รายงานพิเศษ
ภาพรวมธุรกิจกองทุนรวมในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2554 แม้จำนวนกองทุนรวมจะปรับลดลงจากสิ้นปี 2553 แต่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของอุตสาหกรรมกองทุนรวม (AUM)ปรับเพิ่มขึ้น 16,564.83 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 0.82 เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่ผ่านมาโดยแรงหนุนที่สำคัญมาจากกองทุนรวมตราสารทุน ซึ่งขยายตัวจากสิ้นปีก่อน 13,038.74 ล้านบาท สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากแรงหนุนของกระแสเงินทุนไหลเข้าจากนักลงทุนต่างชาติ
โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า กองทุน LTF ยังคงรักษาการขยายตัวของ NAV ได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้แม้ว่าจะยังคงมีแรงกดดันจากการไถ่ถอนหน่วยลงทุนของนักลงทุนบ้าง นอกจากนี้การออกไอพีโอกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เร่งสูงขึ้น จากการเข้าจดทะเบียนของกองทุนใหม่ในช่วงต้นปี ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ประเภทตลาดเงินยังคงเป็นแหล่งพักเงิน สำหรับนักลงทุนบางกลุ่มสำหรับช่วงภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งสะท้อนผ่าน NAV ที่ปรับขึ้นเช่นกันจากสิ้นปี 2553 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้การทยอยครบกำหนดไของกองทุนเปิดพันธบัตรเกาหลีใต้ยังคงเป็นปัจจัยที่กดดัน AUMของอุตสาหกรรมกองทุนรวมอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 4 เดือนแรก พบว่า กองทุนเปิดพันธบัตรเกาหลีใต้ทยอยครบกำหนดจำนวน 70,278.88 ล้านบาท ซึ่งกดดันให้จำนวนกองทุนรวมตราสารหนี้และกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารต่างประเทศ (FIF) ปรับลดลง 80 และ 96 กองทุน ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของทั้ง 2 ประเภทกองทุนดังกล่าว ลดลง 7,227.72 ล้านบาท และ 67,558.33 ล้านบาท จากสิ้นปี 2553 ตามลำดับ เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม แรงขับเคลื่อนของ AUM ในช่วง 4 เดือนแรกมาจาก บลจ. ที่มีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยเมื่อพิจารณาจากส่วนต่าง NAV ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดของ บลจ. 5 อันดับแรกในช่วงเดือน ธ.ค. 2553-เม.ย. 2554 แล้ว พบว่า กองทุนรวมประเภทตราสารหนี้และผสมยังคงนำโดย บลจ. ที่มีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ถือหุ้นหลัก จากทั้งการออกกองทุนใหม่เพิ่มเติมและประโยชน์ของการอาศัยช่องทางสาขาของธนาคารพาณิชย์ที่ครอบคลุมและเอื้อต่อการเข้าถึงนักลงทุนได้สะดวก
สำหรับกองทุนรวมตราสารทุนพบว่า มี บลจ. ที่ไม่ได้ถือหุ้นโดยธนาคารพาณิชย์เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนมากขึ้น โดยจะเห็นจากจำนวน บลจ. ที่ไม่ได้ถือหุ้นโดยธนาคารพาณิชย์เป็นหลัก ไต่ระดับการเพิ่มของ NAV ติด 5 อันดับแรกจากเดิมที่มีจำนวน 2 แห่งในปี 2553 เป็น 3 แห่งในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2554
แม้ว่าภาพรวมธุรกิจกองทุนรวมในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2554 จะยังสามารถประคองให้ NAV เพิ่มขึ้นได้จากสิ้นปีก่อนหน้า แต่ก็ต้องยอมรับว่า แรงหนุนส่วนหนึ่งมาจากด้านราคา หรืออการเพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหุ้นไทย ขณะที่ ประเภทกองทุนขนาดใหญ่อย่างเช่น กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ เผชิญความท้าทายอย่างมากจากทั้งการครบกำหนดของกองทุนเปิดพันธบัตรเกาหลีใต้ ซึ่งทำให้ บลจ.ต่างต้องเร่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ทดแทนและปรับกลยุทธ์ เพื่อดึงดูดเม็ดเงินที่กลับมาจำนวนมากนั้นเอาไว้ อันถือเป็นโจทย์ที่ไม่ง่าย ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันที่เข้มข้นต่อเนื่องระหว่างกองทุนรวมกับผลิตภัณฑ์การออม/ลงทุนอื่นๆ ในจังหวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
