บิ๊กบลจ.พ้องเสียงเชื่อตลาดหุ้นไทยไตรมาส 2 ปรับตัวดีขึ้น เหตุความเสี่ยงเริ่มลดลงสะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ “ตระกูลจิตร”คาดดัชนีไม่ทรุดต่ำกว่า 380 - 400 จุด หลังตลาดตอบรับข่าวร้ายไปแล้วก่อนหน้านี้ ขณะที่ บลจ.ฟิลลิป ระบุดัชนีQ2 ดีขึ้นเช่นกัน แต่การลงทุนคงไม่คึกคัก เหตุส่วนใหญ่ยังวิตกต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้น
นายตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับความเคลื่อนไหวในตลาดหุ้นไทยในช่วง 2 - 3 เดือนข้างหน้านี้ คาดว่ายังคงมีโอกาสที่จะซึมลงไปอีก ซึ่งในการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นนั้น หากจะปรับขึ้นหรือลงคงเป็นไปในทิศทางที่ไม่มากนัก เนื่องจากมองว่านักลงทุนได้ตอบรับกับข่าวร้ายและราคาหุ้นได้สะท้อนไปแล้ว ซึ่งหลังจากนี้ เริ่มเห็นสัญญาณว่านักลงทุนเริ่มจะตอบรับกับข่าวดีในทิศทางที่มากกว่าข่าวร้าย โดยเริ่มเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับตลาดหุ้น
ทั้งนี้ คาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไม่น่าจะลงไปถึง 380 - 400 จุด เนื่องจากว่าราคาหุ้นตอบรับข่าวร้ายไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม บลจ. ธนชาต ยังมองว่าเศรษฐกิจโดยรวมน่าจะถึงจุดเลวร้ายสุดในปลายปีนี้ หรืออาจจะเป็นช่วงต้นปี 2553 และคงต้องใช้ระยะเวลาสักระยะที่เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว
"ในส่วนของปัจจัยการเมืองภายในประเทศ ต้องยอมรับว่าเป็นประเด็นที่กดดันต่อการลงทุน เนื่องจากนักลงทุนจะกังวล และบางส่วนอาจจะชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ แต่ทั้งนี้ หากการชุมนุมไม่กระทบถึงภาพรวมของเศรษฐกิจ ก็ไม่น่าจะมีผลต่อบรรยากาศการลงทุนมากนัก เพราะการชุมนุมก็เป็นสิ่งที่ทั่วโลกมีการปฎิบัติกัน แต่ทั้งหมดต้องอยู่บนกรอบของกฎหมาย" นายตระกูลจิตร กล่าว
ด้าน อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล ผู้อำนวยการสายงานจัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) เอสซีบี ควอนท์ จำกัด เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดหุ้นในไตรมาสที่ 2 จะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ปัจจัยด้วยกัน นั่นคือ ปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ
สำหรับปัจจัยภายนอกนั้นได้แก่ ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ที่จะมีการประกาศออกมาว่าจะมีแนวโน้มเป็นเช่นไร หากตัวเลขที่ออกมาบ่งบอกถึงผลกำไรบริษัทของบริษัทจดทะเบียน นั้นหมายถึงเศรษฐกิจมีจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น แต่หากตัวเลขเศรษฐกิจที่ได้ประกาศออกมานั่นย่ำแย่กว่าที่นักวิเคราะห์ได้ประมาณการณ์ไว้ ก็จะทำให้นักลงทุนบางส่วนชะลอการลงทุนในสหรัฐ ซึ่งตลาดหุ้นไทยจะได้รับอานิสงส์จากการกลับเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ
ส่วนปัจจัยที่สอง คือ ปัจจัยภายในประเทศ หรือ เศรษฐกิจภายในประเทศ เพราะถ้าหากว่าปัจจัยภายนอกปรับตัวดีขึ้นทั้งหมด แต่ปัจจัยภายในไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้านการเมืองที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ เข้ามากระทบให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว เนื่องจากนักลงทุนไม่มีความมั่นใจและไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะรุนแรง และยาวนานเพียงใด ซึ่งอาจจะทำให้ตลาดหุ้นไทยไม่ปรับตัวตามตลาดหุ้นทั่วโลก
“อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทางการเมืองที่เกิดขึ้น ถือเป็นผลกระทบทางอ้อมต่อตลาดหุ้นภายในประเทศ เพราะทำให้บรรยากาศโดยรวมของการลงทุนไม่ดีนัก นักลงทุนเกิดความวิตกกังวลไม่กล้าที่จะเข้ามาลงทุน จนอาจจะส่งผลให้มีการเทขายหุ้นออกมาอีกครั้ง และอาจจะทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงไปกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ รวมไปถึงจีดีพีในปีนี้ ที่คาดว่าจะติดลบเพียงเล็กน้อย อาจจะติดลบเพิ่มมากขึ้น”นายอรุณกล่าว
นายอรุณศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของนักลงทุนต่างชาติที่ผ่านมา พบว่าเริ่มกลับเข้ามาเข้าลงทุนในตลาดหุ้นไทยบ้างแล้ว แต่เป็นการซื้อเพียงเล็กน้อย ไม่เหมือนก่อนหน้านี้ที่มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนต่อวันเป็นหมื่นล้าน แต่การเข้ามาซื้อในครั้งนี้ อาจจะเป็นการเข้ามาซื้อเพื่อขายทำกำไรระยะสั้นก็เป็นไปได้ ดังนั้นนักลงทุนจะต้องดูความต่อเนื่องในการเข้ามาลงทุนด้วย
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าไตรมาส 2 ของปีนี้แนวโน้มของตลาดหุ้นไทยน่าจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากว่าความเสี่ยงของการลงทุนปรับตัวลดลง จึงให้การลงทุนในตลาดหุ้นน่าสนใจมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาราคาหุ้นปรับตัวลดลงมาต่ำกว่าราคาพื้นฐานมาก จึงอยากให้นักลงทุนที่สนใจควรที่จะเลือกลงทุนในหุ้นเป็นรายตัวไป
นายวรรธนะ วงศ์สีนิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. ฟิลลิป กล่าวว่า สำหรับภาวะตลาดหุ้นในไตรมาส 2 นั้น ยังคงซึมๆ อยู่ แม้ดัชนีจะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ทำให้บรรยากกาศการลงทุนคึกคักมากนัก เนื่องจากคาดว่าดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพราะตลาดหุ้นขณะนี้ ยังมีความแข็งแกร่งไม่มากนัก อีกทั้งไม่มีปัจจัยบวกที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจโลกได้ จึงก่อให้เกิดการชะลอการลงทุนจากนักลงทุนที่กลัวความเสี่ยง
ขณะเดียวกัน ปัจจัยทางด้านการเมืองในประเทศที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวลดลง เนื่องจากการขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้นจะมีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าหากเศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นมา ตลาดหุ้นในประเทศก็จะปรับตัวเพิ่มขึ้นและเริ่มฟื้นตัวเร็วกว่าที่หลายๆฝ่ายได้คาดการณ์กันเอาไว้
ทั้งนี้ จากที่ภาครัฐ และรัฐบาลทั่วโลก ได้มีการออกมาตรการต่างๆเพื่อมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้ดีขึ้นนั้น ขณะนี้ เม็ดเงินที่ภาครัฐฉีดเข้าระบบนั้นยังไม่เริ่มมีการหมุนเวียนในระบบอย่างที่ภาครับต้องการ จำเป็นที่จะต้องใช้ระยะเวลาเป็นเดือนกว่าจะเห็นผล แต่จากจิตวิทยานั้นถือเป็นปัจจัยบวกที่จะทำให้นักลงทุนเริ่มที่จะกลับเข้ามาลงทุน
“เรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการแจกเช็คช่วยชาติก็มีผล โดยประชาชนทั่วไปนำไปใช้จ่ายทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้าระบบมากขึ้น แต่ก็มีประชาชนอีกประมาณ 80% ที่ยังเช็คไว้กับตัวไม่ยอมนำออกมาใช้ ซึ่งไม่เป็นไปตามความต้องการของรัฐบาล”นายวรรธนะกล่าว
