บลจ.ไอเอ็นจี ควักเงินกว่า 105.2 ล้านบาท จ่ายค่าชดเชยให้กองทุนอสังหาฯทียูโดม หลังธนาคารธนชาตเรียกร้องเงินค่าเสียหายจากการบริหารจัดการกองทุน 100 ล้านบาท ขณะที่ก.ล.ต.มีความเห็นให้บลจ.ไอเอ็นจี ต้องจ่ายค่าบุคลากรและค่าสำนักงานโครงการของกองทุนที่ไม่ได้ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนอีก 5.2 ล้านบาท
นายจุมพล สายมาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึง การชำระเงินค่าชดเชยความเสียหายในการบริหารจัดการกองทุนรวมจำนวน 100 ล้านบาท และชดเชยค่าใช้จ่ายจำนวน 5.2 ล้านบาทของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที ยู โดม เรสซิเดนท์เชียล คอมเพล็กซ์ หรือ TU-PF
โดยการชำระเงินค่าชดเชยความเสียหายในการบริหารจัดการกองทุนรวมจำนวน 100 ล้านบาทตามที่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีมติครั้งที่ 2/2554 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2554 ให้แต่งตั้งธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ผู้ดูแลผลประโยชน์ เป็นตัวแทนผู้ถือหน่วยลงทุน ดำเนินการเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายจำนวน 100 ล้านบาท จากบริษัทจัดการตลอดจนดำเนินการตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ต่างๆ
ทั้งนี้บลจ.และผู้ดูแลผลประโยชน์ได้บรรลุข้อตกลงในแนวทางการดำเนินการชดเชยความเสียหาย และได้ร่วมกันลงนามในสัญญาระงับข้อพิพาทซึ่งเป็นสัญญาที่ระบุถึงระยะเวลา และรายละเอียดวิธีการในการจ่ายเงินชดเชยแก่กองทุนรวมเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2554 ทั้งนี้บริษัทจัดการได้ดำเนินการนำเงินค่าชดเชยความเสียหายจำนวน 100 ล้านบาท เข้าบัญชีของกองทุนรวมแล้วเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2554
ส่วนการชดเชยค่าใช้จ่ายจำนวน 5.2 ล้านบาท เนื่องด้วยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) มีความเห็นว่าการจ่ายเงินเดือนบุคคลากรประจำโครงการ (On-site Staff) และค่าใช้จ่ายสำนักงานโครงการ (Site Office) ของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที ยู โดม เรสซิเดนท์เชี่ยล คอมเพล็กซ์ เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่มีระบุรายการอย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวน
ดังนั้นบริษัทจัดการจึงจะได้ชดเชยค่าใช้จ่ายดังกล่าวที่ได้เคยจ่าย ออกไปในตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีรายการจ่ายจนถึงเดือนพฤษภาคม 2554 จำนวน 5.2 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทจัดการได้จ่ายคืนเงินดังกล่าวจำนวน 5.2 ล้านบาทเข้าบัญชีกองทุนรวมแล้วเมื่อในวันที่ 29ธันวาคม 2554
นอกจากนี้รายงานข่าวยังระบุต่อว่า บลจ.ได้ว่างจ้างบริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ประเมินราคาสินทรัพย์โดยผู้ประเมินใช้วิธีพิจารณาจากรายได้ (Income Approach) เป็นเกณฑ์ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้ โดยคิดจากประมาณการรายได้ค่าเช่าในส่วนที่กองทุนจะได้รับ หักด้วยประมาณการค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลาสิทธิการเช่าที่เหลืออยู่ (ระยะเวลาตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2554 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2581) และนำมาคำนวณหามูลค่าทรัพย์สินด้วยวิธีการคิดลดให้เป็นมูลค่าปัจจุบันโดยใช้อัตราส่วนลด (Discount Rate) ที่ 12% ต่อปี
โดยบริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) ได้ประเมินสินทรัพย์ที่ประกอบไปด้วยสิทธิการเช่าที่ดิน จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ 2 งาน 50.289 ตารางวาและสิ่งปลูกสร้าง โครงการ “ที ยู โดม เรสซิเดนท์เชียล คอมเพล็กซ์” ซึ่งประกอบด้วย อาคารพักอาศัยพร้อมพื้นที่พลาซ่า จำนวน 4 อาคาร ได้แก่ อาคารเซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ สูง 10 ชั้น พร้อมชั้นใต้ดิน จำนวน 1 อาคาร อาคารหอพักนักศึกษา สูง 9 ชั้น พร้อมชั้นใต้ดิน จำนวน 3 อาคาร (ระยะเวลา 30 ปี สัญญาสิ้นสุดวันที่ 25 ธันวาคม 2581) อยู่ที่ 965,000,000 บาท
