คอลัมน์: จับชีพจรการลงทุน:อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล
CFA, ผอ.สายงานจัดการกองทุน
บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัดอีเมล : arunsak@scbq.co.th
อาจจะฟังดูขัดแย้งหากเอ่ยถึงความเป็นไปได้ของภาวะฟองสบู่ในช่วงนี้หลังจากเราเพิ่งผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรงในช่วงปี 2008 และ 2009 ที่กำลังจะผ่านพ้นไป เพราะเมื่อเอ่ยถึงฟองสบู่ เรามักจะนึกถึงมันในเวลาที่เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างรวดเร็วเกินไปจนควบคุมไม่ได้ เหตุการณ์ปัญหาหนี้เสียและฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตกที่ดูไบเป็นตัวอย่างที่นักลงทุนควรตระหนักว่าการคาดการณ์ถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2010 นั้นอาจจะเป็นการมองโลกในแง่ดีมากเกินไปและอาจจะมีฟองสบู่หลายๆลูกรอระเบิดใส่เราอยู่ได้ในปีหน้า
ฟองสบู่เศรษฐกิจโดยทั่วไปหมายถึง ภาวะที่การซื้อขายของนักลงทุนในสินค้าหรือสินทรัพย์ใดๆในราคาที่สูงกว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจของสิ่งนั้นๆมากเกินไป จนเมื่อถึงจุดที่ผู้ซื้อขายในตลาดนั้นๆตระหนักถึงราคาซื้อขายที่แพงเกินไปแล้วนั้น ราคาสินทรัพย์ดังกล่าวก็จะตกลงอย่างรุนแรงและรวดเร็วจนก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากในวงกว้างส่งผลกระทบต่อหน่วยอื่นๆของระบบเศรษฐกิจที่อาจไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรงกันกับตลาดซื้อขายสินทรัพย์นั้นๆได้
ฟองสบู่เศรษฐกิจเกิดขึ้นได้อย่างไร
มีตัวอย่างง่ายๆที่ผมจำได้จากตอนสมัยเรียนที่ช่วยอธิบายถึงการเกิดขึ้นของภาวะฟองสบู่สินทรัพย์ใดๆดังนี้
มีประเทศหนี่งที่มีแต่ทะเลทรายใช้อยู่อาศัยไม่ได้จึงทำการถมทะเลเพื่อทำเกาะๆหนึ่งขึ้นมาเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ประเทศดังกล่าวมีประชากรอาศัยอยู่ 3 คนได้แก่ นายกลมเป็นเจ้าของที่ดินของเกาะดังกล่าวนี้ นายขาวมีเงิน 1 ล้านบาทและนายคำมีเงิน 1 ล้านบาทเช่นกัน โดยสรุปคือประเทศนี้มีสินทรัพย์ทั้งสิ้นคือที่ดินหนึ่งแปลง และเงิน 2 ล้านบาทหมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ
1.เดือนมกราคม: นายขาวซื้อที่ดินซึ่งมีมูลค่าที่แท้จริงคือ 1 ล้านบาทจากนายกลม
สรุป: นายกลมมีเงิน 1 ล้านบาท / นายขาวเป็นเจ้าของที่ดินที่มีมูลค่า 1 ล้านบาท / นายคำยังคงมีเงิน 1 ล้านบาท
สรุป: ทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศมีมูลค่า 3 ล้านบาท
2.เดือนกุมภาพันธ์: นายคำเพิ่งตระหนักว่าที่ดินเป็นของหายากและเป็นทรัพย์สินที่มีจำกัดผลิตขึ้นใหม่ไม่ได้ (เหมือนทองคำและน้ำมัน) ดังนั้นราคาของมันน่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นนายคำจึงทำการกู้เงินจากนายกลมหนึ่งล้านบาทบวกกับเงินที่ตนเองมีรวมเป็น 2 ล้านบาทซื้อที่ดินต่อจากนายขาว
สรุป: นายกลมมีสินทรัพย์เป็นเงินให้นายคำกู้มูลค่า 1 ล้านบาท / นายขาวมีเงิน 2 ล้านบาทจากการขายที่ดิน / นายคำเป็นเจ้าของที่ดินมูลค่า 2 ล้านบาท-เงินกู้ 1 ล้านบาท = 1 ล้านบาท
สรุป: ทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 4 ล้านบาท
