เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ ASTVผู้จัดการรายวัน ได้เกาะติดปัญหาวิกฤติหนี้ยุโรปกับ "นิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์" กรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย กันไปเเล้วมาถึงสัปดาห์นี้ทีมงานจะพาไปเกาะติดพัฒนาการของการของ "baht bond" ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด
Q - การทำงานในคณะทำงานที่คุณนิวัฒน์ร่วมอยู่ตอนนี้ มันยังเป็น step ที่อยู่แค่เฉพาะในกรอบของตลาดสกุลเงินท้องถิ่นก่อน แต่ยังไม่ถึงขั้นเอเชียบอนด์ คือเข้าใจแบบนี้ถูกหรือไม่
A - จริงๆ แล้วตัวที่เป็นความร่วมมือกันภายใต้ ABMI โดยที่มีตัว ABMF หรือ ASEAN+3 เป็นตัวลูกของมันก็คือเพื่อที่จะพัฒนา local currency bond นั่นหมายความว่าให้มันเป็น bond ที่ dominated by local currency ของแต่ละประเทศในอาเซียน ถ้าในเมืองไทยก็หมายถึง baht bond และในแต่ละประเทศก็เป็นคง currency เขาไป เพราะฉะนั้นในบ้านเรา เราก็จะเน้นที่ baht bond เป็นหลัก
Q - มูลค่า baht bond บ้านเราตั้งแต่เริ่มพัฒนากันมาตอนนี้มันขึ้นมาเท่าไหร่แล้ว
A - วันนี้ถ้าเป็นเฉพาะ corporate ไม่รวม government ก็ตกประมาณกว่า 1.3 ล้านล้านบาท คือจริงๆ แล้วต้องบอกว่าต่างชาติออก baht bond ในบ้านเรามีน้อยมาก เพราะอย่างถ้าเราพูดถึงพวกต่างชาติที่มีธุรกิจในไทยยกตัวอย่างเช่นอิออนก็มีการออก แต่ก็ถือเป็นบริษัทจดทะเบียนในเมืองไทยแม้จะมีการถือหุ้นโดยนักลงทุนต่างชาติก็ตาม อันนี้เราก็ยังถือว่าเป็น corporate ในเมืองไทยด้วย
แต่ถ้าบอกว่า corporate จากเมืองนอกเลยเข้ามาออก baht bond เลยนี่มีน้อย แต่มันจะมีลักษณะของ corporate ต่างประเทศที่เป็นองค์กรต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่เป็นองค์กรของรัฐบาล อย่าง EX-IM ของเกาหลีที่เข้ามาออกในบ้านเรา แต่เขาก็จะมาออกในตราสารประเภท F/X Bond ในสกุลเงิน USD ซึ่งก็ต้องขออนุญาตจากแบงก์ชาติก่อนด้วย ตัวนี้ volume ที่เป็น outstanding ตอนนี้จะมีอยู่ประมาณ 60,000 กว่าล้านบาท
Q - แล้วต่างชาติที่ทำธุรกิจในบ้านเราเขามีปัญหาอะไรมากหรือเปล่าทำไมถึงไม่ค่อยเข้ามาออกตราสารเองในตลาดเราทั้งที่บริษัทแม่ก็หาเงินในตลาดได้ยาก
A - ผมมองว่าปัญหาด้วยต้นทุนเป็นปัญหาเรื่องหนึ่ง เพราะไม่ว่าเขาจะระดมที่ไหนท้ายสุดมันต้อง converse กลับไปเป็นดอลลาร์ฯ เขาคงไม่อยากจะถือ currency อื่นถูกไหม ถ้าเขามาระดมบาทแล้วต้อง converse เป็น currency dollar แล้วจุดมันอยู่ที่ว่าต้นทุนที่เขาระดมทุนสำหรับเมืองไทยแล้วมันจะต่ำกว่าที่เขาระดมในประเทศหรือเปล่า
อย่างที่เราเห็น foreign ที่มาระดมในเมืองไทยส่วนใหญ่จะเป็นเกาหลี เพราะต้นทุนทางเกาหลีสูงกว่าไทย คือมีส่วนต่างบ้างแต่อาจจะไม่ได้มากเท่าไหร่แต่ก็พอจะให้ cost saving ได้อยู่ถ้ามาระดมในเมืองไทย แต่ถ้าเป็นอย่างพวกมาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เขาคงไม่มาระดมที่เมืองไทย เพราะต้นทุนทางเราสูงกว่า
