ASTVผู้จัดการรายวัน-ก.ล.ต.จับมือมอนิ่งสตาร์ ทำเรทติ้งกองทุนรวม หรือ "Fund Rating" หวังเพิ่มทางเลือกการลงทุนในกองทุนรวมให้มากขึ้น ล่าสุดมอนิ่งสตาร์เผยอุตสหกรรมกองทุนรวมติดอันดับที่ 3 ของงานวิจัยอุตสหกรรมกองทุนรวมทั่วโลก
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) มีการเสนอขายกองทุนรวมเป็นจำนวนมาก มีความหลากหลายในแง่ของการลงทุนมากขึ้น ซึ่งหากคิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวมทั้งอุตสหกรรมอยู่ที่ประมาณ 2,000,000 ล้านบาท โดยการเติบโตของอุตสหกรรมกองทุนรวม 6 ปีย้อนเฉลี่ยอยู่ที่ 26% ต่อปี ทั้งนี้การมีทางเลือกการลงทุนที่หลากหลายทำให้ผู้ลงทุนมีทางเลือกมากขึ้นในการลงทุนให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการลงทุนและความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน ส่งผลให้ผู้ลงทุนต้องแสวงหาข้อมูลกองทุนรวมที่เหมาะสมในการตัดสินใจเลือกลงทุน
โดยปัจจัยหนึ่งที่ผู้ลงทุนสามารถใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุนคือ ผลการดำเนินงานของกองทุนรวม แม้ผลการดำเนินงานในอดีตจะไม่ได้เป็นการรับประกันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต แต่ข้อมูลผลการดำเนินงานของกองทุนรวมก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการบริหารเงินลงทุนของผู้จัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้รับความร่วมมือจากบริษัท
มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) จำกัด โดยให้ผู้ลงทุนสามารถดูข้อมูลรายชื่อกองทุนรวมที่มีผลการดำเนินงานดีที่สุด 10 อันดับแรกสำหรับกองทุนรวมแต่ละประเภท และกองทุนรวมที่ตนเองสนใจได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้นผ่านเว็บไซต์ของ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) และเว็บไซต์ความรู้ผู้ลงทุน (www.sec.or.th/education) ซึ่งจะเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของมอร์นิ่งสตาร์
นอกจากนี้ มอร์นิ่งสตาร์ได้มีการจัดทำงานวิจัยเรื่อง “Global Fund Investor Experience Study” ซึ่งเป็นการจัดอันดับอุตสาหกรรมกองทุนรวมในระดับประเทศ โดยศึกษาประสบการณ์การลงทุนในกองทุนรวมของนักลงทุน 22 ประเทศในอเมริกาเหนือ ยุโรป แอฟริกา และเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยได้รับคะแนนในระดับเป็นที่น่าพอใจ กล่าวคือ ได้คะแนน A- โดยเป็นอันดับ 3
รองจากสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ซึ่งได้คะแนนสูงสุดที่ระดับ A อันเป็นผลจากความร่วมแรงร่วมใจระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาธุรกิจกองทุนรวมให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล และเป็นทางเลือกในการลงทุนของผู้ลงทุนอย่างแท้จริง
“การที่ประเทศไทยได้รับคะแนนในระดับสูงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การรักษามาตรฐานและปรับปรุงพัฒนาในประเด็นต่าง ๆ ที่ไทยได้คะแนนน้อยให้ดียิ่งขึ้นเป็นเรื่องท้าทายผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่จะต้องตั้งใจจริงและร่วมมือกันพัฒนาธุรกิจกองทุนรวมให้เห็นผลอย่างรวดเร็วต่อไป นอกจากนี้ ผู้ที่มีบทบาทที่สำคัญอีกฝ่ายหนึ่งในการพัฒนาธุรกิจกองทุนรวม คือ สื่อด้านต่าง ๆ ที่จะช่วยให้การสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวม เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับทราบข้อมูลดังกล่าวอย่างกว้างขวางและสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจลงทุน รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างความรู้และความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนที่จะลงทุนระยะยาวผ่านกองทุนรวม”นายประเวช กล่าว
นายพีร์ ยงวณิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า มอร์นิ่งสตาร์ได้มีการจัดอันดับกองทุนทั่วโลก โดยมีการจัดอันดับกองทุนรวมที่มีผลการดำเนินงานต่อเนื่องอย่างน้อย 36 เดือน ตามประเภทกองทุนรวมที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก โดยอ้างอิงจากผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยงและค่าธรรมเนียมการซื้อขาย