3.เดือนมีนาคม: นายกลมเห็นราคาที่ดินขึ้นมาอย่างมากก็รู้สึกเสียดายที่ขายไปจึงอยากจะซื้อกลับคืนจึงทำการกู้เงินจากนายขาว 2 ล้านบาทและซื้อที่ดินดังกล่าวจากนายคำ 3 ล้านบาท โดยเป็นเงินสด 2 ล้านบาทและยกเลิกเงินกู้ยืมเดิมที่มีอยู่ 1 ล้านบาท
สรุป: นายกลมเป็นเจ้าของที่ดินมูลค่า 3 ล้านบาท –เงินกู้ 2 ล้านบาท = 1 ล้านบาท/ นายขาวมีสินทรัพย์เป็นเงินให้นายกลมกู้มูลค่า 2 ล้านบาท / นายคำมีเงินจากการขายที่ดินสุทธิ 2 ล้านบาท
สรุป: ทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกเป็น 5 ล้านบาท
4.เดือนเมษายน: เช่นกัน นายขาวเห็นที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้นจึงอยากเป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าวซึ่งมีเพียงชิ้นเดียว จึงทำการซื้อที่ดินดังกล่าวจากนายกลมราคา 4 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการยกเลิกเงินกู้เดิมที่มี 2 ล้านบาทและเป็นเงินสดที่นายขาวยืมจากนายคำ 2 ล้านบาท
สรุป: นายกลมมีเงินจากการขายที่ดินสุทธิ 2 ล้านบาท/ นายขาวเป็นเจ้าของที่ดินมูลค่า 4 ล้านบาท-เงินกู้จากนายคำ 2 ล้านบาท = 2 ล้านบาท / นายคำมีสินทรัพย์เป็นเงินให้นายขาวกู้ 2 ล้านบาท
สรุป: ทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกเป็น 6 ล้านบาท
5.เดือนพฤษภาคม: ทุกคนมีความสุขเพราะทุกคนมีมูลค่าทรัพย์สินมากขึ้นหรืออีกนัยหนึ่งคือรวยขึ้นอีกเท่าตัว
6.เดือนมิถุนายน: ในที่สุด เมื่อถึงจุดหนึ่งของการซื้อขายที่ราคาของที่ดินดังกล่าวไม่สามารถขึ้นต่อไปได้อีก การประเมินมูลค่าที่แท้จริงของที่ดินดังกล่าวจึงเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลซึ่งคือมูลค่าพื้นฐานของมันซึ่งเท่ากับ 1 ล้านบาทอันเป็นมูลค่าที่ทุกคนยอมรับได้ มูลค่าที่ดินที่ทุกคนเคยตีราคาถึง 4 ล้านบาทเมื่อเดือนก่อนหน้านี้กลับมามีมูลค่าตลาดเหลือเพียง 1 ล้านบาท
สรุป: นายกลมมีเงินจากการขายที่ดินสุทธิ 2 ล้านบาทเหมือนเดิม/ นายขาวเป็นเจ้าของที่ดินมูลค่าลดลงเหลือ 1 ล้านบาท-เงินกู้จากนายคำ 2 ล้านบาทกลายเป็นหนี้เสีย (0 บาท) เพราะไม่สามารถจ่ายได้ = 1 ล้านบาท / นายคำมีสินทรัพย์เป็นเงินให้นายขาวกู้ 2 ล้านบาทกลับกลายเป็นหนี้เสีย (0 บาท)
สรุป: ทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศมีมูลค่าลดลงเหลือ 3 ล้านบาทเท่าเดิม นี่แหละที่เราเรียกฟองสบู่ (อสังหาริมทรัพย์) แตก
7.เดือนกรกฎาคม: นายขาวไม่สามารถจ่ายหนี้ที่กู้จากนายคำได้จึงจำเป็นต้องประกาศล้มละลาย และต้องมอบที่ดินที่มีมูลค่า 1 ล้านบาทดังกล่าวให้กับนายคำเพื่อชำระหนี้
สรุป: นายกลมมีเงินจากการขายที่ดินสุทธิ 2 ล้านบาท/ นายขาวหมดตัวพร้อมกับประกาศล้มละลาย / นายคำมีสินทรัพย์ที่ดินมูลค่า 1 ล้านบาท
สรุป: ทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศมีมูลค่า 3 ล้านบาท
ตัวอย่างดังกล่าวเป็นตัวอย่างของฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ที่เราคุ้นเคยกัน แต่อย่าลืมว่าในความเป็นจริง ฟองสบู่เศรษฐกิจสามารถเกิดขึ้นได้กับสินทรัพย์ทุกประเภท เช่น หุ้น ตราสารหนี้ และสินค้าโภคภัณฑ์ (ทองคำ น้ำมัน) สภาพคล่องจำนวนมหาศาลที่ธนาคารกลางทั่วโลกพร้อมใจกันอัดฉีดเข้าระบบเศรษฐกิจพร้อมกับต้นทุนทางการเงิน (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย) ที่ต่ำมากทำให้เกิดความเสี่ยงของฟองสบู่ที่กำลังก่อตัวในปัจจุบันกับสินทรัพย์หลายประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่งทองคำอาจประสบภาวะฟองสบู่แตกในปีหน้าได้หากนโยบายการเงินเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทิศทาง
สาหตุของฟองสบู่เศรษฐกิจ
เงินเฟ้อ
สภาพคล่องในระบบการเงินที่มากเกินไป: สภาพคล่องอีกนัยหนึ่งคือเงินสดที่มีต้นทุนคือดอกเบี้ยที่ต่ำนั่นเอง นักลงทุนที่มีเงินสดในมือมากเกินไปจำเป็นต้องทำการซื้อสินทรัพย์อื่นๆที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น (ซึ่งมีอุปทานจำกัด) อาทิเช่น หุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ เพื่ออัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้น การแข่งขันกันไล่ซื้อของอุปสงค์ซึ่งคือเจ้าของเงินสด อาจทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของราคาจนเกินปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้ การเปลี่ยนแปลงจากนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน (Easing Monetary Policy) เป็นนโยบายที่เข้มงวดขึ้น (Tightening Monetary Policy) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความคุ้มค่าในการรับความเสี่ยงเนื่องจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น นำไปสู่การเทขายของสินทรัพย์เสี่ยงซึ่งอาจรุนแรงจนเกิดภาวะที่เรียกว่าฟองสบู่แตกได้
จิตวิทยาการลงทุน : สาเหตุหลักที่สำคัญได้แก่ความโลภ และจิตวิทยาของนักลงทุนที่เรียกว่า Herding Behavior ที่หมายถึงการที่นักลงทุนแห่กันไปซื้อสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งมากเกินไปตามนักลงทุนส่วนใหญ่โดยไม่ได้ดูปัจจัยทางพื้นฐานเลย
CFA, ผอ.สายงานจัดการกองทุน
บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัดอีเมล : arunsak@scbq.co.th
อาจจะฟังดูขัดแย้งหากเอ่ยถึงความเป็นไปได้ของภาวะฟองสบู่ในช่วงนี้หลังจากเราเพิ่งผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรงในช่วงปี 2008 และ 2009 ที่กำลังจะผ่านพ้นไป เพราะเมื่อเอ่ยถึงฟองสบู่ เรามักจะนึกถึงมันในเวลาที่เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างรวดเร็วเกินไปจนควบคุมไม่ได้ เหตุการณ์ปัญหาหนี้เสียและฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตกที่ดูไบเป็นตัวอย่างที่นักลงทุนควรตระหนักว่าการคาดการณ์ถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2010 นั้นอาจจะเป็นการมองโลกในแง่ดีมากเกินไปและอาจจะมีฟองสบู่หลายๆลูกรอระเบิดใส่เราอยู่ได้ในปีหน้า
ฟองสบู่เศรษฐกิจโดยทั่วไปหมายถึง ภาวะที่การซื้อขายของนักลงทุนในสินค้าหรือสินทรัพย์ใดๆในราคาที่สูงกว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจของสิ่งนั้นๆมากเกินไป จนเมื่อถึงจุดที่ผู้ซื้อขายในตลาดนั้นๆตระหนักถึงราคาซื้อขายที่แพงเกินไปแล้วนั้น ราคาสินทรัพย์ดังกล่าวก็จะตกลงอย่างรุนแรงและรวดเร็วจนก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากในวงกว้างส่งผลกระทบต่อหน่วยอื่นๆของระบบเศรษฐกิจที่อาจไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรงกันกับตลาดซื้อขายสินทรัพย์นั้นๆได้
ฟองสบู่เศรษฐกิจเกิดขึ้นได้อย่างไร
มีตัวอย่างง่ายๆที่ผมจำได้จากตอนสมัยเรียนที่ช่วยอธิบายถึงการเกิดขึ้นของภาวะฟองสบู่สินทรัพย์ใดๆดังนี้