ทั้งนี้การปรับกลยุทธ์ของ บลจ.ออกมาในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการออกผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างออกไปเพื่อเพิ่มผลตอบแทน และปรับ Duration ของพอร์ต ซึ่งเมื่อผนวกกับอานิสงส์ของผลตอบแทนจากการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Swap Rate) ในกรณีกองทุนรวมที่ไปลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศนั้นช่วยให้ผลตอบแทนของกองทุนรวมตราสารหนี้ สามารถทิ้งระยะห่างจากอัตราผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์เงินฝากในประเภทอายุใกล้เคียงกันมากขึ้น ดังที่ปรากฎขึ้นในช่วง 4-5 เดือนแรกของปี 2554 นอกเหนือไปจากการนำเสนอรายการส่งเสริมการขายในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุต่อว่า บลจ.คงจะยังต้องสานต่อการปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจต่างๆ ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องในระยะที่เหลือของปีนี้ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน ท่ามกลางทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น และการไหลกลับของเม็ดเงินจากการครบกำหนดของกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้อีกนับแสนล้านบาท โดยแนวทางการปรับตัวที่น่าสนใจ จะเน้นผสมผสานตราสารที่หลากหลายมากขึ้น
ซึ่งบลจ. ต่างๆ มีการเสนอผลิตภัณฑ์กองทุนรวมที่เน้นผสมระหว่างตราสารหนี้ภาครัฐ เงินฝากประจำและตราสารทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ และหุ้นกู้เอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านผลตอบแทนที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับกองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐในประเทศและต่างประเทศเพียงอย่างเดียวรวมทั้งเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์เงินฝากและตั๋วแลกเงินพิเศษของสถาบันการเงินที่ระยะเวลาการลงทุนเดียวกัน ประกอบกับเป็นแนวทางการปรับกลยุทธ์ของ บลจ. เพื่อรองรับการครบกำหนดของมูลค่าเงินลงทุนในกองทุนเปิดพันธบัตรเกาหลีใต้อีก ประมาณ 159,457.40 ล้านบาท1 ในช่วง 8 เดือนข้างหน้าด้วย
นอกจากนี้ จากกระแสเงินทุนและสภาพคล่องที่ยังคงมีสูงในตลาดการเงินโลก ที่ยังคงมีแนวโน้มไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย คงส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียมีความคึกคักอย่างต่อเนื่อง และเป็นปัจจัยที่หนุนให้ บลจ. ต่างๆ มีการนำเสนอกองทุนรวมตราสารทุน โดยเฉพาะกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศอย่างหนาตา เพื่อตอบโจทย์นักลงทุนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้ดี
การปรับพอร์ตการลงทุนเพื่อรองรับอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น โดย บลจ. มีการปรับลด Duration ของตราสารหนี้ให้มีอายุตราสารที่สั้นลง โดยเฉพาะในกองทุนรวมตราสารหนี้ประเภทตราสารตลาดเงิน เพื่อรองรับกับโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นตามการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ท่ามกลางทิศทางขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างไรก็ตาม คงต้องยอมรับว่า ในทางปฏิบัตินั้น การปรับลด Duration เพิ่มเติม อาจทำได้ในขอบเขตที่จำกัด เนื่องจาก กองทุนรวมประเภทตราสารตลาดเงินส่วนใหญ่มักลงทุนในตราสารที่มีอายุคงเหลือสั้นอยู่แล้ว
มีการส่งเสริมการขาย (Marketing Campaign) ยังคงมีต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นการลงทุนในกองทุนรวมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกองทุนรวมที่เน้นสิทธิประโยชน์ทางภาษี ได้แก่ กองทุน LTF และกองRMF
ประเดินที่น่าติดตาม
กฎเกณฑ์การจัดทำแบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนที่เหมาะสม(Customer Risk Profile) ของสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งจะมีผลเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2554 โดยกำหนดให้นักลงทุนกรอกแบบประเมินฯดังกล่าวเพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจถึงระดับความเสี่ยงที่ตนสามารถรับได้สำหรับการลงทุนในกองทุนรวม โดยหากนักลงทุนไม่กรอกข้อมูลดังกล่าวแล้ว อาจต้องแจ้งรับทราบความเสี่ยงขณะลงทุนเป็นครั้งๆ ไป
