บลจ.กรุงไทย สนตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค เผยเจรจาหน่วยงานรัฐแล้ว ทั้งกรมทางหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย แต่ยังต้องรอความชัดเจน หลักเกณฑ์จัดตั้งกองทุน จาก ก.ล.ต. ก่อน
นายสมชัย บุญนำสิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทสนใจตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Mutual Fund) ที่ลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคเช่นกัน โดยในขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาการจัดตั้งกองทุนและมีการพูดคุยกับหน่วยงานราชการอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น กรมทางหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้คงต้องรอให้หลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกมาอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมก่อน เนื่องจากยังอยู่ในช่วงของการระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
ทั้งนี้ ในส่วนของหลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนในเบื้องต้น ที่กำหนดให้สามารถลงทุนทั้งในโครงการที่มีรายได้แล้ว และโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างนั้น มองว่า ในส่วนของโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง อาจจะต้องการให้มีเม็ดเงินเข้ามาช่วย ซึ่งในส่วนนี้รัฐเองอาจจะเข้ามาช่วยในช่วงแรก เพื่อจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือหน่วย
ในขณะที่โครงการที่มีรายได้แล้ว ก็มีความจำเป็นในการใช้เงินเช่นกัน ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นการระดมทุนเพื่อลดภาระหนี้สาธารณะ เช่น หากมีการจัดตั้งกองทุนที่ลงทุนในทางด่วนที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว ก็อาจจะนำเงินที่ระดมทุนมาได้ ไปคืนหนี้เก่าที่มีอยู่ หรืออาจะนำเงินไปลงทุนต่อในโครงการอื่นๆ ต่อโดยไม่ต้องให้รัฐบาลค้ำประกัน
นายสมชัยกล่าวว่า สำหรับการจัดตั้งกองทุนนั้น จำเป็นที่จะต้องเป็นกองทุนที่มีมูลค่าโครงการขนาดใหญ่พอสมควร ซึ่งในการจัดตั้งกองทุนเอง ก็ต้องให้ผลตอบแทนที่น่าจูงใจที่จะเข้าไปลงทุนพอสมควร แต่อาจจะไม่สูงมากเท่ากับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) ในปัจจุบัน
ก่อนหน้านี้ สำนักงานก.ล.ต. รายงานความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Mutual Fund) ว่า สำนักงาน ก.ล.ต. ได้จัดรับฟังความคิดเห็นไปบ้างแล้ว ในเบื้องต้นได้กำหนดขนาดกองทุนไว้ที่ 10,000 ล้านบาท โดยให้ลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานได้ทั้งในโครงการที่มีรายได้แล้ว และโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ขณะเดียวกัน ยังอนุญาตให้สามารถแบ่งหน่วยลงทุนเป็นหลายประเภทได้ พร้อมเปิดทางให้กู้ยืมได้ยืดหยุ่นกว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ด้วย อย่างไรก็ตาม ในส่วนนี้ยังต้องศึกษารูปแบบกองทุนชัดเจน ก่อนจะออกเป็นประกาศต่อไป
ทั้งนี้ จากการสำรวจแนวทางจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน จากผู้จัดการกองทุน ให้ความเห็นว่า เห็นว่าควรแก้ไขหลักเกณฑ์ใน 3 ข้อหลักๆ ประการแรก คือ ข้อกำหนดที่ระบุให้กองทุนต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ 80% เนื่องจากมองว่า โครงการลงทุนขนาดใหญ่ๆ ต้องการเงินลงทุนในช่วงแรกมากกว่า ทั้งนี้ หากสำนักงานก.ล.ต. เกรงว่า การลงทุนในช่วงแรกตั้งแต่เริ่มโครงการ อาจจะเป็นความเสี่ยงของนักลงทุน ก็อาจจะแยกคลาสการลงทุนออกมาให้ชัดเจน เช่น การออกหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนชัดเจน เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงมาก และส่วนหนึ่งก็ออกเป็นอิควิตี้คลาส เพื่อเป็นทางเลือกให้นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้มากขึ้น หรือกลุ่มนักลงทุนสถาบัน
ประการที่สองคือ สัดส่วนของนักลงทุนต่างประเทศ อาจจะต้องเปิดโอกาสให้เขาลงทุนได้มากกว่า 49% เพราะโครงการขนาดใหญ่เหล่านี้ ส่วนใหญ่ต้องใช้เงินลงทุนจากต่างประเทศเป็นหลัก และประการสุดท้ายคือ ข้อกำหนดที่ระบุให้ผู้จัดการกองทุน ต้องได้รับใบอนุญาต (ไลเซนต์) จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งข้อนี้ เห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ก็สามารถทำได้ ถึงแม้สำนักงาน ก.ล.ต. จะจัดประเภทกองทุนอยู่ในหมวดเดียวกันกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม
นายสมชัย บุญนำสิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทสนใจตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Mutual Fund) ที่ลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคเช่นกัน โดยในขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาการจัดตั้งกองทุนและมีการพูดคุยกับหน่วยงานราชการอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น กรมทางหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้คงต้องรอให้หลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกมาอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมก่อน เนื่องจากยังอยู่ในช่วงของการระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
ทั้งนี้ ในส่วนของหลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนในเบื้องต้น ที่กำหนดให้สามารถลงทุนทั้งในโครงการที่มีรายได้แล้ว และโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างนั้น มองว่า ในส่วนของโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง อาจจะต้องการให้มีเม็ดเงินเข้ามาช่วย ซึ่งในส่วนนี้รัฐเองอาจจะเข้ามาช่วยในช่วงแรก เพื่อจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือหน่วย
ในขณะที่โครงการที่มีรายได้แล้ว ก็มีความจำเป็นในการใช้เงินเช่นกัน ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นการระดมทุนเพื่อลดภาระหนี้สาธารณะ เช่น หากมีการจัดตั้งกองทุนที่ลงทุนในทางด่วนที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว ก็อาจจะนำเงินที่ระดมทุนมาได้ ไปคืนหนี้เก่าที่มีอยู่ หรืออาจะนำเงินไปลงทุนต่อในโครงการอื่นๆ ต่อโดยไม่ต้องให้รัฐบาลค้ำประกัน
นายสมชัยกล่าวว่า สำหรับการจัดตั้งกองทุนนั้น จำเป็นที่จะต้องเป็นกองทุนที่มีมูลค่าโครงการขนาดใหญ่พอสมควร ซึ่งในการจัดตั้งกองทุนเอง ก็ต้องให้ผลตอบแทนที่น่าจูงใจที่จะเข้าไปลงทุนพอสมควร แต่อาจจะไม่สูงมากเท่ากับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) ในปัจจุบัน
ก่อนหน้านี้ สำนักงานก.ล.ต. รายงานความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Mutual Fund) ว่า สำนักงาน ก.ล.ต. ได้จัดรับฟังความคิดเห็นไปบ้างแล้ว ในเบื้องต้นได้กำหนดขนาดกองทุนไว้ที่ 10,000 ล้านบาท โดยให้ลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานได้ทั้งในโครงการที่มีรายได้แล้ว และโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ขณะเดียวกัน ยังอนุญาตให้สามารถแบ่งหน่วยลงทุนเป็นหลายประเภทได้ พร้อมเปิดทางให้กู้ยืมได้ยืดหยุ่นกว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ด้วย อย่างไรก็ตาม ในส่วนนี้ยังต้องศึกษารูปแบบกองทุนชัดเจน ก่อนจะออกเป็นประกาศต่อไป
ทั้งนี้ จากการสำรวจแนวทางจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน จากผู้จัดการกองทุน ให้ความเห็นว่า เห็นว่าควรแก้ไขหลักเกณฑ์ใน 3 ข้อหลักๆ ประการแรก คือ ข้อกำหนดที่ระบุให้กองทุนต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ 80% เนื่องจากมองว่า โครงการลงทุนขนาดใหญ่ๆ ต้องการเงินลงทุนในช่วงแรกมากกว่า ทั้งนี้ หากสำนักงานก.ล.ต. เกรงว่า การลงทุนในช่วงแรกตั้งแต่เริ่มโครงการ อาจจะเป็นความเสี่ยงของนักลงทุน ก็อาจจะแยกคลาสการลงทุนออกมาให้ชัดเจน เช่น การออกหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนชัดเจน เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงมาก และส่วนหนึ่งก็ออกเป็นอิควิตี้คลาส เพื่อเป็นทางเลือกให้นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้มากขึ้น หรือกลุ่มนักลงทุนสถาบัน
ประการที่สองคือ สัดส่วนของนักลงทุนต่างประเทศ อาจจะต้องเปิดโอกาสให้เขาลงทุนได้มากกว่า 49% เพราะโครงการขนาดใหญ่เหล่านี้ ส่วนใหญ่ต้องใช้เงินลงทุนจากต่างประเทศเป็นหลัก และประการสุดท้ายคือ ข้อกำหนดที่ระบุให้ผู้จัดการกองทุน ต้องได้รับใบอนุญาต (ไลเซนต์) จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งข้อนี้ เห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ก็สามารถทำได้ ถึงแม้สำนักงาน ก.ล.ต. จะจัดประเภทกองทุนอยู่ในหมวดเดียวกันกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม