ASTVผู้จัดการรายวัน-บลจ.พรีมาเวส์มองเศรษฐกิจโลกครึ่งแรกปีวัวสุดลำบาก แต่เชื่อปีหน้าจะฟื้นตัวกลับมาอีกครั้ง หลังทุกประเทศเร่งใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิขนานใหญ่ ทั้งอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำ และการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบ ส่วนจีนดีสุด เหตุมีประชากรจำนวนมาก และการลงทุนในสาธารณูปโภคมีต่อเนื่อง
รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) พรีมาเวสท์ เปิดเผยว่า แนวโน้มของเศรษฐกิจในครึ่งปีแรกของปี 2009 จะเป็นช่วงที่เข้าสู่ความยากลำบากที่สุดตั้งแต่ปี 1970 โดยทั่วโลกต่างจับตาดูนโยบายต่างๆ ที่ทยอยปล่อยออกมาของ นายบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐอเมริกา หลังเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม
สำหรับประเทศจีน อินเดียและประเทศอื่นๆ ต่างก็ใช้ความพยายามอย่างมากในการกระตุ้นเศรษฐกิจของตนเอง จนถึงปัจจุบันยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่ามาตรการต่างๆ ที่แต่ละประเทศประกาศออกมานั้น จะมีประสิทธิภาพเพียงใดในการแก้ปัญหา แม้หลายฝ่ายมองว่าช่องหลังปีใหม่ของชาวจีน ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 600,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จะเริ่มเห็นผลก็ตาม
ทั้งนี้ คาดว่าในช่วง 6 เดือนแรก เศรษฐกิจจะยังคงอ่อนตัว แต่ในระยะกลางแล้วปัจจัยบวกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจำนวนมหาศาลของประชากรจีน การลงทุนในสาธารณูปโภคที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง ยังเป็นปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจ แม้ว่าในช่วงวิกฤตที่ผ่านมาทำให้บางโครงการถูกพักการลงทุนไปบ้าง
ส่วน ปัจจัยหนึ่งที่ต้องจับตาในระยะกลางถึงระยะยาวและยังไม่สามารถคาดการณ์ถึงผลกระทบได้ในขณะนี้ คือเรื่องการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละศูนย์ หรือต่ำจนเกือบศูนย์ของประเทศเศรษฐกิจยังษ์ใหญ่ทั้งสาม นั่นคือ สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งมีมูลค่า GDP รวมกันเท่ากับ 75% ของ GDP ทั่วโลก นอกจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว เชื่อว่าทั้งสามประเทศนี้ยังคงต้องหามาตรการอื่นที่มีความรุนแรง เพื่อเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรฐกิจต่อไป โดยดูจากในช่วงที่สามของเดือนทีผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้พิมพ์บัตรดอลลาร์สหรัฐฯ ออกมาแล้วเป็นจำนวนกว่า 20% ของมูลค่า GDP ของประเทศแล้ว ซึ่งมาตรการที่รุนแรงเช่นนี้น่าจะยังคงออกมาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าระบบการเงินจะสามารถปล่อยกู้ได้
ทั้งนี้ การที่รัฐบาลสหรัฐพิมพ์ธนบัตรออกมาเพื่อเพิ่มเม็ดเงินอัดฉีดแก่ระบบเศรษฐกิจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และการใช้นโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลาดด้วยการลดดอกเบี้ยลงจะทำให้ปัญหาอัตราเงินเฟ้อกลับมาอีกครั้ง ซึ่งส่งผลให้การถือพันธบัตรหรือเงินสดนั้น ไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุนได้อีกต่อไป และในสาถการณ์นี้ ตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพย์จะเป็นทรัพย์สินที่นักลงทุนให้ความสนใจลงทุน คาดว่าในปี 2010 เศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง พร้อมกับการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อ
ผู้ข่าวรายงานว่า การซื้อขายหลักทรัพย์ของประเทศไทยในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ปิดตลาด ณ วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 ปิดที่ 444.39 จุดปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 6.72 จุด โดยนักวิเคราะห์คาดว่าการที่ตลาดหุ้นปรับตัวเป็นบวกบวกอาจเป็นกากระแสตลาดหุ้นต่างประเทศขึ้นมาโดยหุ้นเอเชียปรับขึ้นคล้ายๆกัน เพราะในแง่ปัจจัยตลาดบ้านเราไม่มีอะไรที่จะเป็นบวกที่ทำให้หุ้นขึ้นได้ขนาดนี้เพราะมีความกังวลปัจจัยเดิมๆ เรื่องผลประกอบการ เรื่องเศรษฐกิจ จึงมองเป็นการเล่นตามกระแสภายนอกมากกว่า
ขณะที่ทางเทคนิคสามารถผ่าน 440 จุดขึ้นมาก็จะทำให้กรอบที่เล่นค่อนข้างจะมั่นใจขึ้น แต่ดูแล้วภาพรวมไม่ได้โดดเด่นอะไรและวอลุ่มตลาดไม่ได้โตตามมากนัก