นอกจากนี้ การที่จะให้นักลงทุนกลับมาลงทุนในกองทุนหุ้น จะต้องรอดูสถานการณ์ โดยรวมก่อนว่าเป็นอย่างไร หากว่าธุรกิจต่างๆดี แบงก์มีความแข็งแกร่งพอ ไม่ล้มละลายเหมือนที่ผ่านมา อีกทั้งปัจจัยทางการเมืองได้รับการแก้ไข หรือไม่ก่อให้เกิดความรุนแรงมากนัก จะทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน เพราะราคาหุ้นในช่วงนี้ถึงแม้ว่าจะถูก และสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้นักลงทุนได้ แต่นักลงทุนก็ยังคงกังวลกับปัจจัยลบต่างที่กำลังจะเกิดขึ้น จึงยังไม่กล้ากลับเข้ามาลงทุนมากนัก
นายสมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บลจ. วรรณ กล่าวว่า ในส่วนของมาตรการที่ภาครัฐทั้งในและต่างประเทศได้ออกมาเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น จะช่วยส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางออม โดยสามารถเรียกความเชื่อความจากนักลงทุนให้กลับเข้ามาลงทุนได้อีกครั้ง แต่การลงทุนในตลาดหุ้นนั้นค่อนข้างที่จะมีความผันผวน การลงทุนจึงควรเพิ่มความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ และให้มีการจัดพอร์ตการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพราะระบบเศรษฐกิจคงต้องอาศัยระยะเวลาที่จะทำให้อยู่ตัวมากกว่านี้และทำให้อยู่ในภาวะถดถอยน้อยลง
อย่างไรก็ตาม การที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้นักลงทุนเริ่มที่จะกลับมาลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น เพราะเมื่อเทียบผลตอบแทนที่ได้รับมีมากกว่าการนำเงินไปฝากธนาคารเพื่อรับดอกเบี้ยเงินฝาก โดยนักลงทุนจะมองหุ้นที่มีการจ่ายปันผล อีกทั้งราคาหุ้นไม่สูงมากนักเข้ามาไว้ในพอร์ตการลงทุน ทั้งนี้หากข่าวร้ายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเริ่มคลี่คลายลงนักลงทุนจึงควรที่จะดูพัฒนาการของตลาดหุ้นด้วยว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไรเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุน
นายตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับความเคลื่อนไหวในตลาดหุ้นไทยในช่วง 2 - 3 เดือนข้างหน้านี้ คาดว่ายังคงมีโอกาสที่จะซึมลงไปอีก ซึ่งในการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นนั้น หากจะปรับขึ้นหรือลงคงเป็นไปในทิศทางที่ไม่มากนัก เนื่องจากมองว่านักลงทุนได้ตอบรับกับข่าวร้ายและราคาหุ้นได้สะท้อนไปแล้ว ซึ่งหลังจากนี้ เริ่มเห็นสัญญาณว่านักลงทุนเริ่มจะตอบรับกับข่าวดีในทิศทางที่มากกว่าข่าวร้าย โดยเริ่มเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับตลาดหุ้น
ทั้งนี้ คาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไม่น่าจะลงไปถึง 380 - 400 จุด เนื่องจากว่าราคาหุ้นตอบรับข่าวร้ายไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม บลจ. ธนชาต ยังมองว่าเศรษฐกิจโดยรวมน่าจะถึงจุดเลวร้ายสุดในปลายปีนี้ หรืออาจจะเป็นช่วงต้นปี 2553 และคงต้องใช้ระยะเวลาสักระยะที่เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว
"ในส่วนของปัจจัยการเมืองภายในประเทศ ต้องยอมรับว่าเป็นประเด็นที่กดดันต่อการลงทุน เนื่องจากนักลงทุนจะกังวล และบางส่วนอาจจะชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ แต่ทั้งนี้ หากการชุมนุมไม่กระทบถึงภาพรวมของเศรษฐกิจ ก็ไม่น่าจะมีผลต่อบรรยากาศการลงทุนมากนัก เพราะการชุมนุมก็เป็นสิ่งที่ทั่วโลกมีการปฎิบัติกัน แต่ทั้งหมดต้องอยู่บนกรอบของกฎหมาย" นายตระกูลจิตร กล่าว
