xs
xsm
sm
md
lg

กองทุนสำรองฯโตอีก9พันล้าน KTAMรุกให้ข้อมูลจูงใจลูกค้าต่ออายุ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายสมชัย บุญนำศิริ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพโตอีก 9 พันกว่าล้าน ดันสินทรัพย์ทั้งระบบขยับเป็น 496,554.0 ล้านบาท คาดรับอานิสงค์หุ้นขยับ ผลตอบเเทนเพิ่ม ด้านบลจ.ไทยพาณิชย์ยังรั้งเเชมป์ ขณะที่บลจ.กรุงไทย เดินหน้าใช้เเผนดึงลูกค้า เดินสายจัดอบรม-สัมนาให้ความรู้เเก่สมาชิก ดันเป้าสิ้นปีโต 69,000 ล้านบาท

รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) เปิดเผยถึงการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident fund) ในเดือนกรกฏาคม 2552 ที่ผ่านมาว่า ภาพรวมการลงทุนของกองทุน Provident fund อยู่ที่ 496,554.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายนถึง 9,758.99 ล้านบาท โดยเดือนมิถุนายนมีการลงทุนเพียง 486,795.02 ล้านบาท

จากการสำรวจพบว่ามีสินทรัพย์เพียง 4 ประเภทที่มีความเคลื่อนไหวเเละเปลี่ยนเเปลงมากที่สุดคือ หุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร ตั๋วเงินคลังและตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน เเละ เงินฝากธนาคาร ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน และบัตรเงินฝาก โดยสินทรัพย์ประเภทหุ้นสามัญอยู่ที่ 40,209.61ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 5.64% โดยในเดือนมิถุนายนนั้นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีหุ้นเพียง 37,011.58 ล้านบาท ทั้งนี้สินทรัพย์ประเภทดังกล่าวเพิ่มขึ้นน่าจะมาจากภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯปรับตัวดีขึ้นเเละมีเม็ดเงินใหม่เข้ามาลงทุนเพิ่ม สำหรับสินทรัพย์ประเภทตั๋วเงินคลังและตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันอยู่ที่ 255,140.80 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายนถึง 7.33% โดยในเดือนมิถุนายนมีสินทรัพย์ดังกล่าวเพียง 237,716.23 ล้านบาท

ส่วนสินทรัพย์ประเภทหุ้นกู้ของ Provident fund อยู่ที่ 89,681.75 ล้านบาท ลดลงถึง -3.31% โดยเดือนมิถุนายนมีในสินทรัพย์ดังกล่าวอยู่ที่ 92,755.04 ล้านบาท ส่วนสินทรัพย์ประเภทเงินฝากธนาคาร ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน และบัตรเงินฝากนั้นอยู่ที่ 98,750.18 ล้านบาทในเดือนกรกฎาคมลดลงกว่า -8.37% เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนที่มีสินทรัพย์ประเภทดังกล่าวถึง107,765.95 ล้านบาท ทั้งนี้การปรับลดลงของสินทรัพย์ประเภทดังกล่าวน่าจะมาจากความผันผวนในตลาดตราสารหนี้เเละการปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคาร

ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)ที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากที่สุดคือ บลจ.ไทยพาณิชย์มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารถึง 73,297.12 ล้านบาท อันดับที่ 2 คือ บลจ.กสิกรไทย อยู่ที่ 68,987.63 ล้านบาท อันดับที่ 3.คือ บลจ.ทิสโก้ มีสินทรัพย์ฯอยู่ที่ 65,013.51 ล้านบาทส่วนอันดับที่ 4คือ บลจ.กรุงไทย มีสินทรัพย์ฯอยู่ที่ 63,429.55 ล้านบาท

