คอลัมน์ Smart Money, Smart Life
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
Association of Investment Management Companies
www.aimc.or.th
www.thaimutualfund.com
กองทุนอีทีเอฟจัดเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ผสมผสานลักษณะของเครื่องมือทางการเงินหลายๆประเภทเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น กองทุนเปิด กองทุนปิด กองทุนดัชนี หรือ หุ้น ซึ่งการลงทุนในแต่ละประเภทก็มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละนักลงทุน
หากเปรียบเทียบอีทีเอฟกับกองทุนรวมประเภทอื่นๆ การซื้อขายอีทีเอฟ ซึ่งจะซื้อขายผ่านทางบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เหมือนการซื้อขายหุ้นทั่วๆไป แต่แตกต่างไปจากการซื้อขายกองทุนเปิดประเภทอื่น ที่นักลงทุนจะซื้อหรือขายคืนให้กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) โดยตรงหรืออาจติดต่อผ่านตัวแทนสนับสนุนการขายของแต่ละ บลจ. ส่วนกองทุนปิดนั้นจะแตกต่างโดยสิ้นเชิง เนื่องจากจะเปิดให้จองซื้อเพียงครั้งเดียวเมื่อเริ่มต้นโครงการ และบลจ.จะไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนจนกว่าจะครบอายุโครงการ และในกรณีที่บลจ.นำหน่วยลงทุนของกองทุนปิดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือมีการแต่งตั้งตัวแทนจัดการซื้อขาย นักลงทุนถึงจะสามารถซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติมหรือขายออกไปได้
สำหรับอายุของโครงการนั้น กองทุนปิดจะมีกำหนดอายุโครงการที่แน่นอน และจำนวนหน่วยลงทุนก็จะคงที่ ไม่เพิ่มไม่ลด แต่สำหรับอีทีเอฟและกองทุนเปิดโดยทั่วไป จะไม่มีการกำหนดอายุโครงการ (evergreen) และจำนวนหน่วยลงทุนสามารถเพิ่มหรือลดลงได้ นอกจากนี้อีทีเอฟจะมีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งแตกต่างจากกองทุนเปิดทั่วไปที่ไม่นิยมจดทะเบียนหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ถึงแม้ว่าจะสามารถทำได้ ส่วนกองทุนปิดนั้นตรงกันข้าม คือนิยมจดทะเบียนหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ลงทุน แต่การจดทะเบียนหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของกองทุนปิดทำให้ราคาซื้อขายเป็นไปตามกลไกของตลาด และบ่อยครั้งเกิดการ discount ของราคา พูดง่ายๆก็คือราคาตลาดของหน่วยลงทุนมีราคาต่ำกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (NAV)
ส่วนอีทีเอฟ ซึ่งมีราคาซื้อขายเป็นไปตามกลไกของตลาด แต่จะไม่ประสบกับปัญหาการ discount ของราคา ดังกล่าว เนื่องจากอีทีเอฟทุกกองจะต้องมีผู้ดูแลภาพคล่องอย่างน้อยหนึ่งรายที่ทำหน้าที่เสนอซื้อขายตลอดเวลาเพื่อดูแลสภาพคล่องอีทีเอฟนั้นๆ กล่าวคือ เมื่อผู้ลงทุนต้องการซื้อก็รู้ว่ามีผู้ดูแลสภาพคล่อง พร้อมที่จะขาย และเมื่อผู้ลงทุนต้องการขาย ก็รู้ว่ามีผู้ดูแลสภาพคล่องพร้อมที่จะซื้อ โดยผู้ดูแลสภาพคล่อง จะทำการเสนอซื้อและเสนอขายด้วยราคาที่ใกล้เคียงกับ NAV ของอีทีเอฟ ซึ่งส่งผลให้ราคาซื้อขาย ค่อนข้างใกล้เคียง NAV ต่อหน่วย ซึ่งเป็นจุดเด่นที่แตกต่างจากกองทุนเปิดชนิดอื่นๆที่มีราคาซื้อขายตามมูลค่าต่อหน่วยบวกหรือลบค่าธรรมเนียม (ถ้ามี) ณ สิ้นวันหรือวันถัดมา
นอกจากนี้ ข้อดีของกองทุนอีทีเอฟเมื่อเทียบกับการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไป จะเห็นได้ว่าการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไปจะไม่สามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่ามูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ของกองทุนนั้นจะเป็นเท่าไร แต่จะทราบในเย็นวันนั้นและเป็นราคาเดียว ซึ่งแตกต่างจากกองทุนอีทีเอฟที่สามารถซื้อขายโดยใช้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนได้ในขณะนั้น (Real Time) และสามารถซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์และทางอินเทอร์เน็ตได้เหมือนกับการลงทุนหลักทรัพย์ นอกจากนี้ กองทุนอีทีเอฟยังเปิดเผยข้อมูลของหลักทรัพย์ที่ลงทุนตลอดเวลาอีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสในการลงทุน
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
Association of Investment Management Companies
www.aimc.or.th
www.thaimutualfund.com
กองทุนอีทีเอฟจัดเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ผสมผสานลักษณะของเครื่องมือทางการเงินหลายๆประเภทเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น กองทุนเปิด กองทุนปิด กองทุนดัชนี หรือ หุ้น ซึ่งการลงทุนในแต่ละประเภทก็มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละนักลงทุน
หากเปรียบเทียบอีทีเอฟกับกองทุนรวมประเภทอื่นๆ การซื้อขายอีทีเอฟ ซึ่งจะซื้อขายผ่านทางบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เหมือนการซื้อขายหุ้นทั่วๆไป แต่แตกต่างไปจากการซื้อขายกองทุนเปิดประเภทอื่น ที่นักลงทุนจะซื้อหรือขายคืนให้กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) โดยตรงหรืออาจติดต่อผ่านตัวแทนสนับสนุนการขายของแต่ละ บลจ. ส่วนกองทุนปิดนั้นจะแตกต่างโดยสิ้นเชิง เนื่องจากจะเปิดให้จองซื้อเพียงครั้งเดียวเมื่อเริ่มต้นโครงการ และบลจ.จะไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนจนกว่าจะครบอายุโครงการ และในกรณีที่บลจ.นำหน่วยลงทุนของกองทุนปิดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือมีการแต่งตั้งตัวแทนจัดการซื้อขาย นักลงทุนถึงจะสามารถซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติมหรือขายออกไปได้
สำหรับอายุของโครงการนั้น กองทุนปิดจะมีกำหนดอายุโครงการที่แน่นอน และจำนวนหน่วยลงทุนก็จะคงที่ ไม่เพิ่มไม่ลด แต่สำหรับอีทีเอฟและกองทุนเปิดโดยทั่วไป จะไม่มีการกำหนดอายุโครงการ (evergreen) และจำนวนหน่วยลงทุนสามารถเพิ่มหรือลดลงได้ นอกจากนี้อีทีเอฟจะมีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งแตกต่างจากกองทุนเปิดทั่วไปที่ไม่นิยมจดทะเบียนหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ถึงแม้ว่าจะสามารถทำได้ ส่วนกองทุนปิดนั้นตรงกันข้าม คือนิยมจดทะเบียนหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ลงทุน แต่การจดทะเบียนหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของกองทุนปิดทำให้ราคาซื้อขายเป็นไปตามกลไกของตลาด และบ่อยครั้งเกิดการ discount ของราคา พูดง่ายๆก็คือราคาตลาดของหน่วยลงทุนมีราคาต่ำกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (NAV)
ส่วนอีทีเอฟ ซึ่งมีราคาซื้อขายเป็นไปตามกลไกของตลาด แต่จะไม่ประสบกับปัญหาการ discount ของราคา ดังกล่าว เนื่องจากอีทีเอฟทุกกองจะต้องมีผู้ดูแลภาพคล่องอย่างน้อยหนึ่งรายที่ทำหน้าที่เสนอซื้อขายตลอดเวลาเพื่อดูแลสภาพคล่องอีทีเอฟนั้นๆ กล่าวคือ เมื่อผู้ลงทุนต้องการซื้อก็รู้ว่ามีผู้ดูแลสภาพคล่อง พร้อมที่จะขาย และเมื่อผู้ลงทุนต้องการขาย ก็รู้ว่ามีผู้ดูแลสภาพคล่องพร้อมที่จะซื้อ โดยผู้ดูแลสภาพคล่อง จะทำการเสนอซื้อและเสนอขายด้วยราคาที่ใกล้เคียงกับ NAV ของอีทีเอฟ ซึ่งส่งผลให้ราคาซื้อขาย ค่อนข้างใกล้เคียง NAV ต่อหน่วย ซึ่งเป็นจุดเด่นที่แตกต่างจากกองทุนเปิดชนิดอื่นๆที่มีราคาซื้อขายตามมูลค่าต่อหน่วยบวกหรือลบค่าธรรมเนียม (ถ้ามี) ณ สิ้นวันหรือวันถัดมา
นอกจากนี้ ข้อดีของกองทุนอีทีเอฟเมื่อเทียบกับการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไป จะเห็นได้ว่าการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไปจะไม่สามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่ามูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ของกองทุนนั้นจะเป็นเท่าไร แต่จะทราบในเย็นวันนั้นและเป็นราคาเดียว ซึ่งแตกต่างจากกองทุนอีทีเอฟที่สามารถซื้อขายโดยใช้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนได้ในขณะนั้น (Real Time) และสามารถซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์และทางอินเทอร์เน็ตได้เหมือนกับการลงทุนหลักทรัพย์ นอกจากนี้ กองทุนอีทีเอฟยังเปิดเผยข้อมูลของหลักทรัพย์ที่ลงทุนตลอดเวลาอีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสในการลงทุน