xs
xsm
sm
md
lg

มาตรการกระตุ้น ศก.ประเทศ แผนการรับมือปัญหาจากวิกฤต

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

"แผนกระตุ้นเศรษฐกิจของชาติต่างๆจะมีบทบาทสำคัญต่อการขยายตัวของการส่งออกเอเชีย ซึ่งถ้าแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีความล่าช้าออกไปยิ่งส่งผลให้อัตราการขยายตัวของการส่งออกชาติเอเชียมีแนวโน้มหดตัวในระดับรุนแรงมากขึ้น"


สถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI) ได้เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศอังกฤษว่า การประชุมธนาคารกลางอังกฤษในช่วงวันที่ 8 ม.ค. 2552 ได้มีการตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 50 bps ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ไปอยู่ที่ระดับ 1.5% ซึ่งถือได้ว่าเป็นระดับที่ต่ำที่สุดตั้งแต่มีการก่อตั้งธนาคารกลางของอังกฤษขึ้นในปี พ.ศ. 2237 หรือในรอบกว่า 315 ปี โดยว่าประเมินสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องในการประชุมครั้งถัดไปของธนาคารกลางอังกฤษยังคงมีอยู่สูง แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าช่วงการปรับลดค่อนข้างที่จำกัดแล้ว โดยมองระดับต่ำสุดไว้ที่ระดับ 0.5-1.0% ภายในช่วง ไตรมาส 1ของปี2552 โดยการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายติดต่อกันกันในเดือนนี้ของทางธนาคารกลางงอังกฤษ ยังคงมีจุดประสงค์สำคัญอยู่ที่ความพยายามในการที่จะชะลอภาวะถดถอยของเศรษฐกิจอังกฤษ ให้กลับมามีเสถียรภาพโดยเร็ว เนื่องจากว่าสถานการณ์ของตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาในช่วงหลังยังคงส่งสัญญาณถึงการถดถอยของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของอังกฤษ (Final GDP) ในช่วง ไตรมาส3ของปี2551 มีการปรับตัวลดลงถึง -0.6% qoq และยังมีการคาดว่าจะขยายตัวติดลบได้อย่างต่อเนื่องในช่วง ไตรมาส4ของปีเดียวกัน เนื่องจากตัวเลขในด้านของภาคการผลิตที่มีการชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว

ดังนั้นแล้วจึงประเมินว่าทางธนาคารกลางอังกฤษคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเข้ามาช่วยเหลือทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตในการสนับสนุนให้มีต้นทุนในการดำเนินงานที่ต่ำลง ซึ่งจะช่วยประคับประคองไม่ให้ภาวะการถดถอยของเศรษฐกิจกินระยะเวลายาวนานมากนัก แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าขนาดในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงคงจะไม่ถึงขั้นลงไปที่ระดับ 0.0% อย่างในสหรัฐฯเนื่องจากปัจจัยความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในประเทศที่ยังคงมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะในด้านของอัตราการออม และความเสี่ยงทางด้านอัตราเงิน ขณะเดียวกันยังประเมินว่าจุดต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของอังกฤษจะอยู่ที่ระดับประมาณ 0.5-1.0% ภายในช่วง ไตรมาสแรกของปี2552 นี้ และถึงจะเป็นการทรงตัวในระดับต่ำต่อเนื่องอย่างน้อยไปจนถึงช่วงปลายปี

ทั้งนี้ สถาบันวิจัยนครหลวงไทย มุมมองต่อสถานการณ์ว่า จากรายงานตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ยังอยู่ในเชิงลบ จึงคาดว่าธนาคารกลาง ต่างๆ จะยังคงปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อเนื่องซึ่งประเมินว่าจะถึงจุดต่ำสุดในช่วง 1H/52 และ หลังจากนั้นจะเป็นการใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative easing) โดยเป็นการใช้วงเงินค่อนข้างมากในการเข้าซื้อ ตราสารหนี้ภาคธนาคารและ สร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยรัฐบาลจะเข้ามาเป็นผู้รับประกัน

การส่งออกเอเชียมีแนวโน้มชะลอตัวในปี 2552

โดย สถาบันวิจัยนนครหลวงไทยประเมินว่า จากตัวเลขอัตราการขยายตัวการส่งออกรายเดือนของไต้หวันและเกาหลีใต้ในเดือนธันวาคม 51 ที่พึ่งประกาศออกมาโดยมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกรายเดือนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ - 41 % yoy และ -17 % yoy ตามลำดับนั้นสะท้อนถึงแนวโน้มการส่งออกของเอเชียชาติอื่นๆ อาทิ อินเดีย จีน อินโดนีเซีย ในเดือนธันวาคมน่าจะมีอัตราการขยายตัวที่หดตัวลงตาม 2 ชาติดังกล่าว ขณะที่บทบาทของการส่งออกต่ออัตราการขยายตัวทาง GDP ในชาติเอเชียนั้นมีบทบาทในระดับสูง การหดตัวของการส่งออกมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP ของชาติ Asia ในไตรมาสแรกของปี 2552 นั้นจะชะลอตัวลงอย่างรุนแรงและในบางประเทศจะหดตัว

อย่างไรก็ตามมีความเห็นว่าแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของชาติต่างๆนั้นจะมีบทบาทสำคัญต่อการขยายตัวของการส่งออกเอเชีย ซึ่งถ้าแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีความล่าช้าออกไปยิ่งส่งผลให้อัตราการขยายตัวของการส่งออกชาติเอเชียมีแนวโน้มหดตัวในระดับรุนแรงมากขึ้นและส่งผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP ในบางประเทศชะลอลงและในบางประเทศอาจะหดตัว

ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ชาติต่างๆเฉพาะในเอเชียจะได้รับกันนั่นก็คือเรื่องของปัญหาการส่งออกเพราะประเทศสหรัฐฯและยุโรปยังคงเป็นตลาดคู่ค้าหลักของประเทสเผปล่านี้อยู่ ซึ่งหากการส่งออกมีการชะตัวลงไปมากแล้วจะส่งผลไปถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐของประเทศและส่งผลต่อเนื่องไปอีกในหลายๆเรื่องเช่น การว่างงาน และการลงทุน ดังนั้นแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของหลายชาติจึงต้องทำพร้อมกับไปเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจทรุดหนักลงไป


กำลังโหลดความคิดเห็น