คอลัมน์ ถนนสู่การลงทุน
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
การลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์ส ผู้ลงทุนจะประสบความสำเร็จในการลงทุนได้นั้น ผู้ลงทุนจำเป็นต้องมีความรู้และต้องมีการศึกษาถึงกลวิธี หรือกลยุทธ์ในการลงทุนให้ถี่ถ้วนก่อนการลงทุน และต้องมีการอบรม ศึกษาถึงกลยุทธ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพราะการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ ประเภทฟิวเจอร์ส หรือประเภทอื่น ๆ นั้น มีความเสี่ยงในการลงทุนค่อนข้างสูง
การลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์สนั้นใช้เงินลงทุนน้อย เนื่องจากผู้ลงทุนไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินทั้งจำนวนในการซื้อขาย ผู้ลงทุนเพียงแค่วางเงินประกันแค่ 1 ใน 10 ของมูลค่าสัญญา หากผู้ลงทุนลงทุนซื้อทองคำจริง ผู้ลงทุนต้องจ่ายเงินเต็มมูลค่า สมมติราคาทองคำน้ำหนักบาทละ 18,000 บาท หากผู้ลงทุนซื้อทองคำหนัก 50 บาท เพื่อหวังจะทำกำไรในอนาคต ผู้ลงทุนจะต้องมีเงินลงทุนสูงถึง 900,000 บาท แต่การลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์สนั้น ผู้ลงทุนจะจ่ายประมาณ 1 ใน 10 ของมูลค่าสัญญเพื่อเป็นเงินลงทุนเริ่มแรก (ทั้งนี้เงินลงทุนเริ่มแรกนี้ จะมีการปรับตามกลไกตลาด ซึ่งทางตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จะต้องเป็นผู้ประกาศ)
การลงทุนด้วยเงินที่มีมูลค่าน้อยใน โกลด์ฟิวเจอร์ส นั้น หากผู้ลงทุนได้กำไร กำไรก็จะเป็นอัตราส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับเงินลงทุน เพราะลงทุน ด้วยเงินน้อย แต่ได้รับผลตอบแทนสูง และในทางกลับกันหากผู้ลงทุนขาดทุน การขาดทุนนั้นก็จะเป็นอัตราส่วนที่สูงเช่นเดียวกัน เพราะผู้ลงทุนอาจสูญเสียทั้งเงินที่วางเป็นหลักประกันขั้นต้น และอาจถูกเรียก Margin Call ได้ในอีกหลายโอกาส
การเปลี่ยนแปลงของราคาทองคำ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศก็เป็นปัจจัยที่ผู้ลงทุนควรคำนึงในการซื้อขาย เพราะโดยปกติแล้วราคาทองคำจะเคลื่อนไหวสวนทาง หรือเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกับอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาท หรือเงินสกุลหลักอื่น ๆ ทั่วโลก จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ลงทุนควรติดตามให้ความสนใจ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมุลประกอบในการตัดสินใจในการลงทุนได้
ลักษณะของสัญญาฟิวเจอร์สนั้นจะมีอายุจํากัด ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนในหุ้น และการลงทุนโดยการซื้อทองคำจริง ซึ่งการลงทุนแบบนี้จะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์จริง ๆ จึงไม่มีวันหมดอายุ แต่หากผู้ลงทุนถือโกลด์ฟิวเจอร์สไปจนถึงวันครบอายุสัญญา ตามที่ได้ระบุไว้ในสัญญา ก็จะมีการปิดสถานะของสัญญาให้ผู้ลงทุนโดยอัตโนมัติ ผู้ลงทุนจะได้กำไรขาดทุนเท่ากับส่วนต่างระหว่าง ราคาที่ซื้อหรือขายฟิวเจอร์สไว้ และราคาที่ใช้ชำระราคาวันสุดท้าย
ดังนั้นผู้ลงทุนจึงควรที่จะรู้จักกับระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ก่อนตัดสินใจลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์ส และควรติดตามสถานะการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เพราะการเคลื่อนไหวของตลาดอนุพันธ์ จะมีการเคลื่อนไหวที่ไวกว่าตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น โอกาสในการทำกำไรและโอกาสในการขาดทุน จึงมีโอกาสในการเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว
ผู้ลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์สนั้น โดยทั่วไปจะเป็นนักลงทุนที่ต้องการเข้ามาเพื่อเก็งกำไร แต่ในทางปฏิบัติแล้วนักลงทุนในตราสารอนุพันธ์นั้นสามารถกำหนดได้ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1.ผู้ที่ต้องการใช้ตราสารอนุพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยง (Hedger) คือ ผู้ที่เข้ามาลงทุนในตราสารอนุพันธ์ เพื่อสาเหตุหลัก คือ การป้องกันความเสี่ยง โดยที่ผู้ลงทุนอาจจะเป็นผู้ที่มีทองคำอยู่ในครอบครอง แต่คาดว่าราคาทองคำนั้นจะมีแนวโน้มลดลง กลัวว่าตนเองนั้นจะขายทองคำออกได้ไม่ทัน เมื่อราคาทองคำมีแนวโน้มลดลงจึงทำการขายโกลด์ฟิเวอจร์ส เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการลดลงของราคาทองคำในอนาคต แต่ถ้าผู้ลงทุนไม่มีทองคำอยู่ในครอบครองแต่มีความต้องการที่จะซื้อทองคำในอนาคต แต่กลัวว่าราคาทองคำจะแพงขึ้น จึงทำการซื้อโกลด์ฟิวเจอร์ส เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของราคาทองคำในอนาคต
