ต้องยอมรับว่า การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อเเดงในช่วงที่ผ่านมานั้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะในเรื่องของการท่องเที่ยว ที่เห็นทีจะต้องมีการฟื้นฟูกันอย่างหนัก หรือต้องจัดเป็นนโยบายหลักที่ภาครัฐต้องเข้ามาแก้ไขเป็นการด่วน เพื่อเป็นการเรียกความเชื่อมั่นของท่องเที่ยวกับคืนมาเหมือนเช่นเคย รวมถึง ความเชื่อมั่นในตลาดเงินและตลาดหุ้นนั้น ก็ลดลงไปด้วย เพราะจะเห็นได้ว่าบรรยากาศการลงทุนไม่ค่อยจะสดใส ปริมาณการลงทุนในด้านต่าง ๆ ก็ลดลงด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อช่วงวิกฤตร้าย ๆ ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ก็ถึงเวลาที่รัฐบาล ควรจะเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ กันอย่างจริง ๆ จังกันซะที โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับคืนมาดั่งเดิม
วันนี้ เราลองมาดูมุมมองจากนักวิชาการทรงคุณวุฒิจาก 2 สถาบัน ว่ามีความคิดเห็นและแนวความคิดในแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจกันอย่างไรกันบ้าง
**หนุนรัฐเร่งเมกะโปรเจกต์ที่คนไทยได้ประโยชน์**
**รองศาสตราจารย์คิม ไชยแสงสุข อธิการบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง** บอกว่า ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ต้นเหตุมันเกิดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นศูนย์กลางแห่งปัญหาในครั้งนี้ ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบด้วย เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจของไทย เป็นระบบเศรษฐกิจที่เขาเรียกว่า เป็นระบบเปิด เป็นระบบที่ต้องพึ่งพาการส่งออกถึงประมาณ 70% ซึ่งถือว่าเยอะมาก เมื่อเราต้องพึ่งพาทั้งประเทศการส่งออกถึง 70% ที่นี้เมื่อลูกค้ารายใหญ่ รายกลาง รายเล็กเกิดขาดทุนหมด จนต้องเลิกกิจการลดการผลิตเลิกกิจการก็ต้องมีการปลดพนักงานออกไป เลยทำให้คนไทยส่วนใหญ่ตกงานมากขึ้น
“ ถ้าถามว่าเรามีวิธีแก้ไขอย่างไรก็ต้องไปมองที่ต้นเหตุแห่งปัญหา เหตุมันเกิดจากที่ยักษ์ใหญ่ของโลก ฉะนั้นถ้าศูนย์กลางแผ่นดินไหวตรงนี้ไม่จบเราก็ยังไม่จบ แต่ถ้าศูนย์กลางแผ่นดินไหวตรงนี้จบเราก็จะจบด้วย ฉะนั้นต้นเหตุไม่ได้เกิดที่เรามันเกิดที่อเมริกาและยุโรป ถ้าวิกฤติที่อเมริกาและยุโรปยุติเราก็จะจบไปด้วย แต่หลักคิดตรงนี้ก็คือว่าเราแก้ไม่ได้แต่ว่าเราบรรเทาตรงนี้ได้ ในเรื่องของผลกระทบให้มีความเสียหายน้อยลง”
**ส่วนวิธีการบรรเทาให้เสียหายน้อยลงด้วยดำเนินนโยบายการเงินการคลัง ให้เศรษฐกิจส่วนรวมหันมาพึ่งภาคเศรษฐกิจภายในประเทศมากยิ่งขึ้น คือพึ่งการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศมากยิ่งขึ้น แทนที่จะพึ่งเฉพาะการส่งออกแบบในอดีต อันนี้คือการบรรเทาปัญหา ซึ่งถ้าเราทำตรงนี้สำเร็จสามารถกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ และการลงทุนในประเทศขึ้นมา ชดเชยการส่งออกให้น้อยลง