กองทุน LUXF ยังวุ่นไม่จบ ล่าสุด หน่วยลงทุนที่ถูกบังคับจำนำ ขายออกแล้ว 16 ล้านหน่วย แต่ยังถูกป่าเกาะคัดค้าน เหตุรับไม่ได้ ราคาต่ำเกินจริง ขณะที่ บลจ.ทหารไทย เดินหน้าประมูลส่วนที่เหลือ 14 ล้านหน่วย 28 ก.ค.นี้ ส่วน "เจิมมิ่ง เฟรย์ โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ท" ผู้ถือหุ้นโรงแรมป่าเกาะ ออกโรงโต้ TMBAM ไม่มืออาชีพ ลั่นเดินหน้าสู้ต่อ
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด หรือ TMBAM ในฐานะผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ลักซ์ชัวรี่ (LUXF) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21กรกฎาคมที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมประมูลหน่วยลงทุนของบริษัท โรงแรม ป่าเกาะ จำกัด จำนวน 4 รายและมีผู้เสนอสู้ราคาจำนวน 3 ราย รวมหน่วยลงทุนที่มีผู้ประมูลและเสนอราคาในครั้งนี้ร่วม 16,000,000 หน่วยลงทุน ซึ่งบริษัท โรงแรม ป่าเกาะได้ใช้สิทธิ์คัดค้านเนื่องจากเห็นว่าราคาที่มีผู้เสนอซื้อต่ำเกินไป ผู้ทอดตลาดจึงได้ให้ผู้ที่เสนอราคาสูงสุดทั้ง 3 รายดำเนินการทำสัญญาเพื่อผูกพันราคาโดยชำระเงินมัดจำไว้จำนวน 25% ของมูลค่าหน่วยลงทุนที่ผู้ประมูลแต่ละรายเสนอราคาประมูล และจะนำหน่วยลงทุนดังกล่าวออกประมูลใหม่ในครั้งหน้า หากไม่มีผู้ใดเสนอราคาที่สูงกว่าผู้ขายทอดตลาดจะได้ดำเนินการเคาะไม้ในแต่ละรายการเพื่อให้เป็นผู้ชนะการประมูลในแต่ละรายการในครั้งนี้ต่อไป ส่วนหน่วยลงทุนที่เหลือ อีก 14,000,000 ลงทุนไม่มีผู้ใดเสนอราคาจึงงดไว้เพื่อขายในครั้งต่อไป
ทั้งนี้ บริษัทจัดการจะดำเนินการประมูลขายทอดตลาดหน่วยลงทุน ในครั้งต่อไปในวันที่ 28 กรกฎาคม 2554 เริ่มเวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 10 ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสีลม ซอย 7 เพื่อนำมาชำระหนี้ตามสัญญาตกลงกระทำการจำนวน 117,779,711.02 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีรวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการเรียกร้องให้ป่าเกาะปฎิบัติตามสัญญาตกลงกระทำการและสัญญาจำนำหน่วยลงทุนนับจากวันที่ผิดนัดให้ครบจำนวน
ด้านผู้ถือหน่วยลงทุน LUXF ได้ออกมาตำหนิการบริหารงานของ TMBAM ขอให้มีการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อหารือการบริหารจัดการทรัพย์สินกองทุน โดยมร. ฌอง มิเชล เกรมมิ่ง เฟรย์ ผู้บริหารของ เจิมมิ่ง เฟรย์ โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ท ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ ของ โรงแรมป่าเกาะ จำกัด เปิดเผยว่า การขายทอดตลาดหน่วยลงทุนของป่าเกาะที่ขายได้จำนวน 16,000,000 หน่วย มีราคาเฉลี่ยประมาณ 4.08 บาท ต่อหน่วยลงทุน ซึ่งต่ำกว่ามูลค่าราคาตลาดของทรัพย์สิน และราคาในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ ปัจจุบันเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการปิดกิจการของโรงแรม และเป็นการรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนรายย่อย ป่าเกาะยังคงนำเงินสดให้โรงแรม เพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของโรงแรมให้คงอยู่ต่อไป
นอกจากนี้ เจิมมิ่ง เฟรย์ โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ท ยังได้ให้ส่งข้อความถึง TMBAM และผู้บริหารว่า TMBAM ไม่ได้ทำการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน และไม่ได้มาตรฐานวิชาชีพ ไม่นำกฏระเบียบของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาปรับใช้ให้เหมาะสม การบริหารจัดการของกองทุนทำความเสียหายให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนรวมถึงพนักงานของโรงแรมซิกส์เซนส์ยาวน้อย โดยมุ่งทำให้สภาพคล่องทางการเงินของบริษัทลดลง การบริหารจัดการไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ระยะยาวและสภาพยั่งยืนของกองทุน
การบริหารการจัดการของ TMBAM เป็นไปตามรูปแบบ bureaucratically โดยมุ่งการจ่ายเงินปันผลตามกำหนด โดยไม่สนใจสถานการณ์ภายนอกอื่นๆ ที่เป็นผลกระทบจากเหตุสุดวิสัย และปัจจัยอื่นๆ การบริหารงานไม่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ถือหน่วยลงทุน โดยที่ ป่าเกาะ ได้เสนอวิธีการปรับโครงสร้างและรูปแบบการจ่ายเงินปันผลเพื่อให้มูลค่าหุ้นได้รับการประกันและให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต
ทั้งนี้ เจิมมิ่ง เฟรย์ โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ท และ ป่าเกาะ จะดำเนินการต่อไปให้ดีที่สุด ที่จะทำให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินของโรงแรมซิกส์เซนส์ยาวน้อย เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่กิจการ เราจะดำเนินการต่อไปแม้ว่าข้อเสนอต่างๆ ที่ได้เสนอต่อกองทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายจะถูกปฏิเสธอย่างไม่สมเหตุผลจากกองทุน เจิมมิ่ง เฟรย์ โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ทเชื่อว่าผู้ถือหน่วยลงทุนประสงค์ และเต็มใจที่จะเข้าร่วมการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นที่ป่าเกาะ ได้ร้องขอให้มีการจัดประชุมให้เร็วที่สุด เพราะหากมีการปิดกิจการของโรงแรมซึ่งเป็นผลกระทบจากการบริหารของ TMBAM จะยิ่งทำให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงมากที่สุด ต่อมูลค่าหุ้นของ LUXF และเป็นการไม่สอดคล้องกับสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยภาพรวมและของโรงแรม ที่กำลังฟื้นตัว จากผลกระทบของเหตุสุดวิสัยที่ผ่านมาในอดีต
"ตามกฏระเบียบของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เจิมมิ่ง เฟรย์ โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ท เห็นว่า TMBAM บริหารจัดการกองทุน LUXF ไม่เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุน"
สุดท้าย เจิมมิ่ง เฟรย์ โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ท ได้ย้ำว่า เจิมมิ่ง เฟรย์ โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ท และ ป่าเกาะ ยินดีที่จะตกลงหาวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดเพื่อปกป้องผลประโยชน์ในอนาคตของโรงแรม และของผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุน LUXF อย่างไรก็ตาม หากมีการดำเนินการขายทอดตลาด และหน่วยลงทุนถูกบังคับจำนำขายทอดตลาดไป เราจะดำเนินการทุกอย่างเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนรายย่อย
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด หรือ TMBAM ในฐานะผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ลักซ์ชัวรี่ (LUXF) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21กรกฎาคมที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมประมูลหน่วยลงทุนของบริษัท โรงแรม ป่าเกาะ จำกัด จำนวน 4 รายและมีผู้เสนอสู้ราคาจำนวน 3 ราย รวมหน่วยลงทุนที่มีผู้ประมูลและเสนอราคาในครั้งนี้ร่วม 16,000,000 หน่วยลงทุน ซึ่งบริษัท โรงแรม ป่าเกาะได้ใช้สิทธิ์คัดค้านเนื่องจากเห็นว่าราคาที่มีผู้เสนอซื้อต่ำเกินไป ผู้ทอดตลาดจึงได้ให้ผู้ที่เสนอราคาสูงสุดทั้ง 3 รายดำเนินการทำสัญญาเพื่อผูกพันราคาโดยชำระเงินมัดจำไว้จำนวน 25% ของมูลค่าหน่วยลงทุนที่ผู้ประมูลแต่ละรายเสนอราคาประมูล และจะนำหน่วยลงทุนดังกล่าวออกประมูลใหม่ในครั้งหน้า หากไม่มีผู้ใดเสนอราคาที่สูงกว่าผู้ขายทอดตลาดจะได้ดำเนินการเคาะไม้ในแต่ละรายการเพื่อให้เป็นผู้ชนะการประมูลในแต่ละรายการในครั้งนี้ต่อไป ส่วนหน่วยลงทุนที่เหลือ อีก 14,000,000 ลงทุนไม่มีผู้ใดเสนอราคาจึงงดไว้เพื่อขายในครั้งต่อไป
ทั้งนี้ บริษัทจัดการจะดำเนินการประมูลขายทอดตลาดหน่วยลงทุน ในครั้งต่อไปในวันที่ 28 กรกฎาคม 2554 เริ่มเวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 10 ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสีลม ซอย 7 เพื่อนำมาชำระหนี้ตามสัญญาตกลงกระทำการจำนวน 117,779,711.02 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีรวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการเรียกร้องให้ป่าเกาะปฎิบัติตามสัญญาตกลงกระทำการและสัญญาจำนำหน่วยลงทุนนับจากวันที่ผิดนัดให้ครบจำนวน