การแสดงผลการจัดอันดับในแต่ละกลุ่มกองทุนจะเป็นระดับดาว 1 - 5 ดวงซึ่งเรียงจากต่ำสุดไปจนถึงสูงสุด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถเปรียบเทียบกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเดียวกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ผู้ลงทุนจึงน่าจะได้รับประโยชน์จากการศึกษาข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมใด
สำหรับงานวิจัยประสบการณ์การลงทุนในกองทุนรวมในระดับประเทศดังกล่าวมุ่งเน้นการศึกษาใน 4 หัวข้อหลักได้แก่ (1) กฎเกณฑ์การกำกับดูแล/ภาษี (2) การเปิดเผยข้อมูล (3) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย (4) การซื้อขายและบทบาทของสื่อ โดยเฉลี่ยน้ำหนักการให้คะแนนในแต่ละหัวข้อ และนำคะแนนรวมที่ได้มาจัดอันดับซึ่งแบ่งเป็นการจัดอันดับคะแนนรวมในแต่ละประเทศและการจัดอันดับตามหัวข้อหลักข้างต้น
ทั้งนี้คะแนนของไทยที่ A- ถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูง เนื่องจากการเปิดเผยข้อมูลที่ดี และการให้ข้อมูลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของกองทุนที่ครบถ้วน แต่ก็ยังพบว่าเป็นตลาดที่มีจำนวนกองทุนค่อนข้างจำกัด นอกจากนี้ แม้ภาวะการแข่งขันในด้านการขายอยู่ในระดับสูง แต่ก็เป็นการแข่งขันโดยไม่ได้เน้นประเด็นผลการดำเนินงานและความเสี่ยงของกองทุนเป็นหลักดังเช่นในต่างประเทศ
ขณะที่การเปิดเผยข้อมูลพอร์ตโฟลิโอการลงทุนที่ค่อนข้างล่าช้าและขาดข้อมูลในส่วนของผู้จัดการกองทุน เรื่องนี้ยังเป็นประเด็นที่ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันพัฒนาต่อไป
นายสถาปนะ เลี้ยวประไพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) กล่าวว่า ปัจจุบันจำนวนกองทุนรวมที่มีอยู่ในประเทศไทยประมาณ 1,366 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนหุ้นประมาณ 300 กองทุน กองทุนตราสารหนี้ 800 กองทุน ส่วนที่เหลือก็จะเป็นกองทุนประเภทอื่นๆเช่นกองทุนผสม กองทุนอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามก็ตามเราเชื่อว่า
นักลงทุนจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลการจัดอันดับกองทุนรวมเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนโดยพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของผู้จัดการกองทุนแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนเริ่มรู้จักกองทุนรวมที่บริหารจัดการโดยบริษัทจัดการอื่น ๆ ที่ตนเองไม่คุ้นเคยได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจจัดการกองทุนโดยรวมให้สามารถแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมมากขึ้น
"ผลการวิจัยของมอร์นิ่งสตาร์นั้นถือได้ว่าให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมกองทุนรวมไทย ซึ่งสมาคมจะพิจารณาผลการวิจัยดังกล่าวในรายละเอียดโดยเฉพาะประเด็นที่ยังถือว่าเป็นจุดอ่อน และจะหารือกับสมาชิกเพื่อกำหนดแนวทางในการปรับปรุงต่อไป" นายสถาปนะกล่าว
ทางด้านนางเกศรา มัญชุศรี ผู้ช่วยผู้จัดการ กลุ่มงานพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า การลงทุนในกองทุนรวมนั้นสามารถช่วยตอบโจทย์ให้กับผู้ลงทุนในการบริหารเงินลงทุนของตนเองโดยมืออาชีพที่มีความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ในการลงทุนในสินทรัพย์หลากประเภทและสามารถบริหารผลตอบแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยตลาดหลักทรัพย์ได้สนับสนุนแนวความคิดในเรื่องการลงทุนผ่านกองทุนมาโดยตลอด และดำเนินโครงการให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวมมาเป็นปีที่เก้าแล้ว เพื่อสร้างฐานความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริหารเงินลงทุนและการมีทัศนะคติที่ดีต่ออุตสาหกรรม โดยพบว่าพัฒนาการของธุรกิจกองทุนรวมได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดและมีความเป็นสากลมากขึ้น
ซึ่งผลสำรวจของมอร์นิ่งสตาร์เป็นเครื่องยืนยันในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี และในปัจจุบันที่อุตสาหกรรมกองทุนรวมมีขนาดของสินทรัพย์สุทธิสูงถึงกว่า 2 ล้านล้านบาท และจำนวนกองทุนเกือบ 1,400 กองทุน นั้น การมีเครื่องมือในการจัดอันดับของกองทุนแยกตามประเภทต่าง ๆ น่าจะเป็นเครื่องช่วยที่สำคัญต่อผู้ลงทุนในการตัดสินใจเลือกและเปรียบเทียบผลงานของแต่ละกองทุนและน่าจะเป็นการกระตุ้นความน่าสนใจของการลงทุนผ่านกองทุนรวมให้มากยิ่งขึ้น
