กบข.เผยแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีหน้า ยังเผชิญความเสี่ยง เหตุภาวะเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณถดถอย ระบุส่งผลพวงถึงผู้ออกตราสารหนี้รับความเสี่ยงเพิ่ม ชี้ช่องลงทุนทางเลือก ช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาส สร้างผลตอบแทนการลงทุน
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวถึงข้อเสนอแนะของนักวิชาการและนักลงทุนสถาบันในงานสัมมนาประจำปี2551 ในหัวข้อ “มองเศรษฐกิจไทยสู่โลก :สร้างโอกาสด้วย Alternative Investment” โดยหลายฝ่ายประเมินว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะสิ้นสุดในกลางปี 2552 แต่เศรษฐกิจจะเติบโตในอัตราที่ต่ำในช่วงหลังจากนั้น และต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปีกว่าที่สหรัฐฯ จะกลับเข้าสู่การเติบโตในระดับปกติ
ทั้งนี้ สภาวะดังกล่าวจะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง และทำให้แนวโน้มการส่งออกของไทยชะลอตัวไปจนถึงกลางปีหน้า กดดันให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยขยายตัวเพียงร้อยละ 2.0-3.0 ในปี 2552 โดยผลกระทบสำคัญที่ประเทศไทยได้รับโดยตรง จะเป็นเรื่องของการส่งออกที่ชะลอตัว เนื่องจากการส่งออกเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นในปีหน้านี้ นายวิสิฐ คาดว่าตลาดยังคงผันผวน ในขณะที่ความเสี่ยงของผู้ออกตราสารหนี้ก็จะมีมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ดังนั้น การลงทุนทางเลือก (Alternative Investment) ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในนิติบุคคลเอกชน ( Private Equity) อสังหาริมทรัพย์ สาธารณูปโภค สินค้าโภคภัณฑ์และ Hedge Fund จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการช่วยกระจายความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนระยะยาวแก่พอร์ตการลงทุน โดยในช่วงที่ผ่านมากองทุนบำนาญในยุโรปได้มีการปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทดังกล่าวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การลงทุนทางเลือกยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูล ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการที่สูง สภาพคล่องของสินทรัพย์และธรรมาภิบาลของการลงทุน
อย่างไรก็ตาม นายวิสิฐ ยังได้กล่าวถึงทิศทางการลงทุนในปีอนาคตว่า กบข. จะพลิกอัตราผลตอบแทนเป็นบวกได้จากการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้น โดยเชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในปีหน้า จะไม่เลวร้ายเหมือนปี 2540 และคาดการณ์ว่าปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะมีการเติบโตร้อยละ 3 -3.5 ของจีดีพี ประกอบกับการลงทุนของ กบข. ในช่วงที่ผ่านมาได้ทบทวนสัดส่วนการลงทุนเรียบร้อยแล้ว โดยมีสัดส่วนลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลร้อยละ 60 การลงทุนทางเลือกซึ่งปัจจุบันลงทุนไปแล้วร้อยละ4 จากเพดานร้อยละ 6.5-7 รวมทั้งยังมีการลงทุนบริษัทโดยตรง ซึ่งเป็นบริษัทนอกตลาดทั้งในและต่างประเทศซึ่งปัจจุบันลงทุนไปแล้วร้อยละ 3.4 จากเพดานร้อยละ 7
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวถึงข้อเสนอแนะของนักวิชาการและนักลงทุนสถาบันในงานสัมมนาประจำปี2551 ในหัวข้อ “มองเศรษฐกิจไทยสู่โลก :สร้างโอกาสด้วย Alternative Investment” โดยหลายฝ่ายประเมินว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะสิ้นสุดในกลางปี 2552 แต่เศรษฐกิจจะเติบโตในอัตราที่ต่ำในช่วงหลังจากนั้น และต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปีกว่าที่สหรัฐฯ จะกลับเข้าสู่การเติบโตในระดับปกติ
ทั้งนี้ สภาวะดังกล่าวจะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง และทำให้แนวโน้มการส่งออกของไทยชะลอตัวไปจนถึงกลางปีหน้า กดดันให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยขยายตัวเพียงร้อยละ 2.0-3.0 ในปี 2552 โดยผลกระทบสำคัญที่ประเทศไทยได้รับโดยตรง จะเป็นเรื่องของการส่งออกที่ชะลอตัว เนื่องจากการส่งออกเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นในปีหน้านี้ นายวิสิฐ คาดว่าตลาดยังคงผันผวน ในขณะที่ความเสี่ยงของผู้ออกตราสารหนี้ก็จะมีมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ดังนั้น การลงทุนทางเลือก (Alternative Investment) ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในนิติบุคคลเอกชน ( Private Equity) อสังหาริมทรัพย์ สาธารณูปโภค สินค้าโภคภัณฑ์และ Hedge Fund จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการช่วยกระจายความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนระยะยาวแก่พอร์ตการลงทุน โดยในช่วงที่ผ่านมากองทุนบำนาญในยุโรปได้มีการปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทดังกล่าวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การลงทุนทางเลือกยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูล ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการที่สูง สภาพคล่องของสินทรัพย์และธรรมาภิบาลของการลงทุน
อย่างไรก็ตาม นายวิสิฐ ยังได้กล่าวถึงทิศทางการลงทุนในปีอนาคตว่า กบข. จะพลิกอัตราผลตอบแทนเป็นบวกได้จากการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้น โดยเชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในปีหน้า จะไม่เลวร้ายเหมือนปี 2540 และคาดการณ์ว่าปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะมีการเติบโตร้อยละ 3 -3.5 ของจีดีพี ประกอบกับการลงทุนของ กบข. ในช่วงที่ผ่านมาได้ทบทวนสัดส่วนการลงทุนเรียบร้อยแล้ว โดยมีสัดส่วนลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลร้อยละ 60 การลงทุนทางเลือกซึ่งปัจจุบันลงทุนไปแล้วร้อยละ4 จากเพดานร้อยละ 6.5-7 รวมทั้งยังมีการลงทุนบริษัทโดยตรง ซึ่งเป็นบริษัทนอกตลาดทั้งในและต่างประเทศซึ่งปัจจุบันลงทุนไปแล้วร้อยละ 3.4 จากเพดานร้อยละ 7