บลจ.เชื่อ กรณีสหรัฐอุ้ม 2 สถาบันการเงินส่งผลดีระยะสั้นต่อตลาดหุ้นทั่วโลก รวมทั้งช่วยลดความกังวลของนักลงทุน คาดหากทุกอย่างเริ่มฟื้นตัว ไทยจะได้รับอานิสงส์ได้การส่งออกและลงทุน โดยเฉพาะยอดออเดอร์สินค้า อย่างไรก็ตามต้องจับตาดูสถานการณ์การเมืองในประเทศอย่างใกล้ชิด คาดหากทุกอย่างกลับสู่ภาพวะปกติ ไตรมาส4 หุ้นไทยฉลุย
นายอรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิลมล ผู้อำนวยการสายงานจัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอสซีบีควอนท์ จำกัด กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลสหรัฐเข้าควบคุมกิจการ สมาคมการจำนองแห่งชาติของรัฐบาลกลาง (แฟนนี เม) และบรรษัทจำนองสินเชื่อบ้านของรัฐบาลกลาง (เฟรดดี แมค) เพื่อช่วยเหลือตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐ และเพื่อสกัดกั้นผลกระทบของวิกฤติการเงินว่า เรื่องนี้เป็นการแก้ปัญหาการลงทุนและสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคและนักลงทุนลดความกังวลใจลง เพราะวิกฤตสินเชื่อที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบไปทุกที่ทั่วโลก
ขณะเดียวกันการเข้าควบคุมกิจการสถาบันการเงินทั้ง 2 แห่งนี้ จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจโลก เพราะสหรัฐถือเป็นนักลงทุนรายใหญ่และผู้บริโภครายใหญ่ของโลก ทั้งในด้านการลงทุน การใช้จ่าย ดังนั้นเมื่อนักลงทุนมีความมั่นใจ ก็จะทำให้เกิดการนำเข้าสินค้า และมีการลงทุนกระจายไปทั่วทุกตลาด
“ที่ผ่านมาจากปัญหาดังกล่าวทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจ เลยขายหุ้นทิ้งเพื่อถือเงินสดเก็บไว้ รอที่จังหวะกลับเข้าไปลงทุนใหม่ ส่วนประเทศไทยนั้นจะได้รับผลดีในด้านการส่ง โดยเฉพาะในเรื่องสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ข้าว เสื้อผ้า เพราะสหรัฐจะส่งคำสั่งรับซื้อสินค้าเหล่านี้อีกครั้ง อีกทั้งจะทำให้นักลงทุนที่หยุดการลงทุนในช่วง 2- 3 เดือนที่ผ่านมากลับมาลงทุนใหม่ โดยสิ่งแรกที่จะทำคือการหยุดขายหุ้นนั่นเอง”
สำหรับเป้าหมายการลงทุนของนักลงทุนสหรัฐ นายอรุณศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฟื้นตัวกลับมา ตลาดต่อไปที่นักลงทุนเหล่านี้จะเข้าสงทุนได้ประเทศในแถบเอเชีย อาทิ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวัน เป็นต้นเพราะนักลงทุนจะมีความมั่นใจในเศรษฐกิจมากกว่าเดิม ซึ่งถือว่าเป็นผลดีที่รัฐเข้ามาเทกโอเวอร์ครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศไทยจะได้รับผลดีจากเรื่องดังกล่าวด้วย แต่ต้องดูปัญหาทางการเมืองไทยจะจบตรงไหน เนื่องจากเรื่องนี้มีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยมาก
ขณะที่อีก 4 เดือนข้างหน้า หรือไตรมาส 4 ประเมินว่า เมื่อปัจจัยลบภายนอกลดลง จะทำให้มีนักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น แต่ทุกอย่างต้องดูสถานการณ์ทางการเมืองของไทยด้วย ซึ่งถ้าทุกอย่างคลี่คลายไปได้ด้วยดีทุกอย่างก็จะกลับมาสู่ไทย นั่นหมายถึงการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้นักลงทุนจะต้องติดตามปัจจัยในเรื่องของเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน และสภาพคล่องภายในประเทศอย่างใกล้ชิดด้วย
