วิกฤตเศรษฐกิจโลกย่อมสร้างผลกระทบต่อทุกๆประเทศทั่วโลกอย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางประเทศที่หลายคนเชื่อว่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตในครั้งนี้น้อยกว่าใครๆ และยังเชื่ออีกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้น่าจะตัวเลขที่มากกว่าหลายประเทศ นั่นคือ กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีนนั่นเอง
ทั้งนี้ สถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI) ประเมิณแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบราซิลไว้อย่างน่าสนใจว่า ในเดือนปลายเดือน ต.ค. 2551 ต่อเนื่องจนถึงกลางเดือนมกราคม 2552 นั้น บราซิลไม่ได้มีมาตรการในการรับมือเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากที่ออกมาครั้งก่อน แต่ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดสะท้อนถึงพื้นฐานเศรษฐกิจภายในประเทศที่เริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าเดือนก่อนๆ อาทิเช่นยอดการขายปลีกในเดือนพฤศจิกายนขยายตัว 5.1 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (yoy) ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IP) ในเดือน พ.ย. 2551 หดตัวลงที่ -6.2 % จากเดือน ก.ย. 2551 และ ต.ค. 2551 ที่ขยายตัว 9.6% และ 1.1% ตามลำดับ
ดังนั้นจึงประเมินว่าจากตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดของบราซิลทั้งยอดการขายปลีกและดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายนสะท้อนการชะลอลงของเศรษฐกิจมากกว่าที่ ประเมินในครั้งก่อนๆ ทำให้ ณ ขณะนี้ ประเทศกลุ่ม BRICs อาจจะเหลือเพียงประเทศจีนที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจนั้นมีแนวโน้มที่จะชะลอลงน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศกลุ่ม BRICอื่นๆ
ในขณะที่ประเทศอื่นๆอาจจะต้องรอการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกจากผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องผลักดันให้เศรษฐกิจตนเองฟื้นตัวตาม
ขณะเดียวกัน ส่วนหนึ่งของบทวิจัยของศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย ที่เกี่ยวกับนิคมอุตสาหกรรมไทย ก็มีส่วนที่น่าสนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับกลุ่มประเทศบริคเช่นกัน นั่นคือ จากการที่ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองค่อนข้างมาก ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลานี้ คือ รัฐบาลควรจะเร่งสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อประเทศไทยให้ฟื้นคืนกลับมาโดยเร็ว ทางด้านผู้ประกอบการธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมควรลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจลงและอาจหาช่องทางขยายธุรกิจประเภทใหม่ หรือบริการรูปแบบใหม่ในการสนับสนุนหรืออำนวยความสะดวกให้กับบริษัทต่างๆ บุคคลหรือพนักงานที่อาศัยอยู่ในเขตที่พักอาศัยและพาณิชยกรรม หรือธุรกิจที่สนับสนุนประสิทธิภาพของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น รวมถึงอาจเริ่มมองหาแหล่งเงินลงทุนจากต่างประเทศกลุ่มใหม่อย่างกลุ่มประเทศ BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน) ซึ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ที่หลายฝ่ายคาดว่าน่าจะยังสามารถช่วยประคองให้เศรษฐกิจโลกไม่ถดถอยลงไปมาก
ส่วนความเคลื่อนไหวล่าสุดของ บราซิล นั้นปรากฏว่า มใความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางบราซิลอาจลดดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 16 เดือนในเร็ววันนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศย่ำแย่ไปมากกว่าที่เป็นอยู่ โดยนักเศรษฐศาสตร์ 23 จาก 47 ท่านคาดการณ์ว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายโดยการนำของประธานาธิบดีเฮนริค เมเรลเลส อาจตัดสินใจลดดอกเบี้ยจากระดับสูงสุดในรอบสองปีที่ 13.75% เหลือ 13% ในขณะที่อีก 16 คนคาดว่าธนาคารกลางจะลดดอกเบี้ย 0.5% ส่วนอีก 8 คนคาดว่าจะลด 1% เต็ม
ทั้งนี้ เพราะเศรษฐกิจบราซิลเข้าสู่ภาวะชะงักงันในช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้วหลังอัตราว่างงานพุ่งสูง ในขณะที่อุปสงค์จากผู้บริโภคและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ร่วงหนัก
