สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ถือเป็นหน่วยงานสำคัญ ที่มีบาบาทในการกำกับดูแลธุรกิจที่เกี่ยวกับตลาดทุนไทย ซึ่งหนึ่งในนั้น ได้รวมถึงบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ด้วย...และที่ผ่านมา บทบาทของสำนักงาน ก.ล.ต.เอง หากมองในหลายแง่มุม ต้องบอกว่า บางอย่างอาจจะสนับสนุนและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ แต่บางอย่างก็เป็นข้อจำกัดในการทำธุรกิจบ้าง
และเท่าที่ติดตามกฏเกณฑ์ต่างๆ ของ สำนักงาน ก.ล.ต. ที่ออกมา ค่อนข้างจะให้ความสำคัญกับนักลงทุนรายย่อยเป็นพิเศษ จนบางครั้งอาจจะลืมความนึกถึงผลอาจจะเกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการไปบ้าง...ดังนั้น วันนี้จึงขอนำเสนอ**เสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการถึงผู้กำกับ** ว่าขณะนี้ มีปัญหาหรือข้อจำกัดอะไรบ้าง ที่อยากให้ผู้กำกับแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้สมบูรณ์มากขึ้น
ฉัตรพี ตันติเฉลิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด หรือ เอวายเอฟ กล่าวว่า บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในช่วงที่ผ่านมา ถือว่าเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีการรับฟังข้อมูลจากทางผู้ประกอบการมากขึ้น แต่การปรับเปลี่ยนกฎกติกาบางครั้ง ก็อยากจะให้ทันต่อสถานการณ์ด้วย
"แม้จะเข้าใจว่าทางสำนักงานก.ล.ต.มีความเป็นห่วงเป็นใยผู้ลงทุน แต่ถ้าห่วงมากจนเกินไปบางครั้งก็ไม่เอื้อำนวยให้กับทางผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจเช่นเดียวกัน ซึ่งสุดท้ายประชาชนผู้ลงทุนก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไร จึงอยากให้ทางสำนักงานก.ล.ต.มีความยืดหยุ่นให้กับทางผู้ประกอบการได้มากขึ้น"
โดยประเด็นที่อยากให้สำนักงานก.ล.ต พิจารณา เช่น ช่วงเวลาของการเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (ไอพีโอ) ของกองทุน โดยตามหลักเกณฑ์กองทุนที่เปิดขาย จะต้องเปิดให้ครบ 7 วัน ซึ่งบางครั้งกว่าจะเสนอขายจนปิดการขาย อัตราดอกเบี้ยในตลาดก็เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ซึ่งภาวะที่เปลี่ยนไปเช่นนี้ ในบางครั้งเราก็อยากจะปิดการขายได้ก่อนครบไอพีโอ 7 วัน เพราะนั้นอาจจะเป็นจังหวะการลงทุนของกองทุนที่เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ถือหน่วยลงทุนก็ได้
ขณะเดียวกันการปรับเปลี่ยนที่ไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์ก็อาจจะทำให้การพัฒนาโพรดักท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ยาก เช่น กองทุนที่ไปลงทุนในกองทุนป้องกันความเสี่ยง (Hedge Fund) เป็นต้น ก็จะเกิดยาก โดยภาพรวมถือว่าดีขึ้นแต่อยากให้สำนักงานก.ล.ต.มีความยืดหยุ่นมากกว่านี้
โชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด เล่าว่า ถึงวันนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. ยังไม่เปิดทางให้กองทุนสามารถลงทุนในกองทุนของตัวเองได้ หลังจากที่เราเองได้เสนอให้สำนักงานพิจารณาไปสักพักหนึ่งแล้ว
โดยรายละเอียดของแนวทางที่เราเสนอไปนั้น เราต้องการให้มีกองทุนกองเดียว เป็นกองทุนหลัก แล้วค่อยแยกประเภทของบัญชีออกเป็นแต่ละชนิดแทน เช่น กองทุนเปิดทหารไทย JUMBO ของเรา ถ้าเราสามารถตั้งเพียงกองทุนเดียว แล้วแยกประเภทบัญชีออกเป็นกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) ซึ่งกองทุนเหล่านี้ สามารถเข้าไปลงทุนในกองทุนหลัก ซึ่งมีนโยบายการลงทุนเดียวกันได้...แต่เรื่องนี้ ทางสำนักงาน ก.ล.ต ห่วงว่าจะเป็นปัญหายุ่งยาก
เมื่อ ก.ล.ต. บอกว่าไม่ได้ เรื่องนี้เราก็เสนอต่อไปว่า ขอเป็นการลงทุนในลักษณะ Feeder Fund ได้หรือไม่ แต่เรื่องนี้ ผิด พ.ร.บ. ถ้าจะแก้ไขก็ต้องไปแก้ไข พ.ร.บ. ด้วย
