สปส. โชว์ผลงานปี 52 ฟันกำไรกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท พร้อมระบุปีนี้ลงทุนเพิ่มอีก 1.5 แสนล้านบาท ย้ำยังลงทุนตามกฏหมาย เน้นความมั่นคงของกองทุนในระยะยาวเป็นสำคัญ แต่เตรียมปรับกรอบเล็กน้อย เพิ่มทางเลือกทั้ง อสังหาริมทรัพย์ และการลงทุนต่างประเทศ
รายงานข่าวจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า ในปี 2552 การลงทุนของ สปส. มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,159 ล้านบาทมาอยู่ที่ 26,634 ล้านบาท ในขณะที่ยอดเงินลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 665,171 ล้านบาท สำหรับ เงินลงทุนจำนวน 665,171 ล้านบาทในปัจจุบัน แบ่งลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ได้แก่พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน เงินฝากธนาคาร และหุ้นกู้เอกชน ร้อยละ 80 ของเงินลงทุน และลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ตราสารหนี้อื่นๆ หน่วยลงทุน และหุ้นสามัญ ร้อยละ 20 ของเงินลงทุน
ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา กองทุนประกันสังคมมีผลตอบแทนจากการลงทุนที่เกิดขึ้นจริงจำนวน 26,634 ล้านบาท ประกอบด้วยดอกเบี้ยรับจากเงินฝาก พันธบัตรและหุ้นกู้ จำนวน 23,664 ล้านบาท เงินปันผลและกำไรจากการขายหลักทรัพย์จำนวน 2,970 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2551 กองทุนมีผลตอบแทนจากการลงทุนจำนวน 24,475 ล้านบาท จะเห็นได้ว่ากองทุนมีผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้น 2,159 ล้านบาท ทั้งนี้ นับตั้งแต่จัดตั้งสำนักงานประกันสังคม กองทุนประกันสังคมได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นประจำทุกปี โดยมีผลตอบแทนจากการลงทุนสะสมจำนวน 1.65
แสนล้านบาท คิดเป็นผลตอบแทนจากการลงทุนเฉลี่ยร้อยละ 7.55 ต่อปี
โดยกองทุนประกันสังคมจำนวนนี้ แบ่งออกเป็นเงินกองทุนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ จำนวน 532,811 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินออมของผู้ประกันตนจำนวนกว่า 9 ล้านคนทั่วประเทศที่สำนักงานประกันสังคมสะสมไว้เตรียมจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีบำนาญชราภาพ โดยจะเริ่มมีการจ่ายบำนาญชราภาพในปี พ.ศ. 2557 สำหรับเงินลงทุนที่เหลือเป็นเงินกองทุนที่ดูแลผู้ประกันตนกรณีเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ คลอดบุตร 89,828 ล้านบาท และเป็นเงินกองทุนกรณีว่างงาน 42,532 ล้านบาท
ส่วนในปีนี้(2553) คาดว่ากองทุนมีเงินที่ต้องนำไปลงทุนประมาณ 150,000 ล้านบาท โดยแผนการลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกันสังคมให้คงสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ส่วน
การลงทุนในหุ้นให้คงสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 10 โดยเน้นลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี นอกจากนี้ คณะกรรมการประกันสังคมยังได้มอบหมายให้สำนักงานประกันสังคมเตรียมปรับกรอบการลงทุนเพื่อรองรับการขยายการลงทุนในต่างประเทศ การลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ และการลงทุนทางเลือกอื่นเพื่อเพิ่มช่องทางการลงทุนให้กับกองทุนประกันสังคมในระยะยาว
นอกจากนี้หลักเกณฑ์และกรอบการลงทุนทั้งหมดของกองทุนประกันสังคมนั้น เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการประกันสังคม ว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2549 ซึ่งกำหนดให้กองทุนประกันสังคมลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของเงินกองทุน และลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงได้ไม่เกินร้อยละ 40 ของเงินกองทุน โดยในการดำเนินการลงทุนนั้น สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการลงทุนตามระเบียบคณะกรรมการประกันสังคมฯ และตามแผนการลงทุนประจำปีที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกันสังคม โดยจะพิจารณาจากผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ ความเสี่ยงของการลงทุน และคำนึงถึงความมั่นคงของกองทุนในระยะยาวเป็นสำคัญ