อย่างไรก็ตาม บันโค บีเอ็นพี พาริบาส บราซิล เอสเอ, เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค และ มอร์แกน สแตนลีย์ ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าเศรษฐกิจบราซิลเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว
"ธนาคารกลางบราซิลยังสามารถลดดอกเบี้ยได้อีกเยอะ ผมเชื่อว่าการลดดอกเบี้ยจะช่วยให้เศรษฐกิจดีดตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงต้นปีหน้า"มาร์เซโล ซาโลมอน นักเศรษฐศาสตร์จากบริษัทยูนิบันโค ในเซาเปาโล กล่าว
ดังนั้น เพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ประธานาธิบดีลูอิซ อีนาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ของบราซิล ได้อัดฉีดเงิน 1 แสนล้านดอลลาร์เข้าสู่ระบบธนาคารและตลาดเงิน พร้อมลดภาษีเป็นมูลค่ากว่า 3.6 พันล้านดอลลาร์ นอกจากนั้นยังจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวให้ได้ 4% ในปีนี้
ด้าน ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาปีนี้จะร่วงลงถึง 1.80 แสนล้านดอลลาร์ หรือ 31% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกทำให้บริษัทข้ามชาติลดค่าใช้จ่ายในโรงงานและเหมืองต่างๆลง
มันซัวร์ ไดลามี ผู้จัดการฝ่ายไฟแนนซ์ และอดีตเจ้าหน้าที่ของธนาคารโลก กล่าวว่า การลงทุนที่ลดลงจะสร้างแรงกดดันให้กับสกุลเงินในตลาดประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ แม้ว่าการขายสินทรัพย์ของผู้จัดการกองทุนต่างๆจะชะลอตัวลง เงินวอนเกาหลีใต้ที่แข็งค่า เงินเรียลบราซิล และซโลตีของโปแลนด์ผันผวนมาตั้งแต่ช่วงสิ้นปีที่แล้ว เนื่องจากบริษัท ริโอ ทินโต และฮอนด้า มอเตอร์ ได้ระงับแผนการขยายธุรกิจในประเทศดังกล่าวออกไป
เพราะสถานการณ์ดังกล่าวถือเป็นปฏิกริยาที่รุนแรงที่สุดจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยในระดับโรงงานจนถึงขณะนี้ สกุลเงินในตลาดประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอยู่แล้ว และมีแนวโน้มว่าจะเป็นเช่นนี้ต่อไปอีก ตลาดหุ้นและการลงทุนในหุ้นเป็นประเด็นสำคัญของปีที่แล้ว แต่ปีนี้จะเป็นเรื่องของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
ขณะที่ มอร์แกน สแตนลีย์ ประเมินว่า เมื่อปีที่แล้ว ยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาตกลงไปประมาณ 10% และจะชะลอตัวลงอีกในปีนี้ FDI ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายในโรงงานและเครื่องจักร หรือการซื้อข้อตกลงว่าด้วยการซื้อหุ้น (controlling interest) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 38% ของกระแสเงินไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนของกองทุนต่างๆที่ระดับ 10% และการปล่อยเงินกู้ 54%
ด้าน บราวน์ บราเธอร์ส แฮร์รีแมน แอนด์ โค แนะนำว่า การที่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่อาจต้องเร่งระดมทุนเพื่อลดยอดขาดดุลงบประมาณ จะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืม หรืออัตราดอกเบี้ย พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
"รายได้จากการส่งออกของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทรุดตัวลงเนื่องจากความต้องการในต่างประเทศชะลอตัวลงและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลง ขณะที่ภาวะตึงตัวด้านสินเชื่อส่งผลให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศลดน้อยลงด้วย ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาต้นทุนการกู้ยืมในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ปรับตัวลดลง แต่ขณะนี้ต้นทุนมีแนวโน้มพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเทศเหล่านี้ถูกบีบให้ต้องเร่งกู้เงินระหว่างประเทศเพราะใกล้จะถึงช่วงเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่" วิน ธิน หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุน กล่าว
