ใกล้มหกรรมฟุตบลอโลกเข้าไปทุกขณะ แต่กระแสมหกรรมกีฬาชนิดนี้ดูเหมือนจะตกไปไม่เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากภาวการณ์ในปัจจุบัน
ทั้งในส่วนของคดีประวัติศาสาตร์ที่ผ่านพ้นไปแล้วกับการโกงแล้ว"เท่าทุน"ตามความคิดของคุณกรณ์ จาติกวณิช(ซึ่งส่วนตัวเห็นด้วย) และที่กำลังจะวุ่นวายมากขึ้นไปอีกกับกลุ่มคนเสื้อแดงที่นัดชุมนุมกัน ซึ่งน่าจะรู้เหตุการณ์จะออกมาในรูปแบบใดบ้างก่อนการตีพิมพ์รายงานนี้
มองแล้วจุดประสงค์การชุมนุมดูไร้สาระ นอกจากเรียกร้องเพื่อช่วยเหลือเข้าข้างนักการเมือง นักโทษคดีคอร์รัปชัน มากกว่าความถูกต้องหรือตัวบทกฎหมาย
วกกลับเข้าเรื่องที่เกริ่นไว้ดีกว่าว่า มหกรรมฟุตบอลโลกกำลังจะเริ่มต้น และหากเอ่ยถึงทีมชาติ บราซิล ทุกคนคงรู้จักดีกับลีลาสเตปเทพของบรรดานักเตะแซมบ้าทุกคน แต่ถ้าถามถึงเรื่องเศรษฐกิจหรือการลงทุน ตลาดเกิดใหม่แห่งนี้รวมถึงประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาแล้ว....?
ตอบได้เลยว่า คนไทยรู้เรื่องหรือรู้จักเรื่องราวของกลุ่มประเทศนี้น้อยมาก
กระผมเองก็นับรวมอยู่ในกลุ่มคนที่ไม่รู้เรื่องด้วย ทราบก็เพียงแต่บางแง่มุมผ่านทางสื่อต่างๆ เล็กน้อย แต่คงต้องให้ความสนใจมากขึ้นหลังจากนี้
ที่ว่าต้องให้ความสนใจมากขึ้น เพราะข้อมูลที่ได้มานั้นน่าสนใจทีเดียว สำหรับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนในระดับสูง ซึ่งเปรียบได้กับความน่าสนใจของจีนและอินเดียที่แรงแซงทางโคังไปก่อนหน้านี้
สำหรับเรื่องราวของภูมิภาคละตินอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญอย่าง ดร.จักรินทร์ ศรีมูล ผู้อำนวยการศูนย์ละตินอเมริกาศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เล่าว่า ในอดีตประเทศกลุ่มนี้มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงมาก แต่ปัจจุับันสถาการณ์ดังกล่าวได้ปรับตัวขึ้นมา
ส่วนจำนวนประชากรปัจจุบันเกือบครึ่งอยู่ใน 2 ประเทศใหญ่อย่าง บราซิล และเม็กซิโก รวมกันแล้วกว่า 300 ล้านคน ซึ่งผลิตภัณฑ์มวลรวม(จีดีพี) ของกลุ่มส่วนใหญ่จะเกิดจาก 2 ประเทศนี้เป็นหลัก โดยมีรายได้ต่อหัวต่อคนอยู่ที่ประมาณ 8 พันดอลลาร์สหรัฐฯ
นอกจากประเทศขนาดใหญ่อย่างบราซิลและเม็กซิโกแล้ว ประเทศอย่างชิลีนับเป็นอีกประเทศที่มีส่วนสำคัญกับการขยายตัวของภูมิภาคนี้ เนื่องจากประเทศชิลีเปรียบเหมือนศูนย์กลางทางการเงินและมีบทบาทเหมือนกับประเทศสิงคโปร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะกระจายเงินลงทุนในยังประเทศบราซิล อาร์เจนตินา เม็กซิโกต่อไป
"ประเทศในภูมิภาคนี้จะส่งออกคอมมอดิตี้มากทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ อาหารสัตว์ และในอนาคตเชื่อว่าอีก 4-5 ปีบราซิลเองจะกลายเป็นยักษ์ใหญ่ในการส่งออกน้ำมัน และเม็กซิโกเองนับเป็นแหล่งของการผลิตอาหารเพื่อส่งออกที่มีขนาดใหญ่มาก"
ส่วนข้อมูลด้านเศรษฐกิจนั้นพบว่า การขยายตัวของจีดีพีในปี 2008 บราซิลอยู่ในดันแรกที่ประมาณ 5-6% ชิลีอยู่ที่ 3.6% ขณะที่ไทยยังอยู่ในระดับติดลบ นอกจากนี้ประเทศบราซิลถือว่ามีเงินทุนสำรองจำนวนมหาศาลหรืประมาณ 4 เท่าของเงินสำรองของประเทศไทยเลยทีเดียว ส่วนความเสี่ยงด้านการเมืองนั้น บราซิลนับเป็นประเทศประชาธิปไตยซึ่งแน่นอนว่าทุกคนมีความเห็นต่างกัน แต่ไม่ขัดแย้งกันเหมือนประเทศไทย
เป็นข้อมูลคร่าวๆ ที่น่าสนใจอย่างที่กล่าวไปข้างต้น แต่นี้เป็นเพียงพื้นฐานเศรษฐกิจและสภาพการเมืองของประเทศในกลุ่มภูมิภาค ซึ่งนักลงทุนนำไปประกอบการตัดสินใจ ขณะที่ผู้จัดการกองทุนอย่าง สาห์รัช ชัฏสุวรรณ ก็มีมุมมองด้านการลงทุนจากแนวโน้มนี้ด้วยเช่นกัน
สาห์รัช กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เศรษฐกิจของภูมิภาคละตินอเมริกามีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้น และทำให้การบริโภคต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย
"พฤติกรรมการบริโภคของคนประชากรที่มีรายได้เพิ่ม อย่างจีนจากเดิมที่เขาเคยขี่จักรยานกัน เดี๋ยวนี้จะเห็นพาหนะเป็นมอเตอร์ไซค์ และรถยนต์มากขึ้น"
