บลจ.นครหลวงไทย ฝัน 3 ปี ดันเอยูเอ็มโตพุ่ง 1 แสนล้านบาท พร้อมเดินหน้าปรับทัพ-ภาพลักษณ์ใหม่ รับมือการแข่งขัน เจาะลูกค้าแบงก์-กบข. หนุนการเติบโต กางแผนครึ่งปีหลัง ส่ง 2 กองทุนใหม่โกยเงินอีก 3 พันล้าน
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าหมายในการปรับเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหารจัดการ (เอยูเอ็ม) สิ้นปีนี้เป็น 5 – 6 หมื่นล้านบาท จากปัจจุบันที่มีอยู่ 4.43 หมื่นล้านบาท และภายใน 3 ปีข้างหน้าตั้งเป้าหมายเอยูเอ็มปรับขึ้นไปแตะที่ 1 แสนล้านบาทได้ ซึ่งเอยูเอ็มที่เหมาะสมของธุรกิจกองทุนรวมอยู่ที่ระดับ 1 แสนล้านบาทขึ้นไป จึงจะมีความคุ้มค่า และสามารถทำกำไรได้
ทั้งนี้ การที่จะไปทำให้เอยูเอ็มปรับขึ้นไปที่ 1 แสนล้านบาทได้ บริษัทต้องมีการปรับภาพลักษณ์องค์กรใหม่ เพื่อให้มีความพร้อมในด้านมาตรฐานการทำงาน ซึ่งในปัจจุบันการที่เป็นบริษัทที่มีขนาดกลางจึงจำเป็นต้องสร้างระบบการลงทุน การบริหารความเสี่ยง นายทะเบียน และช่องทางการขายจะต้องไม่ผิดพลาด
ขณะเดียวกัน ยังต้องเสริมบุคลากรให้ครบถ้วนในทุกด้าน โดยมองว่าลูกค้าของบริษัทประมาณ 99% เป็นคนไทย จึงมองว่าการสื่อสารมีความสำคัญมาก ซึ่งจะขยายฐานลูกค้าโดยใช้การสื่อสาร และช่องทางทางการตลาด โดยจะเข้าไปเจาะลูกค้าของธนาคารนครหลวงไทย และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท และจะทำการตลาดเอง ซึ่งทำให้มีความคล่องตัว ขณะที่ธนาคารพาณิชย์อื่นจะมีการทำการตลาดของ บลจ.ในเครือเอง เนื่องจากได้เปรียบด้านเป็นบริษัทใหญ่
นายธีรพันธุ์ กล่าวว่า บริษัทมีแผนในการออกกองทุนใหม่ 2 กองทุน มูลค่าโครงการรวม 3 พันล้านบาท โดยเป็นกองทุนลงในสินค้าโภคภัณฑ์ มูลค่าโครงการ 1.5 พันล้านบาท ซึ่งมีลักษณะ Long-Short และมีการปรับเปลี่ยนการลงทุนได้ทุกเดือน กองทุนที่ลงทุนในหุ้นจีน มูลค่าโครงการ 1.5 พันล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างรอการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยคาดว่าจะเสนอขายได้ในเดือนสิงหาคม 2552
นอกจากนี้ ยังออกกองทุนตราสารหนี้ในประเทศ และต่างประเทศ โดยจะยังคงออกกองทุนพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้อย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละ 2 กองทุน ซึ่งจะมีทั้งอายุโครงการ 6 เดือน และ 1 ปี ส่วนอายุโครงการ 3 เดือน และ 2 ปีจะออกมาบ้าง หากภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ปรับลดลง บริษัทจะมองหาพันธบัตรรัฐบาลของประเทศอื่นมาทดแทน อาทิ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลาง
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังอยู่ระหว่างการประเมินภาวะตลาดเพื่อออกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) ประมาณ 2 กอง โดยจะรอดูจังหวะที่เหมาะสม โดยที่ผ่านมาได้มีการหารือกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ทั้งในธุรกิจโรงแรม บ้านเช่า และเซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในครึ่งปีหลัง และเบื้องต้นคาดว่าจะมีมูลค่าโครงการไม่เกิน 1,500 ล้านบาท
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าหมายในการปรับเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหารจัดการ (เอยูเอ็ม) สิ้นปีนี้เป็น 5 – 6 หมื่นล้านบาท จากปัจจุบันที่มีอยู่ 4.43 หมื่นล้านบาท และภายใน 3 ปีข้างหน้าตั้งเป้าหมายเอยูเอ็มปรับขึ้นไปแตะที่ 1 แสนล้านบาทได้ ซึ่งเอยูเอ็มที่เหมาะสมของธุรกิจกองทุนรวมอยู่ที่ระดับ 1 แสนล้านบาทขึ้นไป จึงจะมีความคุ้มค่า และสามารถทำกำไรได้
ทั้งนี้ การที่จะไปทำให้เอยูเอ็มปรับขึ้นไปที่ 1 แสนล้านบาทได้ บริษัทต้องมีการปรับภาพลักษณ์องค์กรใหม่ เพื่อให้มีความพร้อมในด้านมาตรฐานการทำงาน ซึ่งในปัจจุบันการที่เป็นบริษัทที่มีขนาดกลางจึงจำเป็นต้องสร้างระบบการลงทุน การบริหารความเสี่ยง นายทะเบียน และช่องทางการขายจะต้องไม่ผิดพลาด
ขณะเดียวกัน ยังต้องเสริมบุคลากรให้ครบถ้วนในทุกด้าน โดยมองว่าลูกค้าของบริษัทประมาณ 99% เป็นคนไทย จึงมองว่าการสื่อสารมีความสำคัญมาก ซึ่งจะขยายฐานลูกค้าโดยใช้การสื่อสาร และช่องทางทางการตลาด โดยจะเข้าไปเจาะลูกค้าของธนาคารนครหลวงไทย และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท และจะทำการตลาดเอง ซึ่งทำให้มีความคล่องตัว ขณะที่ธนาคารพาณิชย์อื่นจะมีการทำการตลาดของ บลจ.ในเครือเอง เนื่องจากได้เปรียบด้านเป็นบริษัทใหญ่
นายธีรพันธุ์ กล่าวว่า บริษัทมีแผนในการออกกองทุนใหม่ 2 กองทุน มูลค่าโครงการรวม 3 พันล้านบาท โดยเป็นกองทุนลงในสินค้าโภคภัณฑ์ มูลค่าโครงการ 1.5 พันล้านบาท ซึ่งมีลักษณะ Long-Short และมีการปรับเปลี่ยนการลงทุนได้ทุกเดือน กองทุนที่ลงทุนในหุ้นจีน มูลค่าโครงการ 1.5 พันล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างรอการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยคาดว่าจะเสนอขายได้ในเดือนสิงหาคม 2552
นอกจากนี้ ยังออกกองทุนตราสารหนี้ในประเทศ และต่างประเทศ โดยจะยังคงออกกองทุนพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้อย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละ 2 กองทุน ซึ่งจะมีทั้งอายุโครงการ 6 เดือน และ 1 ปี ส่วนอายุโครงการ 3 เดือน และ 2 ปีจะออกมาบ้าง หากภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ปรับลดลง บริษัทจะมองหาพันธบัตรรัฐบาลของประเทศอื่นมาทดแทน อาทิ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลาง
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังอยู่ระหว่างการประเมินภาวะตลาดเพื่อออกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) ประมาณ 2 กอง โดยจะรอดูจังหวะที่เหมาะสม โดยที่ผ่านมาได้มีการหารือกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ทั้งในธุรกิจโรงแรม บ้านเช่า และเซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในครึ่งปีหลัง และเบื้องต้นคาดว่าจะมีมูลค่าโครงการไม่เกิน 1,500 ล้านบาท