มันก็จะทำให้คนส่วนหนึ่งที่ตกงานพอมีงานทำขึ้นมาบ้าง ก็จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้**
นอกจากนี้ในเรื่องที่รัฐบาลออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นมองว่า โดยเฉพาะโครงการ 2,000 บาท นั้น ซึ่งต้นแบบของโครงการดังกล่าวในประเทศไทยคนแรกเลยคือท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมท เจ้าต้นตำรับของเจ้าเงินผัน ในระบบที่เศรษฐกิจเงินมันเหือดแห้ง มันก็ต้องมีการผันเงินในกระเป๋ารัฐบาลไปสู่กระเป๋าของภาคเอกชนและประชาชน ก็คือเงินผันแบบหนึ่ง ซึ่งก็ถือว่าดีในระยะเวลาอันสั้น แต่อย่างไรก็ตามคงจะแก้ไขปัญหาในระยะยาวไม่ได้
รองศาสตร์จารย์คิม บอกต่อว่า ** สิ่งที่อยากจะแนะนำรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้นคือ รัฐบาลจะต้องกล้าที่จะทำเมกะโปรเจคที่จะทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศได้ประโยชน์ไม่ใช่เมกะโปรเจคที่บริษัทต่างชาติได้ประโยชน์ ซึ่งเมกกะโปรเจคที่คนทั้งประเทศได้ประโยชน์คืออะไร คือเมกะโปรเจคทางด้าน** “แหล่งน้ำ”** เนื่องจากว่าคนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร แล้วทำไมไม่ใส่เงินลงไปยอะๆ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำอย่างถาวร เชื่อว่าจะเกิดประโยชน์ต่อคนทั้งประเทศอย่างแน่นอน เพราะจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้จะพูดกันแต่สำหรับเมกะโปรเจคที่เกี่ยวกับรถไฟใต้ดิน ซึ่งโครงการตรงนี้มีไม่กี่คนเท่านั้นที่ได้รับผลประโยชน์**
รองศาสตร์จารย์คิม บอกอีกว่า สำหรับเศรษฐกิจประเทศไทยจะฟื้นตัวขึ้นมาได้มองว่า ประเทศไทยยังมีมีศักยภาพดีมากถ้าเทียบกับหลายประเทศในเอเชีย เช่น เทียบกับกลุ่มประเทศเอเชียนนิค เช่นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ เทียบกับฮ่องกง ไตหวัน เทียบกับเกาหลีใต้สู้ประเทศไทยไม่ได้ ในเรื่องของความพร้อมด้านทรัพยากรธรรมชาติ บุคคลกรในวิชาชีพต่าง ๆ แต่สิ่งที่ประเทศไทยสู้ประเทศเหล่านี้ไม่ได้คือ ปัจจัยทางด้านการเมืองของไทยขณะนี้กำลังย่ำแย่ เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศเหล่านี้ และปัจจัยทางด้านการเมืองเป็นตัวบันทอนความเจริญงอกงามทางเศรษฐกิจในขณะนี้ด้วย
**ลงทุนแล้วต้องมีการสร้างงานด้วย**
**รศ.ดร.เอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดี คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์** บอกว่า มาตรการชุดแรกที่รัฐบาลออกมากระตุ้นผู้บริโภคนั้นคาดว่ายังจะช่วยกระตุ้นไม่ได้เยอะสักเท่าไหร่ รวมถึงรัฐบาลจะเข้ามาสนับสนุนในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของของแหล่งน้ำ สาธารณสุข การศึกษา แต่ไม่มีรายละเอีญดจะเองเงินมาลงทุนจากที่ไหน เพราะฉะนั้นควรทำบาลานซ์ซิฟของประเทศไทยว่าจะนำเงินไปลงทุนในอะไรบ้างให้ชัดเจน และต้องมีมาตราการที่ตรงจุดและต้องรู้ว่าเงินลงทุนมาจากที่ไหน
"ต้องดูด้วยว่าการลงทุนมีความต้องการมากน้อยแค่ไหน ในประเทศไทย ในเรื่องของสาธารณูปโภค หรือการสร้างรถไฟฟ้า ซึ่งต้องประเมินให้แน่ชัดเสียก่อนว่ามีผู้ใช้บริการอย่างแน่น รวมถึงมันจะส่งผลดีในสังคมมากน้อยแค่ไหน มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นหรือไม่อย่างไร เพราะมันเป็นกลุ่มธุรกิจที่ต้องมีการจ้างงานสูง ซึ่งมันก็จะช่วยให้คนมีงานทำมากยิ่งขึ้นด้วย"