ด้านนายกรวุฒิ ลีนะบรรจง ประธานเจ้าที่การลงทุน บลจ. ยูโอบี (ไทย) จำกัด กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ต้องดูว่ารัฐบาลสหรัฐจะนำเงินจากส่วนไหนเข้ามาช่วยเหลือ เพราะถ้าเป็นเงินภาษีของประชาชน มองว่าควรที่จะนำไปลงทุนหรือดำเนินการด้านอื่นๆจะดีกว่า
อย่างไรก็ตามการที่รัฐบาลเข้ามายื่นมือช่วยเหลือในครั้งนี้ จะส่งผลดีต่อการลงทุนในประเทศสหรัฐ ทำให้สถาบันการเงินมีความแข็งแกร่งขึ้น ส่วนผลกระทบที่เชื่อมโยงไปถึงเศรษฐกิจโลกนั้นมองว่าไม่เกี่ยวข้อง เนื่องเป็นเรื่องของความแข็งแกร่งในด้านปัจจัยพื้นฐานภายในสหรัฐ
“เรื่องนี้จะส่งผลดีทางด้านจิตวิทยาแก่นักลงทุนในระยะสั้น สามารถช่วยผ่อนคลาดความกังวลของนักลงทุนได้ในระดับหนึ่ง แต่การลงทุนจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโดยรวมมากกว่า ดังนั้นก่อนตัดสินใจการลงทุนต้องตรวจสอบดูทิศทางการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆก่อนว่า ว่ามีแนวทางในการบริหารอย่างไร”
ส่วนกระแสข่าวที่มีออกมาว่า ได้มีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียนั้น ประธานเจ้าที่การลงทุน บลจ.ยูโอบี กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน โดยรวมเศรษฐกิจสหรัฐเมื่อรัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือจะดีขึ้น แต่เม็ดเงินจะไหลกลับเข้าไปลงทุนในสหรัฐมากกว่าเข้ามาลงทุนในเอเชีย และไม่น่าจะมีผลต่อตลาดหุ้นไทยมากนัก
ผู้จัดการกองทุนรายหนึ่งกล่าวว่า จากการเข้าช่วย 2 สถาบันการเงินในสหรัฐครั้งนี้ได้ส่งผลดีต่อตลาดหุ้นไทย เพราะขณะนี้ที่ดัชนีหุ้นไทยมีปรับตัวเพิ่มขึ้นมา ส่วนตัวมองว่าเกิดจากปัจจัยภายนอกมาช่วยลดความกังวลให้นักลงทุนมากกว่า แต่นักลงทุนยังมีปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามนั่นคือสถานการณ์ทางการเมือง และแนวโน้มการประกาศยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
“เรื่องนี้ต้องคิดให้ดี ว่าแม้จะมีการประกาศยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตลาดหุ้นอาจฟื้นตัวไม่มาก หรือไม่มีการขยับตัวเลย เพราะนักลงทุนได้รับรู้ข่าวนี้ไปบ้างแล้ว ซึ่งอาจไม่ส่งผลต่อราคาหุ้นเท่าที่ควร ขณะเดียวกันในสัปดาห์นี้ยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องจับตา โดยเฉพาะคดีความทางการเมืองในหลายๆคดีที่จะมีการตัดสิน”
รายงานข่าวระบุว่า ภายหลังที่รับบาลสหรัฐแสดงความชัดเจนในการเข้าแก้ไขปัญหาของสถาบันการเงิน พบว่าประเทศต่างๆ รวมถึงผ้เชี่ยวชาญด้านการเงิน การลงทุน ต่างเห็นชอบในมาตรการครั้งนี้ เพราะมองว่าจะช่วยสร้างเสถียรภาพในตลาดเงิน และยังช่วยฟื้นตลาดที่อยู่อาศัยสหรัฐ โดยแผนการช่วยเหลือของสหรัฐนั้นยังสอดคล้องกับข้อเสนอของญี่ปุ่นในการอัดฉีดเงินทุนของสาธารณะให้กับบริษัทไฟแนนซ์ที่กำลังประสบปัญหา รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐจะหมดไป และเป็นผลด้านบวกต่อเศรษฐกิจโลก
