ASTVผู้จัดการรายวัน - ธุรกิจจัดการกองทุนแข่งเดือด 3 บลจ.น้องใหม่ "เกียรตินาคิน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และทองคำ แอสเซท" จ่อร่วมวงชิงเค้ก ด้านผู้เล่นรายเก่า งัดไม่เด็ด เสริมทีม ปรับองค์กร รับมือแข่งขัน ฟากบลจ.เครือโบรกฯ น่าห่วง หลังธุรกิจยังนิ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงครึ่งปีหลังต่อเนื่องถึงปีหน้า ธุรกิจกองทุนรวมจะแข่งขันกันมากขึ้น ภายหลังจากสถาบันการเงินในประเทศส่วนใหญ่ หันมาขยายแขนขาให้ธุรกิจด้วยการรุธุรกิจจัดการกองทุนรวมมากขึ้น โดยเฉพาะสถาบันการเงินที่ยกระดับตัวเองเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างธนาคารเกียรตินาคิน หรือ KK รวมถึงธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) หรือ LH ขณะเดียวกัน "ชมรมค้าปลีกทอง" ก็ลงขันตั้ง "บลจ.ทองคำ แอสเซท" เพื่อให้บริการด้านการลงทุนที่เกี่ยวกับทองคำโดยเฉาะ ดังนั้น จึงคาดหมายว่า 3 บลจ.น้องใหม่จะเข้ามาสร้างสีสันให้กับธุรกิจจัดการกองทุนได้มากขึ้นในช่วงหลังจากนี้ โดยเฉพาะหลังจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบในเดือนสิงหาคมปีนี้ เชื่อว่าการแข่งขันจะคึกคักมากขึ้น
สำหรับความเคลื่อนไหวจากทั้ง 3 บลจ. นั้น ล่าสุด ในส่วนของธนาคารเกียรตินาคิน มีความชัดเจนแล้ว หลังจากบอร์ดธนาคาร ไฟเขียวเข้าซื้อหุ้นของบลจ.นครหลวงไทย ในสัดส่วน 60% จากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แล้ว โดยหลังจากนี้ เชื่อว่ากระบวนการในการซื้อขายจะมีความชัดเจน และสามารถดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อบลจ.เกียรตินาคินได้ประมาณเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคมนี้ภายใต้การบริหารของ นายศุภกร สุนทรกิจ กรรมการผู้จัดการคนปัจจุบัน ซึ่งเข้ามารับตำแหน่งแล้วตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ธุรกิจจัดการกองทุนของเกียรตินาคิน น่าจะขับเคลื่อนได้ก่อนค่ายอื่น เนื่องจากมีกองทุนเดิมอยู่กับบลจ.นครหลวงไทยอยู่แล้ว ซึ่งสามารถเดินหน้าได้ทันที ขณะเดียวกัน นายศุภกรเอง ก็เปิดเผยว่า จะสามารถออกกองทุนใหม่กองแรกได้ประมาณเดือนกรกฎาคมนี้
ปัจจุบัน บลจ.นครหลวงไทย มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้นประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กว่า 1 หมื่นล้านบาท ส่วนอีกประมาณ 8,000 ล้านบาทเป็นกองทุนรวม ทั้งนี้ นายศุภกร คาดหวังว่าภายใน 3 ปี สินทรัพย์น่าจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ในระดับ 30,000-50,000 ล้านบาทได้
สำหรับธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย ภายหลังจากซื้อใบอนุญาติประกอบธุรกิจจากบลจ.ยูไนเต็ด มาแล้ว ก็ได้ฟอร์มทีมผู้จัดการกองทุนและพัฒนาระบบบริหารภายในไปบ้างแล้ว โดยคาดว่าเร็วๆ นี้ น่าจะมีการเปิดตัวบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด อย่างเป็นทางการ ซึ่งปัจจุบัน มีน.ส.เพียงดาว วัฒนายากร ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมผู้จัดการ
ทั้งนี้ บลจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จะให้บริการทั้งธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล (กองทุนส่วนบุคคล) การเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยจุดเด่นของบลจ.นี้ คาดหมายกันว่า น่าจะอยู่ที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก
ในขณะที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนทองคำ แอสเซท จำกัด ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมตัวของชมรมผู้ค้าปลีกทอง 9 ราย ลงขันซื้อใบอนุญาตจัดการกองทุนจากบลจ.พรีมาเวสท์ ก็อยู่ระหว่างฟอร์มทีมผู้จัดการกองทุนและพัฒนาระบบบริหารภายในด้วยเช่นกัน โดยมีนายวีรโชติ จิรบวรพงศา อดีตเลขาสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พบว่า ปัจจุบันธุรกิจจัดการกองทุนในประเทศไทย มีผู้ประกอบการรวมทั้งสิ้น 24 บริษัท (รวมบลจ.เพื่อผู้ลงทุนต่างด้าว จำกัด) ซึ่งจากการที่ผู้แข่งขันในตลาดเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการในตลาดเดิมเอง ต่างตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรมากขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนนั่นเอง
โดยบริษัทจัดการที่เห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจน คือ บลจ.ไทยพาณิชย์ ซึ่งที่ผ่านมา ได้เสริมทีมผู้บริหาร ผู้จัดการกองทุนและทีมงานไปเป็นจำนวนมาก โดยมีเป้าหมายสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนไปพร้อมๆกับการขยายสินทรัพย์เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำอีกครั้ง
ในขณะที่บลจ.อยุธยา ก็อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงองค์กร โดยเฉพาะชื่อบริษัทที่ต้องการให้สอดคล้องกับธนาคารแม่ อย่างธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด ล่าสุด ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อกับสำนักงานก.ล.ต. แล้ว ภายใต้ชื่อ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงศรี จำกัด
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าจับตามองว่า ในส่วนของบลจ.ที่เป็นลูกของบริษัทหลักทรัพย์อย่าง บลจ.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) บลจ.ฟิลลิป บลจ.ซีมิโก้ หากยังไม่มีความเคลื่อนไหวในทางธุรกิจมากนัก ก็เชื่อว่าอาจจะแข่งขันกับบลจ.ในตลาดลำบาก เพราะทั้งบลจ.น้องใหม่ และบลจ.รายใหญ่ ต่างปรับองค์กรเพื่อรับการแข่งขันในอนาคตกันแล้ว
ปัจจุบัน ธุรกิจจัดการกองทุนทั้งระบบ ในส่วนของกองทุนรวม ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2554 มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 2,036,412.82 ล้านบาท กองทุนส่วนบุคคล 300,710.14 ล้านบาท (เมษายน 2554) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 591,901.96 ล้านบาท (เมษายน 2554)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงครึ่งปีหลังต่อเนื่องถึงปีหน้า ธุรกิจกองทุนรวมจะแข่งขันกันมากขึ้น ภายหลังจากสถาบันการเงินในประเทศส่วนใหญ่ หันมาขยายแขนขาให้ธุรกิจด้วยการรุธุรกิจจัดการกองทุนรวมมากขึ้น โดยเฉพาะสถาบันการเงินที่ยกระดับตัวเองเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างธนาคารเกียรตินาคิน หรือ KK รวมถึงธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) หรือ LH ขณะเดียวกัน "ชมรมค้าปลีกทอง" ก็ลงขันตั้ง "บลจ.ทองคำ แอสเซท" เพื่อให้บริการด้านการลงทุนที่เกี่ยวกับทองคำโดยเฉาะ ดังนั้น จึงคาดหมายว่า 3 บลจ.น้องใหม่จะเข้ามาสร้างสีสันให้กับธุรกิจจัดการกองทุนได้มากขึ้นในช่วงหลังจากนี้ โดยเฉพาะหลังจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบในเดือนสิงหาคมปีนี้ เชื่อว่าการแข่งขันจะคึกคักมากขึ้น
สำหรับความเคลื่อนไหวจากทั้ง 3 บลจ. นั้น ล่าสุด ในส่วนของธนาคารเกียรตินาคิน มีความชัดเจนแล้ว หลังจากบอร์ดธนาคาร ไฟเขียวเข้าซื้อหุ้นของบลจ.นครหลวงไทย ในสัดส่วน 60% จากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แล้ว โดยหลังจากนี้ เชื่อว่ากระบวนการในการซื้อขายจะมีความชัดเจน และสามารถดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อบลจ.เกียรตินาคินได้ประมาณเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคมนี้ภายใต้การบริหารของ นายศุภกร สุนทรกิจ กรรมการผู้จัดการคนปัจจุบัน ซึ่งเข้ามารับตำแหน่งแล้วตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ธุรกิจจัดการกองทุนของเกียรตินาคิน น่าจะขับเคลื่อนได้ก่อนค่ายอื่น เนื่องจากมีกองทุนเดิมอยู่กับบลจ.นครหลวงไทยอยู่แล้ว ซึ่งสามารถเดินหน้าได้ทันที ขณะเดียวกัน นายศุภกรเอง ก็เปิดเผยว่า จะสามารถออกกองทุนใหม่กองแรกได้ประมาณเดือนกรกฎาคมนี้