คนที่จะเข้ามาแบบนี้ มันต้องขออนุญาตแบงก์ชาติและกระทรวงการคลังด้วยที่เขาจะให้เป็น window ประมาณ 9 เดือนว่าได้รับอนุญาตแล้ว วงเงินเท่านี้ ต้องระดมภายใน 9 เดือน และคนที่ส่วนใหญ่ได้รับอนุญาตจากแบงก์ชาติมันต้องเป็นเกรดประเภทอินเวสเมนต์เกรด AAA, AA เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าส่วนใหญ่ที่เข้ามาระดมจะเป็นสถาบันการเงินระหว่างประเทศหรือเป็นองค์กรของรัฐบาล หรือไม่งั้นก็ต้องเป็นบริษัทที่มี AAA เป็นอินเตอร์เนชั่นแนลจริงๆ ส่วนใหญ่เราก็จะอนุญาตให้พวกนั้น
แต่ถ้าเกิดเป็นอย่างบริษัท TATA ในไทยอยากจะมาระดมในตลาดบ้านเรา ผมก็ไม่มีข้อมูลว่าบริษัทแบบนั้นเขา rating ในระดับอินเตอร์เนชั่นแนลเป็นยังไง เพราะต้อง assume ก่อนว่าอินเดียสมมุติ rating เขาเป็น BBB หรือ A แล้ว TATA ก็ไม่น่าจะเกินกว่าตรงนั้น การจะมาขออนุญาตก็อาจจะทำไม่ได้ เพราะเขาไม่ได้เป็น government แต่ถ้าเขามาเป็นองค์กรของรัฐแบบ EX-IM ของเกาหลี แบงก์ชาติกับคลังก็อาจจะอนุมัติได้ง่าย
ฉะนั้น foreign ที่มาระดมในไทยแล้วออกเป็น F/X Bond ได้คือหนึ่งจะต้องเป็นกลุ่มที่มี rating ที่ดี สองมองเห็น opportunity ที่เป็น cost saving มากกว่าการระดมตราสารในประเทศตัวเอง อย่างเกาหลีที่มา เขามาเจอ rate บวกกับที่เขาทำ forwards ไปเป็น USD หรือเป็นเงินวอนของเขาเองถ้าเกิดอยากจะเอากลับไปใช้ในประเทศก็ตาม มันก็ยังมีส่วนต่างมากกว่าที่จะระดมด้วยวอนในเกาหลีเอง
Q - เมื่อต้นปีนี้มีผลวิเคราะห์จาก ADB เกี่ยวกับเรื่องผลกระทบจากปัญหา subprime ในอเมริกาเมื่อปี 2008 ต่อตลาดตราสารหนี้เอเชีย ดูเหมือนว่าตอนนั้นตลาดของพวกเราค่อนข้างจะมีพลังความสามารถที่จะรับแรงกระแทกได้ค่อนข้างดีทีเดียว แม้ yield จะแกว่งแรง spread มีช่วงห่างกันมากขึ้นในแต่ละตลาด แต่โดยรวมก็ยังต้านทานแรงกระแทกหนักๆ ขนาดนี้ได้ดี ความแข็งแกร่งหรือพลังใหม่ที่เกิดขึ้นมาแบบนี้นอกเหนือจากปัจจัยทางเศรษฐกิจเอเชียเอง มันยังมีนัยพิเศษที่จะบอกอะไรกับพวกเราได้มากกว่านี้หรือเปล่า
A - ใช่ครับ ตอนนี้ทาง ADB ที่เขาต้องการทำเรื่อง local currency bond market เขามี objective ที่จะสร้าง bond market ของแต่ละประเทศให้มีความแข็งแกร่งและมีการ diversify ในการ source ของนักลงทุนว่าแทนที่จะมาจากยุโรปอย่างเดียวก็จะมีนักลงทุนที่อยู่ในอาเซียนด้วยกัน ฉะนั้น direction หรือ yield ของการมองอะไรต่างๆ มันจะมีความแตกต่างกัน อย่างเช่น นักลงทุนในประเทศก็มองอย่าง แต่นักลงทุนใน regional ก็จะมองอีกอย่าง มันจะเป็นการลดสัดส่วนนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาในตลาดตราสารหนี้อาเซียนว่าจะไม่ได้มาจากทางยุโรปแค่อย่างเดียว แล้วจะสร้างให้เกิดคำว่า regional market และ regional saving ก็ควรจะลงทุนใน regional market เพราะอาเซียนเป็นพื้นที่ที่มี saving rate สูงสุดในโลก สูงกว่าในยุโรปเพราะยุโรปเป็นรัฐสวัสดิการ ทุกคนเลยหวังจะพึ่งพาให้รัฐเลี้ยงดู คนจึงไม่ save จริงๆ แล้วยุโรปกับอเมริกาเราต้องบอกว่าเขาไม่มี saving แต่เขาเป็นแค่ตัวกลาง เป็นแค่มาร์เก็ตเท่านั้น แล้วทำไมเราถึงไม่สร้างอาเซียนให้เป็นมาร์เก็ตของพวกเราเอง นั่นคือสิ่งที่ ADB เขากำลังสร้าง และถ้าเกิดเขาสร้าง local currency bond ให้มันแข็งแรงได้ ยุโรปหรือฝรั่งจะไปจะมา เราก็รับได้เพราะเรามี cushion มากพอ นั่นคือไอเดีย