คอลัมน์ ถนนสู่การลงทุน
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University) และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
ตราสารอนุพันธ์ บทเรียนก่อนการเลือกลงทนุใน
SET50 Index Futures / SET50 Index Options / Stock Future / และอนุพันธ์ทองคำ (ตอน 4)
หากกล่าวถึงความเป็นมาของตราสารอนุพันธ์ นั้นมีผู้คาดการณ์ว่า ตราสารอนุพันธ์นั้นน่าจะมีมาตั้งแต่โบราณ แต่พอจะมีหลักฐานที่ปรากฎชัดและบันทึกว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยศตวรรษที่ 17 หรือประมาณปี ค.ศ. 1630 ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นสัญญาการซื้อขายล่วงหน้าดอกทิวลิป ด้วยที่ว่าดอกทิวลิปในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่มีผู้นิยมจำนวนมาก เกิดสินค้าขาดตลาด ฝ่ายผู้ขายและพ่อค้าคนกลางจึงทำการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงของทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายผู้ขายก็จะขายดอกทิวลิปได้ในจำนวนที่ตนมีสัญญาขายล่วงหน้าอยู่แน่นอน และฝ่ายผู้ซื้อก็จะได้รับสินค้าตามที่ต้องการ พร้อมทั้งสามารถกำหนดราคาสินค้าได้ล่วงหน้า ไม่ผันผวนตามปริมาณสินค้าที่จะเป็นในอนาคต
ในช่วงเวลาต่อมาอีกไม่กี่ปีในประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีการทำสัญญาซื้อขายข้าวล่วงหน้า เพื่อเป็นการป้องกันการผันผวนของราคาข้าว เพราะโดยปกติในช่วงเวลาดังกล่าวชาวนาญี่ปุ่นโดยส่วนใหญ่ทำนาโดยเช่าที่นาของเจ้าของนา เมื่อชาวนาปลูกข้าวและสามารถขายได้ ชาวนาก็จะนำเงินมาชำระค่าเช่าที่นา แต่ในบางปี จำนวนข้าวในตลาดมีมากกว่าปกติ หรืออาจเกิดการขาดแคลน ทำให้ราคาข้าวนั้นมีราคาที่ผันผวน คือ เมื่อข้าวขาดตลาด ราคาข้าวจะสูงขึ้น และเมื่อข้าวมีมากจนเกินไป ราคาข้าวก็จะลดลง ทำให้ชาวนานั้นไม่สามารถชำระค่าเช่าที่นาได้ในบางปี
เจ้าของที่นาจึงทำการนำข้าวของชาวนาทั้งหมดเก็บไว้ในยุ้งข้าว และทำตั๋วข้าว (Rice Ticket) ขึ้นมา เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ที่ต้องการซื้อข้าว โดยทะยอยเขียนสัญญาขึ้นมาสำหรับขายข้าวในเดือนต่าง ๆ ไม่ให้จำนวนข้าวทะลักออกสู่ตลาดพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้ราคาไม่ดี การที่เจ้าของที่นาทำเช่นนี้เป็นการทะยอยนำข้าวออกขายสู่ตลาดในเดือนที่แตกต่างกัน โดยทำเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของทั้งผู้ปลูกข้าวที่จะสามารถขายได้ตามราคาที่ตนต้องการ และผู้ซื้อก็จะสามารถแน่นอนใจได้ว่าในอนาคต ตนจะได้รับข้าวตามจำนวนที่ต้องการ และมีราคาตามที่ต้องการ ส่วนฝ่ายของเจ้าของที่นาก็จะได้รับค่าเช่าที่นาครบตามจำนวนด้วยเช่นเดียวกัน
