คอลัมน์ : จับชีพจรการลงทุน
อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล
CFA, ผอ.สายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัด
arunsak@scbq.co.th
ในช่วงเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจการจัดการการลงทุน (Fund Management) เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอย่างมีนัยยะสำคัญในหลายประเด็น พัฒนาการต่างๆที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบที่ใช้ควบคุมอุตสาหกรรมและการปรับตัวของการบริหารการลงทุนตามความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ประเด็นที่สำคัญๆ ได้แก่
- การให้สิทธิทางภาษีแก่ผู้ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ทำให้การลงทุนในรูปแบบดังกล่าวมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีหลัง การลดหย่อนภาษีจากการลงทุนดังกล่าวช่วยดึงเม็ดเงินจำนวนมากจากเงินออมที่เมื่อก่อนอาจจะไม่เคยสนใจการลงทุนใดๆเลยนอกจากเงินฝากธนาคารให้เข้าสู่ระบบกองทุนรวมมากขึ้น ปัจจุบัน เงินลงทุนดังกล่าวเป็นหนึ่งในรายได้หลักและเป็นส่วนสำคัญของการเติบโตของขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหารของ บลจ. หลายๆแห่ง อย่างไรก็ดี การเติบโตดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการพัฒนาของผู้เล่นในอุตสาหกรรมในการให้มูลค่าเพิ่ม (Value-Added) ทางด้านบริการกับนักลงทุนเลย แต่เป็นการเติบโตเนื่องจากการสนับสนุนด้านภาษีโดยรัฐบาลมากกว่า (Government Subsidizing)
- ผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆที่เกิดขึ้นในระยะหลังมีแนวโน้มไปในทางแทนที่เงินฝากธนาคารมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการลงทุนประเภทตราสารหนี้ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมปิดพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารหนี้เอกชนที่มีการกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนและผลตอบแทนที่รู้ล่วงหน้า ณ เวลาซื้อ (ถ้าตราสารหนี้ดังกล่าวไม่เกิดปัญหาเรื่องล้มละลายเสียก่อน) หรือกองทุนรวมปิดต่างประเทศที่มีลักษณะคล้ายกันคือให้ผลตอบแทนที่แน่นอน ในระยะเวลาที่กำหนดเช่นกัน (กองทุนตราสารหนี้ประเทศเกาหลีใต้ เป็นต้น) การลงทุนประเภทดังกล่าวได้รับสิทธิประโยชน์จากรัฐบาลเช่นกันในเรื่องการยกเว้นภาษีจากผลตอบแทนที่ได้รับ
- การบริหารการลงทุนที่มุ่งเน้นผลตอบแทนเกาะกับดัชนีอ้างอิง (Benchmark) มากขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือการบริหารการลงทุนแบบ Passive นั่นเอง อาทิเช่น กองทุนรวมตราสารทุนที่อ้างอิงกับดัชนี SET50 หรือ กองทุนรวมต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ประเภทสินค้าโภคภัณฑ์หรือตราสารทุนก็มักจะเกาะกับดัชนีตัวใดตัวหนึ่งในต่างประเทศด้วย ข้อเสียก็คือ บลจ. ที่จัดตั้งการลงทุนดังกล่าวไม่ได้ให้มูลค่าเพิ่มใดๆต่อนักลงทุนเลย เนื่องจากการลงทุนส่วนใหญ่ในรูปแบบดังกล่าว นักลงทุนสามารถที่จะลงทุนได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องผ่านรูปแบบของกองทุนรวม ตัวอย่างเช่น นักลงทุนอาจจะใช้ SET50 Index Futures หรือ หุ้น TDEX แทนการลงทุนในกองทุนรวมที่อ้างอิงกับดัชนี SET50 Index หรือนักลงทุนอาจทำการซื้อ ETF ต่างประเทศแทนการซื้อกองทุนรวมต่างประเทศที่บริหารโดย บลจ. ได้
- การเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของ บลจ. โดยบริษัทแม่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธนาคารพาณิชย์มากขึ้น การเพิ่มขึ้นอย่างมากของขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหารของหลายๆ บลจ. ที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เกิดจากการใช้สาขาธนาคารเป็น Distribution Channel รวมถึงนโยบายของธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวที่มอง บลจ. เสมือนเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินตัวหนึ่งของธนาคาร การเข้ามามีส่วนร่วมดังกล่าวน่าจะรวมไปถึงนโยบายในเรื่องการออกแบบกองทุนใหม่ๆในอนาคตซึ่งน่าจะเป็นไปในทิศทางแบบ Passive มากกว่าการบริหารแบบ Active
