คอลัมน์ คุยกับผู้จัดการกองทุน
โดย ดร.ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายควบคุมความเสี่ยง
บลจ.อยุธยา จำกัด
ช่วงนี้ บริษัทในกลุ่มการเงินเริ่มประกาศผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ออกมาบ้างแล้ว และบริษัทในกลุ่มธุรกิจอื่นๆก็จะประกาศตามออกมา ซึ่งผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 นี้ น่าจะบ่งบอกได้ว่า บริษัทต่างๆได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด
ดังที่ผมได้เกริ่นเอาไว้ในสัปดาห์ที่แล้วว่า ช่วงนี้ท่านนักลงทุนควรหาความรู้ด้านการลงทุนให้มากๆ เพื่อที่จะสามารถตัดสินใจในการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น การลงทุนโดยการขาดความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอ อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการลงทุนให้กับตัวท่านเอง
ในวันนี้ ผมขอนำเสนอการวิเคราะห์การลงทุนแบบง่ายๆ โดยการดูจากค่า P/E หรือราคาปิดต่อกำไรสุทธิ เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนขั้นเบื้องต้น ราคาปิดต่อกำไรสุทธิ หรือ P/E ถูกคำนวณมาจากราคาปิดของหุ้น หารด้วยกำไรสุทธิต่อหุ้น ตัวเลขนี้จะบ่งบอกว่าราคาหุ้นในปัจจุบันสูงกว่ากำไรต่อหุ้นอยู่กี่เท่า เช่น บริษัท A มีกำไรทั้งหมด 100 ล้านบาท และมีหุ้นทั้งหมด 10 ล้านหุ้น กำไรต่อหุ้นจะเท่ากับ 100ล้าน/10ล้าน = 10 บาท หากราคาปิดของหุ้นล่าสุดคือ 70 บาท หุ้นตัวนี้จะมีค่า P/E = 70/10 = 7เท่า การที่ค่า P/E จะสูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับมุมมองของตลาดว่าบริษัทมีความสามารถในการที่จะทำกำไรให้ได้มากขึ้นมีมากน้อยเพียงใด เช่น หากปีนี้บริษัท A มีกำไรสุทธิต่อหุ้นเท่ากับ 20 บาท ในขณะที่ราคา 70 บาทเท่าเดิม ค่า P/E ของหุ้นของบริษัท A จะลดลงเหลือ 70/20 = 3.5 เท่า
การที่จะดูว่าราคาหุ้นของบริษัท A ถูกหรือแพง ท่านนักลงทุนสามารถวิเคราะห์ได้โดยการนำค่า P/E ของบริษัท A ไปเทียบกับค่า P/E ของบริษัทที่มีองค์ประกอบใกล้เคียงกัน เช่น ทำธุรกิจประเภทเดียวกัน หรือมีลักษณะธุรกิจคล้ายคลึงกัน สมมุติว่า บริษัท B ทำธุรกิจประเภทเดียวกันกับบริษัท A และมีกำไรสุทธิต่อหุ้นที่ 10 บาท เท่ากับบริษัท A แต่ราคาหุ้นของบริษัท B อยู่ที่ 60 บาท ซึ่งส่งผลให้ค่า P/E ของบริษัท B อยู่ที่ 6 เท่า (ในขณะที่ค่า P/E ของบริษัท A อยู่ที่ 7 เท่า) ในกรณีนี้ หุ้นของบริษัท B มีความน่าสนใจกว่าหุ้นบริษัท A เพราะมีค่า P/E ต่ำกว่า จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ชัดว่าเหตุใดบริษัทที่มีค่า P/E ต่ำกว่าจึงน่าลงทุนมากกว่า เพราะผลกำไรต่อหุ้นเท่ากัน แต่ราคาหุ้นมีความแตกต่างกันค่อนข้างเยอะ ซึ่งในกรณีนี้ ท่านนักลงทุนอาจวิเคราะห์อย่างง่ายๆโดยการดูราคาเพียงอย่างเดียว แต่หากกำไรต่อหุ้นไม่เท่ากัน เช่น บริษัท B มีกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 5 บาท และราคาหุ้นอยู่ที่ 40 บาท ถ้าดูเพียงราคา อาจจะเห็นว่าหุ้นของบริษัท B มีราคาถูกกว่า แต่ถ้าคำนวณค่า P/E ของบริษัท B จะได้ 8 เท่า ซึ่งก็หมายความว่าหุ้นบริษัท B แพงกว่าหุ้นบริษัท A