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) มีการเสนอขายกองทุนรวมเป็นจำนวนมาก มีความหลากหลายในแง่ของการลงทุนมากขึ้น ซึ่งหากคิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวมทั้งอุตสหกรรมอยู่ที่ประมาณ 2,000,000 ล้านบาท โดยการเติบโตของอุตสหกรรมกองทุนรวม 6 ปีย้อนเฉลี่ยอยู่ที่ 26% ต่อปี ทั้งนี้การมีทางเลือกการลงทุนที่หลากหลายทำให้ผู้ลงทุนมีทางเลือกมากขึ้นในการลงทุนให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการลงทุนและความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน ส่งผลให้ผู้ลงทุนต้องแสวงหาข้อมูลกองทุนรวมที่เหมาะสมในการตัดสินใจเลือกลงทุน
โดยปัจจัยหนึ่งที่ผู้ลงทุนสามารถใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุนคือ ผลการดำเนินงานของกองทุนรวม แม้ผลการดำเนินงานในอดีตจะไม่ได้เป็นการรับประกันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต แต่ข้อมูลผลการดำเนินงานของกองทุนรวมก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการบริหารเงินลงทุนของผู้จัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้รับความร่วมมือจากบริษัท
มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) จำกัด โดยให้ผู้ลงทุนสามารถดูข้อมูลรายชื่อกองทุนรวมที่มีผลการดำเนินงานดีที่สุด 10 อันดับแรกสำหรับกองทุนรวมแต่ละประเภท และกองทุนรวมที่ตนเองสนใจได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้นผ่านเว็บไซต์ของ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) และเว็บไซต์ความรู้ผู้ลงทุน (www.sec.or.th/education) ซึ่งจะเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของมอร์นิ่งสตาร์
นอกจากนี้ มอร์นิ่งสตาร์ได้มีการจัดทำงานวิจัยเรื่อง “Global Fund Investor Experience Study” ซึ่งเป็นการจัดอันดับอุตสาหกรรมกองทุนรวมในระดับประเทศ โดยศึกษาประสบการณ์การลงทุนในกองทุนรวมของนักลงทุน 22 ประเทศในอเมริกาเหนือ ยุโรป แอฟริกา และเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยได้รับคะแนนในระดับเป็นที่น่าพอใจ กล่าวคือ ได้คะแนน A- โดยเป็นอันดับ 3
รองจากสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ซึ่งได้คะแนนสูงสุดที่ระดับ A อันเป็นผลจากความร่วมแรงร่วมใจระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาธุรกิจกองทุนรวมให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล และเป็นทางเลือกในการลงทุนของผู้ลงทุนอย่างแท้จริง
“การที่ประเทศไทยได้รับคะแนนในระดับสูงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การรักษามาตรฐานและปรับปรุงพัฒนาในประเด็นต่าง ๆ ที่ไทยได้คะแนนน้อยให้ดียิ่งขึ้นเป็นเรื่องท้าทายผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่จะต้องตั้งใจจริงและร่วมมือกันพัฒนาธุรกิจกองทุนรวมให้เห็นผลอย่างรวดเร็วต่อไป นอกจากนี้ ผู้ที่มีบทบาทที่สำคัญอีกฝ่ายหนึ่งในการพัฒนาธุรกิจกองทุนรวม คือ สื่อด้านต่าง ๆ ที่จะช่วยให้การสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวม เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับทราบข้อมูลดังกล่าวอย่างกว้างขวางและสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจลงทุน รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างความรู้และความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนที่จะลงทุนระยะยาวผ่านกองทุนรวม”นายประเวช กล่าว
นายพีร์ ยงวณิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า มอร์นิ่งสตาร์ได้มีการจัดอันดับกองทุนทั่วโลก โดยมีการจัดอันดับกองทุนรวมที่มีผลการดำเนินงานต่อเนื่องอย่างน้อย 36 เดือน ตามประเภทกองทุนรวมที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก โดยอ้างอิงจากผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยงและค่าธรรมเนียมการซื้อขาย
