คอลัมน์ ถนนสู่การลงทุน
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
การลงทุนในหลักทรัพย์สำหรับผู้ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในการพิจารณาและตัดสินใจลงทุน ทางเลือกในการลงทุนของนักลงทุนกลุ่มนี้สามารถร่วมลงทุนได้ใน กองทุนรวม (Mutual Fund) โดยที่การลงทุนในกองทุนรวมนี้เป็น โครงการลงทุนที่ระดมเงินทุนจากนักลงทุนหลายๆรายมารวมกันเป็นเงินลงทุนก้อนใหญ่ และจดทะเบียนให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล จากนั้นกองทุนก็จะนำเงินลงทุน ที่ระดมได้จากนักลงทุนรายย่อย ๆ ที่มาร่วมกันลงทุน ไปลงทุนในหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินประเภทต่างๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้การลงทุนของกองทุนรวมจะต้องเป็นไปตามนโยบายการลงทุนที่ได้ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายแก่นักลงทุนนั้น สิ่งที่นักลงทุนแต่ละรายจะได้รับจากการลงทุนในกองทุนรวมเรียกว่า “หน่วยลงทุน (Unit Trust)” โดยที่หน่วยลงทุนที่ผู้ลงทุนถือนี้จะเป็นหลักฐานยืนยันฐานะความเป็นเจ้าของเงินที่นักลงทุนได้ลงทุนไป โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุนรวม (บลจ.) เป็นผู้จัดตั้งและทำหน้าที่บริหารกองทุนรวมให้ได้ผลตอบแทนตามนโยบายการลงทุน และนำเอาผลตอบแทนที่ได้รับนำมาเฉลี่ยคืนให้กับนักลงทุนแต่ละรายตามสัดส่วนที่ลงทุนไว้แต่แรกในกองทุนรวมนั้น
การลงทุนในกองทุนรวมนั้น ผู้บริหารกองทุนรวมสามารถตัดสินใจลงทุนในตราสาร หรือหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ได้ เช่น
1. หุ้นสามัญ (Common Stocks หรือ Ordinary Shares) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ หรืออาจเรียกได้ว่าตราสารทุน และเมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงานผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินปันผลในอัตราที่จัดสรรโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยคำนวณตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครอง ทั้งนี้ เงินปันผลอาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลกำไรและกระแสเงินสดรับจากการดำเนินงานประจำปีของกิจการ
2. หุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stocks) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ การออกจำหน่ายหุ้นบุริมสิทธิ์กิจการจะมีการจดบุริมสิทธิ์ไว้อย่างชัดเจนไม่สามารถยกเลิกได้ เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ตามที่จดบุริมสิทธิ์ไว้ อาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ แต่หากกิจการนั้นต้องเลิกดำเนินการและมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
3. ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้น (Stock Warrants) คือ ตราสารสิทธิที่กิจการออกให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อให้สิทธิ ในการซื้อหุ้นออกใหม่ในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด หากผู้ลงทุนถือครองใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นแล้ว ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการก็ต่อเมื่อได้ใช้สิทธิในการซื้อหุ้นของกิจการนั้นตามที่กำหนดไว้ในใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้น
4. หน่วยลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน คือ ตราสารสิทธิในการเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ มีนโยบายลงทุนเน้นการลงทุนในตราสารทุน ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการที่กองทุนรวมนั้น ลงทุนไว้ ตามสิทธิที่เฉลี่ยระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดในกองทุนรวมนั้นนั่นเอง
5. ตราสารแสดงสิทธิในอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น (Stock Options & Futures) คือ สัญญาที่ ผู้ลงทุนสองฝ่ายตกลงกันเพื่อซื้อหรือขายหุ้นในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