ปัจจุบัน บลจ.นครหลวงไทย มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้นประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กว่า 1 หมื่นล้านบาท ส่วนอีกประมาณ 8,000 ล้านบาทเป็นกองทุนรวม ทั้งนี้ นายศุภกร คาดหวังว่าภายใน 3 ปี สินทรัพย์น่าจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ในระดับ 30,000-50,000 ล้านบาทได้
สำหรับธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย ภายหลังจากซื้อใบอนุญาติประกอบธุรกิจจากบลจ.ยูไนเต็ด มาแล้ว ก็ได้ฟอร์มทีมผู้จัดการกองทุนและพัฒนาระบบบริหารภายในไปบ้างแล้ว โดยคาดว่าเร็วๆ นี้ น่าจะมีการเปิดตัวบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด อย่างเป็นทางการ ซึ่งปัจจุบัน มีน.ส.เพียงดาว วัฒนายากร ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมผู้จัดการ
ทั้งนี้ บลจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จะให้บริการทั้งธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล (กองทุนส่วนบุคคล) การเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยจุดเด่นของบลจ.นี้ คาดหมายกันว่า น่าจะอยู่ที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก
ในขณะที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนทองคำ แอสเซท จำกัด ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมตัวของชมรมผู้ค้าปลีกทอง 9 ราย ลงขันซื้อใบอนุญาตจัดการกองทุนจากบลจ.พรีมาเวสท์ ก็อยู่ระหว่างฟอร์มทีมผู้จัดการกองทุนและพัฒนาระบบบริหารภายในด้วยเช่นกัน โดยมีนายวีรโชติ จิรบวรพงศา อดีตเลขาสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พบว่า ปัจจุบันธุรกิจจัดการกองทุนในประเทศไทย มีผู้ประกอบการรวมทั้งสิ้น 24 บริษัท (รวมบลจ.เพื่อผู้ลงทุนต่างด้าว จำกัด) ซึ่งจากการที่ผู้แข่งขันในตลาดเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการในตลาดเดิมเอง ต่างตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรมากขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนนั่นเอง
โดยบริษัทจัดการที่เห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจน คือ บลจ.ไทยพาณิชย์ ซึ่งที่ผ่านมา ได้เสริมทีมผู้บริหาร ผู้จัดการกองทุนและทีมงานไปเป็นจำนวนมาก โดยมีเป้าหมายสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนไปพร้อมๆกับการขยายสินทรัพย์เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำอีกครั้ง
ในขณะที่บลจ.อยุธยา ก็อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงองค์กร โดยเฉพาะชื่อบริษัทที่ต้องการให้สอดคล้องกับธนาคารแม่ อย่างธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด ล่าสุด ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อกับสำนักงานก.ล.ต. แล้ว ภายใต้ชื่อ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงศรี จำกัด
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าจับตามองว่า ในส่วนของบลจ.ที่เป็นลูกของบริษัทหลักทรัพย์อย่าง บลจ.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) บลจ.ฟิลลิป บลจ.ซีมิโก้ หากยังไม่มีความเคลื่อนไหวในทางธุรกิจมากนัก ก็เชื่อว่าอาจจะแข่งขันกับบลจ.ในตลาดลำบาก เพราะทั้งบลจ.น้องใหม่ และบลจ.รายใหญ่ ต่างปรับองค์กรเพื่อรับการแข่งขันในอนาคตกันแล้ว
ปัจจุบัน ธุรกิจจัดการกองทุนทั้งระบบ ในส่วนของกองทุนรวม ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2554 มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 2,036,412.82 ล้านบาท กองทุนส่วนบุคคล 300,710.14 ล้านบาท (เมษายน 2554) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 591,901.96 ล้านบาท (เมษายน 2554)