ส่วนบลจ.ที่มีสินทรัพย์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ในอันดับที่ 5 คือ บลจ.เอ็มเอฟซี มีสินทรัพย์ฯอยู่ที่ 63,136.37 ล้านบาท อันดับที่ 6 บ ลจ.ไอเอ็นจี มีสินทรัพย์ฯอยู่ที่ 45,935.65 ล้านบาท ขณะที่อันดับที่ 7 คือ ธนาคารกรุงเทพ มีสินทรัพย์ฯอยู่ที่ 38,754.63 ล้านบาท ส่วนอันดับที่ 8 คือ บริษัท อเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด มีสินทรัพย์ฯอยู่ที่ 15,566.27 ล้านบาท อันดับที่ 9 คือ บลจ.ฟินันซ่า มีสินทรัพย์รวม 12,202.09 ล้านบาทเเละอันดับที่ 10 บลจ.อยุธยาหรือเอวายเอฟ มีสินทรัพย์อยู่ที่ 10,929.45 ล้านบาท

***KTAMใช้เเผนดึงรายย่อย***
นางสาวประภา ปูรณโชติ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident fund) สิ้นปี 2552 นี้น่าจะอยู่ที่ 69,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันเรามีสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประมาณ 150,000 ราย ซึ่งอีกไม่กี่เดือนที่เหลือนี้ จะมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลายกองทุนจะหมดสัญญากับทางบลจ.กรุงไทย โดยเเผนการทำงานที่เหลือ บลจ.จะเน้นให้ความรู้ความเข้าใจกับคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเเละสมาชิกเป็นหลักเกี่ยวกับนโยบาย Employee’s Choice ( M Choice) เป็นหลัก นอกจากการเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับ M Choice บลจ.จะเพิ่มสมาชิกทั้งบริษัทเอกชนที่มีระดับขนาดกลางรวมถึงบริษัทที่มีขนาดเล็ก และสถานที่ราชการที่ไม่เคยมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

"การสำรวจความต้องการของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ต้องการเลือกลงทุนตามสไตล์ของตัวเองยังเป็นเรื่องที่อาจจะต้องใช้เวลาเเละขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ที่เก็บข้อมูลหรือฝ่ายบุคคล ว่าจะใช้เวลาได้มากน้อยเเค่ไหน"นางสาวประภา กล่าว

ปัจจุบัน บลจ.กรุงไทย มีสมาชิกกว่า 150,000 ราย โดยส่วนใหญ่แล้วบริษัทที่ บลจ.กรุงไทยเข้าไปบริหารจะมีขนาดใหญ่หรือรัฐวิสาหกิจเป็นหลัก เช่น บริษัทการบินไทย ที่ได้ให้ความไว้วางใจให้บริษัทเข้ามาบริหารกองทุนดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเป็นสมัยที่ 4 แล้ว นอกจากนี้แล้ว ยังมีบริษัทโตโยต้า , การสื่อสารแห่งประเทศไทย , ธนาคารเพื่อการเกษตร, ขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) , การทางพิเศษแห่งประเทศไทย , การไปรษณีย์แห่งประเทศไทย ฯลฯ ซึ่งบริษัทเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ให้ความไว้วางใจบริหารกองทุนอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 5 – 6 ปี ทั้งนี้ การบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในบริษัทใหญ่ ๆ และรัฐวิสาหกิจนั้น ถือว่าเมีมาร์เก็ตสูงสุดอยู่ในขณะนี้

นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงไทย กล่าวว่า ลูกค้ากองทุนส่วนบุคคล (Private fund ) ส่วนใหญ่ของบลจ.จะเป็นกลุ่มนิติบุคคลเช่น สหกรณ์ออมทรัพย์เเละสำนักงานประกันสังคม (สปส.)ที่เราบริหารให้อยู่ ซึ่งฐานลูกค้าหลักจะเป็นกลุ่มนิติบุคคลเเละบริษัทเอกชนประมาณ 90% ส่วนลูกค้ารายบุคคลนั้นเรามีค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตามการบริหารพอร์ตให้กับสำนักงานประกันสังคมของเรานั้นได้รับความสนใจจากผู้บริหารสำนักงานประกันสังคมเป็นอย่างมากเเละทางสปส.เองก็ส่งเจ้าหน้าที่มาเทรนด์งานกับฝ่ายวิจัยกรุงไทยอีกด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น