บลจ.ฟินันซ่า ออกองทุนใหม่ "ฟินันซ่า เอเชี่ยน คอนซัมชั่น"ลุยตลาดเอเชีย เน้นลงทุนในบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีแนวโน้มการเติบโตที่สูงมากในระยะยาว รวมถึงปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง เปิดขาย IPO ช่วงสัปดาห์แรก เดือนก.พ.
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟินันซ่า เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมเสนอขาย “กองทุนเปิดหน่วยลงทุน ฟินันซ่า เอเชี่ยน คอนซัมชั่น (FAM ACF) ในช่วงอาทิตย์แรกของเดือนก.พ.54 มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท
โดยจะนำเงินไปลงทุนใน “กองทุน UBS (Lux) Equity Fund - Asian Consumption (USD)” ซึ่งบริหารโดย UBS มีนโยบายลงทุนในหุ้นของบริษัทต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่หรือดำเนินธุรกิจหลักในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ซึ่งเป็นธุรกิจการขายสินค้าหรือให้บริการแก่ผู้บริโภคในเอเชีย ซึ่งเป็นธีมการลงทุนที่นักลงทุนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ โดยก่อนหน้านี้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทก็มีการนำเงินไปลงทุนในกองทุนดังกล่าวมาแล้วกว่า 2 ปี ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างดีประมาณ 26% จึงตั้งใจจะเปิดโอกาสให้นักลงทุนทั่วไปมีโอกาสเข้ามาร่วมลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมด้วยจึงได้จัดตั้งกองทุน FAM ACF ขึ้นมาในครั้งนี้
“กองทุน FAM ACF นี้ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนสถาบันค่อนข้างดี เพราะเขาเข้าใจและมองเห็นโอกาสในการลงทุนในระยะยาวที่วางอยู่บนพื้นฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชีย การเติบโตของประชากร ความกินดีอยู่ดีของคนเอเชียจากเศรษฐกิจที่เติบโตดีขึ้นก็จะทำให้มีการอุปโภคบริโภคสินค้ามากขึ้น นั่นจึงทำให้มีการประเมินยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคในแต่ละปีจะโตประมาณ 20% เลยทีเดียว ดังนั้นไม่อยากให้มองความผันผวนหรือกังวลกับราคาในระยะสั้นมากจนเกินไป ถ้ายังไม่มั่นใจก็อาจจะทยอยซื้อเฉลี่ยไปก่อนได้ เพราะในระยะยาวถือเป็นธีมการลงทุนที่ลงทุนแล้วสบายใจในระยะยาวอย่างแท้จริง”
นาย โปรจิต แชทเธอร์จี ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธุ์ ตลาดเกิดใหม่และเอเชีย ยูบีเอส โกลบอล แอสเสท แมเนทเม้น สิงคโปร กล่าวถึง แนวโน้มตลาดสินค้าอุปโภคและบริโภคในปี 2011 ว่ายังมีความเชื่อมั่นในสินค้าบริโภคจำเป็นที่มีคุณภาพสูง ท่ามกลางความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ สำหรับกลุ่มสินค้าบริโภคจำเป็น เรามองเห็นแนวโน้มที่ดีสำหรับบริษัทซึ่งมีอำนาจในการกำหนดราคาสินค้าที่ดีกว่า
ในขณะที่สินค้าอาหารจำเป็นมีความเสี่ยงจากการแทรกแซงราคาโดยภาครัฐ ยอดขายสินค้าปลีกในเกาหลี จีน และอินเดียจะยังมีความโดดเด่นอย่างต่อเนื่อง สินค้าบริโภคฟุ่มเฟือยและไฮเอนด์ควรจะเป็นกลุ่มที่รอดพ้นจากความกังวลจากภาวะเงินเฟ้อ ส่วนนโยบายของภาครัฐในจีนและอินเดียที่มุ่งกระจายความมั่งคั่งของประชากรก่อให้เกิดโอกาสที่ดีในการได้รับประโยชน์จากการกระจายรายได้ สินค้าบริโภคสำหรับลูกค้าวงกล้าวงจะยังคงอัตราการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและกองทุนก็อยู่ในสถานะที่ดีที่จะได้รับประโยชน์จากอุปทานที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นในหมู่ชนชั้นกลาง
ทั้งนี้ สินค้าของภูมิภาคเอเชียกำลังเป็นแบรนด์ที่ตลาดต้องการทั้งในระดับประเทศจนถึงระดับประเทศ โดยแบรนด์ที่นิยมในประเทศจีนได้แก่ Lenovo แบรนด์ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล TCL แบรนด์ ทีวี Haier แบรนด์ ตู้เย็น และแบรนด์ในประเทสเกาหลีใต้ อย่าง Samsung LG Hyundai
นอกจากนี้ ศักยภาพทางการบริโภคในเอเชียนั้น การบริโภคภาคครัวเรือนในประเทศจีน คิดเป็น 30% ของการเติบโตของ จีดีพี ในปี 2009 เทียบกับ 30% ในปี 2007 ขณะที่ในอินเดีย มีเพียง 17% ของครัวเรือนทั้งหมดที่กู้ยืมสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยในปัจจุบันประชากรอิoเดียที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เทียบกับ 93% ในสหรัฐอเมริกา ส่วนในประเทศอินโดนิเซีย 67% ของครัวเรือนทั้งหมดมีแผนที่จะซื้อรถยนต์ในช่วง 3 ปีข้างหน้า