นายอรุณศักดิ์ จรูญวงศ์นิลมล ผู้อำนวยการสายงานจัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอสซีบีควอนท์ จำกัด กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลสหรัฐเข้าควบคุมกิจการ สมาคมการจำนองแห่งชาติของรัฐบาลกลาง (แฟนนี เม) และบรรษัทจำนองสินเชื่อบ้านของรัฐบาลกลาง (เฟรดดี แมค) เพื่อช่วยเหลือตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐ และเพื่อสกัดกั้นผลกระทบของวิกฤติการเงินว่า เรื่องนี้เป็นการแก้ปัญหาการลงทุนและสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคและนักลงทุนลดความกังวลใจลง เพราะวิกฤตสินเชื่อที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบไปทุกที่ทั่วโลก
ขณะเดียวกันการเข้าควบคุมกิจการสถาบันการเงินทั้ง 2 แห่งนี้ จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจโลก เพราะสหรัฐถือเป็นนักลงทุนรายใหญ่และผู้บริโภครายใหญ่ของโลก ทั้งในด้านการลงทุน การใช้จ่าย ดังนั้นเมื่อนักลงทุนมีความมั่นใจ ก็จะทำให้เกิดการนำเข้าสินค้า และมีการลงทุนกระจายไปทั่วทุกตลาด
“ที่ผ่านมาจากปัญหาดังกล่าวทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจ เลยขายหุ้นทิ้งเพื่อถือเงินสดเก็บไว้ รอที่จังหวะกลับเข้าไปลงทุนใหม่ ส่วนประเทศไทยนั้นจะได้รับผลดีในด้านการส่ง โดยเฉพาะในเรื่องสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ข้าว เสื้อผ้า เพราะสหรัฐจะส่งคำสั่งรับซื้อสินค้าเหล่านี้อีกครั้ง อีกทั้งจะทำให้นักลงทุนที่หยุดการลงทุนในช่วง 2- 3 เดือนที่ผ่านมากลับมาลงทุนใหม่ โดยสิ่งแรกที่จะทำคือการหยุดขายหุ้นนั่นเอง”
สำหรับเป้าหมายการลงทุนของนักลงทุนสหรัฐ นายอรุณศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฟื้นตัวกลับมา ตลาดต่อไปที่นักลงทุนเหล่านี้จะเข้าสงทุนได้ประเทศในแถบเอเชีย อาทิ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวัน เป็นต้นเพราะนักลงทุนจะมีความมั่นใจในเศรษฐกิจมากกว่าเดิม ซึ่งถือว่าเป็นผลดีที่รัฐเข้ามาเทกโอเวอร์ครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศไทยจะได้รับผลดีจากเรื่องดังกล่าวด้วย แต่ต้องดูปัญหาทางการเมืองไทยจะจบตรงไหน เนื่องจากเรื่องนี้มีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยมาก
ขณะที่อีก 4 เดือนข้างหน้า หรือไตรมาส 4 ประเมินว่า เมื่อปัจจัยลบภายนอกลดลง จะทำให้มีนักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น แต่ทุกอย่างต้องดูสถานการณ์ทางการเมืองของไทยด้วย ซึ่งถ้าทุกอย่างคลี่คลายไปได้ด้วยดีทุกอย่างก็จะกลับมาสู่ไทย นั่นหมายถึงการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้นักลงทุนจะต้องติดตามปัจจัยในเรื่องของเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน และสภาพคล่องภายในประเทศอย่างใกล้ชิดด้วย