2.ผู้ที่ต้องการเก็งกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาทองคำ (Speculator) คือ ผู้ที่เข้ามาลงทุนเพื่อหวังส่วนต่างของราคาซื้อขายในอนาคต กับราคาสินทรัพย์จริง โดยผู้ลงทุนแบบนี้จะยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ หากราคาไม่เป็นไปตามที่ได้คาดไว้ โดยหลักการในการลงทุนคือ ผู้ลงทุนจะซื้อโกล์ดฟิวเจอร์ส เมื่อคาดว่าราคาของทองคำจะมีแนวโน้มเพื่อขึ้น เพื่อทำกำไรในอนาคต แต่ผู้ลงทุนจะขายโกลด์ฟิวเจอร์ส เมื่อคาดว่าราคาของทาองคำจะมีแนวโน้มลดลง เพื่อทำกำไรเช่นเดียวกัน แต่หากราคาทองคำไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ผู้ลงทุนเหล่านี้จะมีผลการลงทุนขาดทุนจำนวนมาก
3.ผู้ค้ากำไรจากความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลข่าวสาร (Arbitrageur) คือ ผู้ลงทุนที่ลงทุนในตลาด 2 แห่งพร้อมกัน เพื่อหวังผลจะทำกำไรจาก 2 ตลาด ด้วยเหตุของความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลข่าวสารแต่ความแตกต่างกันของข้อมูลข่าวสารของตลาดนั้นมีไม่นานนัก
การลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์สนั้น ผู้ลงทุนจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลทั้งทางวิชาการ และการปฏิบัติอีกมากในการลงทุน ข้อมูลที่ผู้เขียนแนะนำถึงนี้เป็นข้อมูลในเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ลงทุนมีความเข้าใจในขั้นตอนของการลงทุนเท่านั้น ซึ่งหากผู้ลงทุนต้องการที่จะลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์สจริง ผู้ลงทุนจะต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจลงทุน เพราะมิฉะนั้นผู้ลงทุนจะมีข้อมูลไม่เพียงพอกับการตัดสินใจลงทุน เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสีย และความเสี่ยงในการลงทุนได้ในอนาคต
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
การลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์ส ผู้ลงทุนจะประสบความสำเร็จในการลงทุนได้นั้น ผู้ลงทุนจำเป็นต้องมีความรู้และต้องมีการศึกษาถึงกลวิธี หรือกลยุทธ์ในการลงทุนให้ถี่ถ้วนก่อนการลงทุน และต้องมีการอบรม ศึกษาถึงกลยุทธ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพราะการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ ประเภทฟิวเจอร์ส หรือประเภทอื่น ๆ นั้น มีความเสี่ยงในการลงทุนค่อนข้างสูง
การลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์สนั้นใช้เงินลงทุนน้อย เนื่องจากผู้ลงทุนไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินทั้งจำนวนในการซื้อขาย ผู้ลงทุนเพียงแค่วางเงินประกันแค่ 1 ใน 10 ของมูลค่าสัญญา หากผู้ลงทุนลงทุนซื้อทองคำจริง ผู้ลงทุนต้องจ่ายเงินเต็มมูลค่า สมมติราคาทองคำน้ำหนักบาทละ 18,000 บาท หากผู้ลงทุนซื้อทองคำหนัก 50 บาท เพื่อหวังจะทำกำไรในอนาคต ผู้ลงทุนจะต้องมีเงินลงทุนสูงถึง 900,000 บาท แต่การลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์สนั้น ผู้ลงทุนจะจ่ายประมาณ 1 ใน 10 ของมูลค่าสัญญเพื่อเป็นเงินลงทุนเริ่มแรก (ทั้งนี้เงินลงทุนเริ่มแรกนี้ จะมีการปรับตามกลไกตลาด ซึ่งทางตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จะต้องเป็นผู้ประกาศ)
การลงทุนด้วยเงินที่มีมูลค่าน้อยใน โกลด์ฟิวเจอร์ส นั้น หากผู้ลงทุนได้กำไร กำไรก็จะเป็นอัตราส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับเงินลงทุน เพราะลงทุน ด้วยเงินน้อย แต่ได้รับผลตอบแทนสูง และในทางกลับกันหากผู้ลงทุนขาดทุน การขาดทุนนั้นก็จะเป็นอัตราส่วนที่สูงเช่นเดียวกัน เพราะผู้ลงทุนอาจสูญเสียทั้งเงินที่วางเป็นหลักประกันขั้นต้น และอาจถูกเรียก Margin Call ได้ในอีกหลายโอกาส
การเปลี่ยนแปลงของราคาทองคำ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศก็เป็นปัจจัยที่ผู้ลงทุนควรคำนึงในการซื้อขาย เพราะโดยปกติแล้วราคาทองคำจะเคลื่อนไหวสวนทาง หรือเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกับอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาท หรือเงินสกุลหลักอื่น ๆ ทั่วโลก จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ลงทุนควรติดตามให้ความสนใจ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมุลประกอบในการตัดสินใจในการลงทุนได้
ลักษณะของสัญญาฟิวเจอร์สนั้นจะมีอายุจํากัด ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนในหุ้น และการลงทุนโดยการซื้อทองคำจริง ซึ่งการลงทุนแบบนี้จะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์จริง ๆ จึงไม่มีวันหมดอายุ แต่หากผู้ลงทุนถือโกลด์ฟิวเจอร์สไปจนถึงวันครบอายุสัญญา ตามที่ได้ระบุไว้ในสัญญา ก็จะมีการปิดสถานะของสัญญาให้ผู้ลงทุนโดยอัตโนมัติ ผู้ลงทุนจะได้กำไรขาดทุนเท่ากับส่วนต่างระหว่าง ราคาที่ซื้อหรือขายฟิวเจอร์สไว้ และราคาที่ใช้ชำระราคาวันสุดท้าย
ดังนั้นผู้ลงทุนจึงควรที่จะรู้จักกับระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ก่อนตัดสินใจลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์ส และควรติดตามสถานะการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เพราะการเคลื่อนไหวของตลาดอนุพันธ์ จะมีการเคลื่อนไหวที่ไวกว่าตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น โอกาสในการทำกำไรและโอกาสในการขาดทุน จึงมีโอกาสในการเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว
ผู้ลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์สนั้น โดยทั่วไปจะเป็นนักลงทุนที่ต้องการเข้ามาเพื่อเก็งกำไร แต่ในทางปฏิบัติแล้วนักลงทุนในตราสารอนุพันธ์นั้นสามารถกำหนดได้ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1.ผู้ที่ต้องการใช้ตราสารอนุพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยง (Hedger) คือ ผู้ที่เข้ามาลงทุนในตราสารอนุพันธ์ เพื่อสาเหตุหลัก คือ การป้องกันความเสี่ยง โดยที่ผู้ลงทุนอาจจะเป็นผู้ที่มีทองคำอยู่ในครอบครอง แต่คาดว่าราคาทองคำนั้นจะมีแนวโน้มลดลง กลัวว่าตนเองนั้นจะขายทองคำออกได้ไม่ทัน เมื่อราคาทองคำมีแนวโน้มลดลงจึงทำการขายโกลด์ฟิเวอจร์ส เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการลดลงของราคาทองคำในอนาคต แต่ถ้าผู้ลงทุนไม่มีทองคำอยู่ในครอบครองแต่มีความต้องการที่จะซื้อทองคำในอนาคต แต่กลัวว่าราคาทองคำจะแพงขึ้น จึงทำการซื้อโกลด์ฟิวเจอร์ส เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของราคาทองคำในอนาคต
2.ผู้ที่ต้องการเก็งกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาทองคำ (Speculator) คือ ผู้ที่เข้ามาลงทุนเพื่อหวังส่วนต่างของราคาซื้อขายในอนาคต กับราคาสินทรัพย์จริง โดยผู้ลงทุนแบบนี้จะยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ หากราคาไม่เป็นไปตามที่ได้คาดไว้ โดยหลักการในการลงทุนคือ ผู้ลงทุนจะซื้อโกล์ดฟิวเจอร์ส เมื่อคาดว่าราคาของทองคำจะมีแนวโน้มเพื่อขึ้น เพื่อทำกำไรในอนาคต แต่ผู้ลงทุนจะขายโกลด์ฟิวเจอร์ส เมื่อคาดว่าราคาของทาองคำจะมีแนวโน้มลดลง เพื่อทำกำไรเช่นเดียวกัน แต่หากราคาทองคำไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ผู้ลงทุนเหล่านี้จะมีผลการลงทุนขาดทุนจำนวนมาก
3.ผู้ค้ากำไรจากความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลข่าวสาร (Arbitrageur) คือ ผู้ลงทุนที่ลงทุนในตลาด 2 แห่งพร้อมกัน เพื่อหวังผลจะทำกำไรจาก 2 ตลาด ด้วยเหตุของความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลข่าวสารแต่ความแตกต่างกันของข้อมูลข่าวสารของตลาดนั้นมีไม่นานนัก
การลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์สนั้น ผู้ลงทุนจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลทั้งทางวิชาการ และการปฏิบัติอีกมากในการลงทุน ข้อมูลที่ผู้เขียนแนะนำถึงนี้เป็นข้อมูลในเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ลงทุนมีความเข้าใจในขั้นตอนของการลงทุนเท่านั้น ซึ่งหากผู้ลงทุนต้องการที่จะลงทุนในโกลด์ฟิวเจอร์สจริง ผู้ลงทุนจะต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจลงทุน เพราะมิฉะนั้นผู้ลงทุนจะมีข้อมูลไม่เพียงพอกับการตัดสินใจลงทุน เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสีย และความเสี่ยงในการลงทุนได้ในอนาคต