โยแมน
yeomanwarders-dailymanager@yahoo.com
หลังจากจบห้วนๆไปในครั้งที่แล้วถึงการมองแนวโน้มเศรษฐกิจ และคำแนะนำการลงทุนจากมือโปร “อยุทธ์ ชาญเศรษฐิกุล” อดีตผู้จัดการกองทุนแถวหน้าที่ได้รับการยอมรับในวงการ มีประสบการณ์ด้านการบริหารเงินลงทุนมายาวนาน เคยบริหารกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลขนาดใหญ่ของประเทศมาอย่างโชกโชน ก่อนผันตนเองมาเป็นอาจารย์พิเศษของคณะเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรเศรษฐศาสตร์นานาชาติ (EBA) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน
ครั้งที่แล้วเน้นหนักการลงทุนในตราสารหนี้สำหรับคนขี้กลัวหน่อย แต่ครั้งนี้เราจะเจาะลึกด้านการลงทุนในหุ้น ซึ่งคุณอยุทธ์นั้นเป็นที่รู้กันในวงการว่าเป็นหนึ่งในผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้เป็นอย่างยิ่ง เรามาลองฟังความเห็นของท่านกันต่อครับ
ถาม: อาจารย์แนะการลงทุนสำหรับคนรับความเสี่ยงได้น้อยมากถึงรับความเสี่ยงไม่ได้เลยไปแล้ว แต่ผลตอบแทนก็ออกจะต่ำมาก ไม่ทราบว่าจะมีวิธีการลงทุนใดที่พอจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่านั้นได้ โดยความเสี่ยงไม่มากเกินไปนัก
อาจารย์อยุทธ์:จริงๆแล้วในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำอย่างในปัจจุบัน การให้ได้ผลตอบแทนประมาณ 5 – 10% ไม่ใช่ว่าจะหาไม่ได้ซะทีเดียว เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงที่ไหนมีวิกฤติก็ย่อมต้องมีโอกาสอยู่ด้วยเสมอ ขึ้นกับว่าเราจะให้โอกาสตัวเองในการมองหาโอกาสนั้นรึเปล่า แต่แน่นอนว่าเราต้องพร้อมรับความเสี่ยงหรือความผันผวนที่จะเกิดกับเงินต้นที่นำไปลงทุนด้วย อย่างที่บอกว่าหากต้องการผลตอบแทน 5-10% โดยไม่หวือหวามาก นอกเหนือจากลงทุนในหุ้นกู้ที่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญในการคัดเลือกแล้ว การลงทุนที่น่าสนใจอีกอันหนึ่ง ก็คือการลงทุนในหลักทรัพย์ ที่มีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอ หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่า หุ้นปันผล ซึ่งคนส่วนใหญ่มักนึกถึง หุ้นของบริษัทใหญ่ๆ หรือที่ในวิชาชีพเราเรียกกันว่า หุ้น Blue Chips เท่านั้น แต่คำนิยามของผม ณ ที่นี้ จะแคบไปกว่านั้นอีก คือไม่ใช่บริษัทขนาดใหญ่ที่มีผลประกอบการขึ้นๆลงตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม หรือที่เราเรียกกันว่า Cyclical Companies
ถาม: ที่ว่าไม่ใช่หุ้น Cyclical Companies นี่อาจารย์ขยายความสักนิดได้ไหมครับว่าทำไม แล้วก็เอ่อ.....หมายถึงหุ้นอะไรกันแน่ (คือผมแปลไม่ค่อยจะออก......แหะๆ)
ก็คือโดยทั่วไปแล้ว นักลงทุนมักจะพิจารณาซื้อหุ้นปันผลจากผลประกอบการในอดีต โดยคิดว่าผลประกอบการที่คาดหวังในอนาคตจะใกล้เคียงกันกับในอดีต แต่หุ้นกลุ่ม Cyclical Companies นี้มักจะมีผลประกอบการที่ขึ้นๆลงตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งหากเป็นในช่วงปกติหรือเศรษฐกิจขาขึ้น นักลงทุนทั่วไปอาจจะดูไม่ออก แต่ในภาวะเศรษฐกิจขาลงอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จะเห็นได้ชัดว่าความสามารถในการทำกำไรของบริษัทเหล่านี้ลดลง ส่งผลโดยตรงไปยังอัตราเงินปันผลให้ลดลงเช่นกัน สำหรับตัวอย่างของหุ้นในกลุ่มนี้ก็ได้แก่ น้ำมัน ปิโตรเคมี สินค้าภาคอุตสาหกรรม และกลุ่มการเงินการธนาคาร เป็นต้น