ต่อมาศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอย่างเป็นทางการ (Organized Exchange) จึงเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1848 โดยมีการตั้งตลาดขึ้นในชื่อของ Chicago Board of Trade (CBOT) ซึ่งในช่วงแรกของการจัดตั้งตลาดนั้นสัญญาที่ทำการซื้อขายกันเป็นสัญญาประเภท Forward แต่ต่อมาเมื่อมีผู้เข้ามาลงทุนและเก็งกำไรในตลาด CBOT มากขึ้นสัญญาแบบ Forward จึงถูกเปลี่ยนมาเป็น Futures แทน เพื่อให้สัญญามีลักษณะเป็นมาตรฐานขึ้น ทำให้การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นสามารถซื้อขายกันได้ง่ายขึ้น กับอีกทั้งการชำระราคาซื้อขายก็เป็นมาตรฐานมากขึ้น มีการเรียกเงินประกัน เพื่อไม่ให้คู่สัญญาผิดนัดชำระราคาได้
ต่อมาในปี ค.ศ. 1919 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เปิดตลาดสำหรับ ตราสารอนุพันธ์ อีก 1 ตลาด คือ Chicago Mercantile Exchange (CME) เป็นตลาดที่เปิดขึ้นมาเพื่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตราสารทางการเงิน (Financial Futures Contract) เป็นส่วนใหญ่ และต่อมาในปี ค.ศ. 1973 Chicago Board of Trade เองก็ได้มีการนำตราสารทางการเงินประเภท Option เข้ามาสู่ตลาดอนุพันธ์เป็นครั้งแรก
กลไกการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ เป็นการทำสัญญาเพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าอ้างอิงในอนาคต ซึ่งมีความแตกต่างจากการซื้อสินค้าหรือบริการโดยทั่วไป ซึ่งมีการซื้อขายที่มีการชำระเงินและส่งมอบสินค้าและบริการทันที การซื้อขายตราสารอนุพันธ์นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่หนึ่ง การซื้อขายผ่านระบบตลาดที่มีระเบียบ (Organized Exchange) ซึ่งการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ในระบบตลาดที่มีระเบียบ นั้นจะมีกรรมวิธีการซื้อขายคล้ายกับการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ คือ ตลาดแบบมีระเบียบเป็นตลาดที่มีการซื้อและขายหลักทรัพย์หรือตราสารอนุพันธ์อย่างเปิดเผย มีการกำหนดราคา และช่วงของการขึ้นลงราคาอย่างชัดเจน ข้อมูลข่าวสารของผู้ลงทุนจะได้รับอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน มีการเปิดเผยราคาหลักทรัพย์และราคาอนุพันธ์ให้ประชาชนผู้ลงทุนทราบ เช่น การถ่ายทอดสดราคาของหลักทรัพย์หรือตราสารอนุพันธ์ทางสถานีโทรทัศน์ หรือบนอินเตอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งการตีพิมพ์ราคาของหลักทรัพย์หรือตราสารอนุพันธ์ในหนังสือพิมพ์ เป็นต้น และการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ผ่านระบบของตลาดอนุพันธ์ที่มีระเบียบ ผู้ลงทุนทั้งฝ่ายซื้อและฝ่ายขายจะต้องถูกเรียกเงินประกัน
การซื้อขายตราสารอนุพันธ์ในระบบตลาดแบบมีระเบียบ จะมีการการซื้อขายแบบ Electronic หรือ Open Outcry ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าตลาดจะเปิดให้มีการซื้อขายแบบใด แต่ส่วนใหญ่แล้วตลาดอนุพันธ์จะนิยมใช้ระบบ Open Outcry เป็นระบบในการต่อรองราคาซื้อขายตราสารอนุพันธ์ โดยที่ระบบนี้จะเป็นการเปิดให้ Broker และ ผู้ค้าตราสารอนุพันธ์รายใหญ่ สามารถเข้ามาทำการซื้อและขายตราสารอนุพันธ์ ซึ่งสามารถทำการซื้อขายใน Floor ได้ การซื้อการขายจะกระทำที่ Pitch ของสินค้าประเภทต่าง ๆ โดยมีการส่งสัญญาณมือเป็นการต่อรองราคา ทั้งนี้ในตลาดจะมีระบบทำการบันทึกภาพวีดีโอ เพื่อเป็นหลักฐานในการตกลงในสัญญาต่าง ๆ และเมื่อทำการซื้อขายเสร็จสิ้นจึงจะมีการจดทะเบียนยอดซื้อขายกัน การซื้อขายในระบบ Open Outcry นี้มีโอกาสในการผิดพลาดได้ง่ายกว่าระบบ Electronic มาก
รูปแบบที่สอง การซื้อขายผ่านตลาดต่อรอง (Dealer หรือ Over-The-Counter: OTC) เป็นการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ที่เราสามารถเรียกได้ว่าเป็นระบบนอกตลาด คือ เป็นการซื้อขายตราสารอนุพันธ์โดยการตกลงกันเองระหว่าง ผู้ลงทุน โดยที่การซื้อขายตราสารอนุพันธ์นั้นจะทำการชำระราคาและส่งมอบกันนอกระบบตลาด คือ ไม่มีการซื้อขายผ่านตลาดแบบมีระเบียบ แต่ในต่างประเทศการซื้อขายในระบบ OTC นี้ เป็นการซื้อขายที่มีนักลงทุน และนักเก็งกำไรทำการซื้อขายมากที่สุด เป็นตลาดที่ได้รับความนิยมมาก
นอกจากนี้ระบบของตลาดแบบมีระเบียบนั้น มีความแตกต่างจากตลาด OTC คือ การซื้อและขายสัญญาล่วงหน้าต่าง ๆ นั้นจะต้องมีการเรียกเงินประกัน เพื่อเป้นการป้องกันไม่ให้นักลงทุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกิดความเสี่ยง เพราะหากไม่มีการเรียกเก็บเงินประกันแล้ว หากนักลงทุนฝ่ายใดเกิดการขาดทุน นักลงทุนฝ่ายนั้นอาจไม่มาชำระราคา หรือไม่มาส่งมอบสินทรัพย์ตามที่ตกลงกันไว้
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University) และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
ตราสารอนุพันธ์ บทเรียนก่อนการเลือกลงทนุใน
SET50 Index Futures / SET50 Index Options / Stock Future / และอนุพันธ์ทองคำ (ตอน 4)
หากกล่าวถึงความเป็นมาของตราสารอนุพันธ์ นั้นมีผู้คาดการณ์ว่า ตราสารอนุพันธ์นั้นน่าจะมีมาตั้งแต่โบราณ แต่พอจะมีหลักฐานที่ปรากฎชัดและบันทึกว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยศตวรรษที่ 17 หรือประมาณปี ค.ศ. 1630 ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นสัญญาการซื้อขายล่วงหน้าดอกทิวลิป ด้วยที่ว่าดอกทิวลิปในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่มีผู้นิยมจำนวนมาก เกิดสินค้าขาดตลาด ฝ่ายผู้ขายและพ่อค้าคนกลางจึงทำการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงของทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายผู้ขายก็จะขายดอกทิวลิปได้ในจำนวนที่ตนมีสัญญาขายล่วงหน้าอยู่แน่นอน และฝ่ายผู้ซื้อก็จะได้รับสินค้าตามที่ต้องการ พร้อมทั้งสามารถกำหนดราคาสินค้าได้ล่วงหน้า ไม่ผันผวนตามปริมาณสินค้าที่จะเป็นในอนาคต