ทั้งนี้ แบบประเมินฯดังกล่าวที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดขึ้นนั้น เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ในมิติของการปฏิบัติงานของ บลจ. แล้ว คงกล่าวได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลกระทบต่อต้นทุนและการดำเนินงานของแต่ละ บลจ. ทำให้ต้องหาแนวทางรับมือ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ และด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้นักลงทุนเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการกรอกข้อมูลดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคทางอ้อมต่อการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของ บลจ. และการลงทุนของนักลงทุน โดยเฉพาะ บลจ. ที่มีฐานลูกค้าจำนวนมากและอาศัยช่องทางธนาคารพาณิชย์ เป็นส่วนใหญ่
ด้านกฎระเบียบอื่นๆ ทั้งในด้านการลดค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนรวม ETF ที่จะจัดตั้งภายในปีนี้ และการเสนอขายตราสารศุกูก (Sukuk) ที่เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นในการระดมทุนผ่านช่องทางกองทุนรวม โดยมี บลจ. บางแห่งเตรียมจัดตั้งและเสนอขายแก่นักลงทุนภายในไตรมาสที่ 2 นี้ รวมทั้งประเด็นจากนโยบายภาครัฐอื่นๆ โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งคงต้องติดตามว่ารัฐบาลชุดใหม่จะมีแนวทางในการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบอย่างไร เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการคลังในระยะยาว
โดยหนึ่งในนั้น อาจรวมถึงภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งในปัจจุบันรวมถึงการยกเว้นกำไรส่วนเกินทุน (Capital Gain) จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม เงื่อนไขการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินปันผลจากกองทุนรวม รวมทั้งสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีในกองทุนรวม RMF และกองทุนLTFทั้งนี้ คงต้องยอมรับว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวสนับสนุนให้ธุรกิจกองทุนรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น หากมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว คงส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการลงทุนในกองทุนรวม ตลอดจนแผนการพัฒนาตลาดทุนในอนาคต
ที่มา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ภาพรวมธุรกิจกองทุนรวมในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2554 แม้จำนวนกองทุนรวมจะปรับลดลงจากสิ้นปี 2553 แต่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของอุตสาหกรรมกองทุนรวม (AUM)ปรับเพิ่มขึ้น 16,564.83 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 0.82 เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่ผ่านมาโดยแรงหนุนที่สำคัญมาจากกองทุนรวมตราสารทุน ซึ่งขยายตัวจากสิ้นปีก่อน 13,038.74 ล้านบาท สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากแรงหนุนของกระแสเงินทุนไหลเข้าจากนักลงทุนต่างชาติ
โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า กองทุน LTF ยังคงรักษาการขยายตัวของ NAV ได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้แม้ว่าจะยังคงมีแรงกดดันจากการไถ่ถอนหน่วยลงทุนของนักลงทุนบ้าง นอกจากนี้การออกไอพีโอกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เร่งสูงขึ้น จากการเข้าจดทะเบียนของกองทุนใหม่ในช่วงต้นปี ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ประเภทตลาดเงินยังคงเป็นแหล่งพักเงิน สำหรับนักลงทุนบางกลุ่มสำหรับช่วงภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งสะท้อนผ่าน NAV ที่ปรับขึ้นเช่นกันจากสิ้นปี 2553 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้การทยอยครบกำหนดไของกองทุนเปิดพันธบัตรเกาหลีใต้ยังคงเป็นปัจจัยที่กดดัน AUMของอุตสาหกรรมกองทุนรวมอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 4 เดือนแรก พบว่า กองทุนเปิดพันธบัตรเกาหลีใต้ทยอยครบกำหนดจำนวน 70,278.88 ล้านบาท ซึ่งกดดันให้จำนวนกองทุนรวมตราสารหนี้และกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารต่างประเทศ (FIF) ปรับลดลง 80 และ 96 กองทุน ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของทั้ง 2 ประเภทกองทุนดังกล่าว ลดลง 7,227.72 ล้านบาท และ 67,558.33 ล้านบาท จากสิ้นปี 2553 ตามลำดับ เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม แรงขับเคลื่อนของ AUM ในช่วง 4 เดือนแรกมาจาก บลจ. ที่มีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยเมื่อพิจารณาจากส่วนต่าง NAV ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดของ บลจ. 5 อันดับแรกในช่วงเดือน ธ.ค. 2553-เม.ย. 2554 แล้ว พบว่า กองทุนรวมประเภทตราสารหนี้และผสมยังคงนำโดย บลจ. ที่มีธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ถือหุ้นหลัก จากทั้งการออกกองทุนใหม่เพิ่มเติมและประโยชน์ของการอาศัยช่องทางสาขาของธนาคารพาณิชย์ที่ครอบคลุมและเอื้อต่อการเข้าถึงนักลงทุนได้สะดวก
