“อย่างไรก็ตาม มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลยังไม่สิ้นสุด โดยประเมินว่ารัฐบาลจะมีมาตรการความช่วยเหลือเศรษฐกิจอีกหลายครั้งในอนาคต โดยในครั้งต่อไปคาดว่าจะเป็นการให้ความช่วยเหลือพยุงราคาสินค้าเกษตร”
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 2 ที่รัฐบาลได้นำมาตรการภาษี และ การลดค่าธรรมเนียมบริการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มท่องเที่ยว สายการบิน และ ธุรกิจที่ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ และ โครงสร้างทางการเงิน โดยคาดว่ารัฐบาลจะสูญเสียรายได้ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ สถาบันวิจัยนครหลวงไทย หรือ SCRI ประเมินว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะได้รับประโยชน์จากมาตรการภาษีชุดนี้มากที่สุดในแง่ของการกระตุ้นอุปสงค์แต่ความสำเร็จคาดว่าจะต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลคาดหวังไว้ ส่วนกลุ่มท่องเที่ยว จะได้รับประโยชน์จากมาตรการครั้งนี้ในระดับต่ำมาก อย่างไรก็ดี สำหรับผลกระทบต่อตัวเลขเศรษฐกิจในปี 2552 ประเมินว่ามาตรการภาษีเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่ 2 ของรัฐบาลจะทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีกประมาณ 0.3% ทำให้กรอบประมาณการ GDP ปี 2552 คาดว่าจะอยู่ระหว่าง +0.5 ถึง +0.23%
โดยประเมินว่า มาตรการกระตุ้น “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ด้วยการยกเว้นภาษีให้ผู้ซื้อบ้านใหม่และโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2552 สามารถนำเงินต้นลดหย่อนภาษีไม่เกิน 300,000 บาท รวมกับดอกเบี้ยเงินกู้อีก 1 แสนบาท รวมเป็น 4 แสนบาท จะช่วยเร่งการตัดสินใจซื้อบ้านได้เร็วขึ้น แต่ทั้งนี้การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่เข้มงวด ถือว่าเป็นปัจจัยที่จะทำให้ยอดขายที่อยู่อาศัยในปี 2552 จะไม่สามารถสูงถึง 1 แสนหน่วยได้ตามที่รัฐบาลคาดหวัง โดย SCRI คาดว่า ยอดขายที่อยู่อาศัยจะมีจำนวน 7 หมื่นหน่วย ลดลง 5%
ขณะที่ ความช่วยเหลือของรัฐบาลต่อ “ธุรกิจท่องเที่ยว” ด้วยการยกเว้นค่าธรรมเนียมให้ทั้งผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว 3 – 6 เดือน ด้วยเม็ดเงินเพียง 1.8 พันล้านบาท ซึ่งประเมินว่า ยังเป็นการแก้ไขที่ไม่ตรงจุดและยังไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นให้จำนวนนักท่องเที่ยวทรงตัวที่ 14.8 ล้านคน ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ อีกทั้งคาดว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศจะฟื้นตัวได้ต้องมาจากเศรษฐกิจของประเทศของนักเที่ยวกลุ่มเป้าหมายปรับตัวดีขึ้น พร้อมกับความเชื่อถือด้านความปลอดภัยของไทยหลังจากการเมืองเริ่มชัดเจน
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังไม่ได้ประกาศมาตรการให้ความช่วยเหลือ “กลุ่มสินค้าเกษตร” เพียงแต่เห็นชอบกรอบวงเงินเพิ่มเติม 13,580 ล้านบาท เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร 3 ชนิด ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และยางพารา โดยวงเงินเพิ่มเติมนี้ยังต้องผ่านขั้นตอนในการทำรายละเอียดเพื่อเสนอคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี
ส่วนด้านงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ได้มีการปรับปรุงใหม่ โดยการเพิ่มวงเงินจาก 1.15 แสนล้านบาท เป็น 1.167 แสนล้านบาท จากการเพิ่มเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพิ่มขึ้นเป็น 4 พันล้านบาท ซึ่งจะทำให้รัฐบาลจะมีงบประมาณขาดดุลประมาณ 3.66 แสนล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่ได้รวมผลกระทบจากรายได้ภาษีของรัฐบาลที่จะลดลงในปีงบประมาณ 2552
ดังนั้นจึงประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2552 จะได้รับปัจจัยบวกเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 2 และจากการประเมินในเบื้องต้น และคาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติปี 2552 ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีกประมาณ 0.3% อยู่ในระดับเฉลี่ย 0.5% ถึง 2.3% จากการประเมินในครั้งก่อนที่ 0.2 – 2.0% โดยได้ประเมินภาวะเศรษฐกิจที่จะได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 1 ซึ่งเน้นการบริโภคในประเทศ
นอกจากนี้ กรอบ GDP Growth ปี 2552 เพิ่มอีก 0.3% จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 2 จากการประเมินในเบื้องต้นคาดว่าจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 1 วงเงิน 1.15 แสนล้านบาท จะส่งผลให้ระดับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ของไทยในปี 2552 จะขยายตัวในกรอบ 0.2% ถึง 2.0% โดยมีเพิ่มขึ้นประมาณ 0.61% เนื่องจากเป็นมาตรการที่ช่วยกระตุ้นการบริโภคในประเทศ ที่จะช่วยให้เกิดการใช้จ่ายแบบคูณทวี (Multiplier Effect)
ในขณะที่ SCRI ประเมินว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 2 ที่เน้นการช่วยเหลือด้านภาษีด้วยวงเงินราว 4 หมื่นล้านบาท จะช่วยผลักดันการเติบโตของ GDP ปี 2552 ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีก 0.3% เป็นกรอบ GDP Growth ที่ระดับ +0.5% ถึง +2.3% อย่างไรก็ดีคาดว่า GDP Growth ใน Q1/52 จะต่ำที่สุด โดยมีโอกาสที่จะติดสบสูงขึ้นจากในช่วง Q4/51
ด้านหนี้สาธารณะของไทยในอนาคตมีความเสี่ยงที่จะปรับสูงขึ้น โดยเชื่อว่าหนี้สาธารณะต่อ GDP ไทยในปี 2552 จะอยู่ที่ ประมาณไม่ต่ำกว่า 40.0% ซึ่งถ้ารัฐบาลยังคงกระตุ้นเศรษฐกิจปีละ 500,000 ล้านบาทต่อเนื่องกันและค้ำประกันหนี้รัฐวิสาหกิจปีละประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท จะส่งผลให้ภายใน 3 ปี จะส่งผลให้รัฐบาลจะต้องจัดทำงบประมาณสมดุลตามกรอบความยั่งยืนทางการคลัง ที่กำหนดให้รัฐมีหนี้สาธารณะไม่เกิน 50 % ต่อ GDP
อย่างไรก็ตาม มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลยังไม่สิ้นสุด โดยประเมินว่ารัฐบาลจะมีมาตรการความช่วยเหลือเศรษฐกิจอีกหลายครั้งในอนาคต โดยในครั้งต่อไปคาดว่าจะเป็นการให้ความช่วยเหลือพยุงราคาสินค้าเกษตร หลังจากที่ได้เห็นชอบกรอบวงเงินเพิ่มเติมจำนวน 13,580 ล้านบาทไปแล้ว อย่างไรก็ดีเห็นว่ารัฐบาลต้องเน้นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่และการแก้ไขปัญหาของภาคธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะ เกษตร ส่งออก และ ท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดการขยายตัวเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ที่มา : สถาบันวิจัยนครหลวงไทย
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 2 ที่รัฐบาลได้นำมาตรการภาษี และ การลดค่าธรรมเนียมบริการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มท่องเที่ยว สายการบิน และ ธุรกิจที่ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ และ โครงสร้างทางการเงิน โดยคาดว่ารัฐบาลจะสูญเสียรายได้ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ สถาบันวิจัยนครหลวงไทย หรือ SCRI ประเมินว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะได้รับประโยชน์จากมาตรการภาษีชุดนี้มากที่สุดในแง่ของการกระตุ้นอุปสงค์แต่ความสำเร็จคาดว่าจะต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลคาดหวังไว้ ส่วนกลุ่มท่องเที่ยว จะได้รับประโยชน์จากมาตรการครั้งนี้ในระดับต่ำมาก อย่างไรก็ดี สำหรับผลกระทบต่อตัวเลขเศรษฐกิจในปี 2552 ประเมินว่ามาตรการภาษีเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่ 2 ของรัฐบาลจะทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีกประมาณ 0.3% ทำให้กรอบประมาณการ GDP ปี 2552 คาดว่าจะอยู่ระหว่าง +0.5 ถึง +0.23%
โดยประเมินว่า มาตรการกระตุ้น “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ด้วยการยกเว้นภาษีให้ผู้ซื้อบ้านใหม่และโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2552 สามารถนำเงินต้นลดหย่อนภาษีไม่เกิน 300,000 บาท รวมกับดอกเบี้ยเงินกู้อีก 1 แสนบาท รวมเป็น 4 แสนบาท จะช่วยเร่งการตัดสินใจซื้อบ้านได้เร็วขึ้น แต่ทั้งนี้การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่เข้มงวด ถือว่าเป็นปัจจัยที่จะทำให้ยอดขายที่อยู่อาศัยในปี 2552 จะไม่สามารถสูงถึง 1 แสนหน่วยได้ตามที่รัฐบาลคาดหวัง โดย SCRI คาดว่า ยอดขายที่อยู่อาศัยจะมีจำนวน 7 หมื่นหน่วย ลดลง 5%