แนวโน้มต่างๆดังที่กล่าวข้างต้นหมายถึงภาวะปัจจุบันที่ผู้เล่นในอุตสาหกรรมโดยส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ให้มูลค่าเพิ่มกับนักลงทุนมากนัก นอกจากนี้ การเข้ามามีส่วนร่วมของธนาคารพาณิชย์ในเรื่องการตลาดและการขายมากขึ้น (อาทิเช่น การให้แต้มโบนัสสะสมหากซื้อกองทุนรวมผ่านบัตรเครดิตของธนาคารนั้นๆ เป็นต้น) น่าจะทำให้การแข่งขันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางตลาดมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น สิ่งที่ไม่พึงปรารถนาที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ การแข่งขันทางด้านราคา (Price Competition) ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อมาคือ
- ค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการจะมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ
- บลจ. ที่ไม่มีสาขาธนาคารช่วยขายจะพบความยากลำบากมากขึ้นในการกระจายหน่วยลงทุน การตัดราคาค่าธรรมเนียมจะรุนแรงมากขึ้นอีก
- ลูกค้าจะคาดหวังของแถมต่างๆจากการซื้อหน่วยลงทุนมากขึ้น เพิ่มต้นทุนให้กับ บลจ. ให้สูงขึ้นไปอีก
- บริการด้านอื่นๆจะมีคุณภาพลดลง
- สุดท้าย บลจ. จำเป็นต้องลดการจ้างงานเพื่อลดต้นทุน
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการมองในเชิงอุตสาหกรรมโดยรวมทางฝั่งผู้เล่นหรือผู้ให้บริการของธุรกิจการจัดการกองทุนเท่านั้น การอยู่รอดหรือแม้แต่การเติบโตของอัตราผลกำไรต่อไปในอนาคตน่าจะอยู่ที่การปรับตัวให้เข้าถึงความต้องการของนักลงทุนจริงๆว่าต้องการอะไรนอกเหนือจากค่าบริการที่ถูกลง
แนวโน้มความต้องการของนักลงทุนที่ใช้บริการการบริหารจัดการเงินลงทุนที่น่าจะทำให้ภาพอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไปในอีก 1-2 ปีข้างหน้า รวมถึงช่วยให้ผู้เล่นในธุรกิจสามารถหลีกเลี่ยงการตัดราคากันเอง ได้แก่
1.เป้าหมายการลงทุนของการบริหารจัดการเปลี่ยนจากการบริหารเพื่อผลตอบแทนเป็นการบริหารเพื่อบรรลุเป้าหมายการลงทุนควบคู่กับการจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ
2.การเพิ่มบทบาทของผู้ขายจากเพียงการแนะนำผลิตภัณฑ์การลงทุนเป็นการเป็นที่ปรึกษาการบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคลให้กับนักลงทุน
สำหรับรายละเอียดของแต่ละประเด็น ขอยกยอดไปว่ากันครั้งหน้านะครับ
อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล
CFA, ผอ.สายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัด
arunsak@scbq.co.th
ในช่วงเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจการจัดการการลงทุน (Fund Management) เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอย่างมีนัยยะสำคัญในหลายประเด็น พัฒนาการต่างๆที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบที่ใช้ควบคุมอุตสาหกรรมและการปรับตัวของการบริหารการลงทุนตามความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ประเด็นที่สำคัญๆ ได้แก่
- การให้สิทธิทางภาษีแก่ผู้ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ทำให้การลงทุนในรูปแบบดังกล่าวมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีหลัง การลดหย่อนภาษีจากการลงทุนดังกล่าวช่วยดึงเม็ดเงินจำนวนมากจากเงินออมที่เมื่อก่อนอาจจะไม่เคยสนใจการลงทุนใดๆเลยนอกจากเงินฝากธนาคารให้เข้าสู่ระบบกองทุนรวมมากขึ้น ปัจจุบัน เงินลงทุนดังกล่าวเป็นหนึ่งในรายได้หลักและเป็นส่วนสำคัญของการเติบโตของขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหารของ บลจ. หลายๆแห่ง อย่างไรก็ดี การเติบโตดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการพัฒนาของผู้เล่นในอุตสาหกรรมในการให้มูลค่าเพิ่ม (Value-Added) ทางด้านบริการกับนักลงทุนเลย แต่เป็นการเติบโตเนื่องจากการสนับสนุนด้านภาษีโดยรัฐบาลมากกว่า (Government Subsidizing)
- ผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆที่เกิดขึ้นในระยะหลังมีแนวโน้มไปในทางแทนที่เงินฝากธนาคารมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการลงทุนประเภทตราสารหนี้ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมปิดพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารหนี้เอกชนที่มีการกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนและผลตอบแทนที่รู้ล่วงหน้า ณ เวลาซื้อ (ถ้าตราสารหนี้ดังกล่าวไม่เกิดปัญหาเรื่องล้มละลายเสียก่อน) หรือกองทุนรวมปิดต่างประเทศที่มีลักษณะคล้ายกันคือให้ผลตอบแทนที่แน่นอน ในระยะเวลาที่กำหนดเช่นกัน (กองทุนตราสารหนี้ประเทศเกาหลีใต้ เป็นต้น) การลงทุนประเภทดังกล่าวได้รับสิทธิประโยชน์จากรัฐบาลเช่นกันในเรื่องการยกเว้นภาษีจากผลตอบแทนที่ได้รับ
- การบริหารการลงทุนที่มุ่งเน้นผลตอบแทนเกาะกับดัชนีอ้างอิง (Benchmark) มากขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือการบริหารการลงทุนแบบ Passive นั่นเอง อาทิเช่น กองทุนรวมตราสารทุนที่อ้างอิงกับดัชนี SET50 หรือ กองทุนรวมต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ประเภทสินค้าโภคภัณฑ์หรือตราสารทุนก็มักจะเกาะกับดัชนีตัวใดตัวหนึ่งในต่างประเทศด้วย ข้อเสียก็คือ บลจ. ที่จัดตั้งการลงทุนดังกล่าวไม่ได้ให้มูลค่าเพิ่มใดๆต่อนักลงทุนเลย เนื่องจากการลงทุนส่วนใหญ่ในรูปแบบดังกล่าว นักลงทุนสามารถที่จะลงทุนได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องผ่านรูปแบบของกองทุนรวม ตัวอย่างเช่น นักลงทุนอาจจะใช้ SET50 Index Futures หรือ หุ้น TDEX แทนการลงทุนในกองทุนรวมที่อ้างอิงกับดัชนี SET50 Index หรือนักลงทุนอาจทำการซื้อ ETF ต่างประเทศแทนการซื้อกองทุนรวมต่างประเทศที่บริหารโดย บลจ. ได้
- การเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของ บลจ. โดยบริษัทแม่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธนาคารพาณิชย์มากขึ้น การเพิ่มขึ้นอย่างมากของขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหารของหลายๆ บลจ. ที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เกิดจากการใช้สาขาธนาคารเป็น Distribution Channel รวมถึงนโยบายของธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวที่มอง บลจ. เสมือนเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินตัวหนึ่งของธนาคาร การเข้ามามีส่วนร่วมดังกล่าวน่าจะรวมไปถึงนโยบายในเรื่องการออกแบบกองทุนใหม่ๆในอนาคตซึ่งน่าจะเป็นไปในทิศทางแบบ Passive มากกว่าการบริหารแบบ Active
แนวโน้มต่างๆดังที่กล่าวข้างต้นหมายถึงภาวะปัจจุบันที่ผู้เล่นในอุตสาหกรรมโดยส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ให้มูลค่าเพิ่มกับนักลงทุนมากนัก นอกจากนี้ การเข้ามามีส่วนร่วมของธนาคารพาณิชย์ในเรื่องการตลาดและการขายมากขึ้น (อาทิเช่น การให้แต้มโบนัสสะสมหากซื้อกองทุนรวมผ่านบัตรเครดิตของธนาคารนั้นๆ เป็นต้น) น่าจะทำให้การแข่งขันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางตลาดมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น สิ่งที่ไม่พึงปรารถนาที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ การแข่งขันทางด้านราคา (Price Competition) ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อมาคือ
- ค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการจะมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ
- บลจ. ที่ไม่มีสาขาธนาคารช่วยขายจะพบความยากลำบากมากขึ้นในการกระจายหน่วยลงทุน การตัดราคาค่าธรรมเนียมจะรุนแรงมากขึ้นอีก
- ลูกค้าจะคาดหวังของแถมต่างๆจากการซื้อหน่วยลงทุนมากขึ้น เพิ่มต้นทุนให้กับ บลจ. ให้สูงขึ้นไปอีก
- บริการด้านอื่นๆจะมีคุณภาพลดลง
- สุดท้าย บลจ. จำเป็นต้องลดการจ้างงานเพื่อลดต้นทุน
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการมองในเชิงอุตสาหกรรมโดยรวมทางฝั่งผู้เล่นหรือผู้ให้บริการของธุรกิจการจัดการกองทุนเท่านั้น การอยู่รอดหรือแม้แต่การเติบโตของอัตราผลกำไรต่อไปในอนาคตน่าจะอยู่ที่การปรับตัวให้เข้าถึงความต้องการของนักลงทุนจริงๆว่าต้องการอะไรนอกเหนือจากค่าบริการที่ถูกลง
แนวโน้มความต้องการของนักลงทุนที่ใช้บริการการบริหารจัดการเงินลงทุนที่น่าจะทำให้ภาพอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไปในอีก 1-2 ปีข้างหน้า รวมถึงช่วยให้ผู้เล่นในธุรกิจสามารถหลีกเลี่ยงการตัดราคากันเอง ได้แก่
1.เป้าหมายการลงทุนของการบริหารจัดการเปลี่ยนจากการบริหารเพื่อผลตอบแทนเป็นการบริหารเพื่อบรรลุเป้าหมายการลงทุนควบคู่กับการจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ
2.การเพิ่มบทบาทของผู้ขายจากเพียงการแนะนำผลิตภัณฑ์การลงทุนเป็นการเป็นที่ปรึกษาการบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคลให้กับนักลงทุน
สำหรับรายละเอียดของแต่ละประเด็น ขอยกยอดไปว่ากันครั้งหน้านะครับ