แน่วนอนอว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ขาดไม่ได้เลยคือการ ก่อสร้างสถารณูปโภคเพิ่มเติมของภาครัฐ ซึ่ง ประเทศบราซิลจะมีการลงทุนในเรื่องนี้สูงมากกว่า 20% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) และนอกเหนือจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจแล้ว การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อรองรับมหกรรม ฟุตบอลโลกในปี 2014 และ โอลิมปิกฤดูร้อน 2016 จะเป็นตัวเร่งให้การลงทุนและตลาดทุนของประเทศบราซิลมีการปรับตัวสูงขึ้นอีก
นอกจากปัจจัยการขยายตัวของเศรษฐกิจ การที่ประเทศในภูมิภาคละตินอเมริกาเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ อย่างคอมมอดิตี้(สินค้าโภคภัณฑ์)อย่าง น้ำมัน และแร่ธาตุต่างๆ เช่น เหล็ก ทองแดง รวมถึงสินค้าเกษตร กาแฟ ถั่วเหลือง น้ำตาล เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่น่าจะส่งผลดีต่อการลงทุนในภมูิภาคนี้
"ถ้ามองประเทศในภูมิภาคเอเชียอย่างจีน เป็นผู้บริโภคแล้ว ประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาน่าถือเป็นซัพพลายส่วนหนึ่งของโลกเช่นกัน ซึ่งนักลงทุนจะมีความมั่นใจในภูมิภาคนี้ว่าจะสามารถขยายตัวได้มากขึ้นหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก"
ทั้งหมดเป็นเพียงปัจจัยพื้นฐานของการลงทุน แต่อีกปัจจัยที่น่าจะส่งผลในแง่บวกให้กับการลงทุนภูมิภาคนี้อีกประการน่าจะมาจาก สภาพคล่องที่จะไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้นอกเหนือจากภูมิภาคเอเชีย
เป็นที่ทราบกันดีว่าช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา นักลงทุนส่วนและสถาบันส่วนใหญ่นำเม็ดเงินเข้าไปพักใน US Treasury Bond กันเป็นจำนวนมากส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น แม้จะเป็นต้นตอของปัญหาเศรษฐกิจก็ตาม
แต่ในช่วงไตรมาส 2 ของปีที่ผ่านมา (2552) จะเห็นได้ว่ามีสภาพคล่องบ้างส่วนไหลกลับเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น และในจำนวนนั้นภูมิภาคละตินอเมริกาถือเป็นเป้าหมายการลงทุนภายใต้เงื่อนไขของตลาดเกิดใหม่แห่งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ต้องเน้นย้ำว่าเป็นแค่เม็ดเงินบ้างส่วนเท่านั้น ยังมีเม็ดเงินที่ยังหลงเหลือ หรือที่เรียกว่าตกรถอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งสวนทางกับการลงทุนในตราสารหนี้ และพันธบัตรต่างๆ ที่ผลตอบแทนยังปรับตัวอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง
สรุปแล้ว เป็นภูมิภาคที่น่าสนใจลงทุนทีเดียว แต่นักลงทุนเองก็ต้องศึกษาให้ดีกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะตนเองที่ต้องพึ่งระลึกเสมอว่ารับความเสี่ยงได้ขนาดไหน แต่หากมองเป็นการกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนแล้วก็ถือว่าน่าลุ้นทีเดียว
เอฟเฟกต์แผ่นดินไหวชิลี
สำหรับแผ่นดินไหวที่ประเทศชิลีนั้น นายสาห์รัช กล่าวว่าจากสถานการณ์แผ่นดินไหวในประเทศชิลีน่าจะมีผลกระทบในระยะสั้นเท่านั้น ถึงแม้จะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นภายในประเทศชิลีปรับตัวลงมาในระดับหนึ่งก็ตาม
"เรื่องแผ่นดินไหวคงมีผลกระทบแค่ระยะสั้น แต่ด้วยความเป็นประเทศที่รวยอยู่แล้วการบูรณะใหม่คงจะไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งแตกต่างจากเฮติที่จะได้รับผลกระทบมากกว่า ซึ่งตอนนี้อันดับเครดิตของชิลีก็ยังอยู่ในระดับ AA และหากจะลงทุนในหุ้นชิลีตอนนี้ก็น่าจะเป็นจังหวะที่ดี เนื่องจากหุ้นมีการปรับตัวลดลงมาในระดับหนึ่งแล้ว"นายสาห์รัชกล่าว
ส่วนการลงทุนในกองทุนละตินอเมริกาไม่น่าจะมีผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศชิลี เนื่องจากดัชนี ETF ละตินอเมริกาที่กองทุนจะเข้าลงทุนมีสัดส่วนการลงทุนในประเทศชิลี เพียงแค่ 2-3%
และเหตุการณ์ดังกล่าวก็มีผลกระทบเพียงส่วนของประเทศชิลีเท่านั้นโดยภัยธรรมชาติ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงในทุกตลาดอยู่แล้ว แต่ต้องดูศักยภาพของแต่ละประเทศด้วยว่าจะมีความสามารถในการฟื้นฟูประเทศได้มากน้อยขนาดไหน