ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
ประเภทของตราสารอนุพันธ์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures & Forward Contracts) ออปชัน (Options) และสัญญาสวอป (Swap Transaction)
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures & Forward Contract) เป็นสัญญาซึ่งทำการตกลงกันระหว่างบุคคล หรือสถาบัน 2 ฝ่าย โดยมีฝ่ายของผู้ซื้อ และฝ่ายของผู้ขาย ทำการตกลงกันในสัญญาว่า จะมีการซื้อขายสินทรัพย์ (ซึ่งอาจเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตน หรือสินทรัพย์ทางการเงิน) ในอนาคต โดยทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะมีภาระผูกพันที่จะต้องทำตามสัญญาที่กำหนดไว้ ดังนั้นภาระของทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายผู้ขายจะต้องนำสินทรัพย์มาทำการส่งมอบในอนาคต และฝ่ายผู้ซื้อจะทำการชำระราคาในอนาคต เช่น คู่สัญญาทำการตกลงจะซื้อขายเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐในอีก 3 เดือนข้างหน้า เมื่อระยะเวลาถึงกำหนดตามข้อตกลงในสัญญาทั้งฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องทำตามสัญญา (มักจะเรียกว่าวันที่สัญญาครบกำหนดอายุ หรือ Maturity Date) คือ ผู้ซื้อจะต้องนำเงินบาทมาชำระค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และฝ่ายผู้ขายก็จะต้องนำเงินดอลลาร์สหรัฐมาส่งมอบเช่นเดียวกัน
ออปชัน (Option) เป็นสัญญาที่มีลักษณะคล้ายกันกับ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเภทแรก แต่แตกต่างกันที่สัญญาประเภท ออปชัน เป็นสัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้ที่ทำการซื้อสัญญาออปชัน ว่าจะมีสิทธิในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ใด ๆ ตามสัญญา ดังนั้นสิทธิของการทำตามสัญญานั้นจะเป็นของฝ่ายผู้ซื้อสัญญาซื้อหรือขายล่วงหน้า สิทธินั้นขึ้นอยู่กับว่าสัญญาเป็นการซื้อหรือขาย สำหรับฝ่ายผู้ขายเป็นฝ่ายที่ไม่มีสิทธิเลือกใด ๆ เพราะฝ่ายขายเป็นผู้ที่เขียนสัญญาขึ้นมาขาย และเป็นผู้ที่ได้รับค่าสัญญาไปตั้งแต่ต้น จึงไม่มีสิทธิในการเลือกใด ๆ
สัญญาสวอป (Swap) เป็นสัญญที่มีการแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตระหว่างคู่สัญญา หรือเป็นสัญญาที่มีการแลกเปลี่ยนภาระการลงุทน หรือภาระดอกเบี้ยของคู่สัญญา
ตราสารอนุพันธ์ทั้ง 3 ประเภทนี้ เป็นตราสารทางการเงินที่มีการทำธุรกรรมอยู่บ้างในประเทศไทย เช่น การซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้ากับธนาคาร การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย การซื้อขายตราสารประเภท SET 50 Index Futures, SET 50 Index Option, Stock Futures และ Gold Futures ในตลาดอนุพันธ์ ซึ่งโดยรวมแล้วประเทศไทยยังคงมีตราสารอนุพันธ์ทำการซื้อขายอยู่ในตลาดจำนวนที่น้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ
ความเป็นมาของตราสารอนุพันธ์ นั้นคาดว่าจะมีมาตั้งแต่โบราณ แต่พอจะมีหลักฐานที่ปรากฎชัดและบันทึกว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยศตวรรษที่ 17 หรือประมาณปี ค.ศ. 1630 ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นสัญญาการซื้อขายล่วงหน้าดอกทิวลิป ด้วยที่ว่าดอกทิวลิปในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่มีผู้นิยมจำนวนมาก เกิดสินค้าขาดตลาด ฝ่ายผู้ขายและพ่อค้าคนกลางจึงทำการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงของทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายผู้ขายก็จะขายดอกทิวลิปได้ในจำนวนที่ตนมีสัญญาขายล่วงหน้าอยู่แน่นอน และฝ่ายผู้ซื้อก็จะได้รับสินค้าตามที่ต้องการ พร้อมทั้งสามารถกำหนดราคาสินค้าได้ล่วงหน้า ไม่ผันผวนตามปริมาณสินค้าที่จะเป็นในอนาคต
ในช่วงเวลาต่อมาอีกไม่กี่ปีในประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีการทำสัญญาซื้อขายข้าวล่วงหน้า เพื่อเป็นการป้องกันการผันผวนของราคาข้าว เพราะโดยปกติในช่วงเวลาดังกล่าวชาวนาญี่ปุ่นโดยส่วนใหญ่ทำนาโดยเช่าที่นาของเจ้าของนา เมื่อชาวนาปลูกข้าวและสามารถขายได้ ชาวนาก็จะนำเงินมาชำระค่าเช่าที่นา แต่ในบางปี จำนวนข้าวในตลาดมีมากกว่าปกติ หรืออาจเกิดการขาดแคลน ทำให้ราคาข้าวนั้นมีราคาที่ผันผวน คือ เมื่อข้าวขาดตลาด ราคาข้าวจะสูงขึ้น และเมื่อข้าวมีมากจนเกินไป ราคาข้าวก็จะลดลง ทำให้ชาวนานั้นไม่สามารถชำระค่าเช่าที่นาได้ในบางปี
เจ้าของที่นาจึงทำการนำข้าวของชาวนาทั้งหมดเก็บไว้ในยุ้งข้าว และทำตั๋วข้าว (Rice Ticket) ขึ้นมา เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ที่ต้องการซื้อข้าว โดยทะยอยเขียนสัญญาขึ้นมาสำหรับขายข้าวในเดือนต่าง ๆ ไม่ให้จำนวนข้าวทะลักออกสู่ตลาดพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้ราคาไม่ดี การที่เจ้าของที่นาทำเช่นนี้เป็นการทะยอยนำข้าวออกขายสู่ตลาดในเดือนที่แตกต่างกัน โดยทำเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของทั้งผู้ปลูกข้าวที่จะสามารถขายได้ตามราคาที่ตนต้องการ และผู้ซื้อก็จะสามารถแน่นอนใจได้ว่าในอนาคต ตนจะได้รับข้าวตามจำนวนที่ต้องการ และมีราคาตามที่ต้องการ ส่วนฝ่ายของเจ้าของที่นาก็จะได้รับค่าเช่าที่นาครบตามจำนวนด้วยเช่นเดียวกัน
ต่อมาศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอย่างเป็นทางการ (Organized Exchange) จึงเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1848 โดยมีการตั้งตลาดขึ้นในชื่อของ Chicago Board of Trade (CBOT) ซึ่งในช่วงแรกของการจัดตั้งตลาดนั้นสัญญาที่ทำการซื้อขายกันเป็นสัญญาประเภท Forward แต่ต่อมาเมื่อมีผู้เข้ามาลงทุนและเก็งกำไรในตลาด CBOT มากขึ้นสัญญาแบบ Forward จึงถูกเปลี่ยนมาเป็น Futures แทน เพื่อให้สัญญามีลักษณะเป็นมาตรฐานขึ้น ทำให้การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นสามารถซื้อขายกันได้ง่ายขึ้น กับอีกทั้งการชำระราคาซื้อขายก็เป็นมาตรฐานมากขึ้น มีการเรียกเงินประกัน เพื่อไม่ให้คู่สัญญาผิดนัดชำระราคาได้
ต่อมาในปี ค.ศ. 1919 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เปิดตลาดสำหรับ ตราสารอนุพันธ์ อีก 1 ตลาด คือ Chicago Mercantile Exchange (CME) เป็นตลาดที่เปิดขึ้นมาเพื่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตราสารทางการเงิน (Financial Futures Contract) เป็นส่วนใหญ่ และต่อมาในปี ค.ศ. 1973 Chicago Board of Trade เองก็ได้มีการนำตราสารทางการเงินประเภท Option เข้ามาสู่ตลาดอนุพันธ์เป็นครั้งแรก