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เราเห็นว่า การตั้งกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนเดียวกัน เป็นการทำงานซ้ำซ้อน เพราะวันหนึ่งๆ ผู้จัดการกองทุน ต้องทำงานเหมือนกัน แต่ถ้าหากตั้งเป็นกองทุนเดียว นอกจากจะประหยัดต้นทุนแล้ว ยังทำให้การทำงานของผู้จัดการกองทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
อีกเรื่องหนึ่งที่เราเสนอไป เป็นเรื่องเกี่ยวกับ**หลักเกณฑ์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์**...ซึ่งเรื่องนี้ **เราอยากให้สำนักงาน เปิดทางให้กองทุนเข้าไปมีบทบาทในการบริหารงานของผู้เช่าได้มากขึ้น** อาจจะด้วยการเข้าไปนั่งเป็นบอร์ค ควบคุมค่าเช่า เพราะเราเป็นเจ้าของทรัพย์สินเอง จึงน่าจะสามารถทำได้มากกว่าการควบคุมเงินในปัจจุบัน ซึ่งเรื่องนี้ กองทุนในเมืองนอกสามารถทำได้
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สำนักงานก.ล.ต. เอง มีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจจัดการกองทุนมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วง ซึ่งบางหลักเกณฑ์ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดปัญหา เกิดความเสียหายไปแล้ว เช่นกรณีของหลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) ล่าสุด ก.ล.ต. ได้ห้ามโฆษณาผลตอบแทนของกองทุนดังกล่าว ยกเว้นกองทุนนั้นๆ จะต้องระบุผลตอบแทนที่จะได้รับอย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวน
ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าว...ถูกพูดขึ้นมาหลังจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กองหนึ่ง เกิดปัญหาขึ้นมา เนื่องจากเข้าไปลงทุนในทรัพย์สินที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ จนไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนตามที่ระบุไว้กับผู้ถือหน่วยได้
แต่ล่าสุด...การยกเลิกหลักเกณฑ์การขายหน่วยลงทุนของกองทุนแอลทีเอฟปีละ 2 ครั้ง ถือเป็นหลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกับสภาวะการลงทุนที่เกิดขึ้นในขณะนี้เพราะการจำกัดระยะเวลาการขายหน่วยลงทุนได้เพียงปีละ 2 ครั้ง ทำให้นักลงทุนเสียโอกาสในการขายหน่วยลงทุนในช่วงที่ดัชนีปรับตัวขึ้นไปสูงๆ ซึ่งเรื่องนี้ เกิดขึ้นอย่างชัดเจนในปีนี้
เพราะในช่วงต้นปีที่ผ่านมา นักลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนแอลทีเอฟมาครบ 5 ปีปฏิทินแล้ว หลายคนต้องการขายหน่วยลงทุนออกมา เนื่องจากเป็นช่วงที่นักลงทุนยังได้กำไร เพราะขณะนั้นดัชนีหุ้นยังปรับลดลงมาไม่มากนัก...แต่จากข้อจำกัดของหลักเกณฑ์ดังกล่าว หลายคนไม่สามารถขายออกมาได้ จำใจต้องถือมาถึงวันนี้ ซึ่งแน่นอนว่าขาดทุนไปหลายแล้ว
อย่างไรก็ตาม ต้องทำความเข้าใจอีกครั้งว่า หลักเกณฑ์นี้ สำนักงานก.ล.ต. ได้ยกเลิกสำหรับกองทุนแอลทีเอฟทุกกองทุน ไม่ว่าจะถือมานานแค่ไหน หรือจะถือมาแล้ว 5 ปีปฏิทินก็ตาม ก็สามารถขายได้...แต่ทั้งนี้ การยกเลิกครั้งนี้ เป็นการยกเลิกของ ก.ล.ต. เท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า ผู้ลงทุนที่ถือหน่วยไม่ครบ 5 ปีปฏิทินแล้วจะสามารถขายได้โดยไม่ต้องคืนสิทธิลดหย่อนภาษีที่ใช้ไป...เพราะหลักเกณฑ์ของภาษียังเหมือนเดิมตามที่สรรพากรกำหนด นั่นคือ หากต้องการใช้สิทธิลดหย่อนทางภาษี ก็ต้องถือหน่วยลงทุนอย่างน้อย 5 ปีปฏิทิน
ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวไป เป็นเพียงเสียงสะท้อนบางส่วนจากผู้ประกอบการเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าอาจจะยังมีอีกหลายเรื่อง ที่ยังเป็นข้อจำกัดอยู่...แต่ก็ต้องยอมรับว่า หลายเรื่อง ก็เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจนี้จะดำเนินต่อไปได้ ต้องอาศัยทั้งผู้ลงทุนและผู้ประกอบการ ดังนั้น ถ้าหลักเกณฑ์ต่างๆ เอื้อต่อกลุ่มคนทั้ง 2 ฝ่าย ก็น่าจะเป็นกลไกที่ดีให้ธุรกิจพัฒนาต่อไปได้ โดยไม่ต้องมาแก้ไขหรือเพิ่มเติมในภายหลัง
