บลจ.ยูโอบี แนะนักลงทุนสร้างวินัยการลงทุนโดยใช้หลักการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน หรือ Dollar Cost Average ช่วยลดความผันผวนของตลาดหุ้นในปีเถาะนี้ พร้อมมองตลาดเกิดใหม่ยังแข็งแกร่ง
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด กล่าวถึงการลงทุนในปี 2554 ว่า นักลงทุนอาจจะเริ่มสร้างวินัยการลงทุนให้กับตนเองด้วยการการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Average) ซึ่งเป็นการลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่าๆ กันเป็นประจำทุกๆ งวด โดยไม่สนใจว่าในช่วงนั้นภาวะตลาดเป็นอย่างไร สมมติฐานของการลงทุนด้วยวิธีนี้คือ ไม่มีใครสามารถบอกได้แน่นอนว่า ราคาหุ้นจะปรับตัวสูงขึ้น หรือต่ำลงมากน้อยเพียงใด และเมื่อไหร่หากท่านลงทุนด้วยเงินจำนวนเท่ากัน ในช่วงที่ตลาดหุ้นขึ้นราคาหุ้นจะปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ท่านได้รับหน่วยลงทุนน้อยลง หากท่านลงทุนในช่วงที่ตลาดหุ้นลง ราคาหุ้นจะปรับตัวลง ส่งผลให้ท่านได้รับหน่วยลงทุนมากขึ้น ดังนั้นวิธีการนี้จึงถือเป็นเทคนิคการลงทุนที่ช่วยเฉลี่ยต้นทุน และสร้างมูลค่าให้แก่นักลงทุนระยะยาว อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยง และยังสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุน
สำหรับเหตุการณ์มหภาคต่างๆ ได้เป็นตัวขับเคลื่อนตลาดการเงินในช่วงท้ายปี 2553 ทั้งๆ ที่ตลาดกำลังเผชิญกับความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยุโรป การชะลอการปล่อยสินเชื่อของประเทศจีน และปัญหาความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลี ความกังวลต่างๆ ทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitical) เหล่านี้อาจลดความเชื่อมั่นทางธุรกิจและนำไปสู่การลดการลงทุน และชะลอการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม การประกาศตัวเลขชี้นำเศรษฐกิจของประเทศชั้นนำทั่วโลกยังแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้คงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำและประกาศใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) รอบที่ 2 ในวงเงินสูงถึง 600,000 ล้านเหรียญสหรัฐในการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (EuropeanUnion) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ประกาศให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่สาธารณรัฐไอร์แลนด์และกรีซอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้เรามั่นใจว่าการถดถอยของเศรษฐกิจไม่น่าจะเกิดขึ้นอีกในเร็วๆ นี้
ในส่วนของทวีปเอเชีย การประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของจีนและอินเดียในช่วงครึ่งปีหลัง 2553 ยังแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นของหลายประเทศในเอเซียเป็นเรื่องที่นักลงทุนและธนาคารกลางของแต่ละประเทศเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เช่น จีนได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 2 ครั้งในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาเพื่อชะลอการเร่งของอัตราเงินเฟ้อ เรามองว่าอัตราดอกเบี้ยของประเทศเอเซียหลายประเทศจะถูกปรับเพิ่มขึ้นในปี 2554เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังดีของประเทศในเอเซียส่วนใหญ่และกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (emerging markets)ทำให้ค่าเงินสกุลท้องถิ่นต่างๆ แข็งค่า (appreciation) เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ และส่งผลกระทบเชิงลบต่อภาคการส่งออก อย่างไรก็ตามการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในกลุ่มประเทศเกิดใหม่เพิ่มมากขึ้นอันส่งผลดีต่อการอุปโภคบริโภคและการเติบโตของเศรษฐกิจ ดังนั้นผลตอบแทนจาการลงทุนในตราสารทุน(equity) ของตลาดเกิดใหม่จึง outperform ผลตอบแทนจากการลงทุนโลก (world market) ตั้งแต่ปี 2551
ขณะที่มุมมองด้านการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุน(capital control) เราเชื่อว่าจะมุ่งเน้นที่ตลาดพันธบัตรเป็นหลักเนื่องจากการใช้มาตรการ capital control นั้นน่าจะส่งผลลบอย่างรุนแรงต่อภาวะการลงทุนในตลาดทุนเช่นจากเหตุการณ์ในประเทศไทยในเดือนธันวาคมปี 2549(ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลง 14.8% ใน 1 วันหลังธปท. ประกาศใช้มาตรการ capital control) และประเทศมาเลเซียในปี 2541