ปัจจุบันจะเห็นไว่ากลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ ในขณะนี้กำลังย่ำแย่ ดังนั้นเราควรจะทำอย่างไรให้ฟื้นคืนกลับมาดีเหมือนเดิม เพราะว่าแรงงานในส่วนตรงนี้เป็นแรงงานที่มีความชำนาญ ซึ่งถ้าผู้คนเหล่านี้ถูกละทิ้งไว้และหันออกไปทำไร่ทำนามันจะเป็นการสูญเสียโอกาสทรัพยากรที่ดี ๆ ไป
ทั้งนี้ในส่วนของวิธีการแก้ไขที่ รศ.ดร.เอกชัย อยากเสนอแนะนั้นคือ "เราจะเห็นได้ว่ากระทรวงการคลังแทบจะไม่มีเงินเหลือมาให้บริหารประเทศ ซึ่งถ้าเราไปกู้เพิ่มก็จะยิ่งทำให้มีความเสี่ยงมายิ่งขึ้น ดังนั้นอย่างให้มีการแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.แบงก์ชาติให้สามารถใช้ได้เหมือนกับประเทศญี่ปุ่นสามารถเข้ามากู้แบงก์ชาติได้ เพราะขณะนี้ประเทศไทยยังไม่สามารถทำได้ จึงต้องออกไปกู้ต่างประเทศแทนรวมถึงต้องมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อความมั่นคงของชาติ ซึ่งขณะนี้ทั่วโลกได้มีการใช้แล้วอย่างประเทศสิงคโปร์ ไต๋หวั่น จีน เกาหลีใต้ ฯลฯ ซึ่งหลาย ๆ ประเทศก็ใช้วิธีนี้กัน แต่เราไม่รู้มันก็เลยดูเป็นใหม่ แต่จริง ๆ แล้วมีการใช้กันทั่วโลก"
**อย่างไรก็ตาม จากภาวะเศรษฐกิจขณะนี้เราต้องช่วยเหลือกันต้องมีความสามัคคีกัน โดยไม่ผลักภาะไปให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เราต้องร่วมมือร่วมใช้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้ผ่อนพ้นไปได้ด้วย**
อย่างไรก็ตาม เมื่อช่วงวิกฤตร้าย ๆ ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ก็ถึงเวลาที่รัฐบาล ควรจะเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ กันอย่างจริง ๆ จังกันซะที โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับคืนมาดั่งเดิม
วันนี้ เราลองมาดูมุมมองจากนักวิชาการทรงคุณวุฒิจาก 2 สถาบัน ว่ามีความคิดเห็นและแนวความคิดในแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจกันอย่างไรกันบ้าง
**หนุนรัฐเร่งเมกะโปรเจกต์ที่คนไทยได้ประโยชน์**
**รองศาสตราจารย์คิม ไชยแสงสุข อธิการบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง** บอกว่า ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ต้นเหตุมันเกิดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นศูนย์กลางแห่งปัญหาในครั้งนี้ ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบด้วย เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจของไทย เป็นระบบเศรษฐกิจที่เขาเรียกว่า เป็นระบบเปิด เป็นระบบที่ต้องพึ่งพาการส่งออกถึงประมาณ 70% ซึ่งถือว่าเยอะมาก เมื่อเราต้องพึ่งพาทั้งประเทศการส่งออกถึง 