และเท่าที่ติดตามกฏเกณฑ์ต่างๆ ของ สำนักงาน ก.ล.ต. ที่ออกมา ค่อนข้างจะให้ความสำคัญกับนักลงทุนรายย่อยเป็นพิเศษ จนบางครั้งอาจจะลืมความนึกถึงผลอาจจะเกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการไปบ้าง...ดังนั้น วันนี้จึงขอนำเสนอ**เสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการถึงผู้กำกับ** ว่าขณะนี้ มีปัญหาหรือข้อจำกัดอะไรบ้าง ที่อยากให้ผู้กำกับแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้สมบูรณ์มากขึ้น
ฉัตรพี ตันติเฉลิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด หรือ เอวายเอฟ กล่าวว่า บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในช่วงที่ผ่านมา ถือว่าเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีการรับฟังข้อมูลจากทางผู้ประกอบการมากขึ้น แต่การปรับเปลี่ยนกฎกติกาบางครั้ง ก็อยากจะให้ทันต่อสถานการณ์ด้วย
"แม้จะเข้าใจว่าทางสำนักงานก.ล.ต.มีความเป็นห่วงเป็นใยผู้ลงทุน แต่ถ้าห่วงมากจนเกินไปบางครั้งก็ไม่เอื้อำนวยให้กับทางผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจเช่นเดียวกัน ซึ่งสุดท้ายประชาชนผู้ลงทุนก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไร จึงอยากให้ทางสำนักงานก.ล.ต.มีความยืดหยุ่นให้กับทางผู้ประกอบการได้มากขึ้น"
โดยประเด็นที่อยากให้สำนักงานก.ล.ต พิจารณา เช่น ช่วงเวลาของการเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (ไอพีโอ) ของกองทุน โดยตามหลักเกณฑ์กองทุนที่เปิดขาย จะต้องเปิดให้ครบ 7 วัน ซึ่งบางครั้งกว่าจะเสนอขายจนปิดการขาย อัตราดอกเบี้ยในตลาดก็เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ซึ่งภาวะที่เปลี่ยนไปเช่นนี้ ในบางครั้งเราก็อยากจะปิดการขายได้ก่อนครบไอพีโอ 7 วัน เพราะนั้นอาจจะเป็นจังหวะการลงทุนของกองทุนที่เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ถือหน่วยลงทุนก็ได้
ขณะเดียวกันการปรับเปลี่ยนที่ไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์ก็อาจจะทำให้การพัฒนาโพรดักท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ยาก เช่น กองทุนที่ไปลงทุนในกองทุนป้องกันความเสี่ยง (Hedge Fund) เป็นต้น ก็จะเกิดยาก โดยภาพรวมถือว่าดีขึ้นแต่อยากให้สำนักงานก.ล.ต.มีความยืดหยุ่นมากกว่านี้
โชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด เล่าว่า ถึงวันนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. ยังไม่เปิดทางให้กองทุนสามารถลงทุนในกองทุนของตัวเองได้ หลังจากที่เราเองได้เสนอให้สำนักงานพิจารณาไปสักพักหนึ่งแล้ว
โดยรายละเอียดของแนวทางที่เราเสนอไปนั้น เราต้องการให้มีกองทุนกองเดียว เป็นกองทุนหลัก แล้วค่อยแยกประเภทของบัญชีออกเป็นแต่ละชนิดแทน เช่น กองทุนเปิดทหารไทย JUMBO ของเรา ถ้าเราสามารถตั้งเพียงกองทุนเดียว แล้วแยกประเภทบัญชีออกเป็นกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) ซึ่งกองทุนเหล่านี้ สามารถเข้าไปลงทุนในกองทุนหลัก ซึ่งมีนโยบายการลงทุนเดียวกันได้...แต่เรื่องนี้ ทางสำนักงาน ก.ล.ต ห่วงว่าจะเป็นปัญหายุ่งยาก
เมื่อ ก.ล.ต. บอกว่าไม่ได้ เรื่องนี้เราก็เสนอต่อไปว่า ขอเป็นการลงทุนในลักษณะ Feeder Fund ได้หรือไม่ แต่เรื่องนี้ ผิด พ.ร.บ. ถ้าจะแก้ไขก็ต้องไปแก้ไข พ.ร.บ. ด้วย