ทั้งนี้ สัปดาห์หน้ายังไม่ได้บ่งบอกว่าตลาดจะดีขึ้นต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าเล่นตามตลาดต่างประเทศ อย่าง สหรัฐเรื่องของมาตรการกระตุ้นต่างๆ ซึ่งต้องดูตรงนั้นประกอบถ้าออกมาดี ตลาดหุ้นก็อาจจะฉาบฉวยแต่ก็ต้องระวัง
รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) พรีมาเวสท์ เปิดเผยว่า แนวโน้มของเศรษฐกิจในครึ่งปีแรกของปี 2009 จะเป็นช่วงที่เข้าสู่ความยากลำบากที่สุดตั้งแต่ปี 1970 โดยทั่วโลกต่างจับตาดูนโยบายต่างๆ ที่ทยอยปล่อยออกมาของ นายบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐอเมริกา หลังเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม
สำหรับประเทศจีน อินเดียและประเทศอื่นๆ ต่างก็ใช้ความพยายามอย่างมากในการกระตุ้นเศรษฐกิจของตนเอง จนถึงปัจจุบันยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่ามาตรการต่างๆ ที่แต่ละประเทศประกาศออกมานั้น จะมีประสิทธิภาพเพียงใดในการแก้ปัญหา แม้หลายฝ่ายมองว่าช่องหลังปีใหม่ของชาวจีน ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 600,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จะเริ่มเห็นผลก็ตาม
ทั้งนี้ คาดว่าในช่วง 6 เดือนแรก เศรษฐกิจจะยังคงอ่อนตัว แต่ในระยะกลางแล้วปัจจัยบวกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจำนวนมหาศาลของประชากรจีน การลงทุนในสาธารณูปโภคที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง ยังเป็นปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจ แม้ว่าในช่วงวิกฤตที่ผ่านมาทำให้บางโครงการถูกพักการลงทุนไปบ้าง
ส่วน ปัจจัยหนึ่งที่ต้องจับตาในระยะกลางถึงระยะยาวและยังไม่สามารถคาดการณ์ถึงผลกระทบได้ในขณะนี้ คือเรื่องการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละศูนย์ หรือต่ำจนเกือบศูนย์ของประเทศเศรษฐกิจยังษ์ใหญ่ทั้งสาม นั่นคือ สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งมีมูลค่า GDP รวมกันเท่ากับ 75% ของ GDP ทั่วโลก นอกจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว เชื่อว่าทั้งสามประเทศนี้ยังคงต้องหามาตรการอื่นที่มีความรุนแรง เพื่อเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรฐกิจต่อไป โดยดูจากในช่วงที่สามของเดือนทีผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้พิมพ์บัตรดอลลาร์สหรัฐฯ ออกมาแล้วเป็นจำนวนกว่า 20% ของมูลค่า GDP ของประเทศแล้ว ซึ่งมาตรการที่รุนแรงเช่นนี้น่าจะยังคงออกมาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าระบบการเงินจะสามารถปล่อยกู้ได้
ทั้งนี้ การที่รัฐบาลสหรัฐพิมพ์ธนบัตรออกมาเพื่อเพิ่มเม็ดเงินอัดฉีดแก่ระบบเศรษฐกิจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และการใช้นโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลาดด้วยการลดดอกเบี้ยลงจะทำให้ปัญหาอัตราเงินเฟ้อกลับมาอีกครั้ง ซึ่งส่งผลให้การถือพันธบัตรหรือเงินสดนั้น ไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุนได้อีกต่อไป และในสาถการณ์นี้ ตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพย์จะเป็นทรัพย์สินที่นักลงทุนให้ความสนใจลงทุน คาดว่าในปี 2010 เศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง พร้อมกับการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อ
ผู้ข่าวรายงานว่า การซื้อขายหลักทรัพย์ของประเทศไทยในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ปิดตลาด ณ วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 ปิดที่ 444.39 จุดปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 6.72 จุด โดยนักวิเคราะห์คาดว่าการที่ตลาดหุ้นปรับตัวเป็นบวกบวกอาจเป็นกากระแสตลาดหุ้นต่างประเทศขึ้นมาโดยหุ้นเอเชียปรับขึ้นคล้ายๆกัน เพราะในแง่ปัจจัยตลาดบ้านเราไม่มีอะไรที่จะเป็นบวกที่ทำให้หุ้นขึ้นได้ขนาดนี้เพราะมีความกังวลปัจจัยเดิมๆ เรื่องผลประกอบการ เรื่องเศรษฐกิจ จึงมองเป็นการเล่นตามกระแสภายนอกมากกว่า
ขณะที่ทางเทคนิคสามารถผ่าน 440 จุดขึ้นมาก็จะทำให้กรอบที่เล่นค่อนข้างจะมั่นใจขึ้น แต่ดูแล้วภาพรวมไม่ได้โดดเด่นอะไรและวอลุ่มตลาดไม่ได้โตตามมากนัก
ทั้งนี้ สัปดาห์หน้ายังไม่ได้บ่งบอกว่าตลาดจะดีขึ้นต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าเล่นตามตลาดต่างประเทศ อย่าง สหรัฐเรื่องของมาตรการกระตุ้นต่างๆ ซึ่งต้องดูตรงนั้นประกอบถ้าออกมาดี ตลาดหุ้นก็อาจจะฉาบฉวยแต่ก็ต้องระวัง