นอกจากการเทียบค่า P/E กับบริษัทที่มีลักษณะใกล้เคียงกันแล้ว ท่านนักลงทุนอาจเทียบกับค่า P/E ของบริษัทนั้นๆในอดีต เช่น ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ค่า P/E ของบริษัท A อยู่ที่ 11 เท่า แต่ในปัจจุบัน ค่า P/E อยู่ที่ 7 เท่า ซึ่งอาจบ่งชี้ว่า ค่า P/E ในปัจจุบันต่ำเกินไป และราคาหุ้นของบริษัท A ควรจะปรับตัวสูงขึ้นสู่จุดที่มีค่า P/E เท่ากับ 11 เท่า ซึ่งจากตัวอย่างข้างต้นก็คือ ราคาหุ้นของบริษัท A ควรอยู่ที่ 110 บาท
อย่างไรก็ตาม มีหลายกรณีที่ค่า P/E อาจนำไปสู่การวิเคราะห์ที่ผิดพลาด หรืออาจไม่สะท้อนถึงพื้นฐานที่แท้จริงของบริษัทนั้นๆ จากตัวอย่างการเปรียบเทียบค่า P/E ของบริษัท A และบริษัท B ในกรณีที่ทั้งสองบริษัทมีกำไรสุทธิต่อหน่วยเท่ากับ 10 บาทเท่ากัน แต่หุ้นของบริษัท A มีราคา 70 บาทต่อหุ้น ในขณะที่หุ้นของบริษัท B มีราคา 60 บาทต่อหุ้น ซึ่งหากดูจากค่า P/E เพียงอย่างเดียว แน่นอนว่าหุ้นบริษัท B มีความน่าสนใจมากกว่า เพราะมีราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตาม การที่ราคาหุ้นของบริษัท B มีราคาถูกกว่า อาจมีสาเหตุมาจากหลายประการ เช่น
- บริษัท B อาจบันทึกรายได้ที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ (extraordinary items) เข้ามาในบัญชี และส่งผลให้บริษัทมีกำไรมากขึ้น
- บริษัท A มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งกว่า เป็นผู้นำตลาด หรือเป็นบริษัทขนาดใหญ่ และมีความสามารถในการสร้างกำไรที่ดีกว่า นักลงทุนจึงยอมที่จะจ่ายในราคาที่แพงกว่า
- บริษัทที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกัน แต่อยู่คนละประเทศ อาจมีค่า P/E ที่ต่างกัน เนื่องจากแต่ละตลาดมีความเสี่ยงแตกต่างกันไป เช่น ความผันผวนของตลาด ขนาดของตลาด ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงด้านกฎหมาย เป็นต้น
นอกจากนี้ การเปรียบเทียบกับค่า P/E ในอดีตของบริษัทนั้นๆเอง ก็อาจส่งผลให้การวิเคราะห์ผิดพลาดได้เช่นกัน การที่ค่า P/E ของบริษัทหนึ่งลดต่ำลงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต อาจเกิดจากมุมมองที่มีต่อบริษัทแย่ลง เช่น ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ค่า P/E ของบริษัท XYZ อยู่ที่ 15 เท่า แต่ในปัจจุบัน ค่า P/E อยู่ที่ 7 เท่า ซึ่งหากท่านนักลงทุนวิเคราะห์จากค่า P/E เพียงอย่างเดียว จะเห็นว่าหุ้นราคาถูกมาก แต่ในความเป็นจริง การที่ค่า P/E ในปัจจุบันอยู่ต่ำกว่าค่าในอดีตอาจเป็นเพราะตลาดมองว่าผลประกอบการของบริษัทในปีนี้จะลดลงมาก ซึ่งจะส่งผลให้กำไรต่อหุ้นลดลง และค่า P/E ในอนาคตจะสูงขึ้นเนื่องจากค่า E (กำไรสุทธิต่อหน่วย) ลดลง (สมมุติว่าปัจจุบันราคาหุ้น = 70 บาท กำไรสุทธิต่อหุ้น = 10 บาท ค่า P/E = 7 เท่า เมื่อถึงสิ้นปีนี้ ราคาหุ้น = 70 บาทเท่าเดิม แต่กำไรสุทธิต่อหุ้นลดลงเหลือ 5 บาท ค่า P/E จะเท่ากับ 14 เท่า)
การวิเคราะห์การลงทุนจากค่า P/E ที่ผมอธิบายในวันนี้เป็นเพียงหลักการวิเคราะห์เบื้องต้นเท่านั้น เพราะในโลกของความเป็นจริง การตัดสินใจลงทุนที่ดีไม่ได้เกิดจากการวิเคราะห์ค่า P/E เพียงอย่างเดียว ยังมีองค์ประกอบอื่นๆอีกหลายประการที่ต้องคำนึงถึง ท่านนักลงทุนควรทำการวิเคราะห์ในเชิงลึก และควรมีความเข้าใจในบริษัทที่ท่านลงทุนเป็นอย่างดี
โดย ดร.ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายควบคุมความเสี่ยง
บลจ.อยุธยา จำกัด
ช่วงนี้ บริษัทในกลุ่มการเงินเริ่มประกาศผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ออกมาบ้างแล้ว และบริษัทในกลุ่มธุรกิจอื่นๆก็จะประกาศตามออกมา ซึ่งผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 นี้ น่าจะบ่งบอกได้ว่า บริษัทต่างๆได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด
ดังที่ผมได้เกริ่นเอาไว้ในสัปดาห์ที่แล้วว่า ช่วงนี้ท่านนักลงทุนควรหาความรู้ด้านการลงทุนให้มากๆ เพื่อที่จะสามารถตัดสินใจในการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น การลงทุนโดยการขาดความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอ อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการลงทุนให้กับตัวท่านเอง
ในวันนี้ ผมขอนำเสนอการวิเคราะห์การลงทุนแบบง่ายๆ โดยการดูจากค่า P/E หรือราคาปิดต่อกำไรสุทธิ เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนขั้นเบื้องต้น ราคาปิดต่อกำไรสุทธิ หรือ P/E ถูกคำนวณมาจากราคาปิดของหุ้น หารด้วยกำไรสุทธิต่อหุ้น ตัวเลขนี้จะบ่งบอกว่าราคาหุ้นในปัจจุบันสูงกว่ากำไรต่อหุ้นอยู่กี่เท่า เช่น บริษัท A มีกำไรทั้งหมด 100 ล้านบาท และมีหุ้นทั้งหมด 10 ล้านหุ้น กำไรต่อหุ้นจะเท่ากับ 100ล้าน/10ล้าน = 10 บาท หากราคาปิดของหุ้นล่าสุดคือ 70 บาท หุ้นตัวนี้จะมีค่า P/E = 70/10 = 7เท่า การที่ค่า P/E จะสูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับมุมมองของตลาดว่าบริษัทมีความสามารถในการที่จะทำกำไรให้ได้มากขึ้นมีมากน้อยเพียงใด เช่น หากปีนี้บริษัท A มีกำไรสุทธิต่อหุ้นเท่ากับ 20 บาท ในขณะที่ราคา 70 บาทเท่าเดิม ค่า P/E ของหุ้นของบริษัท A จะลดลงเหลือ 70/20 = 3.5 เท่า
การที่จะดูว่าราคาหุ้นของบริษัท A ถูกหรือแพง ท่านนักลงทุนสามารถวิเคราะห์ได้โดยการนำค่า P/E ของบริษัท A ไปเทียบกับค่า P/E ของบริษัทที่มีองค์ประกอบใกล้เคียงกัน เช่น ทำธุรกิจประเภทเดียวกัน หรือมีลักษณะธุรกิจคล้ายคลึงกัน สมมุติว่า บริษัท B ทำธุรกิจประเภทเดียวกันกับบริษัท A และมีกำไรสุทธิต่อหุ้นที่ 10 บาท เท่ากับบริษัท A แต่ราคาหุ้นของบริษัท B อยู่ที่ 60 บาท ซึ่งส่งผลให้ค่า P/E ของบริษัท B อยู่ที่ 6 เท่า (ในขณะที่ค่า P/E ของบริษัท A อยู่ที่ 7 เท่า) ในกรณีนี้ หุ้นของบริษัท B มีความน่าสนใจกว่าหุ้นบริษัท A เพราะมีค่า P/E ต่ำกว่า จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ชัดว่าเหตุใดบริษัทที่มีค่า P/E ต่ำกว่าจึงน่าลงทุนมากกว่า เพราะผลกำไรต่อหุ้นเท่ากัน แต่ราคาหุ้นมีความแตกต่างกันค่อนข้างเยอะ ซึ่งในกรณีนี้ ท่านนักลงทุนอาจวิเคราะห์อย่างง่ายๆโดยการดูราคาเพียงอย่างเดียว แต่หากกำไรต่อหุ้นไม่เท่ากัน เช่น บริษัท B มีกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 5 บาท และราคาหุ้นอยู่ที่ 40 บาท ถ้าดูเพียงราคา อาจจะเห็นว่าหุ้นของบริษัท B มีราคาถูกกว่า แต่ถ้าคำนวณค่า P/E ของบริษัท B จะได้ 8 เท่า ซึ่งก็หมายความว่าหุ้นบริษัท B แพงกว่าหุ้นบริษัท A