ด้านนายกรวุฒิ ลีนะบรรจง ประธานเจ้าที่การลงทุน บลจ. ยูโอบี (ไทย) จำกัด กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ต้องดูว่ารัฐบาลสหรัฐจะนำเงินจากส่วนไหนเข้ามาช่วยเหลือ เพราะถ้าเป็นเงินภาษีของประชาชน มองว่าควรที่จะนำไปลงทุนหรือดำเนินการด้านอื่นๆจะดีกว่า
อย่างไรก็ตามการที่รัฐบาลเข้ามายื่นมือช่วยเหลือในครั้งนี้ จะส่งผลดีต่อการลงทุนในประเทศสหรัฐ ทำให้สถาบันการเงินมีความแข็งแกร่งขึ้น ส่วนผลกระทบที่เชื่อมโยงไปถึงเศรษฐกิจโลกนั้นมองว่าไม่เกี่ยวข้อง เนื่องเป็นเรื่องของความแข็งแกร่งในด้านปัจจัยพื้นฐานภายในสหรัฐ
“เรื่องนี้จะส่งผลดีทางด้านจิตวิทยาแก่นักลงทุนในระยะสั้น สามารถช่วยผ่อนคลาดความกังวลของนักลงทุนได้ในระดับหนึ่ง แต่การลงทุนจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโดยรวมมากกว่า ดังนั้นก่อนตัดสินใจการลงทุนต้องตรวจสอบดูทิศทางการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆก่อนว่า ว่ามีแนวทางในการบริหารอย่างไร”
ส่วนกระแสข่าวที่มีออกมาว่า ได้มีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียนั้น ประธานเจ้าที่การลงทุน บลจ.ยูโอบี กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน โดยรวมเศรษฐกิจสหรัฐเมื่อรัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือจะดีขึ้น แต่เม็ดเงินจะไหลกลับเข้าไปลงทุนในสหรัฐมากกว่าเข้ามาลงทุนในเอเชีย และไม่น่าจะมีผลต่อตลาดหุ้นไทยมากนัก
ผู้จัดการกองทุนรายหนึ่งกล่าวว่า จากการเข้าช่วย 2 สถาบันการเงินในสหรัฐครั้งนี้ได้ส่งผลดีต่อตลาดหุ้นไทย เพราะขณะนี้ที่ดัชนีหุ้นไทยมีปรับตัวเพิ่มขึ้นมา ส่วนตัวมองว่าเกิดจากปัจจัยภายนอกมาช่วยลดความกังวลให้นักลงทุนมากกว่า แต่นักลงทุนยังมีปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามนั่นคือสถานการณ์ทางการเมือง และแนวโน้มการประกาศยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
“เรื่องนี้ต้องคิดให้ดี ว่าแม้จะมีการประกาศยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตลาดหุ้นอาจฟื้นตัวไม่มาก หรือไม่มีการขยับตัวเลย เพราะนักลงทุนได้รับรู้ข่าวนี้ไปบ้างแล้ว ซึ่งอาจไม่ส่งผลต่อราคาหุ้นเท่าที่ควร ขณะเดียวกันในสัปดาห์นี้ยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องจับตา โดยเฉพาะคดีความทางการเมืองในหลายๆคดีที่จะมีการตัดสิน”
รายงานข่าวระบุว่า ภายหลังที่รับบาลสหรัฐแสดงความชัดเจนในการเข้าแก้ไขปัญหาของสถาบันการเงิน พบว่าประเทศต่างๆ รวมถึงผ้เชี่ยวชาญด้านการเงิน การลงทุน ต่างเห็นชอบในมาตรการครั้งนี้ เพราะมองว่าจะช่วยสร้างเสถียรภาพในตลาดเงิน และยังช่วยฟื้นตลาดที่อยู่อาศัยสหรัฐ โดยแผนการช่วยเหลือของสหรัฐนั้นยังสอดคล้องกับข้อเสนอของญี่ปุ่นในการอัดฉีดเงินทุนของสาธารณะให้กับบริษัทไฟแนนซ์ที่กำลังประสบปัญหา รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐจะหมดไป และเป็นผลด้านบวกต่อเศรษฐกิจโลก