6. ตราสารหนี้ (Debt Instruments) หมายถึง ตราสารแสดงความเป็นหนี้ หรือ สัญญาเงินกู้ที่บริษัทออกให้แก่ ผู้ลงทุนทั่วไป โดยสัญญาว่าจะใช้เงินตามกำหนด และจ่ายดอกเบี้ยตามกำหนด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นตราสารสิทธิที่แสดงความเป็น "เจ้าหนี้ของกิจการ" โดยทั่วไปแล้วการลงทุนในตราสารหนี้ จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในตราสารทุน ประเภทของตราสารหนี้ที่สามารถลงทุนได้นั้นมีหลายประเภทเช่น
6.1. ตราสารหนี้ภาครัฐ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล (government bond) พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (state-owned enterprise bond) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ตั๋วเงินคลัง (treasury bill) การลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐนี้จะมีความเสี่ยงต่ำสุดในด้านความสามารถในการชำระหนี้ เพราะตราสารปนี้ภาครัฐมักจะมีรัฐบาลเป็นผู้รับประกัน แต่การลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐก็จะมีอัตราผลตอบแทนไม่สูงนัก เพราะความเสี่ยงของการลงทุนค่อนข้างต่ำ จึงได้รับผลตอบแทนที่ต่ำเช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่ตราสารหนี้ภาครัฐนี้จะมีอายุการลงทุนค่อนข้างยาว เพื่อไม่ให้เป็นภาระของภาครัฐในด้านการบริหารและการจัดการหนี้ ยกเว้นแต่กรณีของตั๋วเงินคลัง ซึ่งรัฐบาลออกเพื่อใช้ในการกู้ยืมเงินระยะสั้น (ไม่เกิน 180 วัน) หรือเพื่อดูดซับเงินสภาพคล่องส่วนเกินในตลาดเงิน เพื่อรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น
6.2. ตราสารหนี้ภาคเอกชน ได้แก่ หุ้นกู้ (Debenture) มีลักษณะและคุณสมบัติตามสถานะของการเป็นเจ้าหนี้ หุ้นกู้มีประกัน (Secured debt) มีการค้ำประกันหนี้โดยบุคคลที่สาม (ส่วนใหญ่ได้แก่ บริษัทแม่หรือ สถาบันการเงิน) หรือมีการวาง หลักทรัพย์ไว้เป็นประกัน การชำระหนี้ ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็น เจ้าหนี้เหนือกว่าเจ้าหนี้รายอื่น หุ้นกู้ไม่มีประกัน (Non-secured debt) ปลอดการค้ำประกัน และปลอดหลักทรัพย์ที่วางไว้เป็นประกัน การชำระหนี้ ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้ด้อยกว่าหุ้นกู้มีประกัน หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ (Senior debt) ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้ เท่าเทียมกับเจ้าหนี้รายอื่นแต่ด้อยกว่าหุ้นกู้มีประกัน หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated debt) ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้ป็นรองเจ้าหนี้รายอื่นที่ไม่ด้อยสิทธิ นั่นคือ ได้รับชำระหนี้คืนหลังสุด
6.3 ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋ว แลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขาย เปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (Money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินเป็นผู้ค้ำประกันหรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข
6.4 ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory note) คือ ตราสารการเงินระยะสั้นที่ออกโดยบุคคลรายหนึ่งสัญญากับบุคคลอีกรายหนึ่งว่า ขอกู้ยืมเงิน และจะใช้คืนเงินจำนวน ที่ระบุบนหน้าตั๋วสัญญาใช้เงิน พร้อมด้วยดอกเบี้ยให้ในวันที่กำหนด ทั้งนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินโดยส่วนใหญ่จะแลกเปลี่ยนมือไม่ได้ (Non-negotiable) และแสดงข้อความไว้บนหน้าตั๋ว แต่ถ้าไม่มีการแสดงไว้ ดังกล่าว และตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็จะสามารถนำมาซื้อขายในตลาดเงินได้
6.5 บัตรเงินฝากแลกเปลี่ยนมือได้ (Negotiable Certificate of Deposit) คือ ตราสารแสดงการฝากเงินกับธนาคาร สามารถแลกเปลี่ยนมือได้ในตลาดรอง (Secondary Market)
หากพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกจำหน่ายตราสารหนี้แล้วจะพบว่า ตราสารหนี้ภาคเอกชนจะมีความเสี่ยงสูงมากกว่าตราสารหนี้ของภาครัฐ แต่ตราสารหนี้ภาคเอกชนจะมีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า และมีอายุการลงทุนให้เลือกมาก ทั้งระยะสั้น ปานกลาง และระยะยาว จึงกล่าวได้ว่าการลงทุนใดก็ตามหากมีความเสี่ยงสูงแล้ว อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับก็จะสูงขึ้นเช่นเดียวกัน