นอกจากการเทียบค่า P/E กับบริษัทที่มีลักษณะใกล้เคียงกันแล้ว ท่านนักลงทุนอาจเทียบกับค่า P/E ของบริษัทนั้นๆในอดีต เช่น ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ค่า P/E ของบริษัท A อยู่ที่ 11 เท่า แต่ในปัจจุบัน ค่า P/E อยู่ที่ 7 เท่า ซึ่งอาจบ่งชี้ว่า ค่า P/E ในปัจจุบันต่ำเกินไป และราคาหุ้นของบริษัท A ควรจะปรับตัวสูงขึ้นสู่จุดที่มีค่า P/E เท่ากับ 11 เท่า ซึ่งจากตัวอย่างข้างต้นก็คือ ราคาหุ้นของบริษัท A ควรอยู่ที่ 110 บาท
อย่างไรก็ตาม มีหลายกรณีที่ค่า P/E อาจนำไปสู่การวิเคราะห์ที่ผิดพลาด หรืออาจไม่สะท้อนถึงพื้นฐานที่แท้จริงของบริษัทนั้นๆ จากตัวอย่างการเปรียบเทียบค่า P/E ของบริษัท A และบริษัท B ในกรณีที่ทั้งสองบริษัทมีกำไรสุทธิต่อหน่วยเท่ากับ 10 บาทเท่ากัน แต่หุ้นของบริษัท A มีราคา 70 บาทต่อหุ้น ในขณะที่หุ้นของบริษัท B มีราคา 60 บาทต่อหุ้น ซึ่งหากดูจากค่า P/E เพียงอย่างเดียว แน่นอนว่าหุ้นบริษัท B มีความน่าสนใจมากกว่า เพราะมีราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตาม การที่ราคาหุ้นของบริษัท B มีราคาถูกกว่า อาจมีสาเหตุมาจากหลายประการ เช่น
- บริษัท B อาจบันทึกรายได้ที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ (extraordinary items) เข้ามาในบัญชี และส่งผลให้บริษัทมีกำไรมากขึ้น
- บริษัท A มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งกว่า เป็นผู้นำตลาด หรือเป็นบริษัทขนาดใหญ่ และมีความสามารถในการสร้างกำไรที่ดีกว่า นักลงทุนจึงยอมที่จะจ่ายในราคาที่แพงกว่า
- บริษัทที่ทำธุรกิจประเภทเดียวกัน แต่อยู่คนละประเทศ อาจมีค่า P/E ที่ต่างกัน เนื่องจากแต่ละตลาดมีความเสี่ยงแตกต่างกันไป เช่น ความผันผวนของตลาด ขนาดของตลาด ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงด้านกฎหมาย เป็นต้น
นอกจากนี้ การเปรียบเทียบกับค่า P/E ในอดีตของบริษัทนั้นๆเอง ก็อาจส่งผลให้การวิเคราะห์ผิดพลาดได้เช่นกัน การที่ค่า P/E ของบริษัทหนึ่งลดต่ำลงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต อาจเกิดจากมุมมองที่มีต่อบริษัทแย่ลง เช่น ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ค่า P/E ของบริษัท XYZ อยู่ที่ 15 เท่า แต่ในปัจจุบัน ค่า P/E อยู่ที่ 7 เท่า ซึ่งหากท่านนักลงทุนวิเคราะห์จากค่า P/E เพียงอย่างเดียว จะเห็นว่าหุ้นราคาถูกมาก แต่ในความเป็นจริง การที่ค่า P/E ในปัจจุบันอยู่ต่ำกว่าค่าในอดีตอาจเป็นเพราะตลาดมองว่าผลประกอบการของบริษัทในปีนี้จะลดลงมาก ซึ่งจะส่งผลให้กำไรต่อหุ้นลดลง และค่า P/E ในอนาคตจะสูงขึ้นเนื่องจากค่า E (กำไรสุทธิต่อหน่วย) ลดลง (สมมุติว่าปัจจุบันราคาหุ้น = 70 บาท กำไรสุทธิต่อหุ้น = 10 บาท ค่า P/E = 7 เท่า เมื่อถึงสิ้นปีนี้ ราคาหุ้น = 70 บาทเท่าเดิม แต่กำไรสุทธิต่อหุ้นลดลงเหลือ 5 บาท ค่า P/E จะเท่ากับ 14 เท่า)
การวิเคราะห์การลงทุนจากค่า P/E ที่ผมอธิบายในวันนี้เป็นเพียงหลักการวิเคราะห์เบื้องต้นเท่านั้น เพราะในโลกของความเป็นจริง การตัดสินใจลงทุนที่ดีไม่ได้เกิดจากการวิเคราะห์ค่า P/E เพียงอย่างเดียว ยังมีองค์ประกอบอื่นๆอีกหลายประการที่ต้องคำนึงถึง ท่านนักลงทุนควรทำการวิเคราะห์ในเชิงลึก และควรมีความเข้าใจในบริษัทที่ท่านลงทุนเป็นอย่างดี