ในช่วงเวลาต่อมาอีกไม่กี่ปีในประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีการทำสัญญาซื้อขายข้าวล่วงหน้า เพื่อเป็นการป้องกันการผันผวนของราคาข้าว เพราะโดยปกติในช่วงเวลาดังกล่าวชาวนาญี่ปุ่นโดยส่วนใหญ่ทำนาโดยเช่าที่นาของเจ้าของนา เมื่อชาวนาปลูกข้าวและสามารถขายได้ ชาวนาก็จะนำเงินมาชำระค่าเช่าที่นา แต่ในบางปี จำนวนข้าวในตลาดมีมากกว่าปกติ หรืออาจเกิดการขาดแคลน ทำให้ราคาข้าวนั้นมีราคาที่ผันผวน คือ เมื่อข้าวขาดตลาด ราคาข้าวจะสูงขึ้น และเมื่อข้าวมีมากจนเกินไป ราคาข้าวก็จะลดลง ทำให้ชาวนานั้นไม่สามารถชำระค่าเช่าที่นาได้ในบางปี
เจ้าของที่นาจึงทำการนำข้าวของชาวนาทั้งหมดเก็บไว้ในยุ้งข้าว และทำตั๋วข้าว (Rice Ticket) ขึ้นมา เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ที่ต้องการซื้อข้าว โดยทะยอยเขียนสัญญาขึ้นมาสำหรับขายข้าวในเดือนต่าง ๆ ไม่ให้จำนวนข้าวทะลักออกสู่ตลาดพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้ราคาไม่ดี การที่เจ้าของที่นาทำเช่นนี้เป็นการทะยอยนำข้าวออกขายสู่ตลาดในเดือนที่แตกต่างกัน โดยทำเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของทั้งผู้ปลูกข้าวที่จะสามารถขายได้ตามราคาที่ตนต้องการ และผู้ซื้อก็จะสามารถแน่นอนใจได้ว่าในอนาคต ตนจะได้รับข้าวตามจำนวนที่ต้องการ และมีราคาตามที่ต้องการ ส่วนฝ่ายของเจ้าของที่นาก็จะได้รับค่าเช่าที่นาครบตามจำนวนด้วยเช่นเดียวกัน
ต่อมาศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอย่างเป็นทางการ (Organized Exchange) จึงเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1848 โดยมีการตั้งตลาดขึ้นในชื่อของ Chicago Board of Trade (CBOT) ซึ่งในช่วงแรกของการจัดตั้งตลาดนั้นสัญญาที่ทำการซื้อขายกันเป็นสัญญาประเภท Forward แต่ต่อมาเมื่อมีผู้เข้ามาลงทุนและเก็งกำไรในตลาด CBOT มากขึ้นสัญญาแบบ Forward จึงถูกเปลี่ยนมาเป็น Futures แทน เพื่อให้สัญญามีลักษณะเป็นมาตรฐานขึ้น ทำให้การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นสามารถซื้อขายกันได้ง่ายขึ้น กับอีกทั้งการชำระราคาซื้อขายก็เป็นมาตรฐานมากขึ้น มีการเรียกเงินประกัน เพื่อไม่ให้คู่สัญญาผิดนัดชำระราคาได้
ต่อมาในปี ค.ศ. 1919 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เปิดตลาดสำหรับ ตราสารอนุพันธ์ อีก 1 ตลาด คือ Chicago Mercantile Exchange (CME) เป็นตลาดที่เปิดขึ้นมาเพื่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตราสารทางการเงิน (Financial Futures Contract) เป็นส่วนใหญ่ และต่อมาในปี ค.ศ. 1973 Chicago Board of Trade เองก็ได้มีการนำตราสารทางการเงินประเภท Option เข้ามาสู่ตลาดอนุพันธ์เป็นครั้งแรก
กลไกการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ เป็นการทำสัญญาเพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าอ้างอิงในอนาคต ซึ่งมีความแตกต่างจากการซื้อสินค้าหรือบริการโดยทั่วไป ซึ่งมีการซื้อขายที่มีการชำระเงินและส่งมอบสินค้าและบริการทันที การซื้อขายตราสารอนุพันธ์นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่หนึ่ง การซื้อขายผ่านระบบตลาดที่มีระเบียบ (Organized Exchange) ซึ่งการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ในระบบตลาดที่มีระเบียบ นั้นจะมีกรรมวิธีการซื้อขายคล้ายกับการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ คือ ตลาดแบบมีระเบียบเป็นตลาดที่มีการซื้อและขายหลักทรัพย์หรือตราสารอนุพันธ์อย่างเปิดเผย มีการกำหนดราคา และช่วงของการขึ้นลงราคาอย่างชัดเจน ข้อมูลข่าวสารของผู้ลงทุนจะได้รับอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน มีการเปิดเผยราคาหลักทรัพย์และราคาอนุพันธ์ให้ประชาชนผู้ลงทุนทราบ เช่น การถ่ายทอดสดราคาของหลักทรัพย์หรือตราสารอนุพันธ์ทางสถานีโทรทัศน์ หรือบนอินเตอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งการตีพิมพ์ราคาของหลักทรัพย์หรือตราสารอนุพันธ์ในหนังสือพิมพ์ เป็นต้น และการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ผ่านระบบของตลาดอนุพันธ์ที่มีระเบียบ ผู้ลงทุนทั้งฝ่ายซื้อและฝ่ายขายจะต้องถูกเรียกเงินประกัน
การซื้อขายตราสารอนุพันธ์ในระบบตลาดแบบมีระเบียบ จะมีการการซื้อขายแบบ Electronic หรือ Open Outcry ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าตลาดจะเปิดให้มีการซื้อขายแบบใด แต่ส่วนใหญ่แล้วตลาดอนุพันธ์จะนิยมใช้ระบบ Open Outcry เป็นระบบในการต่อรองราคาซื้อขายตราสารอนุพันธ์ โดยที่ระบบนี้จะเป็นการเปิดให้ Broker และ ผู้ค้าตราสารอนุพันธ์รายใหญ่ สามารถเข้ามาทำการซื้อและขายตราสารอนุพันธ์ ซึ่งสามารถทำการซื้อขายใน Floor ได้ การซื้อการขายจะกระทำที่ Pitch ของสินค้าประเภทต่าง ๆ โดยมีการส่งสัญญาณมือเป็นการต่อรองราคา ทั้งนี้ในตลาดจะมีระบบทำการบันทึกภาพวีดีโอ เพื่อเป็นหลักฐานในการตกลงในสัญญาต่าง ๆ และเมื่อทำการซื้อขายเสร็จสิ้นจึงจะมีการจดทะเบียนยอดซื้อขายกัน การซื้อขายในระบบ Open Outcry นี้มีโอกาสในการผิดพลาดได้ง่ายกว่าระบบ Electronic มาก
รูปแบบที่สอง การซื้อขายผ่านตลาดต่อรอง (Dealer หรือ Over-The-Counter: OTC) เป็นการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ที่เราสามารถเรียกได้ว่าเป็นระบบนอกตลาด คือ เป็นการซื้อขายตราสารอนุพันธ์โดยการตกลงกันเองระหว่าง ผู้ลงทุน โดยที่การซื้อขายตราสารอนุพันธ์นั้นจะทำการชำระราคาและส่งมอบกันนอกระบบตลาด คือ ไม่มีการซื้อขายผ่านตลาดแบบมีระเบียบ แต่ในต่างประเทศการซื้อขายในระบบ OTC นี้ เป็นการซื้อขายที่มีนักลงทุน และนักเก็งกำไรทำการซื้อขายมากที่สุด เป็นตลาดที่ได้รับความนิยมมาก
นอกจากนี้ระบบของตลาดแบบมีระเบียบนั้น มีความแตกต่างจากตลาด OTC คือ การซื้อและขายสัญญาล่วงหน้าต่าง ๆ นั้นจะต้องมีการเรียกเงินประกัน เพื่อเป้นการป้องกันไม่ให้นักลงทุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกิดความเสี่ยง เพราะหากไม่มีการเรียกเก็บเงินประกันแล้ว หากนักลงทุนฝ่ายใดเกิดการขาดทุน นักลงทุนฝ่ายนั้นอาจไม่มาชำระราคา หรือไม่มาส่งมอบสินทรัพย์ตามที่ตกลงกันไว้