ด้าน อรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิรมล ผู้อำนวยการสายงานจัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) เอสซีบี ควอนท์ จำกัด เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดหุ้นในไตรมาสที่ 2 จะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ปัจจัยด้วยกัน นั่นคือ ปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ
สำหรับปัจจัยภายนอกนั้นได้แก่ ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ที่จะมีการประกาศออกมาว่าจะมีแนวโน้มเป็นเช่นไร หากตัวเลขที่ออกมาบ่งบอกถึงผลกำไรบริษัทของบริษัทจดทะเบียน นั้นหมายถึงเศรษฐกิจมีจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น แต่หากตัวเลขเศรษฐกิจที่ได้ประกาศออกมานั่นย่ำแย่กว่าที่นักวิเคราะห์ได้ประมาณการณ์ไว้ ก็จะทำให้นักลงทุนบางส่วนชะลอการลงทุนในสหรัฐ ซึ่งตลาดหุ้นไทยจะได้รับอานิสงส์จากการกลับเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ
ส่วนปัจจัยที่สอง คือ ปัจจัยภายในประเทศ หรือ เศรษฐกิจภายในประเทศ เพราะถ้าหากว่าปัจจัยภายนอกปรับตัวดีขึ้นทั้งหมด แต่ปัจจัยภายในไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้านการเมืองที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ เข้ามากระทบให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว เนื่องจากนักลงทุนไม่มีความมั่นใจและไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะรุนแรง และยาวนานเพียงใด ซึ่งอาจจะทำให้ตลาดหุ้นไทยไม่ปรับตัวตามตลาดหุ้นทั่วโลก
“อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทางการเมืองที่เกิดขึ้น ถือเป็นผลกระทบทางอ้อมต่อตลาดหุ้นภายในประเทศ เพราะทำให้บรรยากาศโดยรวมของการลงทุนไม่ดีนัก นักลงทุนเกิดความวิตกกังวลไม่กล้าที่จะเข้ามาลงทุน จนอาจจะส่งผลให้มีการเทขายหุ้นออกมาอีกครั้ง และอาจจะทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงไปกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ รวมไปถึงจีดีพีในปีนี้ ที่คาดว่าจะติดลบเพียงเล็กน้อย อาจจะติดลบเพิ่มมากขึ้น”นายอรุณกล่าว
นายอรุณศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของนักลงทุนต่างชาติที่ผ่านมา พบว่าเริ่มกลับเข้ามาเข้าลงทุนในตลาดหุ้นไทยบ้างแล้ว แต่เป็นการซื้อเพียงเล็กน้อย ไม่เหมือนก่อนหน้านี้ที่มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนต่อวันเป็นหมื่นล้าน แต่การเข้ามาซื้อในครั้งนี้ อาจจะเป็นการเข้ามาซื้อเพื่อขายทำกำไรระยะสั้นก็เป็นไปได้ ดังนั้นนักลงทุนจะต้องดูความต่อเนื่องในการเข้ามาลงทุนด้วย
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าไตรมาส 2 ของปีนี้แนวโน้มของตลาดหุ้นไทยน่าจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากว่าความเสี่ยงของการลงทุนปรับตัวลดลง จึงให้การลงทุนในตลาดหุ้นน่าสนใจมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาราคาหุ้นปรับตัวลดลงมาต่ำกว่าราคาพื้นฐานมาก จึงอยากให้นักลงทุนที่สนใจควรที่จะเลือกลงทุนในหุ้นเป็นรายตัวไป
นายวรรธนะ วงศ์สีนิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. ฟิลลิป กล่าวว่า สำหรับภาวะตลาดหุ้นในไตรมาส 2 นั้น ยังคงซึมๆ อยู่ แม้ดัชนีจะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ทำให้บรรยากกาศการลงทุนคึกคักมากนัก เนื่องจากคาดว่าดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพราะตลาดหุ้นขณะนี้ ยังมีความแข็งแกร่งไม่มากนัก อีกทั้งไม่มีปัจจัยบวกที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจโลกได้ จึงก่อให้เกิดการชะลอการลงทุนจากนักลงทุนที่กลัวความเสี่ยง
