บลจ.กสิกรไทยปลื้มกองพันธบัตรเกาหลียังขายดี แค่ 2 วันระดมเงินได้เต็มกองกว่า 3,500 ล้านบาท แหล่งข่าวแย้มอาจเปิดขายเพิ่มอีกสัปดาห์หน้า หลังพบดีมานล้นช่วงดอกเบี้ยต่ำ ขณะที่อัตราผลตอบแทนยังไม่สามารถประเมินได้ เหตุต้องดูสถาการณ์และอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่จะลงทุนก่อน ด้าน บลจ.เอ็มเอฟซี ไม่น้อยหน้า ปิดจองซื้อก่อนกำหนดเช่นกัน เช่นเดียวกัน บลจ. บัวหลวงที่ "ฮอต" เหมือนกัน ปิดขายกองบอนด์ต่างประเทศ "บัวหลวงธนสารพลัส 7/09 (BP7/09)" ก่อนกำหนด
แหล่งข่าวจากบลจ.กสิกรไทยเปิดเผยว่า หลังจากกองทุนพันธบัตรเกาหลี 1 ปี เอเอ็ม ทำการปิดจองไปก่อนกำหนด ทางบริษัทคาดว่าจะมีกองทุนประเภทนี้ออกมาเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนอีก เนื่องจากจะเห็นได้ว่านักลงทุนยังมีความต้องการกองทุนประเภทนี้อยู่ และคาดว่าจะสามารถทำการเปิดขายได้ประมาณสัปดาห์หน้า ส่วนอัตราผลตอบแทนนั้นยังไม่สามารถประเมินได้ เนื่องจากต้องดูตามช่วงเวลาและอัตราดอกเบี้ยที่จะเข้าไปลงทุนก่อน
ทั้งนี้ รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด ในฐานะผู้จัดตั้งและจัดการกองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี1 ปี เอเอ็ม ได้ทำการเปิดให้จองซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่ 19 ถึง 25 พฤษภาคม 2552 นั้น เนื่องจากมีผู้จองซื้อเข้ามาเกินจำนวนเงินทุนของโครงการ 3,500 ล้านบาท ทำให้บริษัทจำเป็นที่ต้องขอแจ้งนักลงทุนเพื่อทำการปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าวก่อนกำหนดในวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 ณ เวลา 15.30 น.
สำหรับ กองทุนนี้จะมีนโยบายการลงทุนเหมือนกับกองทุนพันธบัตรเกาหลีที่เปิดขายไปก่อนหน้านี้ โดยยังคงเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ จาก Moody’s / Standard and Poor’s / FITCH Rating โดยมีอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้น ที่ P1 / A1 / F1 และ ระยะยาว ที่ A2 / A / A+ ตามลำดับ พร้อมนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 100%
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า สำหรับบลจ.กสิกรไทยได้ทำการเปิดขายกองทุนพันธบัตรเกาหลีต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2551 จำนวน 27 กองทุน และได้ทยอยครบกำหนดตามอายุโครงการไปแล้วจำนวน 9 กองทุน โดยมีอัตราผลตอบแทนที่ได้ตามช่วงเวลาที่ลงทุน ส่วนที่เหลืออีก 18 กองทุนจะทยอยครบกำหนดไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2552
ส่วนในปีนี้ บลจ.กสิกรไทยได้ทำการเปิดขายกองทุนพันธบัตรเกาหลีอายุโครงการ 1 ปีนับตั้งแต่ 2 มกราคม 2552 ไปแล้วทั้งสิ้น 12 กองทุน (กองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี เอเอ, เอบี, เอซี, เอดี, เออี, เอเอฟ, เอจี, เอเอช, เอไอ, เอเจเอเค และเอแอล) โดยมียอดระดมทุนประมาณ 30,527.06 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านนักลงทุนส่วนใหญ่หันมาสนใจลงทุนนกองทุนพันธบัตรต่างประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะประเทศเกาหลี ซึ่งนอกจากบลจ.กสิกรไทยแล้วเกือบทุกบลจ.ทยอยเปิดขายออกมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม กองทุนพันธบัตรเกาหลีของแต่ละบลจ.อาจมีความแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องขอนโยบายการลงทุน และอัตราผลตอบแทน โดยนักลงทุนจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน
อย่างไรก็ตาม นอกจากกองทุนพันธบัตรเกาหลีแล้วยังมีกองทุนพันธบัตรต่างประเทศให้เลือกลงทุนทั้ง ออสเตรเลีย อิตาลี และเดนมาร์ก แต่นักลงทุนยังให้ความสนใจไม่มากเท่ากับกับกองพันธบัตรเกาหลี ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า การที่นักลงทุนหันมาให้ความสนใจกองทุนประเภทนี้มากขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำมาก โดยล่าสุดในการประชุมของคณะกรรมการกำกับนโยบายการเงินยังได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับ 1.25% อีกด้วย
ด้านรายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) รายงานว่า กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี เกาหลี 2 (M-Korea 2) มูลค่า 350 ล้านบาท ที่เปิดขายระหว่างวันที่ 15 - 21 พฤษภาคม 2552 นั้น ได้รับการตอบรับจากผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นจำนวนมาก และสามารถจำหน่ายได้เต็มจำนวนโครงการก่อนวันสุดท้ายของระยะเวลาเสนอขาย ซึ่งหลังจากนี้ บริษัทจะจัดตั้งกองทุนใหม่และเปิดจำหน่ายเพิ่มเติมเร็วๆ นี้ เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการผู้ถือหน่วยที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันรายงานข่าวจาก บลจ. บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 7/09 (BP7/09) ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ อายุ 6 เดือน ขนาดเงินทุน 3,000 ล้านบาท โดยกำหนดเสนอขายครั้งแรก (IPO) ในระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม 2552 ถึงวันที่ 27 พฤษภาคม 2552 นั้น ปรากฎว่ากองทุนดังกล่าวได้รับความสนใจจองซื้อหน่วยลงทุนจากผู้ลงทุนเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้ขนาดกองทุนที่ออกเสนอขายเต็มจำนวนที่กำหนดในหนังสือชี้ชวน ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 บริษัทจึงปิดเสนอขายกองทุนดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นไป เพื่อบริษัทจักได้นำไปจดทะเบียนกองทุนรวมกับสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต โดยเร็วต่อไป
แหล่งข่าวจากบลจ.กสิกรไทยเปิดเผยว่า หลังจากกองทุนพันธบัตรเกาหลี 1 ปี เอเอ็ม ทำการปิดจองไปก่อนกำหนด ทางบริษัทคาดว่าจะมีกองทุนประเภทนี้ออกมาเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนอีก เนื่องจากจะเห็นได้ว่านักลงทุนยังมีความต้องการกองทุนประเภทนี้อยู่ และคาดว่าจะสามารถทำการเปิดขายได้ประมาณสัปดาห์หน้า ส่วนอัตราผลตอบแทนนั้นยังไม่สามารถประเมินได้ เนื่องจากต้องดูตามช่วงเวลาและอัตราดอกเบี้ยที่จะเข้าไปลงทุนก่อน
ทั้งนี้ รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด ในฐานะผู้จัดตั้งและจัดการกองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี1 ปี เอเอ็ม ได้ทำการเปิดให้จองซื้อหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่ 19 ถึง 25 พฤษภาคม 2552 นั้น เนื่องจากมีผู้จองซื้อเข้ามาเกินจำนวนเงินทุนของโครงการ 3,500 ล้านบาท ทำให้บริษัทจำเป็นที่ต้องขอแจ้งนักลงทุนเพื่อทำการปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าวก่อนกำหนดในวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 ณ เวลา 15.30 น.
สำหรับ กองทุนนี้จะมีนโยบายการลงทุนเหมือนกับกองทุนพันธบัตรเกาหลีที่เปิดขายไปก่อนหน้านี้ โดยยังคงเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ จาก Moody’s / Standard and Poor’s / FITCH Rating โดยมีอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้น ที่ P1 / A1 / F1 และ ระยะยาว ที่ A2 / A / A+ ตามลำดับ พร้อมนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 100%
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า สำหรับบลจ.กสิกรไทยได้ทำการเปิดขายกองทุนพันธบัตรเกาหลีต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2551 จำนวน 27 กองทุน และได้ทยอยครบกำหนดตามอายุโครงการไปแล้วจำนวน 9 กองทุน โดยมีอัตราผลตอบแทนที่ได้ตามช่วงเวลาที่ลงทุน ส่วนที่เหลืออีก 18 กองทุนจะทยอยครบกำหนดไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2552
ส่วนในปีนี้ บลจ.กสิกรไทยได้ทำการเปิดขายกองทุนพันธบัตรเกาหลีอายุโครงการ 1 ปีนับตั้งแต่ 2 มกราคม 2552 ไปแล้วทั้งสิ้น 12 กองทุน (กองทุนเปิดเค พันธบัตรเกาหลี 1 ปี เอเอ, เอบี, เอซี, เอดี, เออี, เอเอฟ, เอจี, เอเอช, เอไอ, เอเจเอเค และเอแอล) โดยมียอดระดมทุนประมาณ 30,527.06 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านนักลงทุนส่วนใหญ่หันมาสนใจลงทุนนกองทุนพันธบัตรต่างประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะประเทศเกาหลี ซึ่งนอกจากบลจ.กสิกรไทยแล้วเกือบทุกบลจ.ทยอยเปิดขายออกมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม กองทุนพันธบัตรเกาหลีของแต่ละบลจ.อาจมีความแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องขอนโยบายการลงทุน และอัตราผลตอบแทน โดยนักลงทุนจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน
อย่างไรก็ตาม นอกจากกองทุนพันธบัตรเกาหลีแล้วยังมีกองทุนพันธบัตรต่างประเทศให้เลือกลงทุนทั้ง ออสเตรเลีย อิตาลี และเดนมาร์ก แต่นักลงทุนยังให้ความสนใจไม่มากเท่ากับกับกองพันธบัตรเกาหลี ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า การที่นักลงทุนหันมาให้ความสนใจกองทุนประเภทนี้มากขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำมาก โดยล่าสุดในการประชุมของคณะกรรมการกำกับนโยบายการเงินยังได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับ 1.25% อีกด้วย
ด้านรายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) รายงานว่า กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี เกาหลี 2 (M-Korea 2) มูลค่า 350 ล้านบาท ที่เปิดขายระหว่างวันที่ 15 - 21 พฤษภาคม 2552 นั้น ได้รับการตอบรับจากผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นจำนวนมาก และสามารถจำหน่ายได้เต็มจำนวนโครงการก่อนวันสุดท้ายของระยะเวลาเสนอขาย ซึ่งหลังจากนี้ บริษัทจะจัดตั้งกองทุนใหม่และเปิดจำหน่ายเพิ่มเติมเร็วๆ นี้ เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการผู้ถือหน่วยที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันรายงานข่าวจาก บลจ. บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 7/09 (BP7/09) ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ อายุ 6 เดือน ขนาดเงินทุน 3,000 ล้านบาท โดยกำหนดเสนอขายครั้งแรก (IPO) ในระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม 2552 ถึงวันที่ 27 พฤษภาคม 2552 นั้น ปรากฎว่ากองทุนดังกล่าวได้รับความสนใจจองซื้อหน่วยลงทุนจากผู้ลงทุนเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้ขนาดกองทุนที่ออกเสนอขายเต็มจำนวนที่กำหนดในหนังสือชี้ชวน ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 บริษัทจึงปิดเสนอขายกองทุนดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นไป เพื่อบริษัทจักได้นำไปจดทะเบียนกองทุนรวมกับสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต โดยเร็วต่อไป