สำหรับกองทุนรวมตราสารทุนพบว่า มี บลจ. ที่ไม่ได้ถือหุ้นโดยธนาคารพาณิชย์เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนมากขึ้น โดยจะเห็นจากจำนวน บลจ. ที่ไม่ได้ถือหุ้นโดยธนาคารพาณิชย์เป็นหลัก ไต่ระดับการเพิ่มของ NAV ติด 5 อันดับแรกจากเดิมที่มีจำนวน 2 แห่งในปี 2553 เป็น 3 แห่งในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2554
แม้ว่าภาพรวมธุรกิจกองทุนรวมในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2554 จะยังสามารถประคองให้ NAV เพิ่มขึ้นได้จากสิ้นปีก่อนหน้า แต่ก็ต้องยอมรับว่า แรงหนุนส่วนหนึ่งมาจากด้านราคา หรืออการเพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหุ้นไทย ขณะที่ ประเภทกองทุนขนาดใหญ่อย่างเช่น กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ เผชิญความท้าทายอย่างมากจากทั้งการครบกำหนดของกองทุนเปิดพันธบัตรเกาหลีใต้ ซึ่งทำให้ บลจ.ต่างต้องเร่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ทดแทนและปรับกลยุทธ์ เพื่อดึงดูดเม็ดเงินที่กลับมาจำนวนมากนั้นเอาไว้ อันถือเป็นโจทย์ที่ไม่ง่าย ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันที่เข้มข้นต่อเนื่องระหว่างกองทุนรวมกับผลิตภัณฑ์การออม/ลงทุนอื่นๆ ในจังหวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
ทั้งนี้การปรับกลยุทธ์ของ บลจ.ออกมาในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการออกผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างออกไปเพื่อเพิ่มผลตอบแทน และปรับ Duration ของพอร์ต ซึ่งเมื่อผนวกกับอานิสงส์ของผลตอบแทนจากการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Swap Rate) ในกรณีกองทุนรวมที่ไปลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศนั้นช่วยให้ผลตอบแทนของกองทุนรวมตราสารหนี้ สามารถทิ้งระยะห่างจากอัตราผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์เงินฝากในประเภทอายุใกล้เคียงกันมากขึ้น ดังที่ปรากฎขึ้นในช่วง 4-5 เดือนแรกของปี 2554 นอกเหนือไปจากการนำเสนอรายการส่งเสริมการขายในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุต่อว่า บลจ.คงจะยังต้องสานต่อการปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจต่างๆ ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องในระยะที่เหลือของปีนี้ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน ท่ามกลางทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น และการไหลกลับของเม็ดเงินจากการครบกำหนดของกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้อีกนับแสนล้านบาท โดยแนวทางการปรับตัวที่น่าสนใจ จะเน้นผสมผสานตราสารที่หลากหลายมากขึ้น
ซึ่งบลจ. ต่างๆ มีการเสนอผลิตภัณฑ์กองทุนรวมที่เน้นผสมระหว่างตราสารหนี้ภาครัฐ เงินฝากประจำและตราสารทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ และหุ้นกู้เอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านผลตอบแทนที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับกองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐในประเทศและต่างประเทศเพียงอย่างเดียวรวมทั้งเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์เงินฝากและตั๋วแลกเงินพิเศษของสถาบันการเงินที่ระยะเวลาการลงทุนเดียวกัน ประกอบกับเป็นแนวทางการปรับกลยุทธ์ของ บลจ. เพื่อรองรับการครบกำหนดของมูลค่าเงินลงทุนในกองทุนเปิดพันธบัตรเกาหลีใต้อีก ประมาณ 159,457.40 ล้านบาท1 ในช่วง 8 เดือนข้างหน้าด้วย