การแสดงผลการจัดอันดับในแต่ละกลุ่มกองทุนจะเป็นระดับดาว 1 - 5 ดวงซึ่งเรียงจากต่ำสุดไปจนถึงสูงสุด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถเปรียบเทียบกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเดียวกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ผู้ลงทุนจึงน่าจะได้รับประโยชน์จากการศึกษาข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมใด
สำหรับงานวิจัยประสบการณ์การลงทุนในกองทุนรวมในระดับประเทศดังกล่าวมุ่งเน้นการศึกษาใน 4 หัวข้อหลักได้แก่ (1) กฎเกณฑ์การกำกับดูแล/ภาษี (2) การเปิดเผยข้อมูล (3) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย (4) การซื้อขายและบทบาทของสื่อ โดยเฉลี่ยน้ำหนักการให้คะแนนในแต่ละหัวข้อ และนำคะแนนรวมที่ได้มาจัดอันดับซึ่งแบ่งเป็นการจัดอันดับคะแนนรวมในแต่ละประเทศและการจัดอันดับตามหัวข้อหลักข้างต้น
ทั้งนี้คะแนนของไทยที่ A- ถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูง เนื่องจากการเปิดเผยข้อมูลที่ดี และการให้ข้อมูลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของกองทุนที่ครบถ้วน แต่ก็ยังพบว่าเป็นตลาดที่มีจำนวนกองทุนค่อนข้างจำกัด นอกจากนี้ แม้ภาวะการแข่งขันในด้านการขายอยู่ในระดับสูง แต่ก็เป็นการแข่งขันโดยไม่ได้เน้นประเด็นผลการดำเนินงานและความเสี่ยงของกองทุนเป็นหลักดังเช่นในต่างประเทศ
ขณะที่การเปิดเผยข้อมูลพอร์ตโฟลิโอการลงทุนที่ค่อนข้างล่าช้าและขาดข้อมูลในส่วนของผู้จัดการกองทุน เรื่องนี้ยังเป็นประเด็นที่ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันพัฒนาต่อไป
นายสถาปนะ เลี้ยวประไพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) กล่าวว่า ปัจจุบันจำนวนกองทุนรวมที่มีอยู่ในประเทศไทยประมาณ 1,366 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนหุ้นประมาณ 300 กองทุน กองทุนตราสารหนี้ 800 กองทุน ส่วนที่เหลือก็จะเป็นกองทุนประเภทอื่นๆเช่นกองทุนผสม กองทุนอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามก็ตามเราเชื่อว่า
นักลงทุนจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลการจัดอันดับกองทุนรวมเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนโดยพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของผู้จัดการกองทุนแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนเริ่มรู้จักกองทุนรวมที่บริหารจัดการโดยบริษัทจัดการอื่น ๆ ที่ตนเองไม่คุ้นเคยได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจจัดการกองทุนโดยรวมให้สามารถแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมมากขึ้น
"ผลการวิจัยของมอร์นิ่งสตาร์นั้นถือได้ว่าให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมกองทุนรวมไทย ซึ่งสมาคมจะพิจารณาผลการวิจัยดังกล่าวในรายละเอียดโดยเฉพาะประเด็นที่ยังถือว่าเป็นจุดอ่อน และจะหารือกับสมาชิกเพื่อกำหนดแนวทางในการปรับปรุงต่อไป" นายสถาปนะกล่าว
ทางด้านนางเกศรา มัญชุศรี ผู้ช่วยผู้จัดการ กลุ่มงานพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า การลงทุนในกองทุนรวมนั้นสามารถช่วยตอบโจทย์ให้กับผู้ลงทุนในการบริหารเงินลงทุนของตนเองโดยมืออาชีพที่มีความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ในการลงทุนในสินทรัพย์หลากประเภทและสามารถบริหารผลตอบแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยตลาดหลักทรัพย์ได้สนับสนุนแนวความคิดในเรื่องการลงทุนผ่านกองทุนมาโดยตลอด และดำเนินโครงการให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวมมาเป็นปีที่เก้าแล้ว เพื่อสร้างฐานความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริหารเงินลงทุนและการมีทัศนะคติที่ดีต่ออุตสาหกรรม โดยพบว่าพัฒนาการของธุรกิจกองทุนรวมได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดและมีความเป็นสากลมากขึ้น
ซึ่งผลสำรวจของมอร์นิ่งสตาร์เป็นเครื่องยืนยันในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี และในปัจจุบันที่อุตสาหกรรมกองทุนรวมมีขนาดของสินทรัพย์สุทธิสูงถึงกว่า 2 ล้านล้านบาท และจำนวนกองทุนเกือบ 1,400 กองทุน นั้น การมีเครื่องมือในการจัดอันดับของกองทุนแยกตามประเภทต่าง ๆ น่าจะเป็นเครื่องช่วยที่สำคัญต่อผู้ลงทุนในการตัดสินใจเลือกและเปรียบเทียบผลงานของแต่ละกองทุนและน่าจะเป็นการกระตุ้นความน่าสนใจของการลงทุนผ่านกองทุนรวมให้มากยิ่งขึ้น