หลังจากสร้างสถานการณ์เพื่อประกาศใช้ พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา...จนมีเสียงก่นด่าตามหลัง จากนักลงทุน นักธุรกิจ และประชาชน พ่อค้าแม่ค้า ที่ไม่อยากเห็นเศรษฐกิจของบ้านเมืองได้รับผลกระทบไปมากกว่านี้...ในที่สุด พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ก็ถูกยกเลิกไปเรียบร้อยแล้ว วานนี้ (14 ก.ย.)
สถานการณ์เช่นนี้ แน่นอนว่าเป็นการปอดล็อกภาพที่ไม่ดีของประเทศในสายตาต่างชาติออกไป โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวและนักลงทุน...เกี่ยวกับเรื่องนี้ นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน ให้ความเห็นว่า ภายหลังการประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เชื่อว่าจะทำให้ตลาดเงินและตลาดทุนปรับตัวได้สูงขึ้น ตามหลักจิตวิทยา แต่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นไม่มาก เพราะที่ผ่านมาไม่มีการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่างจริงจัง พร้อมระบุว่า การยกเลิก พ.ร.ก.น่าจะมีผลโดยตรงต่อภาคการท่องเที่ยวในประเทศดีขึ้น
สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด บอกว่า การที่รัฐบาลประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นั้น ทำให้นักลงทุนต่างประเทศเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น ท่ามกลางความรู้สึกที่ไม่แน่นอนทางการเมือง เพราะหากยังบังคับใช้ต่อไปนักลงทุนอาจมองว่าสถานการณ์ความรุนแรงจะมีแนวโน้มขยายวงกว้างมากขึ้นแต่ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจไทย นอกจากการเมืองแล้วยังต้องพิจารณาเรื่องปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยด้วยเช่นกัน
ส่วนกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช ปฏิเสธการรับตำแหน่งนายกฯ ก็ช่วยทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งลดลงได้มาก ซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ควรเห็นแก่ประโยชน์โดยรวมเป็นหลัก และหากรู้เรื่องเศรษฐกิจก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ
เช่นเดียวกับ อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ออกมาพูดว่า การปฏิเสธรับตำแหน่งนายกฯ ของนายสมัคร สุนทรเวช นั้น จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ เพราะนายกคนใหม่คงจะเป็นคนที่ประนีประนอมกับประชาชน แต่ควรมีภาพลักษณ์ที่ซื่อสัตย์และมีความรู้ความสามารถทางการเมืองและเศรษฐกิจ ส่วนการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็เชื่อว่าจะช่วยให้การลงทุนในเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวได้ดีขึ้นและสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุนใหม่ที่เคยชะลอการลงทุนในประเทศไทย
หันไปดูภาพการลงทุนของโลกกันบ้าง...ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด การประชุมเฟดในวันที่ 16 ก.ย.นี้ จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม 2% อันเป็นผลจากเครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ยังคงอ่อนแอ โดยเฉพาะตลาดแรงงาน-ตลาดที่อยู่อาศัย ขณะที่ปัญหาสถาบันการเงินก็ยังไม่สิ้นสุดลงโดยง่าย....ส่วนแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่คลายตัวลงตามการร่วงลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก และการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ....ซึ่งเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมด ทำให้เฟดยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปรับเปลี่ยนดอกเบี้ยนโยบายในระยะอันใกล้นี้...ต้นกล้า
สถานการณ์เช่นนี้ แน่นอนว่าเป็นการปอดล็อกภาพที่ไม่ดีของประเทศในสายตาต่างชาติออกไป โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวและนักลงทุน...เกี่ยวกับเรื่องนี้ นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน ให้ความเห็นว่า ภายหลังการประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เชื่อว่าจะทำให้ตลาดเงินและตลาดทุนปรับตัวได้สูงขึ้น ตามหลักจิตวิทยา แต่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นไม่มาก เพราะที่ผ่านมาไม่มีการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่างจริงจัง พร้อมระบุว่า การยกเลิก พ.ร.ก.น่าจะมีผลโดยตรงต่อภาคการท่องเที่ยวในประเทศดีขึ้น
สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด บอกว่า การที่รัฐบาลประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นั้น ทำให้นักลงทุนต่างประเทศเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น ท่ามกลางความรู้สึกที่ไม่แน่นอนทางการเมือง เพราะหากยังบังคับใช้ต่อไปนักลงทุนอาจมองว่าสถานการณ์ความรุนแรงจะมีแนวโน้มขยายวงกว้างมากขึ้นแต่ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจไทย นอกจากการเมืองแล้วยังต้องพิจารณาเรื่องปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยด้วยเช่นกัน
ส่วนกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช ปฏิเสธการรับตำแหน่งนายกฯ ก็ช่วยทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งลดลงได้มาก ซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ควรเห็นแก่ประโยชน์โดยรวมเป็นหลัก และหากรู้เรื่องเศรษฐกิจก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ
เช่นเดียวกับ อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ออกมาพูดว่า การปฏิเสธรับตำแหน่งนายกฯ ของนายสมัคร สุนทรเวช นั้น จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ เพราะนายกคนใหม่คงจะเป็นคนที่ประนีประนอมกับประชาชน แต่ควรมีภาพลักษณ์ที่ซื่อสัตย์และมีความรู้ความสามารถทางการเมืองและเศรษฐกิจ ส่วนการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็เชื่อว่าจะช่วยให้การลงทุนในเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวได้ดีขึ้นและสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุนใหม่ที่เคยชะลอการลงทุนในประเทศไทย
หันไปดูภาพการลงทุนของโลกกันบ้าง...ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด การประชุมเฟดในวันที่ 16 ก.ย.นี้ จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม 2% อันเป็นผลจากเครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ยังคงอ่อนแอ โดยเฉพาะตลาดแรงงาน-ตลาดที่อยู่อาศัย ขณะที่ปัญหาสถาบันการเงินก็ยังไม่สิ้นสุดลงโดยง่าย....ส่วนแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่คลายตัวลงตามการร่วงลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก และการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ....ซึ่งเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมด ทำให้เฟดยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปรับเปลี่ยนดอกเบี้ยนโยบายในระยะอันใกล้นี้...ต้นกล้า