xs
xsm
sm
md
lg

เอกชนชี้นโยบายรัฐดีแต่ต้องไม่โกง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

"กิตติรัตน์" โปรยยาหอมนักลงทุน นโยบายการกระจายรายได้มีเป้ารักษาสมดุลเศรษฐกิจ ไม่ใช่นโยบายประชานิยม ขณะที่เอกชนมองเป็นเรื่องดี แต่ต้องปลอดการคอรัปชั่น

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวในงานสัมนา "อนาคต กำหนดได้ " ที่จัดโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงศรี จำกัดว่า นโยบายการกระจายรายได้เพื่อรักษาสมดุลเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่ใช่นโยบายประชานิยมอย่างที่เคยบอกกันไว้ ซึ่งหลักๆเราจะเน้นการกระจายรายได้ เช่นการขึ้นค่าแรงงาน 300 บาท หรือ ปริญญาตรีขั้นต่ำ 15,000 บาท เพื่อกระตุ้นในเกิดการบริโภคภายในประเทศแทนการส่งออก

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาประเทศไทยกระจายรายได้ไม่ดี ซึ่งผู้ที่มีรายได้สูงจะมีความสำเร็จมาก แต่คนที่มีรายได้น้อยมีส่วนแบ่งน้อยลง ทำให้ประเทศไทยเสียสมดุลไปมาก โดยปัจจุบันประเทศที่ไทยส่งออกไปมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นยุโรป หรืออเมริกา ทำให้การสั่งสินค้าน้อยลง แต่ตัวเลขการส่งออกล่าสุดดนั้นอยู่ที่ 72% ซึ่งสูงกว่าเดือนก่อนหน้า นั้นก็เพราะสินค้าที่ไทยส่งออกไปเป็นสินค้าที่ราคาไม่เเพง คุณภาพอยู่ในอันดับที่เหมาะสมกับราคาทำให้ยอดสั่งซื้อสินค้ายังคงมีต่อเนื่อง โดยผู้บริโภคมีการปรับลดการซื้อสินค้าราคาแเพงและหันมาใช้สินค้าราคาถูกและมีคุณภาพที่เหมาะสมกับราคา

อย่างไรก็ตาม การขึ้นค่าแรงนั้นหากในส่วนของแรงงานมีการปรับปรุงคุณภาพการทำงานนายจ้างก็จะมีปรับเพิ่มเงินเดือนเพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่การรับผิดชอบงานที่สูงขึ้น ซึ่งต้นทุนของนายจ้างจะสูงขึ้นแต่เป็นส่วนที่นายจ้างยอมจ่าย ขณะที่ภาคเกษตรกรนั้นรัฐบาลก็มีน่าที่จะดูแลให้สอดคล้องกันช่วงเวลาเพาะปลูก ให้เกษตกรมีรายได้ที่ดีขึ้นและมีเงินเหลือใช้ในช่วงเวลารอการเก็บเกี่ยว ซึ่งการจำนำข้าวก็เป็นอีกวิธีกาที่ดีกว่าการประกันรายได้อย่างที่เคยทำกันมา แม้ว่าจะมีนักวิชาการจำนวนมากไม่เห็นด้วย แต่เราจะทำให้ดีที่สุด ซึ่งก่อนหน้านี้การประกันราคาข้าวใช้เงินมากกว่าการจำนำข้าว โดย 2 ฤดูการเก็บเกี่ยวที่ผ่านมาใช้เงินสูงกว่า 125,000 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าประวัติการจำนำข้าวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และเรามองว่าผิดกฎ WTO อีกด้วย

ขณะที่นายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงศรี จำกัด กล่าวว่า การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานไทยเรามองว่าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ซึ่งเมื่อแรงงานมีรายได้สูงการทำงานก็ย่อมมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม หลายสิบปีที่ผ่านมาวิกฤติเศรษฐกิจที่เคยมีมาภายในประเทศ คนไทยก็สามาถผ่านมาได้ เช่นเมื่อ 4-5 ปีก่อนเคยมีคนวิพากษ์วิจารณ์ว่าธุรกิจจะเสียหายเนื่องจากค่าเงินบาทแข็ง แต่เราก็สามารถผ่านมาได้ โดยตนเองมงอว่าโจทย์เรื่องการขึ้นค่าแรงเป็นสิ่งที่ท้าทาย ซึ่งบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือภาคธุรกิจใหญ่ๆจะแบกรับต้นทุนได้ไม่น่าจะมีปัญหา แต่ในส่วนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กอาจจะได้รับผลกระทบ ซึ่งรัฐบาลคงต้องดูแลปัญหาในส่วนนี้ หากคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นได้ก็เชื่อว่าจะป็นการปรับสมดุลให้กับประเทศไทยได้

"นโยบายต่างๆที่รัฐบาลวางไว้ เรามองว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งที่จะต้องติดตามก็คือการคอรับชั่น เช่นการจำนำข้าว นโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายที่ดี แต่สิ่งทีเห็นกันก็คือการคอรับชั่น ซึ่งผมมองว่าหากปลอดเรื่องดังกล่าวได้ประเทศไทยจะเดินหน้าต่อไปได้" นายประภาสกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น