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
การลงทุนในหลักทรัพย์สำหรับผู้ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในการพิจารณาและตัดสินใจลงทุน ทางเลือกในการลงทุนของนักลงทุนกลุ่มนี้สามารถร่วมลงทุนได้ใน กองทุนรวม (Mutual Fund) โดยที่การลงทุนในกองทุนรวมนี้เป็น โครงการลงทุนที่ระดมเงินทุนจากนักลงทุนหลายๆรายมารวมกันเป็นเงินลงทุนก้อนใหญ่ และจดทะเบียนให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล จากนั้นกองทุนก็จะนำเงินลงทุน ที่ระดมได้จากนักลงทุนรายย่อย ๆ ที่มาร่วมกันลงทุน ไปลงทุนในหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินประเภทต่างๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้การลงทุนของกองทุนรวมจะต้องเป็นไปตามนโยบายการลงทุนที่ได้ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายแก่นักลงทุนนั้น สิ่งที่นักลงทุนแต่ละรายจะได้รับจากการลงทุนในกองทุนรวมเรียกว่า “หน่วยลงทุน (Unit Trust)” โดยที่หน่วยลงทุนที่ผู้ลงทุนถือนี้จะเป็นหลักฐานยืนยันฐานะความเป็นเจ้าของเงินที่นักลงทุนได้ลงทุนไป โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุนรวม (บลจ.) เป็นผู้จัดตั้งและทำหน้าที่บริหารกองทุนรวมให้ได้ผลตอบแทนตามนโยบายการลงทุน และนำเอาผลตอบแทนที่ได้รับนำมาเฉลี่ยคืนให้กับนักลงทุนแต่ละรายตามสัดส่วนที่ลงทุนไว้แต่แรกในกองทุนรวมนั้น
การลงทุนในกองทุนรวมนั้น ผู้บริหารกองทุนรวมสามารถตัดสินใจลงทุนในตราสาร หรือหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ได้ เช่น
1. หุ้นสามัญ (Common Stocks หรือ Ordinary Shares) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ หรืออาจเรียกได้ว่าตราสารทุน และเมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงานผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินปันผลในอัตราที่จัดสรรโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยคำนวณตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครอง ทั้งนี้ เงินปันผลอาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลกำไรและกระแสเงินสดรับจากการดำเนินงานประจำปีของกิจการ
2. หุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stocks) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ การออกจำหน่ายหุ้นบุริมสิทธิ์กิจการจะมีการจดบุริมสิทธิ์ไว้อย่างชัดเจนไม่สามารถยกเลิกได้ เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ตามที่จดบุริมสิทธิ์ไว้ อาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ แต่หากกิจการนั้นต้องเลิกดำเนินการและมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
3. ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้น (Stock Warrants) คือ ตราสารสิทธิที่กิจการออกให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อให้สิทธิ ในการซื้อหุ้นออกใหม่ในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด หากผู้ลงทุนถือครองใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นแล้ว ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการก็ต่อเมื่อได้ใช้สิทธิในการซื้อหุ้นของกิจการนั้นตามที่กำหนดไว้ในใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้น
4. หน่วยลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน คือ ตราสารสิทธิในการเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ มีนโยบายลงทุนเน้นการลงทุนในตราสารทุน ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการที่กองทุนรวมนั้น ลงทุนไว้ ตามสิทธิที่เฉลี่ยระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดในกองทุนรวมนั้นนั่นเอง
5. ตราสารแสดงสิทธิในอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น (Stock Options & Futures) คือ สัญญาที่ ผู้ลงทุนสองฝ่ายตกลงกันเพื่อซื้อหรือขายหุ้นในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