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด กล่าวถึงการลงทุนในปี 2554 ว่า นักลงทุนอาจจะเริ่มสร้างวินัยการลงทุนให้กับตนเองด้วยการการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Average) ซึ่งเป็นการลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่าๆ กันเป็นประจำทุกๆ งวด โดยไม่สนใจว่าในช่วงนั้นภาวะตลาดเป็นอย่างไร สมมติฐานของการลงทุนด้วยวิธีนี้คือ ไม่มีใครสามารถบอกได้แน่นอนว่า ราคาหุ้นจะปรับตัวสูงขึ้น หรือต่ำลงมากน้อยเพียงใด และเมื่อไหร่หากท่านลงทุนด้วยเงินจำนวนเท่ากัน ในช่วงที่ตลาดหุ้นขึ้นราคาหุ้นจะปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ท่านได้รับหน่วยลงทุนน้อยลง หากท่านลงทุนในช่วงที่ตลาดหุ้นลง ราคาหุ้นจะปรับตัวลง ส่งผลให้ท่านได้รับหน่วยลงทุนมากขึ้น ดังนั้นวิธีการนี้จึงถือเป็นเทคนิคการลงทุนที่ช่วยเฉลี่ยต้นทุน และสร้างมูลค่าให้แก่นักลงทุนระยะยาว อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยง และยังสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุน
สำหรับเหตุการณ์มหภาคต่างๆ ได้เป็นตัวขับเคลื่อนตลาดการเงินในช่วงท้ายปี 2553 ทั้งๆ ที่ตลาดกำลังเผชิญกับความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยุโรป การชะลอการปล่อยสินเชื่อของประเทศจีน และปัญหาความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลี ความกังวลต่างๆ ทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitical) เหล่านี้อาจลดความเชื่อมั่นทางธุรกิจและนำไปสู่การลดการลงทุน และชะลอการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม การประกาศตัวเลขชี้นำเศรษฐกิจของประเทศชั้นนำทั่วโลกยังแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้คงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำและประกาศใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) รอบที่ 2 ในวงเงินสูงถึง 600,000 ล้านเหรียญสหรัฐในการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (EuropeanUnion) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ประกาศให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่สาธารณรัฐไอร์แลนด์และกรีซอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้เรามั่นใจว่าการถดถอยของเศรษฐกิจไม่น่าจะเกิดขึ้นอีกในเร็วๆ นี้
ในส่วนของทวีปเอเชีย การประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของจีนและอินเดียในช่วงครึ่งปีหลัง 2553 ยังแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นของหลายประเทศในเอเซียเป็นเรื่องที่นักลงทุนและธนาคารกลางของแต่ละประเทศเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เช่น จีนได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 2 ครั้งในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาเพื่อชะลอการเร่งของอัตราเงินเฟ้อ เรามองว่าอัตราดอกเบี้ยของประเทศเอเซียหลายประเทศจะถูกปรับเพิ่มขึ้นในปี 2554เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังดีของประเทศในเอเซียส่วนใหญ่และกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (emerging markets)ทำให้ค่าเงินสกุลท้องถิ่นต่างๆ แข็งค่า (appreciation) เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ และส่งผลกระทบเชิงลบต่อภาคการส่งออก อย่างไรก็ตามการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในกลุ่มประเทศเกิดใหม่เพิ่มมากขึ้นอันส่งผลดีต่อการอุปโภคบริโภคและการเติบโตของเศรษฐกิจ ดังนั้นผลตอบแทนจาการลงทุนในตราสารทุน(equity) ของตลาดเกิดใหม่จึง outperform ผลตอบแทนจากการลงทุนโลก (world market) ตั้งแต่ปี 2551
ขณะที่มุมมองด้านการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุน(capital control) เราเชื่อว่าจะมุ่งเน้นที่ตลาดพันธบัตรเป็นหลักเนื่องจากการใช้มาตรการ capital control นั้นน่าจะส่งผลลบอย่างรุนแรงต่อภาวะการลงทุนในตลาดทุนเช่นจากเหตุการณ์ในประเทศไทยในเดือนธันวาคมปี 2549(ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลง 14.8% ใน 1 วันหลังธปท. ประกาศใช้มาตรการ capital control) และประเทศมาเลเซียในปี 2541