ถาม: ถ้าอย่างนั้นหุ้นที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนได้ประมาณ 5-10% ต่อปีโดยมีความผันผวนน้อย ในความหมายของอาจารย์คือหุ้นกลุ่มไหน พอจะบอกได้หรือไม่ครับ แล้วปันผลสูงขนาดนี้ได้จริงๆหรือเปล่า
อาจารย์อยุทธ์: ผลตอบแทนในที่นี้คาดว่าจะอยู่ในรูปเงินปันผลประมาณ 4-5% ต่อปี แต่ในระยะยาวมีโอกาสได้กำไรส่วนเกินทุนอีก ดังนั้นผลตอบแทนโดยรวมน่าจะอยู่ได้ที่ประมาณ 5-10% ต่อปี โดยมองว่ากลุ่มสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภค หรือที่เรียกว่า Consumer Staples เป็นกลุ่มเป้าหมายเพราะผลประกอบการจะไม่ผันผวนมากนัก เนื่องจากทำธุรกิจเกี่ยวกับพวกของกินของใช้ในชีวิตประจำวันของผู้คน เศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดีผู้คนก็ยังต้องบริโภคกันอยู่ดี
ถาม: แล้วเราจะมีวิธีเลือกลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้อย่างไรบ้างครับ
อาจารย์อยุทธ์:หากเป็นไปได้ควรเลือกลงทุนในกิจการที่มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่สูง และไม่มีภาระหนี้สินที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย ซึ่งในจุดนี้คงต้องใช้ความรู้ทางการเงินเข้ามาช่วยด้วย หรืออาศัยบทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ใช้บริการอยู่ โดยในทางการเงินแล้ว กิจการควรจะมีอัตราส่วนทางการเงินอย่างเช่น Price to Cash Flow per Share, Market Capitalization to Cash Flow from Operation หรือ Market Capitalization to Earning Before Interest Tax Depreciation and Amortization ในระดับไม่เกิน 8 เท่า หรือยิ่งน้อยเท่าไรยิ่งดี และจะดีมากๆถ้าในฝั่งขวาของงบดุลจะมีแต่เจ้าหนี้การค้า หรือ ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายต่างๆ อะไรเหล่านี้เป็นต้นที่ไม่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย
ถึงแม้ว่าจะผ่าน Screen Test ด้านอัตราส่วนทางการเงินมาแล้ว ต้องมาดูรายได้ของบริษัท หรือที่เรียกกันว่า Top Line และ กำไรสุทธิ หรือที่เรียกกันว่า Bottom Line ด้วยว่าต้องมีอัตราการเติบโตด้วย เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว เราอาจจะได้ลงทุนในกิจการที่อยู่ในวัฏจักรขาลงก็ได้
นอกจากนั้นต้องลงไปดูให้ลึกว่า กิจการนั้นๆมีเงินสดจากการดำเนินงานจริงๆหรือเปล่าที่นำมาจ่ายปันผล เพราะในทางปฏิบัติบริษัทหลายๆแห่งใช้วิธีกู้เงินมาจ่ายปันผล ซึ่งถ้ากิจการยังมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานอยู่ก็ดีไป แต่ถ้าหากเกิดวิกฤติ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด การจ่ายเงินปันผลอาจจะสะดุดลงได้
ถาม: เอ่อ.....สัดส่วนของอาจารย์นี่ไม่ค่อยคุ้นหูเลยครับ ไม่ทราบว่าถ้าเราจะใช้แค่ค่า P/E นี่จะพอจะได้ไหมครับ
อาจารย์อยุทธ์: ค่า P/E ratio หรือ ราคาหลักทรัพย์ต่อกำไรต่อหุ้นนั้น ถึงแม้ว่าจะง่ายต่อการเข้าใจ แต่ก็แฝงไว้ด้วยรายการซ่อนเร้นหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นรายการที่นานๆเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง หรือค่าใช้จ่ายและรายได้บางอย่างที่ไม่ใช่เงินสด รายการต่างๆเหล่านี้อาจทำให้ความแม่นยำในการวิเคราะห์ถึงความสามารถในการจ่ายเงินปันผลของกิจการถูกบิดเบือนไปได้ หลักๆคงพูดได้แค่นี้ เพราะถ้าลงรายละเอียดลึกๆ คงต้องพูดกันหลายชั่วโมง