รายงานข่าวจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า ในปี 2552 การลงทุนของ สปส. มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,159 ล้านบาทมาอยู่ที่ 26,634 ล้านบาท ในขณะที่ยอดเงินลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 665,171 ล้านบาท สำหรับ เงินลงทุนจำนวน 665,171 ล้านบาทในปัจจุบัน แบ่งลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ได้แก่พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน เงินฝากธนาคาร และหุ้นกู้เอกชน ร้อยละ 80 ของเงินลงทุน และลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ตราสารหนี้อื่นๆ หน่วยลงทุน และหุ้นสามัญ ร้อยละ 20 ของเงินลงทุน
ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา กองทุนประกันสังคมมีผลตอบแทนจากการลงทุนที่เกิดขึ้นจริงจำนวน 26,634 ล้านบาท ประกอบด้วยดอกเบี้ยรับจากเงินฝาก พันธบัตรและหุ้นกู้ จำนวน 23,664 ล้านบาท เงินปันผลและกำไรจากการขายหลักทรัพย์จำนวน 2,970 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2551 กองทุนมีผลตอบแทนจากการลงทุนจำนวน 24,475 ล้านบาท จะเห็นได้ว่ากองทุนมีผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้น 2,159 ล้านบาท ทั้งนี้ นับตั้งแต่จัดตั้งสำนักงานประกันสังคม กองทุนประกันสังคมได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นประจำทุกปี โดยมีผลตอบแทนจากการลงทุนสะสมจำนวน 1.65
แสนล้านบาท คิดเป็นผลตอบแทนจากการลงทุนเฉลี่ยร้อยละ 7.55 ต่อปี
โดยกองทุนประกันสังคมจำนวนนี้ แบ่งออกเป็นเงินกองทุนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ จำนวน 532,811 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินออมของผู้ประกันตนจำนวนกว่า 9 ล้านคนทั่วประเทศที่สำนักงานประกันสังคมสะสมไว้เตรียมจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีบำนาญชราภาพ โดยจะเริ่มมีการจ่ายบำนาญชราภาพในปี พ.ศ. 2557 สำหรับเงินลงทุนที่เหลือเป็นเงินกองทุนที่ดูแลผู้ประกันตนกรณีเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ คลอดบุตร 89,828 ล้านบาท และเป็นเงินกองทุนกรณีว่างงาน 42,532 ล้านบาท
ส่วนในปีนี้(2553) คาดว่ากองทุนมีเงินที่ต้องนำไปลงทุนประมาณ 150,000 ล้านบาท โดยแผนการลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกันสังคมให้คงสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ส่วน
การลงทุนในหุ้นให้คงสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 10 โดยเน้นลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี นอกจากนี้ คณะกรรมการประกันสังคมยังได้มอบหมายให้สำนักงานประกันสังคมเตรียมปรับกรอบการลงทุนเพื่อรองรับการขยายการลงทุนในต่างประเทศ การลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ และการลงทุนทางเลือกอื่นเพื่อเพิ่มช่องทางการลงทุนให้กับกองทุนประกันสังคมในระยะยาว
นอกจากนี้หลักเกณฑ์และกรอบการลงทุนทั้งหมดของกองทุนประกันสังคมนั้น เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการประกันสังคม ว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2549 ซึ่งกำหนดให้กองทุนประกันสังคมลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของเงินกองทุน และลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงได้ไม่เกินร้อยละ 40 ของเงินกองทุน โดยในการดำเนินการลงทุนนั้น สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการลงทุนตามระเบียบคณะกรรมการประกันสังคมฯ และตามแผนการลงทุนประจำปีที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกันสังคม โดยจะพิจารณาจากผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ ความเสี่ยงของการลงทุน และคำนึงถึงความมั่นคงของกองทุนในระยะยาวเป็นสำคัญ