6. ตราสารหนี้ (Debt Instruments) หมายถึง ตราสารแสดงความเป็นหนี้ หรือ สัญญาเงินกู้ที่บริษัทออกให้แก่ ผู้ลงทุนทั่วไป โดยสัญญาว่าจะใช้เงินตามกำหนด และจ่ายดอกเบี้ยตามกำหนด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นตราสารสิทธิที่แสดงความเป็น "เจ้าหนี้ของกิจการ" โดยทั่วไปแล้วการลงทุนในตราสารหนี้ จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในตราสารทุน ประเภทของตราสารหนี้ที่สามารถลงทุนได้นั้นมีหลายประเภทเช่น
6.1. ตราสารหนี้ภาครัฐ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล (government bond) พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (state-owned enterprise bond) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ตั๋วเงินคลัง (treasury bill) การลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐนี้จะมีความเสี่ยงต่ำสุดในด้านความสามารถในการชำระหนี้ เพราะตราสารปนี้ภาครัฐมักจะมีรัฐบาลเป็นผู้รับประกัน แต่การลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐก็จะมีอัตราผลตอบแทนไม่สูงนัก เพราะความเสี่ยงของการลงทุนค่อนข้างต่ำ จึงได้รับผลตอบแทนที่ต่ำเช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่ตราสารหนี้ภาครัฐนี้จะมีอายุการลงทุนค่อนข้างยาว เพื่อไม่ให้เป็นภาระของภาครัฐในด้านการบริหารและการจัดการหนี้ ยกเว้นแต่กรณีของตั๋วเงินคลัง ซึ่งรัฐบาลออกเพื่อใช้ในการกู้ยืมเงินระยะสั้น (ไม่เกิน 180 วัน) หรือเพื่อดูดซับเงินสภาพคล่องส่วนเกินในตลาดเงิน เพื่อรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น
6.2. ตราสารหนี้ภาคเอกชน ได้แก่ หุ้นกู้ (Debenture) มีลักษณะและคุณสมบัติตามสถานะของการเป็นเจ้าหนี้ หุ้นกู้มีประกัน (Secured debt) มีการค้ำประกันหนี้โดยบุคคลที่สาม (ส่วนใหญ่ได้แก่ บริษัทแม่หรือ สถาบันการเงิน) หรือมีการวาง หลักทรัพย์ไว้เป็นประกัน การชำระหนี้ ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็น เจ้าหนี้เหนือกว่าเจ้าหนี้รายอื่น หุ้นกู้ไม่มีประกัน (Non-secured debt) ปลอดการค้ำประกัน และปลอดหลักทรัพย์ที่วางไว้เป็นประกัน การชำระหนี้ ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้ด้อยกว่าหุ้นกู้มีประกัน หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ (Senior debt) ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้ เท่าเทียมกับเจ้าหนี้รายอื่นแต่ด้อยกว่าหุ้นกู้มีประกัน หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated debt) ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้ป็นรองเจ้าหนี้รายอื่นที่ไม่ด้อยสิทธิ นั่นคือ ได้รับชำระหนี้คืนหลังสุด
6.3 ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋ว แลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขาย เปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (Money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินเป็นผู้ค้ำประกันหรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข
6.4 ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory note) คือ ตราสารการเงินระยะสั้นที่ออกโดยบุคคลรายหนึ่งสัญญากับบุคคลอีกรายหนึ่งว่า ขอกู้ยืมเงิน และจะใช้คืนเงินจำนวน ที่ระบุบนหน้าตั๋วสัญญาใช้เงิน พร้อมด้วยดอกเบี้ยให้ในวันที่กำหนด ทั้งนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินโดยส่วนใหญ่จะแลกเปลี่ยนมือไม่ได้ (Non-negotiable) และแสดงข้อความไว้บนหน้าตั๋ว แต่ถ้าไม่มีการแสดงไว้ ดังกล่าว และตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็จะสามารถนำมาซื้อขายในตลาดเงินได้
6.5 บัตรเงินฝากแลกเปลี่ยนมือได้ (Negotiable Certificate of Deposit) คือ ตราสารแสดงการฝากเงินกับธนาคาร สามารถแลกเปลี่ยนมือได้ในตลาดรอง (Secondary Market)
หากพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกจำหน่ายตราสารหนี้แล้วจะพบว่า ตราสารหนี้ภาคเอกชนจะมีความเสี่ยงสูงมากกว่าตราสารหนี้ของภาครัฐ แต่ตราสารหนี้ภาคเอกชนจะมีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า และมีอายุการลงทุนให้เลือกมาก ทั้งระยะสั้น ปานกลาง และระยะยาว จึงกล่าวได้ว่าการลงทุนใดก็ตามหากมีความเสี่ยงสูงแล้ว อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับก็จะสูงขึ้นเช่นเดียวกัน