ขณะที่ ความช่วยเหลือของรัฐบาลต่อ “ธุรกิจท่องเที่ยว” ด้วยการยกเว้นค่าธรรมเนียมให้ทั้งผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว 3 – 6 เดือน ด้วยเม็ดเงินเพียง 1.8 พันล้านบาท ซึ่งประเมินว่า ยังเป็นการแก้ไขที่ไม่ตรงจุดและยังไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นให้จำนวนนักท่องเที่ยวทรงตัวที่ 14.8 ล้านคน ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ อีกทั้งคาดว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศจะฟื้นตัวได้ต้องมาจากเศรษฐกิจของประเทศของนักเที่ยวกลุ่มเป้าหมายปรับตัวดีขึ้น พร้อมกับความเชื่อถือด้านความปลอดภัยของไทยหลังจากการเมืองเริ่มชัดเจน
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังไม่ได้ประกาศมาตรการให้ความช่วยเหลือ “กลุ่มสินค้าเกษตร” เพียงแต่เห็นชอบกรอบวงเงินเพิ่มเติม 13,580 ล้านบาท เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร 3 ชนิด ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และยางพารา โดยวงเงินเพิ่มเติมนี้ยังต้องผ่านขั้นตอนในการทำรายละเอียดเพื่อเสนอคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี
ส่วนด้านงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ได้มีการปรับปรุงใหม่ โดยการเพิ่มวงเงินจาก 1.15 แสนล้านบาท เป็น 1.167 แสนล้านบาท จากการเพิ่มเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพิ่มขึ้นเป็น 4 พันล้านบาท ซึ่งจะทำให้รัฐบาลจะมีงบประมาณขาดดุลประมาณ 3.66 แสนล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่ได้รวมผลกระทบจากรายได้ภาษีของรัฐบาลที่จะลดลงในปีงบประมาณ 2552
ดังนั้นจึงประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2552 จะได้รับปัจจัยบวกเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 2 และจากการประเมินในเบื้องต้น และคาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติปี 2552 ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีกประมาณ 0.3% อยู่ในระดับเฉลี่ย 0.5% ถึง 2.3% จากการประเมินในครั้งก่อนที่ 0.2 – 2.0% โดยได้ประเมินภาวะเศรษฐกิจที่จะได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 1 ซึ่งเน้นการบริโภคในประเทศ
นอกจากนี้ กรอบ GDP Growth ปี 2552 เพิ่มอีก 0.3% จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 2 จากการประเมินในเบื้องต้นคาดว่าจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 1 วงเงิน 1.15 แสนล้านบาท จะส่งผลให้ระดับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ของไทยในปี 2552 จะขยายตัวในกรอบ 0.2% ถึง 2.0% โดยมีเพิ่มขึ้นประมาณ 0.61% เนื่องจากเป็นมาตรการที่ช่วยกระตุ้นการบริโภคในประเทศ ที่จะช่วยให้เกิดการใช้จ่ายแบบคูณทวี (Multiplier Effect)
ในขณะที่ SCRI ประเมินว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 2 ที่เน้นการช่วยเหลือด้านภาษีด้วยวงเงินราว 4 หมื่นล้านบาท จะช่วยผลักดันการเติบโตของ GDP ปี 2552 ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีก 0.3% เป็นกรอบ GDP Growth ที่ระดับ +0.5% ถึง +2.3% อย่างไรก็ดีคาดว่า GDP Growth ใน Q1/52 จะต่ำที่สุด โดยมีโอกาสที่จะติดสบสูงขึ้นจากในช่วง Q4/51
ด้านหนี้สาธารณะของไทยในอนาคตมีความเสี่ยงที่จะปรับสูงขึ้น โดยเชื่อว่าหนี้สาธารณะต่อ GDP ไทยในปี 2552 จะอยู่ที่ ประมาณไม่ต่ำกว่า 40.0% ซึ่งถ้ารัฐบาลยังคงกระตุ้นเศรษฐกิจปีละ 500,000 ล้านบาทต่อเนื่องกันและค้ำประกันหนี้รัฐวิสาหกิจปีละประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท จะส่งผลให้ภายใน 3 ปี จะส่งผลให้รัฐบาลจะต้องจัดทำงบประมาณสมดุลตามกรอบความยั่งยืนทางการคลัง ที่กำหนดให้รัฐมีหนี้สาธารณะไม่เกิน 50 % ต่อ GDP
อย่างไรก็ตาม มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลยังไม่สิ้นสุด โดยประเมินว่ารัฐบาลจะมีมาตรการความช่วยเหลือเศรษฐกิจอีกหลายครั้งในอนาคต โดยในครั้งต่อไปคาดว่าจะเป็นการให้ความช่วยเหลือพยุงราคาสินค้าเกษตร หลังจากที่ได้เห็นชอบกรอบวงเงินเพิ่มเติมจำนวน 13,580 ล้านบาทไปแล้ว อย่างไรก็ดีเห็นว่ารัฐบาลต้องเน้นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่และการแก้ไขปัญหาของภาคธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะ เกษตร ส่งออก และ ท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดการขยายตัวเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ที่มา : สถาบันวิจัยนครหลวงไทย