สรุปก็คือถ้าเพียงอ่านข่าวหรือบทวิเคราะห์ต่างๆที่บอกว่าตลาดถูก ราคาหลักทรัพย์ถูกมากๆแล้ว เพราะค่า P/E ของกิจการ หรือของตลาดเราต่ำมากแล้ว ลงทุนได้แลยนั้น คงไม่สามารถรับรองได้ว่าจะได้หุ้นที่มีปันผลสม่ำเสมอจริง ดังนั้นหากจะลงทุนเราต้องลงไปดูในรายละเอียดให้มากกว่านี้
ถาม: ฟังแล้วเหมือนมีแต่ข้อดี ไม่ทราบว่าการลงทุนในหุ้นเหล่านี้ มีข้อจำกัดอะไรบ้างหรือไม่ครับ
อาจารย์อยุทธ์:ข้อจำกัดที่เห็นอยู่ทั่วไปในหุ้นกลุ่มนี้ก็เห็นจะเป็นเรื่องสภาพคล่องของหลักทรัพย์ที่น่าจะเป็นปัญหาในการลงทุน เพราะสภาพคล่องที่มีอยู่ค่อนข้างจะต่ำ ซึ่งน่าจะเป็นเหตุผลให้เราไม่ได้เห็นบริษัทหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ผลิตบทวิเคราะห์ของบริษัทดีๆเหล่านี้มากนัก เพราะไม่สามารถทำธุรกิจต่อเนื่องจากการซื้อขายหลักทรัพย์ได้ นอกจากนี้หุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคยังน่าจะเหมาะกับภาวะการลงทุนในช่วงนี้ที่เศรษฐกิจไม่ดีมากกว่า แต่ถ้าเศรษฐกิจมีแนวโน้มจะดีขึ้น โดยเป็นแนวโน้มใหญ่ เราก็ควรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงพอร์ตการลงทุนเช่นเดียวกัน โดยเพิ่มกลุ่มของกิจการขนาดใหญ่ที่มีผลประกอบการขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจ อย่าง Cyclical Companies เข้ามาด้วย เพราะผลประกอบการในอนาคตน่าจะดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ และเงินปันผลก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย
โอ้โฮ.......ได้ความรู้นอกตำรามาเพียบครับ ช่วยให้ผมหูตาสว่างวาบขึ้นมาทันที แต่ยังครับ ยังไม่จบ........อดใจรอไฮไลต์เคล็ดลับครั้งหน้าได้ที่ Money DIY ที่นี่ที่เดียว
yeomanwarders-dailymanager@yahoo.com
หลังจากจบห้วนๆไปในครั้งที่แล้วถึงการมองแนวโน้มเศรษฐกิจ และคำแนะนำการลงทุนจากมือโปร “อยุทธ์ ชาญเศรษฐิกุล” อดีตผู้จัดการกองทุนแถวหน้าที่ได้รับการยอมรับในวงการ มีประสบการณ์ด้านการบริหารเงินลงทุนมายาวนาน เคยบริหารกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลขนาดใหญ่ของประเทศมาอย่างโชกโชน ก่อนผันตนเองมาเป็นอาจารย์พิเศษของคณะเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรเศรษฐศาสตร์นานาชาติ (EBA) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน
ครั้งที่แล้วเน้นหนักการลงทุนในตราสารหนี้สำหรับคนขี้กลัวหน่อย แต่ครั้งนี้เราจะเจาะลึกด้านการลงทุนในหุ้น ซึ่งคุณอยุทธ์นั้นเป็นที่รู้กันในวงการว่าเป็นหนึ่งในผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้เป็นอย่างยิ่ง เรามาลองฟังความเห็นของท่านกันต่อครับ
ถาม: อาจารย์แนะการลงทุนสำหรับคนรับความเสี่ยงได้น้อยมากถึงรับความเสี่ยงไม่ได้เลยไปแล้ว แต่ผลตอบแทนก็ออกจะต่ำมาก ไม่ทราบว่าจะมีวิธีการลงทุนใดที่พอจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่านั้นได้ โดยความเสี่ยงไม่มากเกินไปนัก
