คอลัมน์บัวหลวง Money Tips
โดย ศิรารัตน์ อรุณจิตต์
บลจ.บัวหลวง
“นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินปี 2551 ตำแหน่งงานได้หายไปจากตลาดแรงงานแล้วประมาณ 50 ล้านตำแหน่ง ในช่วงปี 2554 มีคนตกงานมากถึง 196 ล้านคนทั่วโลก และคาดว่า อัตราการว่างงานในปีนี้จะอยู่ที่ 6.1% หรือ 202 ล้านคน ตามการคาดการณ์ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)”
จำนวนคนตกงานที่มากมายขนาดนี้ คงไม่ดีแน่ต่อเศรษฐกิจโลกจากแรงขับเคลื่อนสำคัญได้ขาดหายไป เนื่องด้วยแรงงานหรืออาจเรียกได้ว่ากำลังกายหรือกำลังความคิดของมนุษย์นั้น จัดเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจใดมีการจ้างงานที่สูงหรือมีอัตราการว่างงานที่ต่ำ จะส่งผลให้คนมีรายได้ มีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยอันเป็นการเพิ่มพูนการบริโภค หรือ C (Consumption) ซึ่งเป็นส่วนช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ส่วนหนึ่ง เพราะองค์ประกอบของ GDP มาจาก 4 ส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ C (Consumption-การบริโภค) I (Investment-การลงทุน) G (Government-การใช้จ่ายภาครัฐ) และ X-M (Net export-การส่งออกสุทธิ)
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าอัตราการว่างงาน หรือ Unemployment rate เป็นดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่ได้รับความสนใจและมีความสำคัญต่อนักลงทุนและนักเศรษฐศาสตร์อย่างแพร่หลาย จากการเป็นดัชนีหนึ่งที่สามารถบ่งชี้ถึงแรงขับเคลื่อนในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งบ่อยครั้งที่มักจะเห็นความผันผวนของตลาดเงินตลาดทุนหลังจากที่มีการประกาศตัวเลขอัตราการว่างงานออกมาโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่ทั่วโลกต่างเฝ้าติดตามขณะนี้คงหนีไม่พ้นตัวเลขจากฝั่งยุโรปและยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา โดยในช่วงที่ผ่านมา อัตราการว่างงานของยุโรปได้พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องสู่ระดับ 10.9% ในเดือนมีนาคม
โดยมีสเปนเป็นประเทศนำโด่งที่มีอัตราการว่างงานสูงมากถึง 24.44% และที่น่าหวั่นใจคือ ครึ่งหนึ่งในนั้นเป็นแรงงานวัยเยาวชน ซึ่งควรจะเป็นแรงงานหลักที่สำคัญและถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะไม่สงบทางสังคม
ขณะที่ฟากฝั่งสหรัฐ มีตัวเลขที่ดีขึ้นต่อเนื่อง อัตราการว่างงานล่าสุดลดลงมาอยู่ที่ระดับ 8.1% จากที่เคยแตะระดับสูงสุดที่ 10% ในปลายปี 2009 ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า การลดลงดังกล่าวเป็นสิ่งที่ควรจะเป็น เพราะเป็นปีแห่งการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่จากความเห็นดังกล่าวนี้ผู้เขียนคาดว่าคงต้องมาดูกันอีกครั้ง ว่าหลังจากการเลือกตั้งสหรัฐผ่านไปในช่วงปลายปีนี้ ตัวเลขการว่างงานจะออกมาในรูปแบบใด ซึ่งน่าจะเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวได้อย่างมีเสถียรภาพหรือไม่
และขอส่งท้ายบทความนี้ด้วยกราฟจาก ILO ที่เปรียบเทียบการจ้างงานของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วในช่วงก่อนเกิดวิกฤตคือ ไตรมาส 3 ของปี 2007 กับไตรมาส 3 ของปี 2011 ซึ่งพบว่า ในจำนวน 35 ประเทศในกลุ่มดังกล่าว มีเพียง 6 ประเทศเท่านั้นที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น