มีประเทศหนี่งที่มีแต่ทะเลทรายใช้อยู่อาศัยไม่ได้จึงทำการถมทะเลเพื่อทำเกาะๆหนึ่งขึ้นมาเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ประเทศดังกล่าวมีประชากรอาศัยอยู่ 3 คนได้แก่ นายกลมเป็นเจ้าของที่ดินของเกาะดังกล่าวนี้ นายขาวมีเงิน 1 ล้านบาทและนายคำมีเงิน 1 ล้านบาทเช่นกัน โดยสรุปคือประเทศนี้มีสินทรัพย์ทั้งสิ้นคือที่ดินหนึ่งแปลง และเงิน 2 ล้านบาทหมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ
1.เดือนมกราคม: นายขาวซื้อที่ดินซึ่งมีมูลค่าที่แท้จริงคือ 1 ล้านบาทจากนายกลม
สรุป: นายกลมมีเงิน 1 ล้านบาท / นายขาวเป็นเจ้าของที่ดินที่มีมูลค่า 1 ล้านบาท / นายคำยังคงมีเงิน 1 ล้านบาท
สรุป: ทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศมีมูลค่า 3 ล้านบาท
2.เดือนกุมภาพันธ์: นายคำเพิ่งตระหนักว่าที่ดินเป็นของหายากและเป็นทรัพย์สินที่มีจำกัดผลิตขึ้นใหม่ไม่ได้ (เหมือนทองคำและน้ำมัน) ดังนั้นราคาของมันน่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นนายคำจึงทำการกู้เงินจากนายกลมหนึ่งล้านบาทบวกกับเงินที่ตนเองมีรวมเป็น 2 ล้านบาทซื้อที่ดินต่อจากนายขาว
สรุป: นายกลมมีสินทรัพย์เป็นเงินให้นายคำกู้มูลค่า 1 ล้านบาท / นายขาวมีเงิน 2 ล้านบาทจากการขายที่ดิน / นายคำเป็นเจ้าของที่ดินมูลค่า 2 ล้านบาท-เงินกู้ 1 ล้านบาท = 1 ล้านบาท
สรุป: ทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 4 ล้านบาท
3.เดือนมีนาคม: นายกลมเห็นราคาที่ดินขึ้นมาอย่างมากก็รู้สึกเสียดายที่ขายไปจึงอยากจะซื้อกลับคืนจึงทำการกู้เงินจากนายขาว 2 ล้านบาทและซื้อที่ดินดังกล่าวจากนายคำ 3 ล้านบาท โดยเป็นเงินสด 2 ล้านบาทและยกเลิกเงินกู้ยืมเดิมที่มีอยู่ 1 ล้านบาท
สรุป: นายกลมเป็นเจ้าของที่ดินมูลค่า 3 ล้านบาท –เงินกู้ 2 ล้านบาท = 1 ล้านบาท/ นายขาวมีสินทรัพย์เป็นเงินให้นายกลมกู้มูลค่า 2 ล้านบาท / นายคำมีเงินจากการขายที่ดินสุทธิ 2 ล้านบาท
สรุป: ทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกเป็น 5 ล้านบาท
4.เดือนเมษายน: เช่นกัน นายขาวเห็นที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้นจึงอยากเป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าวซึ่งมีเพียงชิ้นเดียว จึงทำการซื้อที่ดินดังกล่าวจากนายกลมราคา 4 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการยกเลิกเงินกู้เดิมที่มี 2 ล้านบาทและเป็นเงินสดที่นายขาวยืมจากนายคำ 2 ล้านบาท
สรุป: นายกลมมีเงินจากการขายที่ดินสุทธิ 2 ล้านบาท/ นายขาวเป็นเจ้าของที่ดินมูลค่า 4 ล้านบาท-เงินกู้จากนายคำ 2 ล้านบาท = 2 ล้านบาท / นายคำมีสินทรัพย์เป็นเงินให้นายขาวกู้ 2 ล้านบาท
สรุป: ทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกเป็น 6 ล้านบาท
5.เดือนพฤษภาคม: ทุกคนมีความสุขเพราะทุกคนมีมูลค่าทรัพย์สินมากขึ้นหรืออีกนัยหนึ่งคือรวยขึ้นอีกเท่าตัว
6.เดือนมิถุนายน: ในที่สุด เมื่อถึงจุดหนึ่งของการซื้อขายที่ราคาของที่ดินดังกล่าวไม่สามารถขึ้นต่อไปได้อีก การประเมินมูลค่าที่แท้จริงของที่ดินดังกล่าวจึงเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลซึ่งคือมูลค่าพื้นฐานของมันซึ่งเท่ากับ 1 ล้านบาทอันเป็นมูลค่าที่ทุกคนยอมรับได้ มูลค่าที่ดินที่ทุกคนเคยตีราคาถึง 4 ล้านบาทเมื่อเดือนก่อนหน้านี้กลับมามีมูลค่าตลาดเหลือเพียง 1 ล้านบาท
สรุป: นายกลมมีเงินจากการขายที่ดินสุทธิ 2 ล้านบาทเหมือนเดิม/ นายขาวเป็นเจ้าของที่ดินมูลค่าลดลงเหลือ 1 ล้านบาท-เงินกู้จากนายคำ 2 ล้านบาทกลายเป็นหนี้เสีย (0 บาท) เพราะไม่สามารถจ่ายได้ = 1 ล้านบาท / นายคำมีสินทรัพย์เป็นเงินให้นายขาวกู้ 2 ล้านบาทกลับกลายเป็นหนี้เสีย (0 บาท)
สรุป: ทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศมีมูลค่าลดลงเหลือ 3 ล้านบาทเท่าเดิม นี่แหละที่เราเรียกฟองสบู่ (อสังหาริมทรัพย์) แตก
7.เดือนกรกฎาคม: นายขาวไม่สามารถจ่ายหนี้ที่กู้จากนายคำได้จึงจำเป็นต้องประกาศล้มละลาย และต้องมอบที่ดินที่มีมูลค่า 1 ล้านบาทดังกล่าวให้กับนายคำเพื่อชำระหนี้
สรุป: นายกลมมีเงินจากการขายที่ดินสุทธิ 2 ล้านบาท/ นายขาวหมดตัวพร้อมกับประกาศล้มละลาย / นายคำมีสินทรัพย์ที่ดินมูลค่า 1 ล้านบาท
สรุป: ทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศมีมูลค่า 3 ล้านบาท
ตัวอย่างดังกล่าวเป็นตัวอย่างของฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ที่เราคุ้นเคยกัน แต่อย่าลืมว่าในความเป็นจริง ฟองสบู่เศรษฐกิจสามารถเกิดขึ้นได้กับสินทรัพย์ทุกประเภท เช่น หุ้น ตราสารหนี้ และสินค้าโภคภัณฑ์ (ทองคำ น้ำมัน) สภาพคล่องจำนวนมหาศาลที่ธนาคารกลางทั่วโลกพร้อมใจกันอัดฉีดเข้าระบบเศรษฐกิจพร้อมกับต้นทุนทางการเงิน (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย) ที่ต่ำมากทำให้เกิดความเสี่ยงของฟองสบู่ที่กำลังก่อตัวในปัจจุบันกับสินทรัพย์หลายประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่งทองคำอาจประสบภาวะฟองสบู่แตกในปีหน้าได้หากนโยบายการเงินเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทิศทาง
สาหตุของฟองสบู่เศรษฐกิจ
เงินเฟ้อ
สภาพคล่องในระบบการเงินที่มากเกินไป: สภาพคล่องอีกนัยหนึ่งคือเงินสดที่มีต้นทุนคือดอกเบี้ยที่ต่ำนั่นเอง นักลงทุนที่มีเงินสดในมือมากเกินไปจำเป็นต้องทำการซื้อสินทรัพย์อื่นๆที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น (ซึ่งมีอุปทานจำกัด) อาทิเช่น หุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ เพื่ออัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้น การแข่งขันกันไล่ซื้อของอุปสงค์ซึ่งคือเจ้าของเงินสด อาจทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของราคาจนเกินปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้ การเปลี่ยนแปลงจากนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน (Easing Monetary Policy) เป็นนโยบายที่เข้มงวดขึ้น (Tightening Monetary Policy) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความคุ้มค่าในการรับความเสี่ยงเนื่องจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น นำไปสู่การเทขายของสินทรัพย์เสี่ยงซึ่งอาจรุนแรงจนเกิดภาวะที่เรียกว่าฟองสบู่แตกได้
จิตวิทยาการลงทุน : สาเหตุหลักที่สำคัญได้แก่ความโลภ และจิตวิทยาของนักลงทุนที่เรียกว่า Herding Behavior ที่หมายถึงการที่นักลงทุนแห่กันไปซื้อสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งมากเกินไปตามนักลงทุนส่วนใหญ่โดยไม่ได้ดูปัจจัยทางพื้นฐานเลย