กองทุนรวม 8 เดือนเงินลงทุนไหลออกเกือบ 2% หลังกองทุนเทอม์ฟันด์ที่ลงทุนต่างประเทศครบอายุ และไม่ลงทุนต่อ พบตั้งแต่ต้นปีกองทุนเอฟไอเอฟ ลดลงกว่า 1.19 แสนล้าน ฉุดผู้นำตลาดสินทรัพย์หายไปด้วย แต่ "บลจ.กรุงไทย" ยังแกร่ง สินทรัพย์โตสวนทางอุตสาหกรรม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาพรวมธุรกิจกองทุนรวมในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พบว่าเงินลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ ครบอายุและไหลออกไปจากระบบเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนหนึ่ง น่าจะเป็นการครบอายุของกองทุนตราสารหนี้ที่ออกไปลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา บรรดาบริษัทจัดการกองทุนเอง ก็พยายามออกกองทุนเป็นเลือกทางให้กับนักลงทุน โดยเฉพาะกองทุนเทอม์ฟันด์ที่ออกไปลงทุนในเงินฝากธนาคารต่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูง แต่ก็ไม่สามารถดึงเงินลงทุนเอาไว้ได้ทั้งหมด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ จากการสำรวจเงินลงทุนทั้งระบบ ล่าสุด ณ วันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา พบว่า กองทุนรวมทั้งระบบมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,993,018.66 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปีที่ผ่านมา ซึ่งมีเงินลงทุนรวมทั้งระบบกว่า 2,032,384.76 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการลดลงกว่า 39,366.10 ล้านบาท หรือคิดเป็นการหดตัว 1.94%
โดยจากการสำรวจเงินลงทุนในแต่ละประเภท พบว่าเงินลงทุนจากกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ลดลงจากต้นปีกว่า 119,140.03 ล้านบาททีเดียว
ในขณะที่ส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) พบว่า ตั้งแต่ต้นปี บริษัทจัดการส่วนใหญ่ รวมถึงรายใหญ่ที่เป็นผู้นำตลาด ต่างมีสินทรัพย์ลดลงกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ยังคงสามารถเพิ่มสินทรัพย์ภายใต้การบริหารสวนทางเป็นบวกได้ โดยมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นถึง 19,031.15 ล้านบาทจากสิ้นปีที่ผ่านมา ส่วนทางบลจ. บัวหลวง ซึ่งมีเงินลงทุนลดลงมากที่สุดหากเทียบจากตัวเลขสิ้นที่ที่ผ่านมา โดยมีเงินลงทุนลดลงถึงกว่า 21,747.24 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม มาร์เก็ตแชร์ในปัจจุบัน ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก อันดับ 1 ยังคงเป็น บลจ.กสิกรไทย ด้วยสินทรัพย์รวมกว่า 474,123.45 ล้านบาท อันดับ 2 บลจ.ไทยพาณิชย์ ด้วยเงินลงทุนรวมกว่า 460,686.29 ล้านบาท อันดับ 3 บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 256,611.76 ล้านบาท อันดับ 4 บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ด้วยเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 159,329.71 ล้านบาท และอันดับ 5.บลจ.บัวหลวง ซึ่งมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 141,700.86 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การแข่งขันดึงเงินระหว่างเงินฝากกับกองทุนรวมที่เข้มข้นขึ้น ส่งผลให้ในช่วงนี้บริษัทจัดการต่างหันมาให้ความสนใจในการขยายฐานกองทุนส่วนบุคคลและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแทน ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มฐานลูกค้าและขยายไปสู่กองทุนอื่นๆ ต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาพรวมธุรกิจกองทุนรวมในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พบว่าเงินลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ ครบอายุและไหลออกไปจากระบบเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนหนึ่ง น่าจะเป็นการครบอายุของกองทุนตราสารหนี้ที่ออกไปลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา บรรดาบริษัทจัดการกองทุนเอง ก็พยายามออกกองทุนเป็นเลือกทางให้กับนักลงทุน โดยเฉพาะกองทุนเทอม์ฟันด์ที่ออกไปลงทุนในเงินฝากธนาคารต่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูง แต่ก็ไม่สามารถดึงเงินลงทุนเอาไว้ได้ทั้งหมด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ จากการสำรวจเงินลงทุนทั้งระบบ ล่าสุด ณ วันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา พบว่า กองทุนรวมทั้งระบบมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,993,018.66 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปีที่ผ่านมา ซึ่งมีเงินลงทุนรวมทั้งระบบกว่า 2,032,384.76 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการลดลงกว่า 39,366.10 ล้านบาท หรือคิดเป็นการหดตัว 1.94%
โดยจากการสำรวจเงินลงทุนในแต่ละประเภท พบว่าเงินลงทุนจากกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ลดลงจากต้นปีกว่า 119,140.03 ล้านบาททีเดียว
ในขณะที่ส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) พบว่า ตั้งแต่ต้นปี บริษัทจัดการส่วนใหญ่ รวมถึงรายใหญ่ที่เป็นผู้นำตลาด ต่างมีสินทรัพย์ลดลงกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ยังคงสามารถเพิ่มสินทรัพย์ภายใต้การบริหารสวนทางเป็นบวกได้ โดยมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นถึง 19,031.15 ล้านบาทจากสิ้นปีที่ผ่านมา ส่วนทางบลจ. บัวหลวง ซึ่งมีเงินลงทุนลดลงมากที่สุดหากเทียบจากตัวเลขสิ้นที่ที่ผ่านมา โดยมีเงินลงทุนลดลงถึงกว่า 21,747.24 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม มาร์เก็ตแชร์ในปัจจุบัน ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก อันดับ 1 ยังคงเป็น บลจ.กสิกรไทย ด้วยสินทรัพย์รวมกว่า 474,123.45 ล้านบาท อันดับ 2 บลจ.ไทยพาณิชย์ ด้วยเงินลงทุนรวมกว่า 460,686.29 ล้านบาท อันดับ 3 บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 256,611.76 ล้านบาท อันดับ 4 บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ด้วยเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 159,329.71 ล้านบาท และอันดับ 5.บลจ.บัวหลวง ซึ่งมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 141,700.86 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การแข่งขันดึงเงินระหว่างเงินฝากกับกองทุนรวมที่เข้มข้นขึ้น ส่งผลให้ในช่วงนี้บริษัทจัดการต่างหันมาให้ความสนใจในการขยายฐานกองทุนส่วนบุคคลและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแทน ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มฐานลูกค้าและขยายไปสู่กองทุนอื่นๆ ต่อไป