โดย ศิรารัตน์ อรุณจิตต์
บลจ.บัวหลวง
“นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินปี 2551 ตำแหน่งงานได้หายไปจากตลาดแรงงานแล้วประมาณ 50 ล้านตำแหน่ง ในช่วงปี 2554 มีคนตกงานมากถึง 196 ล้านคนทั่วโลก และคาดว่า อัตราการว่างงานในปีนี้จะอยู่ที่ 6.1% หรือ 202 ล้านคน ตามการคาดการณ์ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)”
จำนวนคนตกงานที่มากมายขนาดนี้ คงไม่ดีแน่ต่อเศรษฐกิจโลกจากแรงขับเคลื่อนสำคัญได้ขาดหายไป เนื่องด้วยแรงงานหรืออาจเรียกได้ว่ากำลังกายหรือกำลังความคิดของมนุษย์นั้น จัดเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจใดมีการจ้างงานที่สูงหรือมีอัตราการว่างงานที่ต่ำ จะส่งผลให้คนมีรายได้ มีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยอันเป็นการเพิ่มพูนการบริโภค หรือ C (Consumption) ซึ่งเป็นส่วนช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ส่วนหนึ่ง เพราะองค์ประกอบของ GDP มาจาก 4 ส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ C (Consumption-การบริโภค) I (Investment-การลงทุน) G (Government-การใช้จ่ายภาครัฐ) และ X-M (Net export-การส่งออกสุทธิ)
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าอัตราการว่างงาน หรือ Unemployment rate เป็นดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่ได้รับความสนใจและมีความสำคัญต่อนักลงทุนและนักเศรษฐศาสตร์อย่างแพร่หลาย จากการเป็นดัชนีหนึ่งที่สามารถบ่งชี้ถึงแรงขับเคลื่อนในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งบ่อยครั้งที่มักจะเห็นความผันผวนของตลาดเงินตลาดทุนหลังจากที่มีการประกาศตัวเลขอัตราการว่างงานออกมาโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่ทั่วโลกต่างเฝ้าติดตามขณะนี้คงหนีไม่พ้นตัวเลขจากฝั่งยุโรปและยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา โดยในช่วงที่ผ่านมา อัตราการว่างงานของยุโรปได้พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องสู่ระดับ 10.9% ในเดือนมีนาคม
โดยมีสเปนเป็นประเทศนำโด่งที่มีอัตราการว่างงานสูงมากถึง 24.44% และที่น่าหวั่นใจคือ ครึ่งหนึ่งในนั้นเป็นแรงงานวัยเยาวชน ซึ่งควรจะเป็นแรงงานหลักที่สำคัญและถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะไม่สงบทางสังคม
ขณะที่ฟากฝั่งสหรัฐ มีตัวเลขที่ดีขึ้นต่อเนื่อง อัตราการว่างงานล่าสุดลดลงมาอยู่ที่ระดับ 8.1% จากที่เคยแตะระดับสูงสุดที่ 10% ในปลายปี 2009 ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า การลดลงดังกล่าวเป็นสิ่งที่ควรจะเป็น เพราะเป็นปีแห่งการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่จากความเห็นดังกล่าวนี้ผู้เขียนคาดว่าคงต้องมาดูกันอีกครั้ง ว่าหลังจากการเลือกตั้งสหรัฐผ่านไปในช่วงปลายปีนี้ ตัวเลขการว่างงานจะออกมาในรูปแบบใด ซึ่งน่าจะเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวได้อย่างมีเสถียรภาพหรือไม่
และขอส่งท้ายบทความนี้ด้วยกราฟจาก ILO ที่เปรียบเทียบการจ้างงานของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วในช่วงก่อนเกิดวิกฤตคือ ไตรมาส 3 ของปี 2007 กับไตรมาส 3 ของปี 2011 ซึ่งพบว่า ในจำนวน 35 ประเทศในกลุ่มดังกล่าว มีเพียง 6 ประเทศเท่านั้นที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น