สาเหตุที่ทำให้กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ต้องเร่งระดมทุนก็เพราะต้องการนำเงินมาเสริมสร้างงบประมาณให้แข็งแกร่ง เพราะที่ผ่านมาประเทศกลุ่มนี้นำทุนสำรองเงินตราต่างประเทศออกมาใช้จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ยังไม่ได้ประกาศออกมาเป็นทางการเรื่องการระดมทุนระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เป็นเพราะอาจต้องการรับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ทั้งนี้ สถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI) ประเมิณแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบราซิลไว้อย่างน่าสนใจว่า ในเดือนปลายเดือน ต.ค. 2551 ต่อเนื่องจนถึงกลางเดือนมกราคม 2552 นั้น บราซิลไม่ได้มีมาตรการในการรับมือเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากที่ออกมาครั้งก่อน แต่ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดสะท้อนถึงพื้นฐานเศรษฐกิจภายในประเทศที่เริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าเดือนก่อนๆ อาทิเช่นยอดการขายปลีกในเดือนพฤศจิกายนขยายตัว 5.1 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (yoy) ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IP) ในเดือน พ.ย. 2551 หดตัวลงที่ -6.2 % จากเดือน ก.ย. 2551 และ ต.ค. 2551 ที่ขยายตัว 9.6% และ 1.1% ตามลำดับ
ดังนั้นจึงประเมินว่าจากตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดของบราซิลทั้งยอดการขายปลีกและดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายนสะท้อนการชะลอลงของเศรษฐกิจมากกว่าที่ ประเมินในครั้งก่อนๆ ทำให้ ณ ขณะนี้ ประเทศกลุ่ม BRICs อาจจะเหลือเพียงประเทศจีนที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจนั้นมีแนวโน้มที่จะชะลอลงน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศกลุ่ม BRICอื่นๆ
ในขณะที่ประเทศอื่นๆอาจจะต้องรอการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกจากผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องผลักดันให้เศรษฐกิจตนเองฟื้นตัวตาม
ขณะเดียวกัน ส่วนหนึ่งของบทวิจัยของศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย ที่เกี่ยวกับนิคมอุตสาหกรรมไทย ก็มีส่วนที่น่าสนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับกลุ่มประเทศบริคเช่นกัน นั่นคือ จากการที่ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองค่อนข้างมาก ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลานี้ คือ รัฐบาลควรจะเร่งสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อประเทศไทยให้ฟื้นคืนกลับมาโดยเร็ว ทางด้านผู้ประกอบการธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมควรลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจลงและอาจหาช่องทางขยายธุรกิจประเภทใหม่ หรือบริการรูปแบบใหม่ในการสนับสนุนหรืออำนวยความสะดวกให้กับบริษัทต่างๆ บุคคลหรือพนักงานที่อาศัยอยู่ในเขตที่พักอาศัยและพาณิชยกรรม หรือธุรกิจที่สนับสนุนประสิทธิภาพของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น รวมถึงอาจเริ่มมองหาแหล่งเงินลงทุนจากต่างประเทศกลุ่มใหม่อย่างกลุ่มประเทศ BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน) ซึ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ที่หลายฝ่ายคาดว่าน่าจะยังสามารถช่วยประคองให้เศรษฐกิจโลกไม่ถดถอยลงไปมาก
ส่วนความเคลื่อนไหวล่าสุดของ บราซิล นั้นปรากฏว่า มใความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางบราซิลอาจลดดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 16 เดือนในเร็ววันนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศย่ำแย่ไปมากกว่าที่เป็นอยู่ โดยนักเศรษฐศาสตร์ 23 จาก 47 ท่านคาดการณ์ว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายโดยการนำของประธานาธิบดีเฮนริค เมเรลเลส อาจตัดสินใจลดดอกเบี้ยจากระดับสูงสุดในรอบสองปีที่ 13.75% เหลือ 13% ในขณะที่อีก 16 คนคาดว่าธนาคารกลางจะลดดอกเบี้ย 0.5% ส่วนอีก 8 คนคาดว่าจะลด 1% เต็ม
ทั้งนี้ เพราะเศรษฐกิจบราซิลเข้าสู่ภาวะชะงักงันในช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้วหลังอัตราว่างงานพุ่งสูง ในขณะที่อุปสงค์จากผู้บริโภคและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ร่วงหนัก
อย่างไรก็ตาม บันโค บีเอ็นพี พาริบาส บราซิล เอสเอ, เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค และ มอร์แกน สแตนลีย์ ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าเศรษฐกิจบราซิลเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว
"ธนาคารกลางบราซิลยังสามารถลดดอกเบี้ยได้อีกเยอะ ผมเชื่อว่าการลดดอกเบี้ยจะช่วยให้เศรษฐกิจดีดตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงต้นปีหน้า"มาร์เซโล ซาโลมอน นักเศรษฐศาสตร์จากบริษัทยูนิบันโค ในเซาเปาโล กล่าว
ดังนั้น เพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ประธานาธิบดีลูอิซ อีนาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ของบราซิล ได้อัดฉีดเงิน 1 แสนล้านดอลลาร์เข้าสู่ระบบธนาคารและตลาดเงิน พร้อมลดภาษีเป็นมูลค่ากว่า 3.6 พันล้านดอลลาร์ นอกจากนั้นยังจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวให้ได้ 4% ในปีนี้
ด้าน ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาปีนี้จะร่วงลงถึง 1.80 แสนล้านดอลลาร์ หรือ 31% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกทำให้บริษัทข้ามชาติลดค่าใช้จ่ายในโรงงานและเหมืองต่างๆลง
มันซัวร์ ไดลามี ผู้จัดการฝ่ายไฟแนนซ์ และอดีตเจ้าหน้าที่ของธนาคารโลก กล่าวว่า การลงทุนที่ลดลงจะสร้างแรงกดดันให้กับสกุลเงินในตลาดประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ แม้ว่าการขายสินทรัพย์ของผู้จัดการกองทุนต่างๆจะชะลอตัวลง เงินวอนเกาหลีใต้ที่แข็งค่า เงินเรียลบราซิล และซโลตีของโปแลนด์ผันผวนมาตั้งแต่ช่วงสิ้นปีที่แล้ว เนื่องจากบริษัท ริโอ ทินโต และฮอนด้า มอเตอร์ ได้ระงับแผนการขยายธุรกิจในประเทศดังกล่าวออกไป
เพราะสถานการณ์ดังกล่าวถือเป็นปฏิกริยาที่รุนแรงที่สุดจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยในระดับโรงงานจนถึงขณะนี้ สกุลเงินในตลาดประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอยู่แล้ว และมีแนวโน้มว่าจะเป็นเช่นนี้ต่อไปอีก ตลาดหุ้นและการลงทุนในหุ้นเป็นประเด็นสำคัญของปีที่แล้ว แต่ปีนี้จะเป็นเรื่องของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
ขณะที่ มอร์แกน สแตนลีย์ ประเมินว่า เมื่อปีที่แล้ว ยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาตกลงไปประมาณ 10% และจะชะลอตัวลงอีกในปีนี้ FDI ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายในโรงงานและเครื่องจักร หรือการซื้อข้อตกลงว่าด้วยการซื้อหุ้น (controlling interest) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 38% ของกระแสเงินไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนของกองทุนต่างๆที่ระดับ 10% และการปล่อยเงินกู้ 54%
ด้าน บราวน์ บราเธอร์ส แฮร์รีแมน แอนด์ โค แนะนำว่า การที่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่อาจต้องเร่งระดมทุนเพื่อลดยอดขาดดุลงบประมาณ จะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืม หรืออัตราดอกเบี้ย พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
"รายได้จากการส่งออกของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทรุดตัวลงเนื่องจากความต้องการในต่างประเทศชะลอตัวลงและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลดลง ขณะที่ภาวะตึงตัวด้านสินเชื่อส่งผลให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศลดน้อยลงด้วย ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาต้นทุนการกู้ยืมในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ปรับตัวลดลง แต่ขณะนี้ต้นทุนมีแนวโน้มพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเทศเหล่านี้ถูกบีบให้ต้องเร่งกู้เงินระหว่างประเทศเพราะใกล้จะถึงช่วงเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่" วิน ธิน หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุน กล่าว
สาเหตุที่ทำให้กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ต้องเร่งระดมทุนก็เพราะต้องการนำเงินมาเสริมสร้างงบประมาณให้แข็งแกร่ง เพราะที่ผ่านมาประเทศกลุ่มนี้นำทุนสำรองเงินตราต่างประเทศออกมาใช้จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ยังไม่ได้ประกาศออกมาเป็นทางการเรื่องการระดมทุนระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เป็นเพราะอาจต้องการรับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)