สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ระบุแนวโน้มดอกเบี้ยขาลงใกล้จบ แนะรัฐเร่งออกบอนด์ระดมเงินช่วงต้นทุนต่ำเพื่อลดภาระในอนาคต มั่นใจดีมานด์รายย่อยให้ความสนใจมากขึ้นหลังเงินฝากผลตอบแทนสุดน้อยในช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกันจะเป็นการช่วยขยายฐานนักลงทุนให้กว้างมากขึ้นได้ หลังกระจุกตัวอยู่แต่สถาบันอย่างเดียว
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวถึงทิศทางดอกเบี้ย และเป้าหมายการออกพันธบัตรของรัฐบาลว่า จากช่วงที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยได้มีการปรับตัวลดลงมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าแนวโน้มของดอกเบี้ยขาลงน่าจะใกล้จบแล้ว ทั้งนี้โอกาสที่จะลดต่ำลงกว่านี้น่าจะมีไม่มากนัก ดังนั้นช่วงนี้รัฐบาลน่าจะใช้เป็นโอกาสนี้ในการออกพันธบัตรเพื่อระดมเงิน โดยที่ภาระต้นทุนดอกเบี้ยไม่สูงมาก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับในปี 2 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้มีเสียงสะท้อนจากประชาชน และนักลงทุนรายย่อย ที่มีการสอบถามและให้ความสนใจในเรื่องของพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลังเป็นอย่างมาก ว่าทำไมในปีนี้จึงมีเป้าหมายในการออกที่ค่อนข้างน้อยมาก เพราะต้องยอมรับว่าภายใต้สถานการณ์ดอกเบี้ยที่ต่ำมากๆเช่นในปัจจุบัน ผู้มีเงินออม โดยเฉพาะรายย่อยหรือข้าราชการบำนาญที่ยังชีพด้วยรายได้จากดอกเบี้ย ย่อมต้องการหาทางเลือกที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งพันธบัตรออมทรัพย์กระทรวงการคลังถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่นักลงทุนรายย่อยให้ความสนใจ
“ตอนที่ตั้งเป้าเมื่อไตรมาส 3 ปีที่แล้ว ว่าในปีนี้จะออกพันธบัตรออมทรัพย์เพียงแค่ 10,000 ล้านบาทนั้น เป็นเพราะในช่วงดังกล่าวอัตราดอกเบี้ยฝากธนาคารยังอยู่ในระดับที่สูง กระทรวงการคลังจึงคาดว่าหากออกพันธบัตรออมทรัพย์จำนวนมากอาจจะไม่เป็นที่สนใจจากรายย่อยมากนัก หรือหากจะให้เป็นที่จูงใจก็ต้องให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นซึ่งก็จะเป็นภาระของกระทรวงคลังในอนาคต จึงทำให้กำหนดเป้าหมายการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไว้ค่อนข้างน้อย แต่ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปเป็นอย่างมากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาล หากเพิ่มการออกพันธบัตรออมทรัพย์ในช่วงนี้เชื่อว่าก็จะได้รับความสนใจมาก ดังนั้นเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนทางกระทรวงการคลัง ก็น่าที่จะทบทวนเรื่องการออกพันธบัตรออมทรัพย์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อช่วยผู้ที่พึ่งพารายได้จากดอกเบี้ยทั้งหลาย ซึ่งหากกลุ่มนี้รายได้มากขึ้น ก็อาจจะนำมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ก็จะเป็นผลดีกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมได้อีกทางหนึ่ง” นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กล่าว