นอกจากนี้ จากกระแสเงินทุนและสภาพคล่องที่ยังคงมีสูงในตลาดการเงินโลก ที่ยังคงมีแนวโน้มไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย คงส่งผลให้ตลาดหุ้นเอเชียมีความคึกคักอย่างต่อเนื่อง และเป็นปัจจัยที่หนุนให้ บลจ. ต่างๆ มีการนำเสนอกองทุนรวมตราสารทุน โดยเฉพาะกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศอย่างหนาตา เพื่อตอบโจทย์นักลงทุนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้ดี
การปรับพอร์ตการลงทุนเพื่อรองรับอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น โดย บลจ. มีการปรับลด Duration ของตราสารหนี้ให้มีอายุตราสารที่สั้นลง โดยเฉพาะในกองทุนรวมตราสารหนี้ประเภทตราสารตลาดเงิน เพื่อรองรับกับโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นตามการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ท่ามกลางทิศทางขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างไรก็ตาม คงต้องยอมรับว่า ในทางปฏิบัตินั้น การปรับลด Duration เพิ่มเติม อาจทำได้ในขอบเขตที่จำกัด เนื่องจาก กองทุนรวมประเภทตราสารตลาดเงินส่วนใหญ่มักลงทุนในตราสารที่มีอายุคงเหลือสั้นอยู่แล้ว
มีการส่งเสริมการขาย (Marketing Campaign) ยังคงมีต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นการลงทุนในกองทุนรวมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกองทุนรวมที่เน้นสิทธิประโยชน์ทางภาษี ได้แก่ กองทุน LTF และกองRMF
ประเดินที่น่าติดตาม
กฎเกณฑ์การจัดทำแบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนที่เหมาะสม(Customer Risk Profile) ของสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งจะมีผลเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2554 โดยกำหนดให้นักลงทุนกรอกแบบประเมินฯดังกล่าวเพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจถึงระดับความเสี่ยงที่ตนสามารถรับได้สำหรับการลงทุนในกองทุนรวม โดยหากนักลงทุนไม่กรอกข้อมูลดังกล่าวแล้ว อาจต้องแจ้งรับทราบความเสี่ยงขณะลงทุนเป็นครั้งๆ ไป
ทั้งนี้ แบบประเมินฯดังกล่าวที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดขึ้นนั้น เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ในมิติของการปฏิบัติงานของ บลจ. แล้ว คงกล่าวได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลกระทบต่อต้นทุนและการดำเนินงานของแต่ละ บลจ. ทำให้ต้องหาแนวทางรับมือ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ และด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้นักลงทุนเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการกรอกข้อมูลดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคทางอ้อมต่อการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของ บลจ. และการลงทุนของนักลงทุน โดยเฉพาะ บลจ. ที่มีฐานลูกค้าจำนวนมากและอาศัยช่องทางธนาคารพาณิชย์ เป็นส่วนใหญ่
ด้านกฎระเบียบอื่นๆ ทั้งในด้านการลดค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนรวม ETF ที่จะจัดตั้งภายในปีนี้ และการเสนอขายตราสารศุกูก (Sukuk) ที่เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นในการระดมทุนผ่านช่องทางกองทุนรวม โดยมี บลจ. บางแห่งเตรียมจัดตั้งและเสนอขายแก่นักลงทุนภายในไตรมาสที่ 2 นี้ รวมทั้งประเด็นจากนโยบายภาครัฐอื่นๆ โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งคงต้องติดตามว่ารัฐบาลชุดใหม่จะมีแนวทางในการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบอย่างไร เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการคลังในระยะยาว
โดยหนึ่งในนั้น อาจรวมถึงภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งในปัจจุบันรวมถึงการยกเว้นกำไรส่วนเกินทุน (Capital Gain) จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม เงื่อนไขการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินปันผลจากกองทุนรวม รวมทั้งสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีในกองทุนรวม RMF และกองทุนLTFทั้งนี้ คงต้องยอมรับว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวสนับสนุนให้ธุรกิจกองทุนรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น หากมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว คงส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการลงทุนในกองทุนรวม ตลอดจนแผนการพัฒนาตลาดทุนในอนาคต
ที่มา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย