CIMB ชี้หุ้นอาเซียนเจ๋ง ให้ผลตอบแทนเยี่ยมกว่าหุ้นโลก ระบุพอร์ตลงทุนไทย เบรกเข้ากลุ่ม ปตท. หลังเจอปัญหามาบตาพุด มั่นใจภาพรวมปีหน้า จีดีพีพลิกเป็นบวก
นายเรย์มอนด์ ถัง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุนของ CIMB-Principal Asset Management Berhad ประเทศมาเลเซีย ในฐานะผู้บริหารดูแลกองทุนเปิดบีที เดลี่ อาเซียน อิควิตี้ เปิดเผยว่า ในแถบทวีปอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ โดยมีประชากรมีมากสุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ต่อจากประเทศจีน และอินเดีย ซึ่งมีจีดีพีรวมกว่า 1,170 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 13 ของโลก โดยอาเซียนมีความมั่นคงด้านการเงินเป็นอย่างมาก เพราะจะเห็นได้จากเงินสำรองต่างประเทศมีอยู่จำนวน 470.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดว่าเป็น6.7% ของเงินทุนสำรองโลก
โดยตลาดหุ้นในอาเซียน ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ถึง 9 ธันวาคม 2552 ได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าตลาดหุ้นโลก โดยตลาดหุ้นอินโดนีเซียปรับขึ้น83% ตลาดหุ้นมาเลเซียปรับขึ้น 43% ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปรับขึ้น 58% ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้น 54% และตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปรับขึ้น 59%
ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยที่เกิดปัญหามาบตาพุด ส่งผลให้บริษัทเองมีการปรับลงทุนในส่วนของกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ลง โดยการลงทุนในประเทศไทยขณะนี้เหลือเพียงแค่ 9% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตลาดหุ้นไทยเองยังมีความน่าสนใจอยู่มาก เพราะจากที่ผ่านมายังคงให้ผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ และยังเป็นตลาดหุ้นที่มีราคาถูกที่สุดในแถบทวีปอาเซียน
นอกจากนี้แล้ว ความน่าสนใจของการลงทุนในประเทศไทยอีกประการหนึ่งนั้นคือ การที่รัฐบาลเองได้มีการอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจในปีหน้าเพิ่มขึ้นอีก 1.4 ล้านล้านบาท โดยหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์และอสังหาริมทรัพย์เองจะได้รับอานิสงค์โดยตรงจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในครั้งนี้ด้วย
ส่วนในปัญหาด้านการเมืองนั้น ถ้าในปี 2553 มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของการเมืองหรือมีการเลือกตั้งใหม่ ก็อาจจะมีการลดนำหนักการลงทุนอีกเช่นกัน แต่เป็นการลดน้ำหนักในช่วงระยะสั้น ๆ เท่านั้น เพราะเมื่อได้รัฐบาลเข้ามาแล้วด้านการทำธุรกิจก็จะกลับมาคึกคักเหมือนเดิม ขณะเดียวกันในปีหน้า ประเทศฟิลิปปินส์เองก็จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกเช่นกัน ดังนั้น จึงคาดว่าบริษัทจะต้องมีการลดน้ำหนักสัดส่วนการลงทุนลง เพราะจะทำให้รัฐบาลไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ แต่กลุ่มที่จะเข้าไปลงทุนยังคงเป็นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์
นายเรย์มอนด์ กล่าวต่อไปว่า ถ้ามองโดยรวมแล้วการของการลงทุนในกลุ่มประเทศแถบอาเซียนแล้ว ยังคงมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจีดีพี จะพลิกกลับมาเป็นบวก โดยหากพิจารณาเป็นรายประเทศ เช่น มาเลเซียซึ่งจะพบได้ว่าหมวดการลงทุนก็ยังคงเป็นกลุ่ม ธนาคารพาณิชย์ วัสดุก่อสร้าง และกลุ่มพลังงาน ส่วนประเทศสิงคโปร์ ปัจจุบันได้มีการลงทุนของภาครัฐเป็นอย่างมาก โดยการอัดฉีดของรัฐบาลที่มีการชดเชยการจ่ายเงินของนายจ้าง รวมถึงรัฐบาลได้มีการให้วงเงินSME และลดภาษีของประชาชนลงอยู่ที่ 1% นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลยังได้ลดภาษีในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ด้วย ขณะที่อินโดนีเซียก็มีการเติบโตที่ดีเช่นกัน เพราะเป็นประเทศที่ส่งออกปาล์มและถ่านหินมากที่สุดในอาเซียน และรัฐบาลเองก็มีการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นอย่างมากทำให้หนี้ของรัฐบาลเองมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภาคเศรษฐกิจของอินโดนีเซียได้มีการปรับตัวขึ้นมากว่า 100% ส่งผลให้ค่าเงินรูเปียมีการแข็งค่าขึ้น
นายเรย์มอนด์ ถัง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุนของ CIMB-Principal Asset Management Berhad ประเทศมาเลเซีย ในฐานะผู้บริหารดูแลกองทุนเปิดบีที เดลี่ อาเซียน อิควิตี้ เปิดเผยว่า ในแถบทวีปอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ โดยมีประชากรมีมากสุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ต่อจากประเทศจีน และอินเดีย ซึ่งมีจีดีพีรวมกว่า 1,170 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 13 ของโลก โดยอาเซียนมีความมั่นคงด้านการเงินเป็นอย่างมาก เพราะจะเห็นได้จากเงินสำรองต่างประเทศมีอยู่จำนวน 470.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดว่าเป็น6.7% ของเงินทุนสำรองโลก
โดยตลาดหุ้นในอาเซียน ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ถึง 9 ธันวาคม 2552 ได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าตลาดหุ้นโลก โดยตลาดหุ้นอินโดนีเซียปรับขึ้น83% ตลาดหุ้นมาเลเซียปรับขึ้น 43% ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปรับขึ้น 58% ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้น 54% และตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปรับขึ้น 59%
ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยที่เกิดปัญหามาบตาพุด ส่งผลให้บริษัทเองมีการปรับลงทุนในส่วนของกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ลง โดยการลงทุนในประเทศไทยขณะนี้เหลือเพียงแค่ 9% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตลาดหุ้นไทยเองยังมีความน่าสนใจอยู่มาก เพราะจากที่ผ่านมายังคงให้ผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ และยังเป็นตลาดหุ้นที่มีราคาถูกที่สุดในแถบทวีปอาเซียน
นอกจากนี้แล้ว ความน่าสนใจของการลงทุนในประเทศไทยอีกประการหนึ่งนั้นคือ การที่รัฐบาลเองได้มีการอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจในปีหน้าเพิ่มขึ้นอีก 1.4 ล้านล้านบาท โดยหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์และอสังหาริมทรัพย์เองจะได้รับอานิสงค์โดยตรงจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในครั้งนี้ด้วย
ส่วนในปัญหาด้านการเมืองนั้น ถ้าในปี 2553 มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของการเมืองหรือมีการเลือกตั้งใหม่ ก็อาจจะมีการลดนำหนักการลงทุนอีกเช่นกัน แต่เป็นการลดน้ำหนักในช่วงระยะสั้น ๆ เท่านั้น เพราะเมื่อได้รัฐบาลเข้ามาแล้วด้านการทำธุรกิจก็จะกลับมาคึกคักเหมือนเดิม ขณะเดียวกันในปีหน้า ประเทศฟิลิปปินส์เองก็จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกเช่นกัน ดังนั้น จึงคาดว่าบริษัทจะต้องมีการลดน้ำหนักสัดส่วนการลงทุนลง เพราะจะทำให้รัฐบาลไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ แต่กลุ่มที่จะเข้าไปลงทุนยังคงเป็นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์
นายเรย์มอนด์ กล่าวต่อไปว่า ถ้ามองโดยรวมแล้วการของการลงทุนในกลุ่มประเทศแถบอาเซียนแล้ว ยังคงมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจีดีพี จะพลิกกลับมาเป็นบวก โดยหากพิจารณาเป็นรายประเทศ เช่น มาเลเซียซึ่งจะพบได้ว่าหมวดการลงทุนก็ยังคงเป็นกลุ่ม ธนาคารพาณิชย์ วัสดุก่อสร้าง และกลุ่มพลังงาน ส่วนประเทศสิงคโปร์ ปัจจุบันได้มีการลงทุนของภาครัฐเป็นอย่างมาก โดยการอัดฉีดของรัฐบาลที่มีการชดเชยการจ่ายเงินของนายจ้าง รวมถึงรัฐบาลได้มีการให้วงเงินSME และลดภาษีของประชาชนลงอยู่ที่ 1% นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลยังได้ลดภาษีในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ด้วย ขณะที่อินโดนีเซียก็มีการเติบโตที่ดีเช่นกัน เพราะเป็นประเทศที่ส่งออกปาล์มและถ่านหินมากที่สุดในอาเซียน และรัฐบาลเองก็มีการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นอย่างมากทำให้หนี้ของรัฐบาลเองมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภาคเศรษฐกิจของอินโดนีเซียได้มีการปรับตัวขึ้นมากว่า 100% ส่งผลให้ค่าเงินรูเปียมีการแข็งค่าขึ้น