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
ประเภทของตราสารอนุพันธ์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures & Forward Contracts) ออปชัน (Options) และสัญญาสวอป (Swap Transaction)
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures & Forward Contract) เป็นสัญญาซึ่งทำการตกลงกันระหว่างบุคคล หรือสถาบัน 2 ฝ่าย โดยมีฝ่ายของผู้ซื้อ และฝ่ายของผู้ขาย ทำการตกลงกันในสัญญาว่า จะมีการซื้อขายสินทรัพย์ (ซึ่งอาจเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตน หรือสินทรัพย์ทางการเงิน) ในอนาคต โดยทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะมีภาระผูกพันที่จะต้องทำตามสัญญาที่กำหนดไว้ ดังนั้นภาระของทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายผู้ขายจะต้องนำสินทรัพย์มาทำการส่งมอบในอนาคต และฝ่ายผู้ซื้อจะทำการชำระราคาในอนาคต เช่น คู่สัญญาทำการตกลงจะซื้อขายเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐในอีก 3 เดือนข้างหน้า เมื่อระยะเวลาถึงกำหนดตามข้อตกลงในสัญญาทั้งฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องทำตามสัญญา (มักจะเรียกว่าวันที่สัญญาครบกำหนดอายุ หรือ Maturity Date) คือ ผู้ซื้อจะต้องนำเงินบาทมาชำระค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และฝ่ายผู้ขายก็จะต้องนำเงินดอลลาร์สหรัฐมาส่งมอบเช่นเดียวกัน
ออปชัน (Option) เป็นสัญญาที่มีลักษณะคล้ายกันกับ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเภทแรก แต่แตกต่างกันที่สัญญาประเภท ออปชัน เป็นสัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้ที่ทำการซื้อสัญญาออปชัน ว่าจะมีสิทธิในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ใด ๆ ตามสัญญา ดังนั้นสิทธิของการทำตามสัญญานั้นจะเป็นของฝ่ายผู้ซื้อสัญญาซื้อหรือขายล่วงหน้า สิทธินั้นขึ้นอยู่กับว่าสัญญาเป็นการซื้อหรือขาย สำหรับฝ่ายผู้ขายเป็นฝ่ายที่ไม่มีสิทธิเลือกใด ๆ เพราะฝ่ายขายเป็นผู้ที่เขียนสัญญาขึ้นมาขาย และเป็นผู้ที่ได้รับค่าสัญญาไปตั้งแต่ต้น จึงไม่มีสิทธิในการเลือกใด ๆ
สัญญาสวอป (Swap) เป็นสัญญที่มีการแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตระหว่างคู่สัญญา หรือเป็นสัญญาที่มีการแลกเปลี่ยนภาระการลงุทน หรือภาระดอกเบี้ยของคู่สัญญา
ตราสารอนุพันธ์ทั้ง 3 ประเภทนี้ เป็นตราสารทางการเงินที่มีการทำธุรกรรมอยู่บ้างในประเทศไทย เช่น การซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้ากับธนาคาร การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย การซื้อขายตราสารประเภท SET 50 Index Futures, SET 50 Index Option, Stock Futures และ Gold Futures ในตลาดอนุพันธ์ ซึ่งโดยรวมแล้วประเทศไทยยังคงมีตราสารอนุพันธ์ทำการซื้อขายอยู่ในตลาดจำนวนที่น้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ
ความเป็นมาของตราสารอนุพันธ์ นั้นคาดว่าจะมีมาตั้งแต่โบราณ แต่พอจะมีหลักฐานที่ปรากฎชัดและบันทึกว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยศตวรรษที่ 17 หรือประมาณปี ค.ศ. 1630 ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นสัญญาการซื้อขายล่วงหน้าดอกทิวลิป ด้วยที่ว่าดอกทิวลิปในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่มีผู้นิยมจำนวนมาก เกิดสินค้าขาดตลาด ฝ่ายผู้ขายและพ่อค้าคนกลางจึงทำการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงของทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายผู้ขายก็จะขายดอกทิวลิปได้ในจำนวนที่ตนมีสัญญาขายล่วงหน้าอยู่แน่นอน และฝ่ายผู้ซื้อก็จะได้รับสินค้าตามที่ต้องการ พร้อมทั้งสามารถกำหนดราคาสินค้าได้ล่วงหน้า ไม่ผันผวนตามปริมาณสินค้าที่จะเป็นในอนาคต
ในช่วงเวลาต่อมาอีกไม่กี่ปีในประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีการทำสัญญาซื้อขายข้าวล่วงหน้า เพื่อเป็นการป้องกันการผันผวนของราคาข้าว เพราะโดยปกติในช่วงเวลาดังกล่าวชาวนาญี่ปุ่นโดยส่วนใหญ่ทำนาโดยเช่าที่นาของเจ้าของนา เมื่อชาวนาปลูกข้าวและสามารถขายได้ ชาวนาก็จะนำเงินมาชำระค่าเช่าที่นา แต่ในบางปี จำนวนข้าวในตลาดมีมากกว่าปกติ หรืออาจเกิดการขาดแคลน ทำให้ราคาข้าวนั้นมีราคาที่ผันผวน คือ เมื่อข้าวขาดตลาด ราคาข้าวจะสูงขึ้น และเมื่อข้าวมีมากจนเกินไป ราคาข้าวก็จะลดลง ทำให้ชาวนานั้นไม่สามารถชำระค่าเช่าที่นาได้ในบางปี
เจ้าของที่นาจึงทำการนำข้าวของชาวนาทั้งหมดเก็บไว้ในยุ้งข้าว และทำตั๋วข้าว (Rice Ticket) ขึ้นมา เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ที่ต้องการซื้อข้าว โดยทะยอยเขียนสัญญาขึ้นมาสำหรับขายข้าวในเดือนต่าง ๆ ไม่ให้จำนวนข้าวทะลักออกสู่ตลาดพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้ราคาไม่ดี การที่เจ้าของที่นาทำเช่นนี้เป็นการทะยอยนำข้าวออกขายสู่ตลาดในเดือนที่แตกต่างกัน โดยทำเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของทั้งผู้ปลูกข้าวที่จะสามารถขายได้ตามราคาที่ตนต้องการ และผู้ซื้อก็จะสามารถแน่นอนใจได้ว่าในอนาคต ตนจะได้รับข้าวตามจำนวนที่ต้องการ และมีราคาตามที่ต้องการ ส่วนฝ่ายของเจ้าของที่นาก็จะได้รับค่าเช่าที่นาครบตามจำนวนด้วยเช่นเดียวกัน
ต่อมาศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอย่างเป็นทางการ (Organized Exchange) จึงเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1848 โดยมีการตั้งตลาดขึ้นในชื่อของ Chicago Board of Trade (CBOT) ซึ่งในช่วงแรกของการจัดตั้งตลาดนั้นสัญญาที่ทำการซื้อขายกันเป็นสัญญาประเภท Forward แต่ต่อมาเมื่อมีผู้เข้ามาลงทุนและเก็งกำไรในตลาด CBOT มากขึ้นสัญญาแบบ Forward จึงถูกเปลี่ยนมาเป็น Futures แทน เพื่อให้สัญญามีลักษณะเป็นมาตรฐานขึ้น ทำให้การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นสามารถซื้อขายกันได้ง่ายขึ้น กับอีกทั้งการชำระราคาซื้อขายก็เป็นมาตรฐานมากขึ้น มีการเรียกเงินประกัน เพื่อไม่ให้คู่สัญญาผิดนัดชำระราคาได้
ต่อมาในปี ค.ศ. 1919 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เปิดตลาดสำหรับ ตราสารอนุพันธ์ อีก 1 ตลาด คือ Chicago Mercantile Exchange (CME) เป็นตลาดที่เปิดขึ้นมาเพื่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตราสารทางการเงิน (Financial Futures Contract) เป็นส่วนใหญ่ และต่อมาในปี ค.ศ. 1973 Chicago Board of Trade เองก็ได้มีการนำตราสารทางการเงินประเภท Option เข้ามาสู่ตลาดอนุพันธ์เป็นครั้งแรก