บลจ. ธนชาต เป็นปลื้มกองทุนเปิด "ธนชาตตราสารหนี้พลัส 1" นักลงทุนแห่ตอบรับเป็นจำนวนมากสามารถปิดยอดขายเต็มมูลค่าโครงการเพียงในวันเดียว "ผู้บริหารเผย" ในสัปดาห์นี้เตรียมเปิดขายกองทุนที่ 2เพื่อรองรับดีมานด์ที่ยังมีอยู่เยอะ
นายบุญชัย เกียรติธนาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทได้เปิดขายกองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้พลัส 1 (TFixPlus1) ระหว่างวันที่ 21 - 27 มกราคม 2551 ซึ่งในการเปิดขายวันแรกนั้นมีนักลงทุนเข้ามาซื้อหน่วยลงทุนและให้การตอบรับเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ยอดขายในวันแรกที่ทำการเปิดขายเต็มมูลค่าโครงการเลยทีเดียว
ทั้งนี้สาเหตุที่ประสบความสำเร็จในการเปิดขายกองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้พลัส 1 เนื่องจากว่าในครั้งนี้ส่วนใหญ่บริษัทได้ทำการประชาสัมพันธ์ผ่านทางธนาคารธนชาตและบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ธนชาต เป็นหลัก โดยกองทุนดังกล่าวมิได้ขายผ่านทางเซลล์ลิ้งเอเจนท์แต่อย่างใด ส่งผลให้นักลงทุนส่วนใหญ่ที่เข้ามาลงทุนในกองทุนดังกล่าวนั้นเป็นลูกค้าของธนาคารที่ต้องการเข้ามาลงทุนเพราะกองทุนสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินในธนาคาร ซึ่งกองทุนนี้สามารถให้ผลตอบแทนประมาณการกว่า 3.1% ถือว่าสูงกว่าการฝากแบงก์ในขณะนี้
นายบุญชัย กล่าวต่อว่า จากการที่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดีในกองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้พลัส 1 ทำให้ในสัปดาห์นี้บริษัทเตรียมเปิดขายกองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้พลัส 2 ต่อทันที เพื่อรองรับกลุ่มนักลงทุนที่ยังต้องการเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้กองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้พลัส 2 จะมีมูลค่าโครงการ 400 - 500 ล้านบาท และจะมีอายุโครงการประมาณ 1ปี 5 เดือน เท่านั้น
ทั้งนี้กองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้พลัส 1 มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนและหรือภาครัฐ ที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นสูง และหรือเงินฝากหรือตราสารที่เทียบเท่าเงินสด หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.กำหนดหรือเห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้ นอกจากนี้แล้วกองทุนดังกล่าวยังไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล โดยจะนำผลกำไรไปลงทุนเพื่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้นายบุญชัย ยังกล่าวถึงสถานการ์ของตลาดตราสารหนี้ด้วย คาดว่าจะมีหุ้นกู้เอกชนออกเสนอขายเพิ่มขึ้นเนื่องจากการกู้ยืมจากตลาดต่างประเทศ ทำได้ยากขึ้นและมีต้นทุนสูง ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะลดการออกพันธบัตรลงเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบการเงินรวมไปถึงเป็นการเอื้อให้รัฐบาลสามารถออกพันธบัตรเพื่อทดแทนพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดเงินมากนัก โดยคาดว่ารัฐบาลน่าจะมีการออกพันธบัตรเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น 350,000 ล้านบาท
นายบุญชัย เกียรติธนาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทได้เปิดขายกองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้พลัส 1 (TFixPlus1) ระหว่างวันที่ 21 - 27 มกราคม 2551 ซึ่งในการเปิดขายวันแรกนั้นมีนักลงทุนเข้ามาซื้อหน่วยลงทุนและให้การตอบรับเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ยอดขายในวันแรกที่ทำการเปิดขายเต็มมูลค่าโครงการเลยทีเดียว
ทั้งนี้สาเหตุที่ประสบความสำเร็จในการเปิดขายกองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้พลัส 1 เนื่องจากว่าในครั้งนี้ส่วนใหญ่บริษัทได้ทำการประชาสัมพันธ์ผ่านทางธนาคารธนชาตและบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ธนชาต เป็นหลัก โดยกองทุนดังกล่าวมิได้ขายผ่านทางเซลล์ลิ้งเอเจนท์แต่อย่างใด ส่งผลให้นักลงทุนส่วนใหญ่ที่เข้ามาลงทุนในกองทุนดังกล่าวนั้นเป็นลูกค้าของธนาคารที่ต้องการเข้ามาลงทุนเพราะกองทุนสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินในธนาคาร ซึ่งกองทุนนี้สามารถให้ผลตอบแทนประมาณการกว่า 3.1% ถือว่าสูงกว่าการฝากแบงก์ในขณะนี้
นายบุญชัย กล่าวต่อว่า จากการที่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดีในกองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้พลัส 1 ทำให้ในสัปดาห์นี้บริษัทเตรียมเปิดขายกองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้พลัส 2 ต่อทันที เพื่อรองรับกลุ่มนักลงทุนที่ยังต้องการเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้กองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้พลัส 2 จะมีมูลค่าโครงการ 400 - 500 ล้านบาท และจะมีอายุโครงการประมาณ 1ปี 5 เดือน เท่านั้น
ทั้งนี้กองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้พลัส 1 มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนและหรือภาครัฐ ที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นสูง และหรือเงินฝากหรือตราสารที่เทียบเท่าเงินสด หรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.กำหนดหรือเห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้ นอกจากนี้แล้วกองทุนดังกล่าวยังไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล โดยจะนำผลกำไรไปลงทุนเพื่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้นายบุญชัย ยังกล่าวถึงสถานการ์ของตลาดตราสารหนี้ด้วย คาดว่าจะมีหุ้นกู้เอกชนออกเสนอขายเพิ่มขึ้นเนื่องจากการกู้ยืมจากตลาดต่างประเทศ ทำได้ยากขึ้นและมีต้นทุนสูง ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะลดการออกพันธบัตรลงเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบการเงินรวมไปถึงเป็นการเอื้อให้รัฐบาลสามารถออกพันธบัตรเพื่อทดแทนพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดเงินมากนัก โดยคาดว่ารัฐบาลน่าจะมีการออกพันธบัตรเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น 350,000 ล้านบาท