อาจารย์อยุทธ์:จริงๆแล้วในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำอย่างในปัจจุบัน การให้ได้ผลตอบแทนประมาณ 5 – 10% ไม่ใช่ว่าจะหาไม่ได้ซะทีเดียว เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงที่ไหนมีวิกฤติก็ย่อมต้องมีโอกาสอยู่ด้วยเสมอ ขึ้นกับว่าเราจะให้โอกาสตัวเองในการมองหาโอกาสนั้นรึเปล่า แต่แน่นอนว่าเราต้องพร้อมรับความเสี่ยงหรือความผันผวนที่จะเกิดกับเงินต้นที่นำไปลงทุนด้วย อย่างที่บอกว่าหากต้องการผลตอบแทน 5-10% โดยไม่หวือหวามาก นอกเหนือจากลงทุนในหุ้นกู้ที่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญในการคัดเลือกแล้ว การลงทุนที่น่าสนใจอีกอันหนึ่ง ก็คือการลงทุนในหลักทรัพย์ ที่มีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอ หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่า หุ้นปันผล ซึ่งคนส่วนใหญ่มักนึกถึง หุ้นของบริษัทใหญ่ๆ หรือที่ในวิชาชีพเราเรียกกันว่า หุ้น Blue Chips เท่านั้น แต่คำนิยามของผม ณ ที่นี้ จะแคบไปกว่านั้นอีก คือไม่ใช่บริษัทขนาดใหญ่ที่มีผลประกอบการขึ้นๆลงตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม หรือที่เราเรียกกันว่า Cyclical Companies
ถาม: ที่ว่าไม่ใช่หุ้น Cyclical Companies นี่อาจารย์ขยายความสักนิดได้ไหมครับว่าทำไม แล้วก็เอ่อ.....หมายถึงหุ้นอะไรกันแน่ (คือผมแปลไม่ค่อยจะออก......แหะๆ)
ก็คือโดยทั่วไปแล้ว นักลงทุนมักจะพิจารณาซื้อหุ้นปันผลจากผลประกอบการในอดีต โดยคิดว่าผลประกอบการที่คาดหวังในอนาคตจะใกล้เคียงกันกับในอดีต แต่หุ้นกลุ่ม Cyclical Companies นี้มักจะมีผลประกอบการที่ขึ้นๆลงตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งหากเป็นในช่วงปกติหรือเศรษฐกิจขาขึ้น นักลงทุนทั่วไปอาจจะดูไม่ออก แต่ในภาวะเศรษฐกิจขาลงอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จะเห็นได้ชัดว่าความสามารถในการทำกำไรของบริษัทเหล่านี้ลดลง ส่งผลโดยตรงไปยังอัตราเงินปันผลให้ลดลงเช่นกัน สำหรับตัวอย่างของหุ้นในกลุ่มนี้ก็ได้แก่ น้ำมัน ปิโตรเคมี สินค้าภาคอุตสาหกรรม และกลุ่มการเงินการธนาคาร เป็นต้น
ถาม: ถ้าอย่างนั้นหุ้นที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนได้ประมาณ 5-10% ต่อปีโดยมีความผันผวนน้อย ในความหมายของอาจารย์คือหุ้นกลุ่มไหน พอจะบอกได้หรือไม่ครับ แล้วปันผลสูงขนาดนี้ได้จริงๆหรือเปล่า
อาจารย์อยุทธ์: ผลตอบแทนในที่นี้คาดว่าจะอยู่ในรูปเงินปันผลประมาณ 4-5% ต่อปี แต่ในระยะยาวมีโอกาสได้กำไรส่วนเกินทุนอีก ดังนั้นผลตอบแทนโดยรวมน่าจะอยู่ได้ที่ประมาณ 5-10% ต่อปี โดยมองว่ากลุ่มสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภค หรือที่เรียกว่า Consumer Staples เป็นกลุ่มเป้าหมายเพราะผลประกอบการจะไม่ผันผวนมากนัก เนื่องจากทำธุรกิจเกี่ยวกับพวกของกินของใช้ในชีวิตประจำวันของผู้คน เศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดีผู้คนก็ยังต้องบริโภคกันอยู่ดี
ถาม: แล้วเราจะมีวิธีเลือกลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้อย่างไรบ้างครับ
อาจารย์อยุทธ์:หากเป็นไปได้ควรเลือกลงทุนในกิจการที่มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่สูง และไม่มีภาระหนี้สินที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย ซึ่งในจุดนี้คงต้องใช้ความรู้ทางการเงินเข้ามาช่วยด้วย หรืออาศัยบทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ใช้บริการอยู่ โดยในทางการเงินแล้ว กิจการควรจะมีอัตราส่วนทางการเงินอย่างเช่น Price to Cash Flow per Share, Market Capitalization to Cash Flow from Operation หรือ Market Capitalization to Earning Before Interest Tax Depreciation and Amortization ในระดับไม่เกิน 8 เท่า หรือยิ่งน้อยเท่าไรยิ่งดี และจะดีมากๆถ้าในฝั่งขวาของงบดุลจะมีแต่เจ้าหนี้การค้า หรือ ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายต่างๆ อะไรเหล่านี้เป็นต้นที่ไม่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย
ถึงแม้ว่าจะผ่าน Screen Test ด้านอัตราส่วนทางการเงินมาแล้ว ต้องมาดูรายได้ของบริษัท หรือที่เรียกกันว่า Top Line และ กำไรสุทธิ หรือที่เรียกกันว่า Bottom Line ด้วยว่าต้องมีอัตราการเติบโตด้วย เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว เราอาจจะได้ลงทุนในกิจการที่อยู่ในวัฏจักรขาลงก็ได้
นอกจากนั้นต้องลงไปดูให้ลึกว่า กิจการนั้นๆมีเงินสดจากการดำเนินงานจริงๆหรือเปล่าที่นำมาจ่ายปันผล เพราะในทางปฏิบัติบริษัทหลายๆแห่งใช้วิธีกู้เงินมาจ่ายปันผล ซึ่งถ้ากิจการยังมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานอยู่ก็ดีไป แต่ถ้าหากเกิดวิกฤติ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด การจ่ายเงินปันผลอาจจะสะดุดลงได้
ถาม: เอ่อ.....สัดส่วนของอาจารย์นี่ไม่ค่อยคุ้นหูเลยครับ ไม่ทราบว่าถ้าเราจะใช้แค่ค่า P/E นี่จะพอจะได้ไหมครับ
อาจารย์อยุทธ์: ค่า P/E ratio หรือ ราคาหลักทรัพย์ต่อกำไรต่อหุ้นนั้น ถึงแม้ว่าจะง่ายต่อการเข้าใจ แต่ก็แฝงไว้ด้วยรายการซ่อนเร้นหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นรายการที่นานๆเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง หรือค่าใช้จ่ายและรายได้บางอย่างที่ไม่ใช่เงินสด รายการต่างๆเหล่านี้อาจทำให้ความแม่นยำในการวิเคราะห์ถึงความสามารถในการจ่ายเงินปันผลของกิจการถูกบิดเบือนไปได้ หลักๆคงพูดได้แค่นี้ เพราะถ้าลงรายละเอียดลึกๆ คงต้องพูดกันหลายชั่วโมง
สรุปก็คือถ้าเพียงอ่านข่าวหรือบทวิเคราะห์ต่างๆที่บอกว่าตลาดถูก ราคาหลักทรัพย์ถูกมากๆแล้ว เพราะค่า P/E ของกิจการ หรือของตลาดเราต่ำมากแล้ว ลงทุนได้แลยนั้น คงไม่สามารถรับรองได้ว่าจะได้หุ้นที่มีปันผลสม่ำเสมอจริง ดังนั้นหากจะลงทุนเราต้องลงไปดูในรายละเอียดให้มากกว่านี้
ถาม: ฟังแล้วเหมือนมีแต่ข้อดี ไม่ทราบว่าการลงทุนในหุ้นเหล่านี้ มีข้อจำกัดอะไรบ้างหรือไม่ครับ
อาจารย์อยุทธ์:ข้อจำกัดที่เห็นอยู่ทั่วไปในหุ้นกลุ่มนี้ก็เห็นจะเป็นเรื่องสภาพคล่องของหลักทรัพย์ที่น่าจะเป็นปัญหาในการลงทุน เพราะสภาพคล่องที่มีอยู่ค่อนข้างจะต่ำ ซึ่งน่าจะเป็นเหตุผลให้เราไม่ได้เห็นบริษัทหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ผลิตบทวิเคราะห์ของบริษัทดีๆเหล่านี้มากนัก เพราะไม่สามารถทำธุรกิจต่อเนื่องจากการซื้อขายหลักทรัพย์ได้ นอกจากนี้หุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคยังน่าจะเหมาะกับภาวะการลงทุนในช่วงนี้ที่เศรษฐกิจไม่ดีมากกว่า แต่ถ้าเศรษฐกิจมีแนวโน้มจะดีขึ้น โดยเป็นแนวโน้มใหญ่ เราก็ควรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงพอร์ตการลงทุนเช่นเดียวกัน โดยเพิ่มกลุ่มของกิจการขนาดใหญ่ที่มีผลประกอบการขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจ อย่าง Cyclical Companies เข้ามาด้วย เพราะผลประกอบการในอนาคตน่าจะดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ และเงินปันผลก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย
โอ้โฮ.......ได้ความรู้นอกตำรามาเพียบครับ ช่วยให้ผมหูตาสว่างวาบขึ้นมาทันที แต่ยังครับ ยังไม่จบ........อดใจรอไฮไลต์เคล็ดลับครั้งหน้าได้ที่ Money DIY ที่นี่ที่เดียว