คอลัมน์ : จับชีพจรการลงทุน
อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล
CFA, ผอ.สายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัด
arunsak@scbq.co.th
ขณะที่หลายๆประเทศ รวมถึงประเทศไทยทยอยกันออกมาประกาศถึงการสิ้นสุดของภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ต่อจากนี้ไปสิ่งที่เราควรจะให้ความสนใจและเตรียมพร้อมได้แก่ภาวะเศรษฐกิจในปี 2010 จะปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นจริงๆจากปัจจุบันหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงหลายๆเดือนที่ผ่านมา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับตัวขึ้นอย่างมากของตลาดหุ้น) เป็นเพียงการปรับตัวทางเทคนิคชั่วคราวจากตัวเลขทางเศรษฐกิจและผลประกอบการที่ดีขึ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เพียงหนึ่งไตรมาสเท่านั้น
ความกังวลที่การฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกจะเป็นแบบ “W” มากกว่า “V” หรือ “U” ที่เราคาดหวังเอาไว้ถูกกล่าวถึงมากขึ้น เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดหลายๆตัวที่ออกมายังมีความผันผวนและบ่งชี้ถึงความอ่อนแอของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอยู่ค่อนข้างสูง การฟื้นตัวแบบ “W” หรือ “Double Dip Recession” หมายถึง สถานการณ์ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเช่น การเติบโตของตัวเลข GDP ถอยกลับไปติดลบอีกครั้งหนึ่งหลังจากดีดตัวกลับมาเป็นบวกจากภาวะถดถอยเพียง 1-2 ไตรมาส เนื่องจากการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรัฐบาลไม่สามารถจุดความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคและภาคเอกชนได้ ทำให้การใช้จ่ายและการลงทุนไม่เกิดขึ้นต่อเนื่องอย่างที่หวัง อีกนัยหนึ่งคือเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกรอบหนึ่งนั่นเอง Double Dip Recession เป็นภาวะเลวร้ายที่อาจจะนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Economic Depression) ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวกลับไปสู่การเติบโตในเชิงบวกอีกครั้งมีความยากลำบากและใช้เวลายาวนานมากขึ้น
สาเหตุที่ทำให้การฟื้นตัวยากลำบากมากขึ้นหากเศรษฐกิจกลับไปถดถอยอีกรอบหนึ่งคือ ทางเลือกที่น้อยลงของรัฐบาลและธนาคารกลางในการใช้นโยบายการใช้จ่ายและนโยบายทางการเงินเพื่อประคองเศรษฐกิจ รัฐบาลอาจจำเป็นต้องขึ้นภาษีเพื่อนำไปจ่ายภาระดอกเบี้ยจากการกู้เงินเพิ่มขึ้นในการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรก การใช้จ่ายหรือลงทุนของภาคเอกชนอาจต้องมีภาระเพิ่มขึ้นอีกถ้าธนาคารกลางจำเป็นต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยขาขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงเงินเฟ้อที่อาจจะไม่สามารถควบคุมได้หากปล่อยให้ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำเนิ่นนานเกินไป ผลกระทบที่ตามมาคือภาคเอกชนก็จะมีภาระเพิ่มขึ้นนำไปสู่การลดการใช้จ่ายและการปลดคนงานออกอีกครั้งหนึ่ง
ความเสี่ยงของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกรอบยังคงมีอยู่
มีอยู่หลายๆประเด็นในแง่ของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนที่มีความไม่แน่นอนสูงซึ่งทำให้ความเป็นไปได้ของ Double Dip Recession เพิ่มมากขึ้น ได้แก่
ถึงแม้ว่าประเทศที่พัฒนาแล้วหลายๆประเทศ เช่น ออสเตรเลีย เยอรมนี และญี่ปุ่น รวมถึงประเทศเกิดใหม่เช่น จีน อินเดีย บราซิล และบางประเทศในเอเชียและอเมริกาใต้จะเริ่มฟื้นตัวอย่างค่อนข้างแข็งแรงแล้ว แต่ยังมีประเทศสำคัญหลายประเทศที่มีสัดส่วนของการเติบโตของโลกสูงที่ยังไม่สามารถผ่านพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างเป็นทางการ อาทิเช่น สหรัฐฯ อังกฤษ สเปน และประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันออก
ปัญหาเรื่องการจ้างงานที่ยังไม่ดีขึ้นยังคงเป็นตัวฉุดรั้งให้การใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจไม่เพิ่มขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น รวมถึงรายได้ของคนส่วนใหญ่ที่แทบจะไม่มีการเติบโตในปีนี้หรือปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจที่จะออมเงินมากกว่าใช้จ่ายในสินค้าชิ้นใหญ่ๆ อาทิเช่น อสังหาริมทรัพย์หรือรถยนต์
วิกฤติเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อกลไกสำคัญของระบบเศรษฐกิจทั่วโลกได้แก่สถาบันการเงินและภาคธนาคาร การทุ่มเงินช่วยเหลือภาคธนาคารโดยรัฐบาลทำให้หนี้ภาครัฐของประเทศที่ถูกผลกระทบโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นอย่างมหาศาลซึ่งนำไปสู่การจำกัดการกระทำใดๆที่มีความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์อาทิเช่น การปล่อยกู้อันเป็นกลไกสำคัญของการระบบเศรษฐกิจที่จะทำให้เกิดการใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชน นอกจากนี้ปัญหาเรื่องสภาพคล่องของภาคธนาคารก็ยังคงเป็นปัญหาที่ยังแก้ไม่หมดสิ้นเสียทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารท้องถิ่นและธนาคารขนาดเล็กของสหรัฐฯที่ยังคงมีข่าวการล้มละลายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่ต้นปี
ความเสี่ยงของ Exit Strategy จากการทุ่มเงินมหาศาลโดยภาครัฐและการเสริมสภาพคล่องโดยธนาคารกลางให้กับระบบการเงินการลงทุนเป็นจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน หากรัฐบาลกังวลในเรื่องการขาดดุลจำนวนมหาศาลและตัดสินใจเพิ่มอัตราภาษีหรือหยุดการใช้จ่ายเพื่อสะสมสภาพคล่องกลับคืนเพื่อนำไปใช้ลดหนี้สาธารณะ ผลที่อาจจะเกิดขึ้นคือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาจจะเกิดภาวะชะงักงัน และอาจเลวร้ายถึงขั้นกลับไปสู่สถานการณ์ที่ไม่มีใครกล้าใช้จ่ายและลงทุนอีกครั้งหนึ่ง แต่ถ้าหากรัฐบาลและธนาคารกลางยังคงดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลและนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายนานเกินไป เศรษฐกิจโดยรวมอาจถูกลงโทษจากความเสี่ยงเงินเฟ้อที่อาจจะเกิดขึ้นและสายเกินไปที่จะแก้ไขได้ อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวจะพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ต้นทุนในการกู้ยืมและใช้จ่ายมากขึ้นเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวเช่นกัน
อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้การฟื้นตัวแบบ “V” ไม่เกิดขึ้นคือราคาน้ำมัน และอาหารที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และอยู่ในระดับสูงเกินกว่าพื้นฐานความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจโลกโดยรวม ซึ่งน่าจะเกิดจากการเก็งกำไรและสภาพคล่องจำนวนมหาศาลในระบบที่เข้าไปลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทต่างๆ ถึงแม้จะมีราคาแพงเกินปัจจัยพื้นฐานแล้วก็ตาม ราคาน้ำมันดิบที่เกือบ 150 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลเมื่อปีที่แล้วก่อให้เกิดผลกระทบหลายๆอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการเติบโตของของอุปสงค์ของผู้บริโภค ในภาวะปัจจุบันที่การฟื้นตัวยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นและยังค่อนข้างอ่อนแอ ราคาน้ำมันที่มากกว่า 100 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลอีกครั้งอาจส่งผลให้เกิด Double Dip Recession อย่างไม่ต้องสงสัย
มีการคาดการณ์ถึงช่องว่างที่แคบลงของความไม่สมดุลกันของสถานะการเงินหรือเงินทุนไหลเข้าออกระหว่างประเทศที่ได้เปรียบดุลการค้าอย่างเช่นจีน และประเทศที่ขาดดุลการค้าอย่างเช่น สหรัฐฯ ดังนั้น หากอุปสงค์ของประเทศที่ได้เปรียบดุลการค้าไม่เติบโตรวดเร็วพออาจจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปีหน้าได้ เนื่องจากผู้บริโภคสหรัฐฯซึ่งเป็นเครื่องจักรสำคัญของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในช่วงสิบปีที่ผ่านมาน่าจะยังไม่สามารถกลับมาใช้จ่ายได้มากเหมือนเดิมเนื่องจากประสบปัญหาภาระหนี้สินและมูลค่าของทรัพย์สินที่ลดลงไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆและอสังหาริมทรัพย์
อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล
CFA, ผอ.สายงานจัดการกองทุน บลจ.เอสซีบี ควอนท์ จำกัด
arunsak@scbq.co.th
ขณะที่หลายๆประเทศ รวมถึงประเทศไทยทยอยกันออกมาประกาศถึงการสิ้นสุดของภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ต่อจากนี้ไปสิ่งที่เราควรจะให้ความสนใจและเตรียมพร้อมได้แก่ภาวะเศรษฐกิจในปี 2010 จะปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นจริงๆจากปัจจุบันหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงหลายๆเดือนที่ผ่านมา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับตัวขึ้นอย่างมากของตลาดหุ้น) เป็นเพียงการปรับตัวทางเทคนิคชั่วคราวจากตัวเลขทางเศรษฐกิจและผลประกอบการที่ดีขึ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เพียงหนึ่งไตรมาสเท่านั้น
ความกังวลที่การฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกจะเป็นแบบ “W” มากกว่า “V” หรือ “U” ที่เราคาดหวังเอาไว้ถูกกล่าวถึงมากขึ้น เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดหลายๆตัวที่ออกมายังมีความผันผวนและบ่งชี้ถึงความอ่อนแอของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอยู่ค่อนข้างสูง การฟื้นตัวแบบ “W” หรือ “Double Dip Recession” หมายถึง สถานการณ์ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเช่น การเติบโตของตัวเลข GDP ถอยกลับไปติดลบอีกครั้งหนึ่งหลังจากดีดตัวกลับมาเป็นบวกจากภาวะถดถอยเพียง 1-2 ไตรมาส เนื่องจากการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรัฐบาลไม่สามารถจุดความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคและภาคเอกชนได้ ทำให้การใช้จ่ายและการลงทุนไม่เกิดขึ้นต่อเนื่องอย่างที่หวัง อีกนัยหนึ่งคือเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกรอบหนึ่งนั่นเอง Double Dip Recession เป็นภาวะเลวร้ายที่อาจจะนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Economic Depression) ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวกลับไปสู่การเติบโตในเชิงบวกอีกครั้งมีความยากลำบากและใช้เวลายาวนานมากขึ้น
สาเหตุที่ทำให้การฟื้นตัวยากลำบากมากขึ้นหากเศรษฐกิจกลับไปถดถอยอีกรอบหนึ่งคือ ทางเลือกที่น้อยลงของรัฐบาลและธนาคารกลางในการใช้นโยบายการใช้จ่ายและนโยบายทางการเงินเพื่อประคองเศรษฐกิจ รัฐบาลอาจจำเป็นต้องขึ้นภาษีเพื่อนำไปจ่ายภาระดอกเบี้ยจากการกู้เงินเพิ่มขึ้นในการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรก การใช้จ่ายหรือลงทุนของภาคเอกชนอาจต้องมีภาระเพิ่มขึ้นอีกถ้าธนาคารกลางจำเป็นต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยขาขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงเงินเฟ้อที่อาจจะไม่สามารถควบคุมได้หากปล่อยให้ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำเนิ่นนานเกินไป ผลกระทบที่ตามมาคือภาคเอกชนก็จะมีภาระเพิ่มขึ้นนำไปสู่การลดการใช้จ่ายและการปลดคนงานออกอีกครั้งหนึ่ง
ความเสี่ยงของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกรอบยังคงมีอยู่
มีอยู่หลายๆประเด็นในแง่ของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนที่มีความไม่แน่นอนสูงซึ่งทำให้ความเป็นไปได้ของ Double Dip Recession เพิ่มมากขึ้น ได้แก่
ถึงแม้ว่าประเทศที่พัฒนาแล้วหลายๆประเทศ เช่น ออสเตรเลีย เยอรมนี และญี่ปุ่น รวมถึงประเทศเกิดใหม่เช่น จีน อินเดีย บราซิล และบางประเทศในเอเชียและอเมริกาใต้จะเริ่มฟื้นตัวอย่างค่อนข้างแข็งแรงแล้ว แต่ยังมีประเทศสำคัญหลายประเทศที่มีสัดส่วนของการเติบโตของโลกสูงที่ยังไม่สามารถผ่านพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างเป็นทางการ อาทิเช่น สหรัฐฯ อังกฤษ สเปน และประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันออก
ปัญหาเรื่องการจ้างงานที่ยังไม่ดีขึ้นยังคงเป็นตัวฉุดรั้งให้การใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจไม่เพิ่มขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น รวมถึงรายได้ของคนส่วนใหญ่ที่แทบจะไม่มีการเติบโตในปีนี้หรือปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจที่จะออมเงินมากกว่าใช้จ่ายในสินค้าชิ้นใหญ่ๆ อาทิเช่น อสังหาริมทรัพย์หรือรถยนต์
วิกฤติเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อกลไกสำคัญของระบบเศรษฐกิจทั่วโลกได้แก่สถาบันการเงินและภาคธนาคาร การทุ่มเงินช่วยเหลือภาคธนาคารโดยรัฐบาลทำให้หนี้ภาครัฐของประเทศที่ถูกผลกระทบโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นอย่างมหาศาลซึ่งนำไปสู่การจำกัดการกระทำใดๆที่มีความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์อาทิเช่น การปล่อยกู้อันเป็นกลไกสำคัญของการระบบเศรษฐกิจที่จะทำให้เกิดการใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชน นอกจากนี้ปัญหาเรื่องสภาพคล่องของภาคธนาคารก็ยังคงเป็นปัญหาที่ยังแก้ไม่หมดสิ้นเสียทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารท้องถิ่นและธนาคารขนาดเล็กของสหรัฐฯที่ยังคงมีข่าวการล้มละลายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่ต้นปี
ความเสี่ยงของ Exit Strategy จากการทุ่มเงินมหาศาลโดยภาครัฐและการเสริมสภาพคล่องโดยธนาคารกลางให้กับระบบการเงินการลงทุนเป็นจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน หากรัฐบาลกังวลในเรื่องการขาดดุลจำนวนมหาศาลและตัดสินใจเพิ่มอัตราภาษีหรือหยุดการใช้จ่ายเพื่อสะสมสภาพคล่องกลับคืนเพื่อนำไปใช้ลดหนี้สาธารณะ ผลที่อาจจะเกิดขึ้นคือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาจจะเกิดภาวะชะงักงัน และอาจเลวร้ายถึงขั้นกลับไปสู่สถานการณ์ที่ไม่มีใครกล้าใช้จ่ายและลงทุนอีกครั้งหนึ่ง แต่ถ้าหากรัฐบาลและธนาคารกลางยังคงดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลและนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายนานเกินไป เศรษฐกิจโดยรวมอาจถูกลงโทษจากความเสี่ยงเงินเฟ้อที่อาจจะเกิดขึ้นและสายเกินไปที่จะแก้ไขได้ อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวจะพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ต้นทุนในการกู้ยืมและใช้จ่ายมากขึ้นเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวเช่นกัน
อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้การฟื้นตัวแบบ “V” ไม่เกิดขึ้นคือราคาน้ำมัน และอาหารที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และอยู่ในระดับสูงเกินกว่าพื้นฐานความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจโลกโดยรวม ซึ่งน่าจะเกิดจากการเก็งกำไรและสภาพคล่องจำนวนมหาศาลในระบบที่เข้าไปลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทต่างๆ ถึงแม้จะมีราคาแพงเกินปัจจัยพื้นฐานแล้วก็ตาม ราคาน้ำมันดิบที่เกือบ 150 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลเมื่อปีที่แล้วก่อให้เกิดผลกระทบหลายๆอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการเติบโตของของอุปสงค์ของผู้บริโภค ในภาวะปัจจุบันที่การฟื้นตัวยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นและยังค่อนข้างอ่อนแอ ราคาน้ำมันที่มากกว่า 100 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลอีกครั้งอาจส่งผลให้เกิด Double Dip Recession อย่างไม่ต้องสงสัย
มีการคาดการณ์ถึงช่องว่างที่แคบลงของความไม่สมดุลกันของสถานะการเงินหรือเงินทุนไหลเข้าออกระหว่างประเทศที่ได้เปรียบดุลการค้าอย่างเช่นจีน และประเทศที่ขาดดุลการค้าอย่างเช่น สหรัฐฯ ดังนั้น หากอุปสงค์ของประเทศที่ได้เปรียบดุลการค้าไม่เติบโตรวดเร็วพออาจจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปีหน้าได้ เนื่องจากผู้บริโภคสหรัฐฯซึ่งเป็นเครื่องจักรสำคัญของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในช่วงสิบปีที่ผ่านมาน่าจะยังไม่สามารถกลับมาใช้จ่ายได้มากเหมือนเดิมเนื่องจากประสบปัญหาภาระหนี้สินและมูลค่าของทรัพย์สินที่ลดลงไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆและอสังหาริมทรัพย์