xs
xsm
sm
md
lg

คอลัมน์ Q&A-RMFเเละLTF

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 คำถาม-เพิ่งจะทราบว่ามีกองทุนเพื่อวัยเกษียณ ให้ลงทุนปีละอย่างน้อย 3 % หรือขั้นต่ำ 5,000.- บาท สนใจอยากมีส่วนร่วม ต้องเริ่มต้นอย่างไร ที่ไหน ซื้อกองทุนกับใคร ขอคำแนะนำให้มือใหม่จะซื้อหน่อยค่ะ-น้องใหม่
 
  ตอบ เจ้าหน้าที่จากสมาคมบริษัทจัดการลงทุนได้ตอบคำถามไว้ดังนี้ เข้าใจว่าหมายถึงกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยง ชีพ (RMF) นะครับ  ขอเรียนเงื่อนไขเพิ่มเติมด้วยนะครับว่า ผู้ลงทุนต้องเป็นผู้มีเงินได้ซึ่งจะสามารถนำไปลงทุนต่อเนื่องกันได้ไม่น้อย กว่า 5 ปีลงทุน  ทั้งนี้เพื่อให้สามารถนับเงินลงทุนว่าเป็นเงินลงทุนที่มีสิทธิที่จะลงทุน เพื่อได้รับประโยชน์ทางภาษีนะครับ  ถ้าไม่ใช่อย่างนั้น คือ ไม่คิดว่าจะมีเงินได้แล้วนำไปลงทุนได้ติดต่อกันถึง 5 ปี ผมก็ไม่แนะนำให้ไปลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) นะครับ
  เนื่องจากหากเป็นกรณีดังกล่าวถ้าผู้ลงทุนมีกำไรจากการลงทุนเกิดขึ้นจะต้องนำ ไปรวมเป็นเงินได้ประจำปีที่ขายคืนนั้น  สูนำไปลงทุนในกองทุนอื่นๆ ทั่วๆ ไปที่ไม่มีภาระต้องเสียภาษีกำไรจะไม่ดีกว่าหรือและก็สามารถสะสมเงินด้วยตน เองเพื่อวัยเกษียณได้เช่นกันครับ  นอกจากนั้น การลงทุนในกองทุนรวม RMF จะต้องมีการลงทุนต่อเนื่องไม่มีการเว้นการลงทุนติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี และผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการขายคืนและไม่ต้องคืนสิทธิ ประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับจากการลดหย่อนเมื่อมีระยะเวลาการลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับแบบวันชนวัน) และผู้ลงทุนต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ขายคืนนั้นด้วย
     ทั้งนี้ หากสนใจที่จะลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เพื่อนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนเงินได้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำ ปี  ผู้ลงทุนก็สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลและนำไปศึกษาก่อนลงทุนได้ตามตัวแทนสนับ สนุนการขายและรับซื้อคืนของบริษัทจัดการต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะได้แก่ ธนาคารพาณิชย์เกือบทุกแห่ง และบริษัทหลักทรัพย์บางแห่ง หรือจะติดต่อสืบค้นข้อมูลที่บริษัทจัดการต่างๆ ตามสถานที่ติดต่อที่ปรากฎอยู่ใน web site นี้ก็ได้ครับ  หากสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมประการใดก็สามารถถามเพิ่มเติมได้นะครับ
 คำถาม-1. ปัจจุบัน RMF/LTF สามารถลดหย่อนภาษีได้ 15% แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ถูกต้องหรือไม่คะ (ไม่นับช่วงสามเดือนก่อน ที่ให้เพิ่มเป็น 700,000)2. จำนวน 15% หรือไม่เกิน 500,000 บาทนี้ คือแยกระหว่าง RMF และ LTF หรือนำมาคิดรวมกันคะ3. ในระยะแรก (ประมาณปี 2545-46) เพดานอยู่ที่ 300,000 ใช่หรือไม่คะ อยากทราบว่ามีการปรับเพดานนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่คะ4. ในระยะแรก RMF-LTF นำมาหักภาษีรวมกัน ใช่หรือไม่คะ อยากทราบว่าเริ่มให้มีการคิดหักภาษีแยกตั้งแต่เมื่อไหร่คะ 5. ข้อมูลในส่วน RMF-LTF ของเวบไซต์ ไม่อัพเดทค่ะ กรุณาช่วยอัพเดทด้วยเพื่อประโยชน์แก่นักลงทุน -ธีรพรรณ
 
  ตอบ  เจ้าหน้าที่จากสมาคมได้ตอบคำถามว่า  1. ถูกต้องครับ 2. แยกกันโดยอิสระครับ  แต่สำหรับ RMF นั้นเมื่อนับรวมกับเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการหรือกองทุนสงเคราะห์ครูฯ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท ครับ 3. ใช่ครับ จำนวนเงินสูงสุด 300,000 บาท นั้นใช้มาตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปี 2550 ครับ โดยในต้นปี 2551 นั้นได้มีการขยายวงเงินเพิ่มเติมให้เป็น 500,000 บาท และในช่วงปลายปีก็ขยายวงเงินเพิ่มให้เฉพาะผู้ที่มีการลงทุนเพิ่มในช่วงเดือน ต.ค. 51- ธ.ค. 51 เป็น 700,000 บาทครับ 4. RMF และ LTF นั้นคิดแยกจากกันมาตั้งแต่เริ่มตั้งกองทุน LTF ในปี 2547 เลยครับ  ผมเข้าใจว่าคงจะเข้าใจสับกับการนับรวมเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการหรือกองทุนสงเคราะห์ครูฯ ของ RMF ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่มีตั้งแต่จัดตั้ง RMF ในปี 2544 จนถึงปัจจุบันที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลยครับ 5. ผมต้องขออภัยเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลบางส่วนใน web site ที่ขาดการ update  อย่างไรก็ดี สมาคมจะพยายามปรับปรุง web site ให้ดีขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนและประชาชนทั่วไปครับ
    ต้องขอบคุณสมาคมบริษัทจัดการลงทุนนะครับ สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยเรื่องกองทุนรวม สามารถส่งคำถามมาได้ที่  fund@manager.co.th หรือโพสต์ข้อความไว้ที่หน้า กองทุนรวม  ww.manager.co.th  ทางเรายินดีที่จะตอบคำถามเเละยินดีจะเป็นสื่อกลางระหว่างท่านผู้อ่าน เเละบลจ.ครับ
กำลังโหลดความคิดเห็น