70% ที่นี้เมื่อลูกค้ารายใหญ่ รายกลาง รายเล็กเกิดขาดทุนหมด จนต้องเลิกกิจการลดการผลิตเลิกกิจการก็ต้องมีการปลดพนักงานออกไป เลยทำให้คนไทยส่วนใหญ่ตกงานมากขึ้น
“ ถ้าถามว่าเรามีวิธีแก้ไขอย่างไรก็ต้องไปมองที่ต้นเหตุแห่งปัญหา เหตุมันเกิดจากที่ยักษ์ใหญ่ของโลก ฉะนั้นถ้าศูนย์กลางแผ่นดินไหวตรงนี้ไม่จบเราก็ยังไม่จบ แต่ถ้าศูนย์กลางแผ่นดินไหวตรงนี้จบเราก็จะจบด้วย ฉะนั้นต้นเหตุไม่ได้เกิดที่เรามันเกิดที่อเมริกาและยุโรป ถ้าวิกฤติที่อเมริกาและยุโรปยุติเราก็จะจบไปด้วย แต่หลักคิดตรงนี้ก็คือว่าเราแก้ไม่ได้แต่ว่าเราบรรเทาตรงนี้ได้ ในเรื่องของผลกระทบให้มีความเสียหายน้อยลง”
**ส่วนวิธีการบรรเทาให้เสียหายน้อยลงด้วยดำเนินนโยบายการเงินการคลัง ให้เศรษฐกิจส่วนรวมหันมาพึ่งภาคเศรษฐกิจภายในประเทศมากยิ่งขึ้น คือพึ่งการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศมากยิ่งขึ้น แทนที่จะพึ่งเฉพาะการส่งออกแบบในอดีต อันนี้คือการบรรเทาปัญหา ซึ่งถ้าเราทำตรงนี้สำเร็จสามารถกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ และการลงทุนในประเทศขึ้นมา ชดเชยการส่งออกให้น้อยลง มันก็จะทำให้คนส่วนหนึ่งที่ตกงานพอมีงานทำขึ้นมาบ้าง ก็จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้**
นอกจากนี้ในเรื่องที่รัฐบาลออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นมองว่า โดยเฉพาะโครงการ 2,000 บาท นั้น ซึ่งต้นแบบของโครงการดังกล่าวในประเทศไทยคนแรกเลยคือท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมท เจ้าต้นตำรับของเจ้าเงินผัน ในระบบที่เศรษฐกิจเงินมันเหือดแห้ง มันก็ต้องมีการผันเงินในกระเป๋ารัฐบาลไปสู่กระเป๋าของภาคเอกชนและประชาชน ก็คือเงินผันแบบหนึ่ง ซึ่งก็ถือว่าดีในระยะเวลาอันสั้น แต่อย่างไรก็ตามคงจะแก้ไขปัญหาในระยะยาวไม่ได้
รองศาสตร์จารย์คิม บอกต่อว่า ** สิ่งที่อยากจะแนะนำรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้นคือ รัฐบาลจะต้องกล้าที่จะทำเมกะโปรเจคที่จะทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศได้ประโยชน์ไม่ใช่เมกะโปรเจคที่บริษัทต่างชาติได้ประโยชน์ ซึ่งเมกกะโปรเจคที่คนทั้งประเทศได้ประโยชน์คืออะไร คือเมกะโปรเจคทางด้าน** “แหล่งน้ำ”** เนื่องจากว่าคนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร แล้วทำไมไม่ใส่เงินลงไปยอะๆ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำอย่างถาวร เชื่อว่าจะเกิดประโยชน์ต่อคนทั้งประเทศอย่างแน่นอน เพราะจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้จะพูดกันแต่สำหรับเมกะโปรเจคที่เกี่ยวกับรถไฟใต้ดิน ซึ่งโครงการตรงนี้มีไม่กี่คนเท่านั้นที่ได้รับผลประโยชน์**
รองศาสตร์จารย์คิม บอกอีกว่า สำหรับเศรษฐกิจประเทศไทยจะฟื้นตัวขึ้นมาได้มองว่า ประเทศไทยยังมีมีศักยภาพดีมากถ้าเทียบกับหลายประเทศในเอเชีย เช่น เทียบกับกลุ่มประเทศเอเชียนนิค เช่นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ เทียบกับฮ่องกง ไตหวัน เทียบกับเกาหลีใต้สู้ประเทศไทยไม่ได้ ในเรื่องของความพร้อมด้านทรัพยากรธรรมชาติ บุคคลกรในวิชาชีพต่าง ๆ แต่สิ่งที่ประเทศไทยสู้ประเทศเหล่านี้ไม่ได้คือ ปัจจัยทางด้านการเมืองของไทยขณะนี้กำลังย่ำแย่ เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศเหล่านี้ และปัจจัยทางด้านการเมืองเป็นตัวบันทอนความเจริญงอกงามทางเศรษฐกิจในขณะนี้ด้วย
**ลงทุนแล้วต้องมีการสร้างงานด้วย**
**รศ.ดร.เอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดี คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์** บอกว่า มาตรการชุดแรกที่รัฐบาลออกมากระตุ้นผู้บริโภคนั้นคาดว่ายังจะช่วยกระตุ้นไม่ได้เยอะสักเท่าไหร่ รวมถึงรัฐบาลจะเข้ามาสนับสนุนในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของของแหล่งน้ำ สาธารณสุข การศึกษา แต่ไม่มีรายละเอีญดจะเองเงินมาลงทุนจากที่ไหน เพราะฉะนั้นควรทำบาลานซ์ซิฟของประเทศไทยว่าจะนำเงินไปลงทุนในอะไรบ้างให้ชัดเจน และต้องมีมาตราการที่ตรงจุดและต้องรู้ว่าเงินลงทุนมาจากที่ไหน
"ต้องดูด้วยว่าการลงทุนมีความต้องการมากน้อยแค่ไหน ในประเทศไทย ในเรื่องของสาธารณูปโภค หรือการสร้างรถไฟฟ้า ซึ่งต้องประเมินให้แน่ชัดเสียก่อนว่ามีผู้ใช้บริการอย่างแน่น รวมถึงมันจะส่งผลดีในสังคมมากน้อยแค่ไหน มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นหรือไม่อย่างไร เพราะมันเป็นกลุ่มธุรกิจที่ต้องมีการจ้างงานสูง ซึ่งมันก็จะช่วยให้คนมีงานทำมากยิ่งขึ้นด้วย"
ปัจจุบันจะเห็นไว่ากลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ ในขณะนี้กำลังย่ำแย่ ดังนั้นเราควรจะทำอย่างไรให้ฟื้นคืนกลับมาดีเหมือนเดิม เพราะว่าแรงงานในส่วนตรงนี้เป็นแรงงานที่มีความชำนาญ ซึ่งถ้าผู้คนเหล่านี้ถูกละทิ้งไว้และหันออกไปทำไร่ทำนามันจะเป็นการสูญเสียโอกาสทรัพยากรที่ดี ๆ ไป
ทั้งนี้ในส่วนของวิธีการแก้ไขที่ รศ.ดร.เอกชัย อยากเสนอแนะนั้นคือ "เราจะเห็นได้ว่ากระทรวงการคลังแทบจะไม่มีเงินเหลือมาให้บริหารประเทศ ซึ่งถ้าเราไปกู้เพิ่มก็จะยิ่งทำให้มีความเสี่ยงมายิ่งขึ้น ดังนั้นอย่างให้มีการแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.แบงก์ชาติให้สามารถใช้ได้เหมือนกับประเทศญี่ปุ่นสามารถเข้ามากู้แบงก์ชาติได้ เพราะขณะนี้ประเทศไทยยังไม่สามารถทำได้ จึงต้องออกไปกู้ต่างประเทศแทนรวมถึงต้องมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อความมั่นคงของชาติ ซึ่งขณะนี้ทั่วโลกได้มีการใช้แล้วอย่างประเทศสิงคโปร์ ไต๋หวั่น จีน เกาหลีใต้ ฯลฯ ซึ่งหลาย ๆ ประเทศก็ใช้วิธีนี้กัน แต่เราไม่รู้มันก็เลยดูเป็นใหม่ แต่จริง ๆ แล้วมีการใช้กันทั่วโลก"
**อย่างไรก็ตาม จากภาวะเศรษฐกิจขณะนี้เราต้องช่วยเหลือกันต้องมีความสามัคคีกัน โดยไม่ผลักภาะไปให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เราต้องร่วมมือร่วมใช้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้ผ่อนพ้นไปได้ด้วย**