ASTVผู้จัดการรายวัน - กรุงศรีลีสซิ่งเปิดแผน ธุรกิจ มุ่งขยายฐานสู่ธุรกิจโรงไฟฟ้า-พลังงานทดแทน ตั้งเป้าสินเชื่อทั้งปีโต 30% จากพอร์ตรวมหมื่นล้าน พร้อมเพิ่มความสะดวกผ่านสาขาแบงก์กรุงศรีฯ และ Krungsri Business Center ทั่วประเทศ
นายภูมิชาย วัชรพงศ์ ประธานคณะ เจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจลูกค้าเอสเอ็มอี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ในฐานะ ประธานกรรมการบริษัท อยุธยา ดีเวลลอปเมนท์ ลีสซิ่ง จำกัด เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัท อยุธยา ดีเวลลอปเมนท์ ลีสซิ่ง จำกัด หรือเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า กรุงศรี ลีสซิ่ง พร้อมรุกตลาดสร้างความเติบโตธุรกิจด้านการให้ สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยตั้งเป้าอัตราการเติบโตของสินเชื่อไว้ที่ 30% หรือมียอดคงค้างประมาณ 13,542-14,000 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2553 ที่มีสินเชื่อคงค้าง 10,417.1 ล้านบาท ซึ่งเป็นอัตราที่เชื่อมั่นว่าสามารถเติบโตอย่างแน่นอน เนื่องจากธุรกิจที่บริษัททำอยู่นับว่ามีคู่แข่งน้อยราย และมีตลาดที่กว้างยังสามารถขยายได้อีกมาก
ทั้งนี้ สินเชื่อลีสซิ่งที่บริษัทปล่อยกู้นั้น จะเป็นคนละส่วนกับที่บริษัทลีสซิ่งส่วนใหญ่ปล่อยกู้ที่จะเน้นปล่อยกู้แบบ Hire Purchase ให้แก่ลูกค้ารายบุคคล เช่น เช่าซื้อรถยนต์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ขณะที่บริษัทจะปล่อยกู้ให้แก่องค์กรหรือสถาบันการเงิน ซึ่งจะเป็นการปล่อยกู้ใน 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ ธุรกิจลีสซิ่ง ซึ่งกรุงศรีฯ จะทำหน้าที่เป็นผู้ให้เช่าในการจ่ายเงินซื้อสินค้าหรือเครื่องจักรที่ลูกค้าต้องการและให้ลูกค้าผ่อนชำระจนครบกำหนด และธุรกิจขายแล้วเช่ากลับ เป็นการรับซื้อเครื่องจักรหรือทรัพย์สิน แล้วนำ กลับไปให้ผู้ขายเช่าต่อ เพื่อเป็นการเสริม สภาพคล่องให้แก่ลูกค้าและเมื่อครบกำหนดก็จะขายซากคืนให้ โดยลูกค้าในพอร์ตของบริษัทมีทุกขนาดตั้งแต่วงเงิน 10-1,000 ล้านบาท
'ในต่างประเทศลีสซิ่งที่ปล่อยกู้ให้กับองค์กรนั้นมีพอร์ตค่อนข้างมาก ประมาณ 25% ของพอร์ตสินเชื่อรวมทั้งหมด แต่ในประเทศไทยนั้นธุรกิจแบบ Pure Leasing จริงๆ มีพอร์ตแค่ 1% ของพอร์ตสินเชื่อรวมเท่านั้น เพราะฉะนั้นตลาดตรงนี้จึงยังขยายได้อีกมาก แต่ปัญหาคือลูกค้าส่วนใหญ่จะยังไม่เข้าใจหรือไม่รู้ว่ามีธุรกิจนี้ ส่วนใหญ่จะไปทาง Hire Purchase มากกว่า'
สำหรับในปีนี้นอกเหนือจากธุรกิจที่เราเป็นผู้นำตลาด อาทิ อุตสากรรมการขนส่งและเครื่องมือแพทย์ บริษัทยังมุ่งเน้นธุรกิจพลังงานและพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงอีกด้วย โดยกรุงศรี ลีสซิ่ง เป็นบริษัทแรกๆ ที่ให้ สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องจักรแก่ธุรกิจพลังงานมาอย่างต่อเนื่อง แต่จะเป็นโรงไฟฟ้าขนาดไม่ใหญ่มากนัก และบริษัทก็จะมีการเชื่อมโยงลูกค้ากับธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มากขึ้น
ทั้งนี้ โครงสร้างสินเชื่อของบริษัท 3 อันดับแรก จะเป็นส่วนของสินเชื่อด้านการขนส่งทางน้ำ, ขนส่งมวลชน และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสินเชื่อของบริษัทจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 3-7 ปี วงเงิน 70-80% ของราคาประเมิน มีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ต่ำกว่า 4% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนั้น ขึ้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละราย โดยบริษัทอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าและผู้ต้องการติดต่อผ่านทางช่องทางสาขาธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำนวน 587 สาขา และศูนย์ธุรกิจกรุงศรี (Krungsri Business Center)