นายจุมพล สายมาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึง การชำระเงินค่าชดเชยความเสียหายในการบริหารจัดการกองทุนรวมจำนวน 100 ล้านบาท และชดเชยค่าใช้จ่ายจำนวน 5.2 ล้านบาทของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที ยู โดม เรสซิเดนท์เชียล คอมเพล็กซ์ หรือ TU-PF
โดยการชำระเงินค่าชดเชยความเสียหายในการบริหารจัดการกองทุนรวมจำนวน 100 ล้านบาทตามที่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมมีมติครั้งที่ 2/2554 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2554 ให้แต่งตั้งธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ผู้ดูแลผลประโยชน์ เป็นตัวแทนผู้ถือหน่วยลงทุน ดำเนินการเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายจำนวน 100 ล้านบาท จากบริษัทจัดการตลอดจนดำเนินการตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ต่างๆ
ทั้งนี้บลจ.และผู้ดูแลผลประโยชน์ได้บรรลุข้อตกลงในแนวทางการดำเนินการชดเชยความเสียหาย และได้ร่วมกันลงนามในสัญญาระงับข้อพิพาทซึ่งเป็นสัญญาที่ระบุถึงระยะเวลา และรายละเอียดวิธีการในการจ่ายเงินชดเชยแก่กองทุนรวมเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2554 ทั้งนี้บริษัทจัดการได้ดำเนินการนำเงินค่าชดเชยความเสียหายจำนวน 100 ล้านบาท เข้าบัญชีของกองทุนรวมแล้วเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2554
ส่วนการชดเชยค่าใช้จ่ายจำนวน 5.2 ล้านบาท เนื่องด้วยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) มีความเห็นว่าการจ่ายเงินเดือนบุคคลากรประจำโครงการ (On-site Staff) และค่าใช้จ่ายสำนักงานโครงการ (Site Office) ของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที ยู โดม เรสซิเดนท์เชี่ยล คอมเพล็กซ์ เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่มีระบุรายการอย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวน
ดังนั้นบริษัทจัดการจึงจะได้ชดเชยค่าใช้จ่ายดังกล่าวที่ได้เคยจ่าย ออกไปในตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีรายการจ่ายจนถึงเดือนพฤษภาคม 2554 จำนวน 5.2 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทจัดการได้จ่ายคืนเงินดังกล่าวจำนวน 5.2 ล้านบาทเข้าบัญชีกองทุนรวมแล้วเมื่อในวันที่ 29ธันวาคม 2554
นอกจากนี้รายงานข่าวยังระบุต่อว่า บลจ.ได้ว่างจ้างบริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ประเมินราคาสินทรัพย์โดยผู้ประเมินใช้วิธีพิจารณาจากรายได้ (Income Approach) เป็นเกณฑ์ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้ โดยคิดจากประมาณการรายได้ค่าเช่าในส่วนที่กองทุนจะได้รับ หักด้วยประมาณการค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลาสิทธิการเช่าที่เหลืออยู่ (ระยะเวลาตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2554 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2581) และนำมาคำนวณหามูลค่าทรัพย์สินด้วยวิธีการคิดลดให้เป็นมูลค่าปัจจุบันโดยใช้อัตราส่วนลด (Discount Rate) ที่ 12% ต่อปี
โดยบริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) ได้ประเมินสินทรัพย์ที่ประกอบไปด้วยสิทธิการเช่าที่ดิน จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ 2 งาน 50.289 ตารางวาและสิ่งปลูกสร้าง โครงการ “ที ยู โดม เรสซิเดนท์เชียล คอมเพล็กซ์” ซึ่งประกอบด้วย อาคารพักอาศัยพร้อมพื้นที่พลาซ่า จำนวน 4 อาคาร ได้แก่ อาคารเซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ สูง 10 ชั้น พร้อมชั้นใต้ดิน จำนวน 1 อาคาร อาคารหอพักนักศึกษา สูง 9 ชั้น พร้อมชั้นใต้ดิน จำนวน 3 อาคาร (ระยะเวลา 30 ปี สัญญาสิ้นสุดวันที่ 25 ธันวาคม 2581) อยู่ที่ 965,000,000 บาท