ด้านผู้ถือหน่วยลงทุน LUXF ได้ออกมาตำหนิการบริหารงานของ TMBAM ขอให้มีการจัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อหารือการบริหารจัดการทรัพย์สินกองทุน โดยมร. ฌอง มิเชล เกรมมิ่ง เฟรย์ ผู้บริหารของ เจิมมิ่ง เฟรย์ โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ท ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ ของ โรงแรมป่าเกาะ จำกัด เปิดเผยว่า การขายทอดตลาดหน่วยลงทุนของป่าเกาะที่ขายได้จำนวน 16,000,000 หน่วย มีราคาเฉลี่ยประมาณ 4.08 บาท ต่อหน่วยลงทุน ซึ่งต่ำกว่ามูลค่าราคาตลาดของทรัพย์สิน และราคาในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ ปัจจุบันเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการปิดกิจการของโรงแรม และเป็นการรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนรายย่อย ป่าเกาะยังคงนำเงินสดให้โรงแรม เพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของโรงแรมให้คงอยู่ต่อไป
นอกจากนี้ เจิมมิ่ง เฟรย์ โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ท ยังได้ให้ส่งข้อความถึง TMBAM และผู้บริหารว่า TMBAM ไม่ได้ทำการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน และไม่ได้มาตรฐานวิชาชีพ ไม่นำกฏระเบียบของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาปรับใช้ให้เหมาะสม การบริหารจัดการของกองทุนทำความเสียหายให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนรวมถึงพนักงานของโรงแรมซิกส์เซนส์ยาวน้อย โดยมุ่งทำให้สภาพคล่องทางการเงินของบริษัทลดลง การบริหารจัดการไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ระยะยาวและสภาพยั่งยืนของกองทุน
การบริหารการจัดการของ TMBAM เป็นไปตามรูปแบบ bureaucratically โดยมุ่งการจ่ายเงินปันผลตามกำหนด โดยไม่สนใจสถานการณ์ภายนอกอื่นๆ ที่เป็นผลกระทบจากเหตุสุดวิสัย และปัจจัยอื่นๆ การบริหารงานไม่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ถือหน่วยลงทุน โดยที่ ป่าเกาะ ได้เสนอวิธีการปรับโครงสร้างและรูปแบบการจ่ายเงินปันผลเพื่อให้มูลค่าหุ้นได้รับการประกันและให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต
ทั้งนี้ เจิมมิ่ง เฟรย์ โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ท และ ป่าเกาะ จะดำเนินการต่อไปให้ดีที่สุด ที่จะทำให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินของโรงแรมซิกส์เซนส์ยาวน้อย เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่กิจการ เราจะดำเนินการต่อไปแม้ว่าข้อเสนอต่างๆ ที่ได้เสนอต่อกองทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายจะถูกปฏิเสธอย่างไม่สมเหตุผลจากกองทุน เจิมมิ่ง เฟรย์ โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ทเชื่อว่าผู้ถือหน่วยลงทุนประสงค์ และเต็มใจที่จะเข้าร่วมการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นที่ป่าเกาะ ได้ร้องขอให้มีการจัดประชุมให้เร็วที่สุด เพราะหากมีการปิดกิจการของโรงแรมซึ่งเป็นผลกระทบจากการบริหารของ TMBAM จะยิ่งทำให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงมากที่สุด ต่อมูลค่าหุ้นของ LUXF และเป็นการไม่สอดคล้องกับสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยภาพรวมและของโรงแรม ที่กำลังฟื้นตัว จากผลกระทบของเหตุสุดวิสัยที่ผ่านมาในอดีต
"ตามกฏระเบียบของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เจิมมิ่ง เฟรย์ โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ท เห็นว่า TMBAM บริหารจัดการกองทุน LUXF ไม่เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุน"
สุดท้าย เจิมมิ่ง เฟรย์ โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ท ได้ย้ำว่า เจิมมิ่ง เฟรย์ โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ท และ ป่าเกาะ ยินดีที่จะตกลงหาวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดเพื่อปกป้องผลประโยชน์ในอนาคตของโรงแรม และของผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุน LUXF อย่างไรก็ตาม หากมีการดำเนินการขายทอดตลาด และหน่วยลงทุนถูกบังคับจำนำขายทอดตลาดไป เราจะดำเนินการทุกอย่างเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนรายย่อย