นายภูมิชาย วัชรพงศ์ ประธานคณะ เจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจลูกค้าเอสเอ็มอี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ในฐานะ ประธานกรรมการบริษัท อยุธยา ดีเวลลอปเมนท์ ลีสซิ่ง จำกัด เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัท อยุธยา ดีเวลลอปเมนท์ ลีสซิ่ง จำกัด หรือเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า กรุงศรี ลีสซิ่ง พร้อมรุกตลาดสร้างความเติบโตธุรกิจด้านการให้ สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยตั้งเป้าอัตราการเติบโตของสินเชื่อไว้ที่ 30% หรือมียอดคงค้างประมาณ 13,542-14,000 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2553 ที่มีสินเชื่อคงค้าง 10,417.1 ล้านบาท ซึ่งเป็นอัตราที่เชื่อมั่นว่าสามารถเติบโตอย่างแน่นอน เนื่องจากธุรกิจที่บริษัททำอยู่นับว่ามีคู่แข่งน้อยราย และมีตลาดที่กว้างยังสามารถขยายได้อีกมาก
ทั้งนี้ สินเชื่อลีสซิ่งที่บริษัทปล่อยกู้นั้น จะเป็นคนละส่วนกับที่บริษัทลีสซิ่งส่วนใหญ่ปล่อยกู้ที่จะเน้นปล่อยกู้แบบ Hire Purchase ให้แก่ลูกค้ารายบุคคล เช่น เช่าซื้อรถยนต์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ขณะที่บริษัทจะปล่อยกู้ให้แก่องค์กรหรือสถาบันการเงิน ซึ่งจะเป็นการปล่อยกู้ใน 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ ธุรกิจลีสซิ่ง ซึ่งกรุงศรีฯ จะทำหน้าที่เป็นผู้ให้เช่าในการจ่ายเงินซื้อสินค้าหรือเครื่องจักรที่ลูกค้าต้องการและให้ลูกค้าผ่อนชำระจนครบกำหนด และธุรกิจขายแล้วเช่ากลับ เป็นการรับซื้อเครื่องจักรหรือทรัพย์สิน แล้วนำ กลับไปให้ผู้ขายเช่าต่อ เพื่อเป็นการเสริม สภาพคล่องให้แก่ลูกค้าและเมื่อครบกำหนดก็จะขายซากคืนให้ โดยลูกค้าในพอร์ตของบริษัทมีทุกขนาดตั้งแต่วงเงิน 10-1,000 ล้านบาท
'ในต่างประเทศลีสซิ่งที่ปล่อยกู้ให้กับองค์กรนั้นมีพอร์ตค่อนข้างมาก ประมาณ 25% ของพอร์ตสินเชื่อรวมทั้งหมด แต่ในประเทศไทยนั้นธุรกิจแบบ Pure Leasing จริงๆ มีพอร์ตแค่ 1% ของพอร์ตสินเชื่อรวมเท่านั้น เพราะฉะนั้นตลาดตรงนี้จึงยังขยายได้อีกมาก แต่ปัญหาคือลูกค้าส่วนใหญ่จะยังไม่เข้าใจหรือไม่รู้ว่ามีธุรกิจนี้ ส่วนใหญ่จะไปทาง Hire Purchase มากกว่า'
สำหรับในปีนี้นอกเหนือจากธุรกิจที่เราเป็นผู้นำตลาด อาทิ อุตสากรรมการขนส่งและเครื่องมือแพทย์ บริษัทยังมุ่งเน้นธุรกิจพลังงานและพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงอีกด้วย โดยกรุงศรี ลีสซิ่ง เป็นบริษัทแรกๆ ที่ให้ สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องจักรแก่ธุรกิจพลังงานมาอย่างต่อเนื่อง แต่จะเป็นโรงไฟฟ้าขนาดไม่ใหญ่มากนัก และบริษัทก็จะมีการเชื่อมโยงลูกค้ากับธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มากขึ้น
ทั้งนี้ โครงสร้างสินเชื่อของบริษัท 3 อันดับแรก จะเป็นส่วนของสินเชื่อด้านการขนส่งทางน้ำ, ขนส่งมวลชน และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสินเชื่อของบริษัทจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 3-7 ปี วงเงิน 70-80% ของราคาประเมิน มีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ต่ำกว่า 4% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนั้น ขึ้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละราย โดยบริษัทอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าและผู้ต้องการติดต่อผ่านทางช่องทางสาขาธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำนวน 587 สาขา และศูนย์ธุรกิจกรุงศรี (Krungsri Business Center)