ขณะเดียวกัน ปัจจัยทางด้านการเมืองในประเทศที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวลดลง เนื่องจากการขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้นจะมีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าหากเศรษฐกิจทั่วโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นมา ตลาดหุ้นในประเทศก็จะปรับตัวเพิ่มขึ้นและเริ่มฟื้นตัวเร็วกว่าที่หลายๆฝ่ายได้คาดการณ์กันเอาไว้
ทั้งนี้ จากที่ภาครัฐ และรัฐบาลทั่วโลก ได้มีการออกมาตรการต่างๆเพื่อมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้ดีขึ้นนั้น ขณะนี้ เม็ดเงินที่ภาครัฐฉีดเข้าระบบนั้นยังไม่เริ่มมีการหมุนเวียนในระบบอย่างที่ภาครับต้องการ จำเป็นที่จะต้องใช้ระยะเวลาเป็นเดือนกว่าจะเห็นผล แต่จากจิตวิทยานั้นถือเป็นปัจจัยบวกที่จะทำให้นักลงทุนเริ่มที่จะกลับเข้ามาลงทุน
“เรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการแจกเช็คช่วยชาติก็มีผล โดยประชาชนทั่วไปนำไปใช้จ่ายทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้าระบบมากขึ้น แต่ก็มีประชาชนอีกประมาณ 80% ที่ยังเช็คไว้กับตัวไม่ยอมนำออกมาใช้ ซึ่งไม่เป็นไปตามความต้องการของรัฐบาล”นายวรรธนะกล่าว
นอกจากนี้ การที่จะให้นักลงทุนกลับมาลงทุนในกองทุนหุ้น จะต้องรอดูสถานการณ์ โดยรวมก่อนว่าเป็นอย่างไร หากว่าธุรกิจต่างๆดี แบงก์มีความแข็งแกร่งพอ ไม่ล้มละลายเหมือนที่ผ่านมา อีกทั้งปัจจัยทางการเมืองได้รับการแก้ไข หรือไม่ก่อให้เกิดความรุนแรงมากนัก จะทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน เพราะราคาหุ้นในช่วงนี้ถึงแม้ว่าจะถูก และสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้นักลงทุนได้ แต่นักลงทุนก็ยังคงกังวลกับปัจจัยลบต่างที่กำลังจะเกิดขึ้น จึงยังไม่กล้ากลับเข้ามาลงทุนมากนัก
นายสมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บลจ. วรรณ กล่าวว่า ในส่วนของมาตรการที่ภาครัฐทั้งในและต่างประเทศได้ออกมาเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น จะช่วยส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางออม โดยสามารถเรียกความเชื่อความจากนักลงทุนให้กลับเข้ามาลงทุนได้อีกครั้ง แต่การลงทุนในตลาดหุ้นนั้นค่อนข้างที่จะมีความผันผวน การลงทุนจึงควรเพิ่มความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ และให้มีการจัดพอร์ตการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพราะระบบเศรษฐกิจคงต้องอาศัยระยะเวลาที่จะทำให้อยู่ตัวมากกว่านี้และทำให้อยู่ในภาวะถดถอยน้อยลง
อย่างไรก็ตาม การที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้นักลงทุนเริ่มที่จะกลับมาลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น เพราะเมื่อเทียบผลตอบแทนที่ได้รับมีมากกว่าการนำเงินไปฝากธนาคารเพื่อรับดอกเบี้ยเงินฝาก โดยนักลงทุนจะมองหุ้นที่มีการจ่ายปันผล อีกทั้งราคาหุ้นไม่สูงมากนักเข้ามาไว้ในพอร์ตการลงทุน ทั้งนี้หากข่าวร้ายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเริ่มคลี่คลายลงนักลงทุนจึงควรที่จะดูพัฒนาการของตลาดหุ้นด้วยว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไรเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุน