คำถาม - กองทุนที่สามารถมีนโยบายคุ้มครองเงินต้นได้ต้องลงทุนในอะไร และสัดส่วนเท่าไหร่คะ VANDA_M
ตอบ - เจ้าหน้าที่จากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน เเนะนำคำถามดังนี้ครับ ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นไว้ ดังนี้ กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น (capital protected fund) หมายถึง กองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมวางแผนการลงทุนเพื่อให้ความคุ้มครองเงินลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม
ในกรณีที่กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นมีการลงทุนในต่างประเทศ บริษัทจัดการต้องเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง (hedging) จากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดที่มีอยู่ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดไว้
บริษัทจัดการกองทุนรวมจะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1) ต้องเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายคุ้มครองเงินลงทุนเริ่มแรกเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละแปดสิบของเงินลงทุนเริ่มแรก 2) ต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินลงทุนเริ่มแรกอย่างชัดเจนไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการคุ้มครอง จำนวนเงินที่คุ้มครองและระยะเวลาการคุ้มครอง
ตามที่ถามมานั้นจะเห็นว่าไม่ได้มีข้อจำกัดเป็นพิเศษเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่สามารถลงทุนได้ ดังนั้น กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นจึงสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ เช่นเดียวกับกองทุนรวมโดยทั่วไป จะมีก็แต่การกำหนดไว้ในเรื่องของการคุ้มครองว่าจะต้องทำให้เห็นได้ว่ามีการคุ้มครองเงินต้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 กล่าวคือ จะต้องนำเงินลงทุนส่วนหนึ่งไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่ทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดแล้วจะได้รับเงินกลับคืนมาเป็นอัตราส่วนเมื่อเทียบกับเงินลงทุนทั้งหมดของผู้ลงทุนไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ (ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)
ทั้งนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารหนี้โดยเฉพาะตราสารหนี้ภาครัฐ และเงินลงทุนอีกส่วนที่เหลือบริษัทจัดการก็มักที่จะนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น ซึ่งต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ในหนังสือชื้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวให้ผู้ลงทุนได้รับทราบด้วยครับ
คำถาม - การจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลนี้น ผู้ลงทุนต้องเสียภาษีหรือไม่ ถ้ามีในอัตราเท่าไร อ้อมทิพย์
ตอบ - เจ้าหน้าที่จากสมาคม บลจ.ตอบคำถามไว้ดังนี้ครับ กองทุนส่วนบุคคลไม่ได้มีสถานะเป็นบุคคลแยกต่างหากจากผู้ที่เป็นเจ้าของกองทุนส่วนบุคคลนั้น อีกทั้งกรมสรรพากรก็ไม่ได้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมกับกองทุนส่วนบุคคลแต่อย่างใด ดังนั้น ภาระภาษีที่เกิดจากการลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลนั้นก็จะเป็นไปตามภาระภาษีของบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของกองทุนส่วนบุคคลนั้นครับ
สำหรับท่านผู้อ่านท่านใดที่มีข้อสงสัยเรื่องกองทุนรวม สามารถส่งคำถามมาได้ที่ fund@manager.co.th หรือโพสต์ข้อความไว้ที่หน้า กองทุนรวม www.manager.co.th ทางเรายินดีที่จะตอบคำถามและหาคำตอบดีๆจากบลจ.ต่างๆให้ครับ
ตอบ - เจ้าหน้าที่จากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน เเนะนำคำถามดังนี้ครับ ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นไว้ ดังนี้ กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น (capital protected fund) หมายถึง กองทุนรวมที่บริษัทจัดการกองทุนรวมวางแผนการลงทุนเพื่อให้ความคุ้มครองเงินลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม
ในกรณีที่กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นมีการลงทุนในต่างประเทศ บริษัทจัดการต้องเข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง (hedging) จากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดที่มีอยู่ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดไว้
บริษัทจัดการกองทุนรวมจะได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1) ต้องเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายคุ้มครองเงินลงทุนเริ่มแรกเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละแปดสิบของเงินลงทุนเริ่มแรก 2) ต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินลงทุนเริ่มแรกอย่างชัดเจนไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการคุ้มครอง จำนวนเงินที่คุ้มครองและระยะเวลาการคุ้มครอง
ตามที่ถามมานั้นจะเห็นว่าไม่ได้มีข้อจำกัดเป็นพิเศษเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่สามารถลงทุนได้ ดังนั้น กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้นจึงสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ เช่นเดียวกับกองทุนรวมโดยทั่วไป จะมีก็แต่การกำหนดไว้ในเรื่องของการคุ้มครองว่าจะต้องทำให้เห็นได้ว่ามีการคุ้มครองเงินต้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 กล่าวคือ จะต้องนำเงินลงทุนส่วนหนึ่งไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่ทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดแล้วจะได้รับเงินกลับคืนมาเป็นอัตราส่วนเมื่อเทียบกับเงินลงทุนทั้งหมดของผู้ลงทุนไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ (ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)
ทั้งนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารหนี้โดยเฉพาะตราสารหนี้ภาครัฐ และเงินลงทุนอีกส่วนที่เหลือบริษัทจัดการก็มักที่จะนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น ซึ่งต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ในหนังสือชื้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวให้ผู้ลงทุนได้รับทราบด้วยครับ
คำถาม - การจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลนี้น ผู้ลงทุนต้องเสียภาษีหรือไม่ ถ้ามีในอัตราเท่าไร อ้อมทิพย์
ตอบ - เจ้าหน้าที่จากสมาคม บลจ.ตอบคำถามไว้ดังนี้ครับ กองทุนส่วนบุคคลไม่ได้มีสถานะเป็นบุคคลแยกต่างหากจากผู้ที่เป็นเจ้าของกองทุนส่วนบุคคลนั้น อีกทั้งกรมสรรพากรก็ไม่ได้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมกับกองทุนส่วนบุคคลแต่อย่างใด ดังนั้น ภาระภาษีที่เกิดจากการลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลนั้นก็จะเป็นไปตามภาระภาษีของบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของกองทุนส่วนบุคคลนั้นครับ
สำหรับท่านผู้อ่านท่านใดที่มีข้อสงสัยเรื่องกองทุนรวม สามารถส่งคำถามมาได้ที่ fund@manager.co.th หรือโพสต์ข้อความไว้ที่หน้า กองทุนรวม www.manager.co.th ทางเรายินดีที่จะตอบคำถามและหาคำตอบดีๆจากบลจ.ต่างๆให้ครับ