นายณัฐพล กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้หากกระทรวงการคลังระดมเงินด้วยการออกพันธบัตรเงินกู้เป็นจำนวนมากก็อาจจะทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดรองปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การออกเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ที่จำกัดการเปลี่ยนมือเฉพาะรายย่อยก็จะไม่กระทบต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดรอง นอกจากนั้นแล้วกระทรวงการคลังควรจะต้องใช้โอกาสนี้ขยายฐานของนักลงทุนไปสู่รายย่อยให้มากขึ้นแทนที่จะพึ่งพาเฉพาะนักลงทุนสถาบันแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนข้อเสียของการออกเป็นพันธบัตรออมทรัพย์อาจจะมีอยู่บ้างตรงที่จะทำให้ผลตอบแทนของหุ้นกู้เอกชนต้องปรับให้สูงขึ้นด้วย เพราะปกติแล้วการกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์จะนำเอาภาษีเข้ามาบวกรวมไว้ในอัตราดอกเบี้ยด้วย รวมทั้งไม่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องในตลาดรอง ทางแก้ในระยะยาวนั้นกระทรวงการคลังอาจใช้วิธีการออกเป็นพันธบัตรธรรมดา แต่ควรเปลี่ยนวิธีการจัดเก็บภาษีใหม่ โดยนำเอาระยะเวลาการถือครองพันธบัตรมาพิจารณาด้วยเช่นถ้าขายหลังจากถือเกิน 3 ปีก็อาจจะไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นต้น วิธีนี้ก็ทำให้ในตลาดมีพันธบัตรเพียงประเภทเดียว อัตราผลตอบแทนก็มีอัตราเดียวไม่ทำให้ตลาดสับสน และรายย่อยที่ตามปกติมักจะถือยาวก็ยังได้ผลประโยชน์ทางด้านภาษีเหมือนเดิม ส่วนคนที่ต้องการเงินก่อนที่จะถึง 3 ปีก็สามารถขายได้ในตลาดรองทั่วไปและเสียภาษีตามปกติ
“จะเหมือนกับตอนปี 2543 ที่มีการออกพันธบัตรออมทรัพย์มา 300,000 ล้านบาท ก็เพื่อช่วยผู้เกษียณอายุ ผู้ที่อาศัยรายได้ดอกเบี้ยยังชีพเพราะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารก็ต่ำเหมือนขณะนี้ ก็ได้รับความสนใจขายได้หมด ซึ่งหากออกในรูปแบบอื่นก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะขายได้หมด ดังนั้นในตอนนี้การแก้วิธีการเก็บภาษีคงใช้เวลาอีกนาน เฉพาะหน้าก็การออกเป็นพันธบัตรออมทรัพย์น่าจะทำได้เร็วกว่าและเชื่อว่าได้รับความสนใจอย่างมากแน่นอน”
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวถึงทิศทางดอกเบี้ย และเป้าหมายการออกพันธบัตรของรัฐบาลว่า จากช่วงที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยได้มีการปรับตัวลดลงมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าแนวโน้มของดอกเบี้ยขาลงน่าจะใกล้จบแล้ว ทั้งนี้โอกาสที่จะลดต่ำลงกว่านี้น่าจะมีไม่มากนัก ดังนั้นช่วงนี้รัฐบาลน่าจะใช้เป็นโอกาสนี้ในการออกพันธบัตรเพื่อระดมเงิน โดยที่ภาระต้นทุนดอกเบี้ยไม่สูงมาก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับในปี 2 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้มีเสียงสะท้อนจากประชาชน และนักลงทุนรายย่อย ที่มีการสอบถามและให้ความสนใจในเรื่องของพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลังเป็นอย่างมาก ว่าทำไมในปีนี้จึงมีเป้าหมายในการออกที่ค่อนข้างน้อยมาก เพราะต้องยอมรับว่าภายใต้สถานการณ์ดอกเบี้ยที่ต่ำมากๆเช่นในปัจจุบัน ผู้มีเงินออม โดยเฉพาะรายย่อยหรือข้าราชการบำนาญที่ยังชีพด้วยรายได้จากดอกเบี้ย ย่อมต้องการหาทางเลือกที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งพันธบัตรออมทรัพย์กระทรวงการคลังถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่นักลงทุนรายย่อยให้ความสนใจ
“ตอนที่ตั้งเป้าเมื่อไตรมาส 3 ปีที่แล้ว ว่าในปีนี้จะออกพันธบัตรออมทรัพย์เพียงแค่ 10,000 ล้านบาทนั้น เป็นเพราะในช่วงดังกล่าวอัตราดอกเบี้ยฝากธนาคารยังอยู่ในระดับที่สูง กระทรวงการคลังจึงคาดว่าหากออกพันธบัตรออมทรัพย์จำนวนมากอาจจะไม่เป็นที่สนใจจากรายย่อยมากนัก หรือหากจะให้เป็นที่จูงใจก็ต้องให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นซึ่งก็จะเป็นภาระของกระทรวงคลังในอนาคต จึงทำให้กำหนดเป้าหมายการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไว้ค่อนข้างน้อย แต่ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปเป็นอย่างมากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาล หากเพิ่มการออกพันธบัตรออมทรัพย์ในช่วงนี้เชื่อว่าก็จะได้รับความสนใจมาก ดังนั้นเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนทางกระทรวงการคลัง ก็น่าที่จะทบทวนเรื่องการออกพันธบัตรออมทรัพย์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อช่วยผู้ที่พึ่งพารายได้จากดอกเบี้ยทั้งหลาย ซึ่งหากกลุ่มนี้รายได้มากขึ้น ก็อาจจะนำมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ก็จะเป็นผลดีกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมได้อีกทางหนึ่ง” นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กล่าว
นายณัฐพล กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้หากกระทรวงการคลังระดมเงินด้วยการออกพันธบัตรเงินกู้เป็นจำนวนมากก็อาจจะทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดรองปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การออกเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ที่จำกัดการเปลี่ยนมือเฉพาะรายย่อยก็จะไม่กระทบต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดรอง นอกจากนั้นแล้วกระทรวงการคลังควรจะต้องใช้โอกาสนี้ขยายฐานของนักลงทุนไปสู่รายย่อยให้มากขึ้นแทนที่จะพึ่งพาเฉพาะนักลงทุนสถาบันแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนข้อเสียของการออกเป็นพันธบัตรออมทรัพย์อาจจะมีอยู่บ้างตรงที่จะทำให้ผลตอบแทนของหุ้นกู้เอกชนต้องปรับให้สูงขึ้นด้วย เพราะปกติแล้วการกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์จะนำเอาภาษีเข้ามาบวกรวมไว้ในอัตราดอกเบี้ยด้วย รวมทั้งไม่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องในตลาดรอง ทางแก้ในระยะยาวนั้นกระทรวงการคลังอาจใช้วิธีการออกเป็นพันธบัตรธรรมดา แต่ควรเปลี่ยนวิธีการจัดเก็บภาษีใหม่ โดยนำเอาระยะเวลาการถือครองพันธบัตรมาพิจารณาด้วยเช่นถ้าขายหลังจากถือเกิน 3 ปีก็อาจจะไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นต้น วิธีนี้ก็ทำให้ในตลาดมีพันธบัตรเพียงประเภทเดียว อัตราผลตอบแทนก็มีอัตราเดียวไม่ทำให้ตลาดสับสน และรายย่อยที่ตามปกติมักจะถือยาวก็ยังได้ผลประโยชน์ทางด้านภาษีเหมือนเดิม ส่วนคนที่ต้องการเงินก่อนที่จะถึง 3 ปีก็สามารถขายได้ในตลาดรองทั่วไปและเสียภาษีตามปกติ
“จะเหมือนกับตอนปี 2543 ที่มีการออกพันธบัตรออมทรัพย์มา 300,000 ล้านบาท ก็เพื่อช่วยผู้เกษียณอายุ ผู้ที่อาศัยรายได้ดอกเบี้ยยังชีพเพราะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารก็ต่ำเหมือนขณะนี้ ก็ได้รับความสนใจขายได้หมด ซึ่งหากออกในรูปแบบอื่นก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะขายได้หมด ดังนั้นในตอนนี้การแก้วิธีการเก็บภาษีคงใช้เวลาอีกนาน เฉพาะหน้าก็การออกเป็นพันธบัตรออมทรัพย์น่าจะทำได้เร็วกว่าและเชื่อว่าได้รับความสนใจอย่างมากแน่นอน”