกจากจะเป็นการออมเงินเพื่อสำรองไว้เป็นค่าใช้จ่ายในอนาคตและในยามเกษียณแล้ว นักลงทุนยังสามารถนำเงินลงทุนในกองทุนดังกล่าวไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จึงถือได้ว่าเป็นการลงทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและเหมาะสมต่อนักลงทุนเป็นอย่างยิ่ง แต่ท่านนักลงทุนควรที่จะตระหนักถึงข้อคิดในการลงทุนในกองทุนดังกล่าวเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับตัวนักลงทุน โดยสิ่งที่นักลงทุนควรจะต้องคำนึงก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนคือ
1. การลงทุนในกองทุน LTF จะเป็นการลงทุนที่สามารถไถ่ถอนได้โดยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีภายในระยะเวลาแค่ 5 ปีปฏิทิน แต่ต้องอย่าลืมว่าการลงทุนดังกล่าวเป็นการลงทุนในตราสารทุนเท่านั้น ดังนั้นนักลงทุนควรที่จะต้องรับทราบและยอมรับในความผันผวนของราคาของตราสารทุนนั้นๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าที่ลงทุน ในขณะที่การลงทุนในกองทุน RMF แม้ว่าจะเป็นการลงทุนในระยะที่ยาวกว่าการลงทุนในกองทุน LTF แต่จะเป็นการลงทุนที่นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในตราสารทุกประเภท ดังนั้นนักลงทุนสามารถที่จะกระจายความเสี่ยงได้ดีกว่าการลงทุนในกองทุน LTF
2. การลงทุนในกองทุน RMF เป็นการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับการออมเผื่อสำรองไว้เป็นค่าใช้จ่ายยามเกษียณมากกว่าการลงทุนในกองทุน LTF เพราะนักลงทุนสามารถที่จะไถ่ถอนเพื่อให้เกิดประโยชน์ทางภาษีสูงสุดก็ต่อเมื่อการลงทุนดังกล่าวจะต้องเป็นการลงทุนที่มีระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี และนักลงทุนจะต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ซึ่งดูโดยทั่วไปแล้วนักลงทุนจะคิดว่าเป็นการลงทุนที่นานเกินไป แต่ต้องอย่าลืมว่าการลงทุนดังกล่าวเป็นการลงทุนที่ไว้ใช้ในยามเกษียณจริงๆ ดังนั้นนักลงทุนควรที่จะเริ่มไถ่ถอนในยามเกษียณ ในระหว่างระยะเวลาก่อนที่นักลงทุนจะสามารถไถ่ถอนได้ ถ้านักลงทุนไม่สามารถที่จะลงทุนในกองทุน RMF ได้ นักลงทุนก็ยังสามารถที่จะเว้นการลงทุนได้เพียงแต่จะต้องเว้นได้ไม่เกิน 1 ปีปฏิทิน หรือนักลงทุนสามารถเลือกที่จะลงทุนในจำนวนที่น้อยที่สุดตามที่กฎหมายระบุไว้ จึงถือได้ว่าเป็นการลงทุนที่มีความยืดหยุ่นพอสมควร ไม่ทำให้เกิดภาระที่มากเกินไปต่อนักลงทุน
3. ถ้านักลงทุนต้องการที่จะลงทุนในกองทุนทั้งสองประเภทในปีปฏิทินเดียวกัน นักลงทุนควรที่จะกระจายความเสี่ยงให้เหมาะสม กล่าวคือ นักลงทุนควรที่จะลงทุนในกองทุน RMF ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ และ/หรือกองทุนที่ลงทุนในทองคำ มากกว่าที่จะลงทุนในกองทุน RMF ที่เป็นกองทุนตราสารทุนหรือกองทุนแบบผสม เพื่อเป็นการป้องกันการกระจุกตัวในการลงทุนในตราสารทุนที่มีสัดส่วนมากจนเกินไป เพราะต้องอย่าลืมว่าการลงทุนในกองทุน LTF นั้นเป็นการลงทุนในตราสารทุนเท่านั้น
4. นักลงทุนไม่ควรที่จะลงทุนในกองทุนทั้งสองประเภทแต่เฉพาะในช่วงปลายปีเท่านั้น ควรที่จะกระจายระยะเวลาในการลงทุน โดยจะเห็นได้ว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายของแต่ละปีตราสารทุนจะมีการปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นนักลงทุนอาจเสียโอกาสที่จะทำกำไรได้ นักลงทุนควรที่จะเลือกลงทุนในไตรมาสที่เห็นว่าตราสารทุนมีราคาที่เหมาะสม หรือเลือกลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน กล่าวคือ ลงทุนอย่างสม่ำเสมอเท่าๆ กันในทุกๆ เดือน