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เราเห็นว่า การตั้งกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนเดียวกัน เป็นการทำงานซ้ำซ้อน เพราะวันหนึ่งๆ ผู้จัดการกองทุน ต้องทำงานเหมือนกัน แต่ถ้าหากตั้งเป็นกองทุนเดียว นอกจากจะประหยัดต้นทุนแล้ว ยังทำให้การทำงานของผู้จัดการกองทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
อีกเรื่องหนึ่งที่เราเสนอไป เป็นเรื่องเกี่ยวกับ**หลักเกณฑ์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์**...ซึ่งเรื่องนี้ **เราอยากให้สำนักงาน เปิดทางให้กองทุนเข้าไปมีบทบาทในการบริหารงานของผู้เช่าได้มากขึ้น** อาจจะด้วยการเข้าไปนั่งเป็นบอร์ค ควบคุมค่าเช่า เพราะเราเป็นเจ้าของทรัพย์สินเอง จึงน่าจะสามารถทำได้มากกว่าการควบคุมเงินในปัจจุบัน ซึ่งเรื่องนี้ กองทุนในเมืองนอกสามารถทำได้
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สำนักงานก.ล.ต. เอง มีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจจัดการกองทุนมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วง ซึ่งบางหลักเกณฑ์ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดปัญหา เกิดความเสียหายไปแล้ว เช่นกรณีของหลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) ล่าสุด ก.ล.ต. ได้ห้ามโฆษณาผลตอบแทนของกองทุนดังกล่าว ยกเว้นกองทุนนั้นๆ จะต้องระบุผลตอบแทนที่จะได้รับอย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวน
ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าว...ถูกพูดขึ้นมาหลังจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กองหนึ่ง เกิดปัญหาขึ้นมา เนื่องจากเข้าไปลงทุนในทรัพย์สินที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ จนไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนตามที่ระบุไว้กับผู้ถือหน่วยได้
แต่ล่าสุด...การยกเลิกหลักเกณฑ์การขายหน่วยลงทุนของกองทุนแอลทีเอฟปีละ 2 ครั้ง ถือเป็นหลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกับสภาวะการลงทุนที่เกิดขึ้นในขณะนี้เพราะการจำกัดระยะเวลาการขายหน่วยลงทุนได้เพียงปีละ 2 ครั้ง ทำให้นักลงทุนเสียโอกาสในการขายหน่วยลงทุนในช่วงที่ดัชนีปรับตัวขึ้นไปสูงๆ ซึ่งเรื่องนี้ เกิดขึ้นอย่างชัดเจนในปีนี้
เพราะในช่วงต้นปีที่ผ่านมา นักลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนแอลทีเอฟมาครบ 5 ปีปฏิทินแล้ว หลายคนต้องการขายหน่วยลงทุนออกมา เนื่องจากเป็นช่วงที่นักลงทุนยังได้กำไร เพราะขณะนั้นดัชนีหุ้นยังปรับลดลงมาไม่มากนัก...แต่จากข้อจำกัดของหลักเกณฑ์ดังกล่าว หลายคนไม่สามารถขายออกมาได้ จำใจต้องถือมาถึงวันนี้ ซึ่งแน่นอนว่าขาดทุนไปหลายแล้ว
อย่างไรก็ตาม ต้องทำความเข้าใจอีกครั้งว่า หลักเกณฑ์นี้ สำนักงานก.ล.ต. ได้ยกเลิกสำหรับกองทุนแอลทีเอฟทุกกองทุน ไม่ว่าจะถือมานานแค่ไหน หรือจะถือมาแล้ว 5 ปีปฏิทินก็ตาม ก็สามารถขายได้...แต่ทั้งนี้ การยกเลิกครั้งนี้ เป็นการยกเลิกของ ก.ล.ต. เท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า ผู้ลงทุนที่ถือหน่วยไม่ครบ 5 ปีปฏิทินแล้วจะสามารถขายได้โดยไม่ต้องคืนสิทธิลดหย่อนภาษีที่ใช้ไป...เพราะหลักเกณฑ์ของภาษียังเหมือนเดิมตามที่สรรพากรกำหนด นั่นคือ หากต้องการใช้สิทธิลดหย่อนทางภาษี ก็ต้องถือหน่วยลงทุนอย่างน้อย 5 ปีปฏิทิน
ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวไป เป็นเพียงเสียงสะท้อนบางส่วนจากผู้ประกอบการเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าอาจจะยังมีอีกหลายเรื่อง ที่ยังเป็นข้อจำกัดอยู่...แต่ก็ต้องยอมรับว่า หลายเรื่อง ก็เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจนี้จะดำเนินต่อไปได้ ต้องอาศัยทั้งผู้ลงทุนและผู้ประกอบการ ดังนั้น ถ้าหลักเกณฑ์ต่างๆ เอื้อต่อกลุ่มคนทั้ง 2 ฝ่าย ก็น่าจะเป็นกลไกที่ดีให้ธุรกิจพัฒนาต่อไปได้ โดยไม่ต้องมาแก้ไขหรือเพิ่มเติมในภายหลัง